จักรพรรดิคาร์ลที่ 6 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Charles VI, Holy Roman Emperor)
จักรพรรดิคาร์ลที่ 6
จักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (อ่านต่อ...)
ครองราชย์12 ตุลาคม 1711 – 20 ตุลาคม 1740
ราชาภิเษก22 ธันวาคม 1711, แฟรงก์เฟิร์ต
ก่อนหน้าจักรพรรดิโยเซ็ฟที่ 1
ถัดไปจักรพรรดิคาร์ลที่ 7
ผู้ว่าราชการ
พระราชสมภพ1 ตุลาคม ค.ศ. 1685(1685-10-01)
พระราชวังโฮฟบวร์ค, เวียนนา
สวรรคต20 ตุลาคม ค.ศ. 1740(1740-10-20) (55 ปี)
พระราชวังออการ์เทิน, เวียนนา
ฝังพระศพโบสถ์จักรวรรดิ
คู่อภิเษก[[เอลีซาเบ็ท คริสทีเนอ แห่งเบราน์ชไวค์-ว็อลเฟินบึทเทิล |เอลีซาเบ็ท คริสทีเนอแห่งเบราน์ชไวค์]] (สมรส 1708)
พระราชบุตร
พระนามเต็ม
เยอรมัน: คาร์ล ฟรันทซ์ โยเซ็ฟ เว็นท์เซิล บัลทาซาร์ โยฮัน อันโทน อิกนาทซ์
ราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค
พระราชบิดาจักรพรรดิเลโอพ็อลท์ที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
พระราชมารดาเอลีออนอเรอ มัคดาเลเนอแห่งน็อยบวร์ค
ศาสนาโรมันคาทอลิก
ลายพระอภิไธย

จักรพรรดิคาร์ลที่ 6 (เยอรมัน: Karl; ละติน: Carolus; 1 ตุลาคม ค.ศ. 1685 – 20 ตุลาคม ค.ศ. 1740) เป็นพระราชโอรสในจักรพรรดิเลโอพ็อลท์ที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และเอลีนออนอเรอ มัคดาเลเนอแห่งน็อยบวร์ค อภิเษกสมรสกับ เอลีซาเบ็ท คริสทีเนอแห่งเบราน์ชไวค์ พระองค์ทรงเข้าพิธีบรมราชาภิเษก ณ แฟรงก์เฟิร์ต

พระประวัติ[แก้]

พระชนม์ชีพช่วงต้น[แก้]

อาร์คดยุคคาร์ล ทรงประสูติเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2228 เป็นบุตรคนที่สองของจักรพรรดิเลโอปอลที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์กับจักรพรรดินีเอเลนอร์ แม็กเดเลน แห่งนูเรนเบิร์ก

จักรพรรดิคาร์ลที่ 6 เมื่อยังทรงพระเยาว์

หลังการสวรรคตของพระเจ้าชาร์ลที่ 2 แห่งสเปน เมื่อปี พ.ศ. 2243 โดยปราศจากรัชทายาท เจ้าชายคาร์ลประกาศตัวเองเป็นผู้มีสิทธิ์สืบราชบัลลังก์สเปนต่อผ่านทางสายตระกูลฮาพส์บวร์ค [1] การประกาศตัวนั้นเป็นชนวนให้เกิดเหตุสงครามสืบราชบัลลังก์สเปน เพราะทางฝั่งของฝรั่งเศสก็ได้ตั้งเจ้าชายฟิลิป ดยุคแห่งอองชู ขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งสเปนคนถัดไป

