ข้ามไปเนื้อหา

จักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จักรพรรดิ
แห่งชาวโรมัน
Romanorum Imperator
ราชาธิปไตยในอดีต
จักรวรรดิ
ตรานกอินทรีสองหัว ไรชส์อาดเลอร์ (Reichsadler) ของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
ผู้ปกครองพระองค์สุดท้าย
จักรพรรดิฟรันทซ์ที่ 2

5 กรกฎาคม ค.ศ. 1792 – 6 สิงหาคม ค.ศ. 1806

ปฐมกษัตริย์ ชาร์เลอมาญ/ออทโทมหาราช
องค์สุดท้าย ฟรันทซ์ที่ 2
อิสริยยศ ฮิสอิมพีเรียลเมเจสตี
ผู้แต่งตั้ง ดูที่ พิธีราชาภิเษกของจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
เริ่มระบอบ 25 ธันวาคม ค.ศ. 800/2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 962
สิ้นสุดระบอบ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1806

จักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์[1] (เยอรมัน: Kaiser des Heiligen Römischen Reiches; อังกฤษ: Emperor of the Holy Roman Empire) หรือจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Holy Roman Emperor) หรือจักรพรรดิโรมัน-เยอรมัน (เยอรมัน: Römisch-Deutscher Kaiser) เป็นคำที่นักประวัติศาสตร์ใช้หมายถึงประมุขรัฐในสมัยกลางที่พระสันตะปาปาทรงแต่งตั้งให้เป็น "จักรพรรดิแห่งชาวโรมัน" ต่อมาตำแหน่งนี้มาจากการเลือกตั้งแต่ยังคงต้องรับราชาภิเษกจากพระสันตะปาปาอยู่ จนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมาจึงหมายถึงผู้ปกครองจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นมีอาณาเขตครอบคลุมดินแดนยุโรปกลาง

พระอิสริยยศ

[แก้]

ในทวีปยุโรปสมัยโบราณถือว่า "จักรพรรดิ" เป็นพระอิสริยยศมีบทบาทสำคัญในการปกป้องคริสตจักรโรมันคาทอลิก ในสมัยกลางพระสันตะปาปามีอำนาจมากขึ้นจนเกิดขัดแย้งกับจักรพรรดิในเรื่องการบริหารคริสตจักร ปัญหาที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือข้อขัดแย้งเรื่องการสถาปนาสมณศักดิ์ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 ระหว่างจักรพรรดิไฮน์ริชที่ 4 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์กับสมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 7

หลังจากที่พระสันตะปาปาราชาภิเษกพระเจ้าชาร์เลอมาญเป็นจักรพรรดิโรมัน ผู้ที่สืบราชบัลลังก์ต่อมาก็สืบทอดพระอิสริยยศนี้ต่อมาด้วย จนกระทั่งเมื่อพระเจ้าเบเรนการีโอที่ 1 แห่งอิตาลีสวรรคตในปี ค.ศ. 924 พระสันตะปาปาก็ไม่ได้ราชาภิเษกใครขึ้นเป็นจักรพรรดิโรมันอีก จนเมื่อจักรพรรดิออทโทที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ได้รับราชาภิเษกจึงถือว่าเป็นปฐมจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ แต่บางตำราก็ถือว่าจักรพรรดิชาร์เลอมาญเป็นปฐมจักรพรรดิที่แท้จริง จักรพรรดิออทโทและผู้สืบราชบัลลังก์ของพระองค์ได้ถือว่าราชอาณาจักรแห่งชาวแฟรงก์ตะวันออกในสมัยราชวงศ์การอแล็งเฌียงเป็นจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ด้วย เจ้าชายเยอรมันจะทำการคัดเลือกเจ้าชายพระองค์หนึ่งในคณะขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งชาวเยอรมัน จากนั้นจึงจะได้รับราชาภิเษกจากพระสันตะปาปาต่อไป หลังจากการราชาภิเษกจักรพรรดิคาร์ลที่ 5 จักรพรรดิพระองค์ต่อ ๆ มาก็มิได้รับการราชาภิเกจากพระสันตะปาปาอีก ถือเป็นจักรพรรดิจากการเลือกตั้งตามกฎหมายโดยสมบูรณ์

