สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร)
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร) | |
---|---|
คำนำหน้าชื่อ | ท่านเจ้าประคุณ |
ส่วนบุคคล | |
เกิด | 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2440 (77 ปี ปี) |
มรณภาพ | 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517 |
นิกาย | ธรรมยุติกนิกาย |
การศึกษา | นักธรรมชั้นโท เปรียญธรรม 6 ประโยค |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ที่อยู่ | วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร |
อุปสมบท | 19 เมษายน พ.ศ. 2460 |
พรรษา | 57 |
ตำแหน่ง | เจ้าอาวาสวัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร |
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ นามเดิม พิมพ์ แสนทวีสุข ฉายา ธมฺมธโร เป็นสมเด็จพระราชาคณะฝ่ายธรรมยุติกนิกาย อดีตเจ้าอาวาสวัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร นอกจากนี้ยังเคยดำรงตำแหน่งสำคัญในคณะสงฆ์ เช่น ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช สังฆมนตรี รองประธานสังฆสภา กรรมการมหาเถรสมาคม เป็นต้น
ประวัติ
[แก้]วัยเยาว์
[แก้]สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ มีนามเดิมว่า พิมพ์ แสนทวีสุข เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2440 ขึ้น 1 ค่ำ เดือน ที่บ้านสว่าง ตำบลสว่าง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นบุตรของนายทองกับนางนวล แสนทวีสุข เมื่อโตขึ้นได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนวัดบ้านม่วงและโรงเรียนอุบลวิทยาคมตามลำดับจนจบชั้นมูล ข (เทียบเท่า ม. 2)[1]
อุปสมบท
[แก้]วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2457 ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดสุปัฏนารามวรวิหาร จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีพระราชมุนี (อ้วน ติสฺโส) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระศาสนดิลก (เสน ชิตเสโน) เป็นสรณคมนาจารย์ และอุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2460 ณ อุทกุกเขปสีมาในแม่น้ำมูล ที่บ้านโพธิ์ตาก ตำบลพิบูล อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีพระราชมุนี (อ้วน ติสฺโส) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระศาสนดิลก (เสน ชิตเสโน) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายานามทางธรรมว่า ธมฺมธโร[2]
ในพรรษาแรกนั้นพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ประสงค์จะให้ท่านออกธุดงค์ แต่ต่อมาพระอาจารย์มั่นเห็นนิมิตว่าพระพิมพ์กอดตู้พระไตรปิฎกไว้แน่น แม้ท่านจะแกะแขนออก แต่ขาของพระพิมพ์ก็ยังเกี่ยวตู้ไว้อยู่ พระอาจารย์มั่นพยายามดึงเท่าไรก็ไม่ออก จากนิมิตนี้พระอาจารย์มั่นจึงปล่อยให้ท่านศึกษาพระปริยัติธรรมไป[3]
การศึกษาพระปริยัติธรรม
[แก้]- พ.ศ. 2459 สอบได้ความรู้องค์นักธรรมภูมิสามเณร 3 วิชา คือ ธรรมะ พุทธประวัติ และกระทู้
- พ.ศ. 2460 สอบได้ความรู้องค์นักธรรมวิชาวินัย สำเร็จภูมินักธรรมชั้นตรี สำนักเรียนวัดสุปัฎนาราม จังหวัดอุบลราชธานี
- พ.ศ. 2462 สอบได้นักธรรมชั้นโท สำนักเรียนวัดบรมนิวาสราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
- พ.ศ. 2465 สอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค สำนักเรียนวัดบรมนิวาสราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
- พ.ศ. 2467 สอบได้เปรียญธรรม 4 ประโยค สำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร
- พ.ศ. 2468 สอบได้เปรียญธรรม 5 ประโยค สำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร
- พ.ศ. 2469 สอบได้เปรียญธรรม 6 ประโยค สำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร[4] กรุงเทพมหานคร
ศาสนกิจ
[แก้]ปี พ.ศ. 2471 พระมหาพิมพ์ ธมฺมธโร ได้ไปดูแลกิจการคณะสงฆ์ที่วัดสุทธจินดาวรวิหาร จังหวัดนครราชสีมา ถึงปี พ.ศ. 2480 ท่านถูกส่งไปดูแลคณะสงฆ์ที่วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร จังหวัดเชียงใหม่ แล้วไปจัดการคณะสงฆ์ที่แขวงจำปาศักดิ์ ประเทศลาว ในปี พ.ศ. 2484 จากนั้นย้ายมาอยู่วัดแสนสำราญ จังหวัดอุบลราชธานี จนกระทั่งรัฐบาลตั้งวัดพระศรีมหาธาตุขึ้น ท่านได้รับมอบหมายให้มาเป็นรองเจ้าอาวาส เมื่อสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) เจ้าอาวาสมรณภาพ ท่านได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสแทนสืบมาจนถึงแก่มรณภาพ
มรณภาพ
[แก้]สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ มรณภาพเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517 เวลา 09:10 น.[1] สิริรวมอายุ 77 ปี พรรษา 57
ตำแหน่งในคณะสงฆ์
[แก้]- พ.ศ. 2494 เป็นสังฆมนตรีสมัยที่ 1 ซึ่งมีสมเด็จพระวันรัต (ปลด กิตฺติโสภโณ) เป็นสังฆนายก[5]
- พ.ศ. 2498 เป็นสังฆมนตรีสมัยที่ 2 ซึ่งมีสมเด็จพระวันรัต (ปลด กิตฺติโสภโณ) เป็นสังฆนายก[6]