สงครามครั้งนั้นกินเวลาร่วมกว่า 14 ปี โดยมีชาติมหาอำนาจของยุโรปหลายชาติเข้าร่วม โดยทางด้านของคาร์ลหรือทางฝั่งของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์นั้น ได้รับการสนับสนุนจากทางอังกฤษ โปรตุเกส สก็อตแลนด์และไอร์แลนด์ จนสามารถสถาปนาตัวเองขึ้นเป็นพระเจ้าคาร์ลที่ 3 แห่งสเปนได้ ในช่วงปี 2248 แม้ว่าจะมีอำนาจจำกัดแค่เพียงพื้นที่ของคาตาโลเนีย แต่ก็สามารถอยู่ได้นานถึงหกปี จนกระทั่งมีจุดเปลี่ยนสำคัญเกิดขึ้นในปี 2254 เมื่อพี่ชายของพระองค์ จักรพรรดิโจเซฟที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์สวรรคตลงอย่างกะทันหัน และบัลลังก็ถูกส่งมอบต่อให้กับเจ้าชายคาร์ล ในฐานะของจักรพรรดิคาร์ลที่ 6 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ [2] อย่างไรก็ตามสถานะนั้นของคาร์ลทำให้ชาติพันธมิตรต่างถอนตัวจากการร่วมมือ เพราะไม่อยากให้เกิดรัฐขนาดใหญ่ที่มีประมุขร่วม ซึ่งในที่นี่ก็คือจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์กับจักรวรรดิสเปน ทำให้จักรพรรดิคาร์ลทรงขาดแนวร่วมที่ต้านทานกำลังจากฝรั่งเศสและถูกบีบให้ทำสนธิสัญญาสงบศึก ซึ่งผลในครั้งนั้นทำให้เจ้าชายฟิลิป ดยุคแห่งอองชู ถูกแต่งตั้งขึ้นเป็นจักรพรรดิฟิลิบที่ 5 แห่งสเปนอย่างเป็นทางการ และจักรพรรดิคาร์ลต้องถอนตัวจากศึกในครั้งนี้ไป

ในฐานะจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์[แก้]

เมื่อคาร์ลรับราชสมบัติต่อจากพี่ชายในปี 2254 ปัญหาสำคัญที่ตัวของเขาจะต้องเผชิญ และเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค นั่นก็คือการขาดแคลนบุรุษเพศที่มีสิทธิ์ในการขึ้นครองราชย์บัลลังก์ ด้วยนอกจากตัวของพระองค์เองแล้วนั้น ราชวงศ์ฮาพส์บวร์คไม่มีบุรุษเพศสายตรงคนอื่นอีกแล้ว กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ หากจักรพรรดิคาร์ลที่ 6 ไม่ทรงมีพระราชโอรส จะเท่ากับว่าตระกูลฮาพส์บวร์กสายตรงก็จะสูญสิ้นและไม่มีใครได้ครองราชบัลลังก์ต่อนั่นเอง

จักรพรรดิคาร์ลนั้นทรงแต่งงานกับเอลิซาเบธ คริสทีนแห่งเบราน์ชไวค์-วัฟเฟินบุร์สเทิล ทรงมีบุตร-ธิดารวมกัน 4 พระองค์ แต่ที่มีพระชนม์ชีพจนโตมีเพียงแค่สองพระองค์ และทั้งสองพระองค์นั้นล้วนแล้วแต่เป็นผู้หญิงทั้งสิ้น ประกอบไปด้วย มาเรีย เทเรซา (2260-2323) กับ มาเรีย อันนา (2261-2287) การที่ผู้สืบสายโลหิตขององค์จักรพรรดิมีแต่ผู้หญิงกลายเป็นปัญหาใหญ่ตลอดรัชสมัย เนื่องด้วยกฏธรรมเนียมที่ยึดมั่นก็มาโดยตลอดตัดขาดการสืบราชสมบัติของรัชทายาทที่เป็นสตรีไป แต่ตอนนี้รัชทายาททั้งหมดของจักรพรรดิคาร์ลที่ 6 นั้นเป็นสตรี พระองค์จึงทรงมีพระดำริประกาศร่างกฤษฎีกาว่าด้วยปัญหาการสืบสันตติวงศ์ (Pragmatic Sanction) ที่เปลี่ยนกฎที่ห้ามสตรีมีสิทธิ์ในราชบัลลังก์ เพื่อเปิดทางให้บุตรีพระองค์โตอย่างเจ้าหญิงมาเรีย เทเรซา สามารถขึ้นครองราชย์ได้