แต่คำว่า "ศักดิ์สิทธิ์" ที่ประกอบในพระอิสริยยศจักรพรรดินั้นถูกใช้ครั้งแรกกับจักรพรรดิฟรีดริชที่ 1 แต่ตามประวัติศาสตร์นิพนธ์ถือว่าจักรพรรดิออทโทที่ 1 เป็นจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์พระองค์แรก แม้ว่าที่จริงชาร์เลอมาญจะเป็นจักรพรรดิแห่งชาวโรมันพระองค์แรกที่ได้รับราชาภิเษกจากพระสันตะปาปาก็ตาม จักรพรรดิคาร์ลที่ 5 ถือเป็นจักรพรรดิพระองค์สุดท้ายที่ได้รับราชาภิเษกจากพระสันตะปาปา ส่วนจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์พระองค์สุดท้ายที่มาจากการคัดเลือกคือจักรพรรดิฟรันซ์ซึ่งได้สละราชสมบัติช่วงที่มีสงครามนโปเลียนในปี ค.ศ. 1806 และถือเป็นการล่มสลายของจักรวรรดิ

รายพระนามจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

[แก้]

จักรพรรดิแห่งชาวแฟรงค์

[แก้]

ราชวงศ์การอแล็งเฌียง

[แก้]
พระนาม รัชกาล ความสัมพันธ์กับรัชกาลก่อน (s) พระยศอื่น
คาร์ลที่ 1, มหาราช (ชาร์เลอมาญ)
(742–814)
25 ธันวาคม 800 28 มกราคม 814
ลูทวิชที่ 1, ผู้เคร่งศาสนา
(778–840)
11 กันยายน 813[2] 20 มิถุนายน 840 พระราชโอรสในคาร์ลที่ 1
โลแทร์ที่ 1
(795–855)
5 เมษายน 823 29 กันยายน 855 พระราชโอรสในลูทวิชที่ 1
ลูทวิชที่ 2
(825–875)
29 กันยายน855 12 สิงหาคม 875 พระราชโอรสในโลแทร์ที่ 1
คาร์ลที่ 2, พระเศียรล้าน
(823–877)
29 ธันวาคม 875 6 ตุลาคม 877 พระราชโอรสในลูทวิชที่ 1
คาร์ลที่ 3, ผู้อ้วนท้วน
(839–888)
12 กุมภาพันธ์ 881 13 มกราคม 888 พระราชนัดดาลูทวิชที่ 1

ราชวงศ์วิโดนิด

[แก้]
พระนาม รัชกาล ความสัมพันธ์กับรัชกาลก่อน (s) พระยศอื่น
กีย์ที่ 1
(?–894)
891 12 ธันวาคม 894 พระราชปทินัดดาในคาร์ลที่ 1 มหาราช
แลมเบิร์ตที่ 1
(880–898)
30 เมษายน 892 15 ตุลาคม 898 พระราชโอรสในกีย์ที่ 1

ราชวงศ์การอแล็งเฌียง

[แก้]
พระนาม รัชกาล ความสัมพันธ์กับรัชกาลก่อน (s) พระยศอื่น
อาร์นุลฟ์
(850–899)
22 กุมภาพันธ์ 896 8 ธันวาคม 899 พระภาคิไนยในคาร์ลที่ 3

ราชวงศ์โบโซนิดส์

[แก้]
center;"
พระนาม รัชกาล ความสัมพันธ์กับรัชกาลก่อน พระยศอื่น

ลูทวิชที่ 3, ผู้พระเนตรบอด
(880–928)
22 กุมภาพันธ์ 901 21 กรกฎาคม 905 พระราชนัดดาลูทวิชที่ 2

ราชวงศ์อุนโรชชิ่ง

[แก้]
ภาพ พระนาม รัชกาล ความสัมพันธ์กับรัชกาลก่อน พระยศอื่น
เบเรนการ์ที่ 1
(845–924)
ธันวาคม 915 7 เมษายน 924 พระราชนัดดาในลูทวิชที่ 1

จักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

[แก้]

