จักรพรรดิมัคซีมีลีอานที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จักรพรรดิมัคซีมีลีอานที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
จักรพรรดิแห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
อาร์ชดยุกแห่งออสเตรีย
ดยุกแห่งเบอร์กันดี
ครองราชย์โรมันอันศักดิ์สิทธิ์:
ค.ศ. 1508 - 12 มกราคม ค.ศ. 1519
ดยุกแห่งเบอร์กันดี:
5 มกราคม ค.ศ. 1477 - 27 มีนาคม ค.ศ. 1482
รัชกาลก่อนหน้าจักรพรรดิฟรีดริชที่ 3 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
รัชกาลถัดไปจักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
ประสูติ22 มีนาคม ค.ศ. 1459
ออสเตรีย
สวรรคต12 มกราคม ค.ศ. 1519
ออสเตรีย
พระอัครมเหสีแมรีแห่งเบอร์กันดี
บิอังคา มาเรีย สฟอร์ซา
พระราชบุตรพระเจ้าเฟลิเปที่ 1 แห่งคาสตีล
อาร์ชดัชเชสมาร์กาเร็ตแห่งออสเตรีย
ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค
พระราชบิดาจักรพรรดิฟรีดริชที่ 3 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
พระราชมารดาเอเลเนอร์แห่งโปรตุเกส จักรพรรดินีแห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
ลายพระอภิไธย

จักรพรรดิมัคซีมีลีอานที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (เยอรมัน: Maximilian I, Kaiser des Heiligen Römischen Reiches[1]) (ประสูติ 22 มีนาคม ค.ศ. 1459 - สวรรคต 12 มกราคม ค.ศ. 1519) เป็นพระมหากษัตริย์แห่งชาวโรมัน ตั้งแต่ ค.ศ. 1486 และจักรพรรดิแห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ตั้งแต่ ค.ศ. 1508 จนกระทั่งพระองค์สวรรคต พระองค์ไม่เคยถูกสวมมงกุฎโดยพระสันตะปาปา เนื่องจากการเดินทางสู่กรุงโรมถูกชาวเวเนเทียนขวางกั้นอยู่[2] พระองค์ได้ประกาศตนเองเป็นจักรพรรดิที่ได้รับการคัดเลือกใน ค.ศ. 1508 (สมเด็จพระสันตะปาปายูลิอุสที่ 2 ทรงเป็นผู้ให้การยอมรับ) ที่เมืองเทรนต์[3][4][5] จึงเป็นการทำลายประเพณีที่มีมายาวนานของการกำหนดให้มีพิธีสวมมงกุฎของพระสันตะปาปาเพื่อแต่งตั้งตำแหน่งจักรพรรดิ มัคซีมีลีอานทรงเป็นพระราชโอรสของจักรพรรดิฟรีดริชที่ 3 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และลียูโนร์แห่งโปรตุเกส พระองค์ทรงปกครองร่วมกับพระราชบิดาในช่วงสิบปีสุดท้ายของรัชกาลภายหลัง ตั้งแต่ ค.ศ. 1483 จนกระทั่งพระราชบิดาทรงสวรรคตใน ค.ศ. 1493

แมกซีมีเลียนได้ขยายอิทธิพลของราชวงศ์ฮาพส์บวร์คผ่านทางการทำสงครามและการอภิเษกสมรสของพระองค์ใน ค.ศ. 1477 กับมารีแห่งบูร์กอญ ผู้ปกครองแห่งรัฐบูร์กอญ ผู้เป็นทายาทของชาร์ลผู้อาจหาญ แม้ว่าพระองค์จะสูญเสียดินแดนแต่เดิมของราชวงศ์ของพระองค์ในสวิตเซอร์แลนด์ในยุคปัจจุบันให้กับสมาพันธรัฐสวิส ด้วยการอภิเษกสมรสของพระราชโอรสของพระองค์ที่มีพระนามว่า ฟิลิปผู้ทรงโฉมกับสมเด็จพระราชินีนาถฆัวนาแห่งกัสติยาใน ค.ศ. 1498 มัคซีมีลีอานทรงช่วยสร้างราชวงศ์ฮาพส์บวร์คในสเปน ซึ่งทำให้พระราชนัดดาของพระองค์ที่มีพระนามว่า ชาร์ล ได้ขึ้นครองราชบังลังก์ของทั้งกัสติยาและอารากอน[6] นักประวัติศาสตร์นามว่า Thomas A. Brady Jr. ได้อธิบายว่า พระองค์ทรงเป็น"จักรพรรดิแห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์องค์แรกในรอบ 250 พรรษาที่ทรงปกครองและครองราชย์" และ"เป็นขุนศึกหลวงที่มีความสามารถมากที่สุดในยุคสมัยของพระองค์"[7]