พระเจ้าคาร์ลที่ 6 พร้อมด้วยราชินีเอลิซาเบธ คริสทีน แห่ง เบราน์ชไวค์-วัฟเฟินบุร์สเทิล และพระราชธิดาทั้งสาม

อย่างไรก็ตามการที่จะทำให้กฤษฎีกานี้เป็นที่ยอมรับของทั้งภายในและภายนอกอาณาจักรได้ ต้องผ่านการเจรจาให้สมผลประโยชน์ของหลายฝ่าย การนั้นพระองค์จึงต้องทรงยอมที่จะระงับบริษัทการค้าที่ทรงตั้งขึ้นได้ไม่นานที่ดัชต์ลง เพื่อให้ทางสหราชอาณาจักรยินยอมที่จะยอมรับกฤษฎีกาฉบับนี้ และต้องพยายามที่จะทำให้เหล่าสมาชิกในสภาผู้คัดเลือก (Imperial Diet) เห็นพ้องต้องกันด้วย อย่างไรก็ดีก็มีบางรัฐที่ตัดสินใจที่จะไม่สนับสนุนแนวคิดของพระองค์ ซึ่งรวมถึงกฤษฎีกานี้ด้วย ซึ่งรัฐที่ไม่เห็นด้วยนั้นมีสองรัฐหลักคือ บาวาเรีย และ ปรัสเซีย

ในช่วงต้นของการครองราชย์ของพระองค์ หากไม่นับปัญหาน่าปวดหัวอย่างปัญหาว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์ ก็นับได้ว่าเป็นยุคสมัยที่อำนาจของราชวงศ์ฮาพส์บวร์กแผ่ขยายอิทธิพลและดินแดนได้มากขึ้น ชัยชนะเหนือตุรกีเหนือสงครามออสเตรีย-ตุรกีทำให้จักรวรรดิของพระองค์มีอำนาจเหนือดินแดนบารัต เซอร์เบีย และโอทาเนีย และชัยชนะเหนือสงครามสี่พันธมิตรก็ทำให้พระองค์สามารถแลกพื้นที่เกาะซาร์ดิเนียที่ป้องกันได้ยากกับเกาะซิซิลี ที่อยู่ภายใต้การปกครองของดยุคแห่งซาวอยได้ด้วย

พระเจ้าคาร์ลที่ 6 ประทับยืนเหนือเมืองท่าบาร์เซโลนา โดย Frans van Stampart

ในปี 2276 เกิดสงครามสืบราชสมบัติโปแลนด์ขึ้น พระองค์ทรงสนับสนุนออกัสตัส ดยุคแห่งแซกซอนี ลูกชายของกษัตริย์พระองค์ก่อนในการขึ้นครองราชบัลลังก์โปแลนด์คนถัดไป ในสงครามครั้งนั้นแม้ทางออสเตรียสามารถทำให้ออกัสตัส ดยุคแห่งแซกซอนีขึ้นเป็น พระเจ้าออกัสตัสที่ 3 ได้เป็นผลสำเร็จ แต่พระองค์ก็ต้องถูกบีบให้มอบราชอาณาจักรเนเปิ้ลส์ให้กับสเปน แลกกับตำแหน่งใต้การปกครองดัชชีแห่งปาร์มาที่เล็กกว่ามากมาแทน