ราชวงศ์ออทโท

[แก้]
ภาพ พระนาม รัชกาล ความสัมพันธ์กับรัชกาลก่อน พระยศอื่น
ออทโทที่ 1, มหาราช
(912–973)
2 กุมภาพันธ์ 962 7 พฤษภาคม 973 สืบเชื้อสายจากลูทวิชที่ 1
ออทโทที่ 2, สีแดง
(955–983)
25 ธันวาคม 967 7 ธันวาคม 983 พระราชโอรสในออทโทที่ 1
ออทโทที่ 3
(980–1002)
21 พฤษภาคม 996 23 มกราคม 1002 พระราชโอรสในออทโทที่ 2
ไฮน์ริชที่ 2
(973–1024)
14 กุมภาพันธ์ 1014 13 กรกฎาคม 1024 พระญาติชั้น 2 ในออทโทที่ 3

ราชวงศ์ซาเลียน

[แก้]
ภาพ พระนาม รัชกาล ความสัมพันธ์กับรัชกาลก่อน (s) พระยศอื่น
คอนราดที่ 2, ผู้อาวุโส
(990–1039)
26 มีนาคม 1027 4 มิถุนายน 1039 พระราชปทินัดดาในออทโทที่ 1
ไฮน์ริชที่ 3, องค์ดำ
(1017–1056)
25 ธันวาคม 1046 5 ตุลาคม 1056 พระราชโอรสในคอนราดที่ 2
ไฮน์ริชที่ 4
(1050–1106)
5 ตุลาคม 1056 7 สิงหาคม 1106 พระราชโอรสในไฮน์ริชที่ 3
ไฮน์ริชที่ 5[3]
(1086–1125)
13 เมษายน 1111 23 พฤษภาคม 1125 พระราชโอรสในไฮน์ริชที่ 4

ราชวงศ์ซุพพลิงเบิร์ก

[แก้]
ภาพ พระนาม รัชกาล ความสัมพันธ์กับรัชกาลก่อน (s) พระยศอื่น
โลแทร์ที่ 2
(1075–1137)
4 มิถุนายน 1133 4 ธันวาคม 1137 มีศักดิ์เป็นพระราชนัดดาในไฮน์ริชที่ 3

ราชวงศ์โฮเอินชเตาเฟิน

[แก้]
ภาพ พระนาม รัชกาล ความสัมพันธ์กับรัชกาลก่อน (s) พระยศอื่น
ฟรีดริชที่ 1 บาบารอสซา
(1122–1190)
8 มิถุนายน 1155 10 มิถุนายน 1190 พระราชปนัดดาในไฮน์ริชที่ 4
ไฮน์ริชที่ 6
(1165–1197)
14 เมษายน 1191 28 กันยายน 1197 พระราชโอรสในFrederick I

ราชวงศ์เวลฟ์

[แก้]
ภาพ ตรา พระนาม รัชกาล ความสัมพันธ์กับรัชกาลก่อน (s) พระยศอื่น
ออทโทที่ 4
(1175–1218)
9 มิถุนายน 1198 1215 พระราชปนัดดาในโลแทร์ที่ 2

ราชวงศ์โฮเอินชเตาเฟิน

[แก้]
ภาพ พระนาม รัชกาล ความสัมพันธ์กับรัชกาลก่อน (s) พระยศอื่น
ฟรีดริชที่ 2,
Stupor Mundi (1194–1250)
22 พฤศจิกายน 1220 13 ธันวาคม 1250 พระราชโอรสในไฮน์ริชที่ 6

ราชวงศ์ลักเซมเบิร์ก

[แก้]
ภาพ พระนาม รัชกาล ความสัมพันธ์กับรัชกาลก่อน พระยศอื่น
ไฮน์ริชที่ 7
(1274–1313)
29 มิถุนายน 1312 24 สิงหาคม 1313 สืบเชื้อสายจาก คาร์ลที่ 2

ราชวงศ์วิทเทิลส์บัค

[แก้]
ภาพ พระนาม รัชกาล ความสัมพันธ์กับรัชกาลก่อน พระยศอื่น
ลูทวิชที่ 4, บาวาเรีย
(1282–1347)
ตุลาคม 1314 11 ตุลาคม 1347 สืบสายจาก ไฮน์ริชที่ 4 สายโลแทร์ที่ 2