- พ.ศ. 2500 เป็นเจ้าอาวาสวัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน
- พ.ศ. 2503 เป็นรองประธานสังฆสภา
- พ.ศ. 2508 เป็นกรรมการมหาเถรสมาคม
- พ.ศ. 2510 เป็นเจ้าคณะภาค 9-10 (ธ)
- พ.ศ. 2514 เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช แทนสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (จวน อุฏฺฐายี) ซึ่งสิ้นพระชนม์[7]
- พ.ศ. 2516 เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช แทนสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (ปุ่น ปุณฺณสิริ) ซึ่งประชวร[8]
- พ.ศ. 2516 เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช แทนสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (ปุ่น ปุณฺณสิริ) ซึ่งสิ้นพระชนม์[9]
ผลงานหนังสือ
[แก้]ที่พิมพ์เป็นหนังสือแล้ว เช่น ;
- มงคลยอดชีวิต
- บทสร้างนิสัย
- โลกานุศาสนี
- ฯลฯ
สมณศักดิ์
[แก้]- พ.ศ. 2475 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระญาณดิลก[10]
- พ.ศ. 2489 เป็นพระราชาคณะเสมอชั้นราชในนามเดิม[2]
- พ.ศ. 2490 เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชกวี นรสีหพจนปิลันธน์ คันถรจนาบัณฑิต ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[11]
- พ.ศ. 2492 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพโมลี ตรีปิฎกธาดา มหากถิกสุนทร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[12]
- พ.ศ. 2496 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมปิฎก อดุลญาณนายกกถิกสุนทร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[13]
- พ.ศ. 2504 เป็นรองสมเด็จพระราชาคณะที่ พระพรหมมุนี ศรีวิสุทธินายก ตรีปิฎกธรรมาลังการวิภูสิต อีสานทิศธรรมิกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[14]
- พ.ศ. 2508 เป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ จาตุรงคประธานวิสุต พุทธพจนมธุรสธรรมวาที คัมภีรญาณปริยัติโกศล วิมลศีลาจารวัตร เวไนยบริษัทประสาทกร ธรรมยุติคณิสสร มหาสังฆนายก[15]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "ประวัติบูรพาจารย์ผู้ก่อตั้ง - สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ธม.มธโร พิมพ์ แสนทวีสุข)". มูลนิธิสองสมเด็จแสนทวีสุข. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-29. สืบค้นเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 2.0 2.1 กรมศิลปากร. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๒. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 450 หน้า. ISBN 974-417-530-3, หน้า 143-4
- ↑ มูลนิธิพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต. บูรพาจารย์. พิมพ์ครั้งที่ 7, กรุงเทพฯ : ศิลป์สยามบรรจุภัณฑ์และการพิมพ์, 2557. หน้า 215-7. ISBN 974-88603-6-1
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, รายนามพระสงฆ์สามเณรที่สอบไล่พระปริยัติธรรมได้ ในพุทธศักราช ๒๔๖๙ และ ๒๔๗๐, เล่ม 45, ตอนที่ ง, 13 พฤษภาคม 2471, หน้า 435
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศตั้งและแต่งตั้งสังฆมนตรี, เล่ม 68, ตอนที่ 50, 1 กรกฎาคม 2494, หน้า 3087-8
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศตั้งและแต่งตั้งสังฆมนตรี, เล่ม 72, ตอนที่ 61 ง ฉบับพิเศษ, 13 สิงหาคม 2498, หน้า 18-20
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช, เล่ม 88, ตอนที่ 144, 21 ธันวาคม 2514, หน้า 3,513
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช, เล่ม 90, ตอนที่ 159 ง ฉบับพิเศษ,7 ธันวาคม 2516, หน้า 6
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช, เล่ม 90, ตอนที่ 162, 11 ธันวาคม 2516, หน้า 3,981
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 49, 13 พฤศจิกายน 2475, หน้า 2755
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 64, ตอน 27, 17 มิถุนายน 2490, หน้า 1528-9
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 66, ตอน 66, 6 ธันวาคม 2492, หน้า 5405
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 70, ตอน 78, 26 ธันวาคม 2496, หน้า 5351
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม 78, ตอน 104, 15 ธันวาคม 2504, ฉบับพิเศษ, หน้า 10-13
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม 82, ตอน 111, 23 ธันวาคม 2508, หน้า 1-4
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2440
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2517
- ภิกษุในสังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย
- สมเด็จพระมหาวีรวงศ์
- ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช
- กรรมการมหาเถรสมาคม
- สังฆมนตรี
- เจ้าคณะภาค 9 (ธรรมยุต)
- เจ้าคณะภาค 10 (ธรรมยุต)
- เจ้าอาวาสวัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร
- เปรียญธรรม 6 ประโยค
- บุคคลจากอำเภอวารินชำราบ
- ภิกษุจากจังหวัดอุบลราชธานี