ในช่วงเวลาเดียวกันนั้นพระองค์ก็ทรงคัดเลือกหาคู่ที่เหมาะสมให้กับพระราชธิดาองค์โตอันเป็นรัชทายาทของพระองค์อย่าง อาร์คดัชเชส มาเรีย เทเรซา โดยในตอนแรกพระองค์ทรงเลือกให้เจ้าชายเลโอพอล เคลเมนต์แห่งลอแรนเป็นคู่สมรสของพระนาง แต่เจ้าชายเลโอพอลกับเสียชีวิตอย่างกะทันหันด้วยโรคฝีดาษไปเสียก่อน ทำให้พระองค์ต้องทรงคัดเลือกหาตัวคนที่เหมาะสมในการเป็นคู่สมรสให้กับลูกสาวของตัวเอง แล้วในการกลั่นกรองรอบที่สอง ก็ได้ชื่อของ ฟรานซิส สตีเฟน แห่งลอแรน พระอนุชาของเลโอพอล อย่างไรก็ตามนั้นทางการฝรั่งเศสต้องการที่จะให้ตำแหน่งดัชชีแห่งลอแรนเป็นของสตานิสวาฟ เลชชินสกี ผู้ที่ฝรั่งเศสสนับสนุนให้เป็นกษัตริย์โปแลนด์คนถัดไป แต่เพรี้ยงพร้ำให้กับทางออสเตรีย ความต้องการนี้อยู่บนพื้นฐานการประณีประนอมกับทางฝรั่งเศสเพื่อยุติความขัดแย้งในสงครามโปแลนด์ ซึ่งในท้ายที่สุดจักรพรรดิคาร์ลที่ 6 ก็ต้องยอมให้ลูกเขยสละตำแหน่งดัชชีแห่งลอแรนก่อน ถึงจะยอมให้มีการอภิเษกกันระหว่างฟรานซิสกับมาเรีย เทเรซา

ต่อมาเมื่อปี 2280 จักรพรรดิทรงตัดสินใจที่จะพาจักรวรรดิเข้าสู่สงครามอีกครั้ง โดยให้การช่วยเหลือทางรัสเซียในการทำสงครามกับพวกแขกเติร์ก อย่างไรก็ตามผลของสงครามครั้งนี้นั้นกลับไม่เป็นไปตามคาด ด้วยความพ่ายแพ้ของทางรัสเซีย ทางจักรวรรดิของพระองค์ก็ต้องสูญเสียดินแดนเกือบครึ่งที่เคยได้มาครั้งทำสงครามกับพวกตุรกีเองคืนให้กับทางฝั่งนั้น และยังทำให้จักรวรรดิเป็นหนี้จากการทำสงครามยืดเยื้ออีกด้วย

ชีวิตสมรสและเรื่องซุบซิบ[แก้]

	จักรพรรดิคาร์ลที่ 6 ทรงอภิเษกกับเอลิซาเบธ คริสทีน แห่ง เบราน์ชไวค์-วัฟเฟินบุร์สเทิล พระองค์ทรงมีบุตรและธิดารวมกับ 4 พระองค์ แต่ทีแค่สองพระองค์ที่มีพระชนม์รอดมาจากสมัยเด็ก นั่นก็คือ อาร์คดัชเชสมาเรีย เทเรซา และอาร์คดัชเชสมาเรีย อันนา อย่างไรก็ตามเชื่อว่าพระองค์ทรงมีรสนิยมเป็นชายรักชาย มีเรื่องเล่าลือเล่าขานถึงการที่พระองค์ทรงเล่นชู้กับเหล่าข้าราชบริพารเพศชายของตัวเอง [3] อย่างไมเคิล โจเซฟ เคาท์แห่งอาเธน ผู้ซึ่งทรงสนิทสนมกับจักรพรรดิและมักจะถูกเรียกว่า “สุดที่รักของข้า ผู้ที่รู้ใจและอยู่กับข้าเสมอมา” [4] พระองค์ทรงจะไปหาชายผู้นี้อยู่เป็นประจำตลอดเวลาเกือบ 19 ปี จนกระทั่งชู้รักของพระองค์เสียชีวิตไปเมื่อปี 2265

สวรรคต[แก้]