ราชวงศ์ลักเซมเบิร์ก

[แก้]
ภาพ พระนาม รัชกาล ความสัมพันธ์กับรัชกาลก่อน พระยศอื่น
คาร์ลที่ 4
(1316–1378)
11 กรกฎาคม 1346 29 พฤศจิกายน 1378 พระราชนัดดาในไฮน์ริชที่ 7
ซิกิสมุนด์
(1368–1437)
31 พฤษภาคม 1433 9 ธันวาคม 1437 พระราชโอรสในคาร์ลที่ 4

ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค

[แก้]
ภาพ พระนาม รัชกาล ความสัมพันธ์กับรัชกาลก่อน พระยศอื่น
ฟรีดริชที่ 3, ผู้สร้างสันติภาพ
(1415–1493)
2 กุมภาพันธ์ 1440 19 สิงหาคม 1493 พระญาติชั้น 2 ในอัลเบรชที่ 2 แห่งเยอรมนี, จักรพรรดิโดยการแต่งตั้ง
มัคซีมีลีอานที่ 1
(1459–1519)
19 สิงหาคม 1493 12 มกราคม 1519 พระราชโอรสในฟรีดริชที่ 3
คาร์ลที่ 5
(1500–1558)
28 มิถุนายน 1519 (สวมมงกุฎ 1530) 27 สิงหาคม 1556 พระราชนัดดาในมัคซีมีลีอานที่ 1
แฟร์ดีนันด์ที่ 1
(1503–1564)
27 สิงหาคม 1556 (สวมมงกุฎ 1558) 25 กรกฎาคม 1564 พระอนุชาในคาร์ลที่ 5
มัคซีมีลีอานที่ 2
(1527–1576)
25 กรกฎาคม 1564 12 ตุลาคม 1576 พระราชโอรสในแฟร์ดีนันด์ที่ 1
รูดอล์ฟที่ 2
(1552–1612)
12 ตุลาคม 1576 20 มกราคม 1612 พระราชโอรสในมัคซีมีลีอานที่ 2
แมทเธียส
(1557–1619)
13 มิถุนายน 1612 20 มีนาคม 1619 พระอนุชาในรูดอล์ฟที่ 2
แฟร์ดีนันด์ที่ 2
(1578–1637)
28 สิงหาคม 1619 15 กุมภาพันธ์ 1637 พระญาติในแมทเธียส
แฟร์ดีนันด์ที่ 3
(1608–1657)
15 กุมภาพันธ์ 1637 2 เมษายน 1657 พระราชโอรสในแฟร์ดีนันด์ที่ 2
เลโอพ็อลท์ที่ 1
(1640–1705)
18 กรกฎาคม 1658 5 พฤษภาคม 1705 พระราชโอรสในแฟร์ดีนันด์ที่ 3
โจเซฟที่ 1
(1678–1711)
5 พฤษภาคม 1705 17 เมษายน 1711 พระราชโอรสในเลโอพ็อลท์ที่ 1
คาร์ลที่ 6
(1685–1740)
12 ตุลาคม 1711 20 ตุลาคม 1740 พระอนุชาในโจเซฟที่ 1

ราชวงศ์วิทเทิลส์บัค

[แก้]
ภาพ พระนาม รัชกาล ความสัมพันธ์กับรัชกาลก่อน พระยศอื่น
คาร์ลที่ 7
(1697–1745)
12 กุมภาพันธ์ 1742 20 มกราคม 1745 พระราชปทินัดดาในแฟร์ดีนันด์ที่ 2 พระชามาดาในโจเซฟที่ 1

ราชสกุลฮาพส์บวร์ค-ลอแรน: จักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และอาร์ชดยุกแห่งออสเตรีย

[แก้]