ทรงมีพระสมญานามว่า "Coeur d’acier" (“หัวใจดั่งเหล็ก”) โดย Olivier de la Marche และนักประวัติศาสตร์รุ่นหลัง(ไม่ว่าจะเป็นการยกย่องถึงความกล้าหาญและคุณสมบัติของการสู้รบหรือประณามถึงความโหดเหี้ยมของพระองค์ในฐานะผู้ปกครองสงคราม)[8][9] มัคซีมีลีอานทรงได้เข้าสู่จิตสาธารณะในฐานะ "อัศวินคนสุดท้าย"(der letzte Ritter) โดยเฉพาะอย่างยิ่งนับตั้งแต่บทกวีได้ถูกประพันธ์ขึ้นเพื่อกล่าวถึงพระองค์โดย Anastasius Grün ซึ่งได้รับการตีพิมพ์(แม้ว่าพระสมญานามจะยังคงมีอยู่ แม้จะอยู่ในช่วงชีวิตของมัคซีมีลีอานก็ตาม)[10] การถกเถียงทางวิชาการยังคงมีการหารือกันว่าพระองค์ทรงเป็นอัศวินคนสุดท้ายจริงหรือไม่(ในฐานะผู้ปกครองจากสมัยกลางในอุดมคติที่นำผู้คนบทหลังม้า หรือนักฝันและนักผจญภัยอย่างดอนกิโฆเต้) หรือเจ้าชายพระองค์แรกจากยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา— นักการเมืองจอมเจ้าเล่ห์เพทุบายผู้ไร้ศีลธรรมที่นำพาราชวงศ์ของพระองค์ไปสู่"จุดสูงสุดแห่งอำนาจราชวงศ์ยุโรป" โดยส่วนใหญ่มาจากเงินกู้[11][12] นักประวัติศาสตร์ในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 เช่น Leopold von Ranke มักจะวิพากษ์วิจารณ์ต่อมัคซีมีลีอานที่ให้ความสนพระทัยต่อราชวงศ์ของพระองค์มากกว่าเยอรมนี ทรงขัดขวางกระบวนการรวมชาติของประเทศ นับตั้งแต่หนังสือที่ชื่อ Kaiser Maximilian I. Das Reich, Österreich und Europa an der Wende zur Neuzeit ซึ่งถูกเขียนโดย Hermann Wiesflecker (ค.ศ. 1971-1986) กลายเป็นงานแบบมาตรฐาน ภาพลักษณ์ที่ดียิ่งขึ้นของจักรพรรดิได้ปรากฏขึ้น พระองค์ถูกมองว่าเป็นผู้ปกครองที่ทันสมัยและมีนวัตกรรมซึ่งได้ดำเนินการปฏิรูปครั้งสำคัญและส่งเสริมต่อความสำเร็จทางวัฒนธรรมที่สำคัญ แม้ว่าราคาทางการเงินจะให้ความหนักหน่วงต่อชาวออสเตรียและการขยายกำลังทหารของพระองค์จะทำให้คนหลายหมื่นคนต้องเสียชีวิตและความทุกข์ทรมาน[9][13][14]

