สเปซเอ็กซ์ดรากอน
คำอธิบาย | |
---|---|
ภารกิจ | ส่งมนุษย์และสินค้าขึ้นสู่วงโคจรต่ำของโลก (เชิงพาณิชย์)[1] ส่งสินค้าสู่สถานีอวกาศนานาชาติ (ภาครัฐ) |
ลูกเรือ | 0 (แบบขนส่งสินค้า) 7 (ดรากอนไรเดอร์) |
จรวดขนส่ง | ฟัลคอน 9 (ดรากอน C1–ดรากอน C4)[2] ฟัลคอน 9 วี1.1 (ดรากอน C5–)[2] |
เที่ยวบินแรก | 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553 (เที่ยวบินทดสอบ)[3] 8 ตุลาคม พ.ศ. 2555 (ใช้งานจริงเที่ยวแรก)[4] |
ขนาด | |
สูง | 6.1 เมตร [5] |
เส้นผ่าศูนย์กลาง | 3.7 เมตร [5] |
มุมผนังยาน | 15 องศา |
ปริมาตร | 10 เมตร3 ปรับความดัน[6] 14 เมตร3 ไม่ปรับความดัน[6] 34 เมตร3 ไม่ปรับความดันแบบต่อเติม[6] |
มวลเดิม | 4,200 กิโลกรัม [5] |
สินค้า | 3,310 กิโลกรัม (ส่วนปรับความดัน) และ 3,310 กิโลกรัม (ส่วนไม่ปรับความดัน) (ขาขึ้น)[7] 2,500 กิโลกรัม ในส่วนปรับความดัน (ขาลง)[7] 2,600 กิโลกรัม ในส่วนไม่ปรับความดัน (ถูกเผาไหม้)[7] |
คุณสมบัติ | |
ความทนทาน | 1 สัปดาห์ ถึง 2 ปี[6] |
การกลับสู่บรรยากาศ ที่ | 3.5 จี[8][9] |
สเปซเอกซ์ดรากอน (อังกฤษ: SpaceX Dragon) หรือที่เรียกว่า Dragon 1 หรือ Cargo Dragon เป็นยานอวกาศที่สามารถนำบางส่วนมาใช้ใหม่ได้ พัฒนาโดย สเปชเอกซ์ บริษัทขนส่งอวกาศเอกชนสัญชาติอเมริกัน ตั้งอยู่ในฮาวธอร์น, รัฐแคลิฟอร์เนีย ดราก้อนถูกส่งขึ้นสู่อวกาศโดยจรวดขนส่งแบบ Falcon 9 ซึ่งเป็นจรวดสองส่วน สเปซเอกซ์ยังพัฒนาดรากอนอีกหนึ่งรุ่นที่สามารถขนส่งมนุษย์ได้ ชื่อว่า ดราก้อนไรเดอร์ (Dragon V2)
ยานดรากอน เริ่มเที่ยวบินแรกในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2553 และทำให้ดรากอนกลายเป็นยานอวกาศเชิงพาณิชย์ลำแรก และสามารถกู้คืนจากวงโคจรได้สำเร็จ[3] วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 ยานดรากอนแบบขนส่งสินค้า เป็นยานอวกาศเชิงพาณิชย์ลำแรกที่โคจรบรรจบและเชื่อมต่อกับสถานีอวกาศนานาชาติ[10][11][12] นอกจากนี้ยังได้ทำสัญญาในการขนส่งสินค้าไปยังสถานีอวกาศนานาชาติภายใต้โครงการชื่อ Commercial Resupply Services ของนาซา ดรากอนเริ่มการขนส่งดังกล่าวตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นมา[4][13][14][15]
นอกจากนี้ สเปซเอกซ์ยังพัฒนาดรากอนสำหรับบรรทุกนักบินอวกาศในชื่อ ดรากอน วี2 สามารถขนส่งนักบินอวกาศได้ถึง 7 คน และสามารถปรับเปลี่ยนให้ขนส่งนักบินอวกาศพร้อมกับสินค้าได้ มีระยะปฏิบัติการในวงโคจรต่ำของโลก นอกจากนี้ สเปซเอกซ์ยังได้รับสัญญาจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกาให้พัฒนายานขนส่งมนุษย์ให้ทางรัฐบาล นอกจากนี้ยังมีแผ่นกันความร้อนที่ออกแบบมาเพื่อรองรับแรงเสียดทานจากบรรยากาศโลกหลังกลับจากดาวอังคารได้ เพราะการเดินทางระหว่างดาวเคราะห์จะใช้ความเร็วหลุดพ้น ซึ่งมีความเร็วสูงมาก[16]มีความเร็วประมาณ10,000กม./ชั่วโมง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "SPACEX WINS NASA COMPETITION TO REPLACE SPACE SHUTTLE" (Press release). Hawthorne, California: SpaceX. 8 September 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-03. สืบค้นเมื่อ 18 December 2011.
- ↑ 2.0 2.1 Clark, Stephen (18 May 2012). "Q&A with SpaceX founder and chief designer Elon Musk". SpaceFlightNow. สืบค้นเมื่อ 29 June 2012.
- ↑ 3.0 3.1 Bates, Daniel (9 December 2010). "Mission accomplished! SpaceX Dragon becomes the first privately funded spaceship launched into orbit and guided back to Earth". Daily Mail. London. สืบค้นเมื่อ 9 December 2010.
- ↑ 4.0 4.1 "Liftoff! SpaceX Dragon Launches 1st Private Space Station Cargo Mission". Space.com. 8 October 2012 (UTC).
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ 5.0 5.1 5.2 "SpaceX Brochure – 2008" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-20. สืบค้นเมื่อ 9 December 2010.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อsx20090918
- ↑ 7.0 7.1 7.2 "Falcon 9 launches Dragon on CRS-1 mission to the ISS". NASASpaceflight.com. 7 October 2012. Retrieved 8 October 2012.
- ↑ Bowersox, Ken (25 January 2011). "SpaceX Today". SpaceX. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-25. สืบค้นเมื่อ 13 October 2011.
- ↑ Musk, Elon (17 July 2009). "COTS Status Update & Crew Capabilities" (PDF). SpaceX. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-12-24. สืบค้นเมื่อ 16 April 2012.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อFirstDock
- ↑ Chang, Kenneth (25 May 2012). "Space X Capsule Docks at Space Station". New York Times. สืบค้นเมื่อ 25 May 2012.
- ↑ "SpaceX's Dragon Docks With Space Station—A First". National Geographic. 25 May 2012. สืบค้นเมื่อ 28 May 2012.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อoct8Launch
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อsepLaunch
- ↑ "Press Briefed On the Next Mission to the International Space Station". NASA. 20 March 2012. สืบค้นเมื่อ 11 April 2012.
- ↑ Clark, Stephen (16 July 2010). "Second Falcon 9 rocket begins arriving at the Cape". Spaceflight Now. สืบค้นเมื่อ 16 July 2010.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Dragon Spacecraft overview on SpaceX official website เก็บถาวร 2013-04-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- SpaceX CCDev2 Agreement with NASA เก็บถาวร 2012-06-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- SpaceX CCDev2 bi-monthly progress reports เก็บถาวร 2015-07-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Dragon cargo delivery to ISS (COTS 2 highlight reel)
- Dragon crew transport to ISS (CG rendering)