จักรพรรดิคาร์ลที่ 6 มีแต่พระราชธิดา ก่อนหน้านี้มีพระราชโอรสแต่สิ้นพระชนม์กะทันหัน พระองค์จึงทรงสถาปนาอาร์ชดัชเชสมาเรีย เทเรซา พระราชธิดาองค์โตของพระองค์ ให้เป็นองค์รัชทายาททางพฤตินัย (Heiress Presumptive) โดยทรงออกพระราชกฤษฎีกาพิเศษ เพื่อรับรองให้พระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายในสามารถขึ้นครองราชย์สมบัติได้ เมื่อจักรพรรดิคาร์ลเสด็จสวรรคต อาร์ชดัชเชสมาเรีย เทเรซาก็ได้ทรงสืบราชสมบัติแห่งราชวงศ์ฮาพส์บวร์คต่อจากพระราชบิดาเป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งฮังการีและโบฮีเมีย ส่วนตำแหน่งองค์พระประมุขแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์นั้น พระองค์ทรงอภิเษกสมรสกับดยุกฟรันซ์ที่ 3 สตีเฟนแห่งลอแรน (Duke Francis III Stephen of Lorraine) หลังจากอภิเษกสมรส พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซียก็ทรงสนับสนุนพระสวามีของพระนางให้ครองราชย์เป็นจักรพรรดิฟรันซ์ที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ให้พระสวามีเป็นองค์พระประมุขแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ แต่พระราชอำนาจและการบริหารบ้านเมืองจะเป็นขององค์จักรพรรดินีแต่เพียงผู้เดียว หลังจากนั้น ทั้ง 2 พระองค์ได้ทรงร่วมกันก่อตั้งราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค-ลอแรนขึ้น (Habsburg-Lorraine) และมีพระบรมวงศานุวงศ์ได้ทรงดำรงอยู่ในราชสกุลนี้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

ภาพ จักรพรรดิ รัชกาล
ฟรันซ์ที่ 1 พ.ศ. 2288พ.ศ. 2308
(ค.ศ. 1745ค.ศ. 1765)
โยเซฟที่ 2 พ.ศ. 2308พ.ศ. 2333
(ค.ศ. 1765ค.ศ. 1790)
เลโอพ็อลท์ที่ 2 พ.ศ. 2333พ.ศ. 2335
(ค.ศ. 1790ค.ศ. 1792)
ฟรันซ์ที่ 2 พ.ศ. 2335พ.ศ. 2349
(ค.ศ. 1792ค.ศ. 1806)

ราชสกุลฮาพส์บวร์ค: อาร์ชดยุกแห่งออสเตรีย

[แก้]
รูป จักรพรรดิ รัชกาล
มัคซีมีลีอานที่ 1 พ.ศ. 2051พ.ศ. 2062 (ค.ศ. 1508 – ค.ศ. 1519)
คาร์ลที่ 5 พ.ศ. 2062พ.ศ. 2099 (ค.ศ. 1519 – ค.ศ. 1556)

ราชสกุลฮาพส์บวร์ค-ลอแรน: จักรพรรดิแห่งออสเตรีย

[แก้]

บทความหลัก: จักรพรรดิแห่งออสเตรีย

เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2349 จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ได้ถูกล้มล้างจากการรุกล้ำและรุกรานระบอบการเมืองการปกครองของนโปเลียน โบนาปาร์ต อย่างไรก็ตาม องค์พระประมุของค์สุดท้ายของจักรวรรดิจักรพรรดิฟรันซ์ที่ 2 ทรงสูญเสียตำแหน่ง'จักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์'ไป พระองค์จึงทรงตั้งจักรวรรดิใหม่ คือ จักรวรรดิออสเตรีย และทรงแต่งตั้งพระราชอิสริยยศใหม่ทั้งหมด โดยพระองค์ทรงใช้พระยศในฐานะองค์พระประมุขแห่งจักรวรรดิใหม่ว่า จักรพรรดิแห่งออสเตรีย ในวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2347

รูป จักรพรรดิ รัชกาล
ฟรันซ์ที่ 1 พ.ศ. 2347พ.ศ. 2378
(ค.ศ. 1804ค.ศ. 1835)
แฟร์ดีนันด์ที่ 1 พ.ศ. 2378พ.ศ. 2391
(ค.ศ. 1835ค.ศ. 1848)

เชิงอรรถ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชบัณฑิตยสถาน, สารานุกรมประเทศในทวีปยุโรป ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2550, หน้า 41
  2. Egon Boshof: Ludwig der Fromme. Darmstadt 1996, p. 89
  3. Barraclough, Geoffrey (1984). The Origins of Modern Germany. W. W. Norton & Company. ISBN 978-0-393-30153-3.