ประติมากรรมรูปปั้นเหนือโรงศพของจักรพรรดิคาร์ลที่ 6 ที่สุสานหลวงกรุงเวียนนา

ในเดือนตุลาคม 2283 พระองค์ทรงนำข้าราชบริพาลไปล่าสุดแถวชายขอบของฮังการี อย่างไรก็ตามด้วยสภาพอากาศที่ทั้งชื้นและหนาวที่สุดเท่าที่พระองค์เคยเจอมา ด้วยสภาพอากาศแบบนั้นทำให้พระองค์ทรงเป็นไข้หวัดอย่างกระทันหัน พระองค์ป่วยหนักและสวรรคตอย่างกะทันหันที่ฮอฟบูร์ก เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม รวมอายุขัยทั้งสิ้น 55 พรรษา อย่างไรก็ตามบันทึก Memoirs Voltaire [5] ของพระองค์ทรงบันทึกว่าพระองค์มีอาการทรุดลงหลังจากรับประทานเห็ดพิษเข้าไป จนกระทั่งสวรรคตในเวลาถัดมา

หลังการสวรรคตของพระองค์ ปัญหาการสืบสันตติวงศ์ก็กลับมาเป็นหัวข้อหลักอีกครั้ง กฤษฎีกาว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์ที่ร่างเอาไว้ ถูกเพิกเฉยต่อการใช้งาน มหาอำนาจหลายฝ่ายสนับสนุนผู้แทนจากรัฐบาวาเรีย คาร์ล อัลเบิร์ต เจ้าผู้เลือกแห่งบาวาเรียให้เป็นจักรพรรดิพระองค์ถัดไป นั่นจึงเป็นชนวนเหตุสำคัญที่นำไปสู่การทำสงครามสืบราชบัลลังก์ออสเตรียในเวลาถัดมา


พระอิสริยยศ[แก้]

นอกจากนี้พระองค์ยังดำรงพระอิสริยยศเป็น

ก่อนหน้า จักรพรรดิคาร์ลที่ 6 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ถัดไป
สมเด็จพระจักรพรรดิโจเซฟที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
สมเด็จพระจักรพรรดิแห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
กษัตริย์โรมัน
กษัตริย์โบฮีเมีย
กษัตริย์ฮังการี
กษัตริย์เยอรมัน

(ค.ศ.1711-ค.ศ.1740)
สมเด็จพระจักรพรรดิชาลส์ที่ 7 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
พระเจ้าฟีลิปที่ 4
กษัตริย์เนเปิลส์
(ค.ศ.1714-ค.ศ.1734)
พระเจ้าชาลส์ที่ 7
ว่าง สเปนิช เนเธอแลนด์ (8 มณฑล)
(ค.ศ.1713-ค.ศ.1740)
มาเรีย เทเรซ่า
วิกเตอร์ อมเดอุส กษัตริย์ซิซีลี
(ค.ศ.1711-ค.ศ.1740)


  1. Fraser, 312.
  2. Fraser, Antonia: Love and Louis XIV: The Women in the Life of The Sun King, Orion books, London, 2006, ISBN 978-0-7538-2293-7, 331.
  3. Charlotte Backerra, 'Disregarding Norms: Emperor Charles VI and His Intimate Relationships', Royal Studies Journal, Vol 6 No2, Winchester University Press, 2019, p75; Friedrich Polleroß, 'Monumenta Virtutis Austriacae: Addenda zur Kunstpolitik Kaiser Karls VI.,' in Kunst, Politik, Religion: Studien zur Kunst in Süddeutschland, Österreich, Tschechien und der Slowakei, ed. Markus Hörsch and Elisabeth Oy-Marra, Petersberg: Michael Imhof Verlag, 2000, p118.
  4. 16 March 1722, OeStA, HHStA, HA, Sammelbände 2, Tagebuch 12 (1722-1724), fol. 6r., quoted in Stefan Seitschek, Die Tagebücher Kaiser Karls VI., Berger & Söhne, Ferdinand 2018, p233.
  5. «Charles the Sixth died, in the month of October 1740, of an indigestion, occasioned by eating champignons, which brought on an apoplexy, and this plate of champignons changed the destiny of Europe» (Voltaire: Memoirs of the Life of Voltaire, 1784; pp. 48–49).