ด้วยโครงการการสร้างภาพ"ที่ไม่เคยมีมาก่อน" ด้วยความช่วยเหลือจากนักวิชาการและศิลปินที่มีชื่อเสียงมากมาย ในช่วงชีวิตของพระองค์ จักรพรรดิ –"ผู้ส่งเสริม ผู้ประสานงาน และผู้เสนอญัตติที่สำคัญ ผู้แสดงศิลปะและผู้ประกอบที่มีพลังและความศรัทธาอย่างแรกกล้าอันไร้ขีดจำกัด และมองเห็นรายละเอียดได้อย่างไม่เคยผิดพลาด"–ได้สร้าง "ตัวตนของราชวงศ์ที่แท้จริง" ขึ้นมาสำหรับพระองค์เอง" ซึ่งมีคุณสมบัติที่นักประวัติศาสตร์เรียกว่า "ไม่มีใครมาเทียบเท่า" หรือ "มาจนถึงบัดนี้ แทบจะคาดคิดไม่ถึง"[15][16][17][18][19] ด้วยภาพนี้ มีการเพิ่มเลเยอร์ใหม่โดยผลงานของศิลปินรุ่นหลังในช่วงหลายทศวรรษภายหลังการสวรรคตของพระองค์ ทั้งในฐานะความต่อเนื่องของภาพที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นโดยเจตนาซึ่งถูกพัฒนาโดยโปรแกรมของเขา เช่นเดียวกับการพัฒนาแหล่งที่มาที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและการสำรวจเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นจริงทำให้เกิดสิ่งที่ Elaine Tennant เรียกว่า "อุตสาหกรรมมัคซีมีลีอาน"[18][20]

อ้างอิง[แก้]

  1. Britania.com, Kings of France
  2. Weaver, Andrew H. (2020). A Companion to Music at the Habsburg Courts in the Sixteenth and Seventeenth Centuries. BRILL. p. 68. ISBN 9789004435032. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 November 2021. สืบค้นเมื่อ 23 September 2021.
  3. Emmerson 2013, p. 462.
  4. Stollberg-Rilinger 2020, p. 13.
  5. Whaley, Joachim (19 July 2018). The Holy Roman Empire: A Very Short Introduction (ภาษาอังกฤษ). Oxford University Press. p. 6. ISBN 978-0-19-106563-7. สืบค้นเมื่อ 23 March 2022.
  6.  Holland, Arthur William (1911). "Maximilian I. (emperor)" . ใน Chisholm, Hugh (บ.ก.). สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911. Vol. 17 (11 ed.). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. pp. 922–923, see page 922, middle of third para.
  7. Brady 2009, pp. 110, 128.
  8. Terjanian 2019, p. 37.
  9. 9.0 9.1 Holleger 2012, pp. 25, 26.
  10. Fichtner, Paula Sutter (2017). The Habsburg Monarchy, 1490-1848: Attributes of Empire. Macmillan International Higher Education. p. 4. ISBN 9781137106421. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 September 2021. สืบค้นเมื่อ 29 September 2021.
  11. Trevor-Roper 2017, p. 3.
  12. Vann, James Allen (1984). "Review: [Untitled]. Reviewed work: Maximilian I, 1459-1519: An Analytical Biography. by Gerhard Benecke". Renaissance Quarterly. 37 (1 (Spring, 1984)): 69–71. doi:10.2307/2862003. JSTOR 2862003. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 September 2021. สืบค้นเมื่อ 29 September 2021.
  13. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ oeaw
  14. Whaley 2012, pp. 72–111.
  15. Munck, Bert De; Romano, Antonella (20 August 2019). Knowledge and the Early Modern City: A History of Entanglements (ภาษาอังกฤษ). Routledge. p. 114. ISBN 978-0-429-80843-2. สืบค้นเมื่อ 23 January 2022.
  16. Hayton 2015, p. 13.
  17. Brady 2009, p. 128.
  18. 18.0 18.1 Terjanian 2019, p. 62.
  19. Whaley 2009, p. 2.
  20. แม่แบบ:Cite contribution

ดูเพิ่ม[แก้]