ข้ามไปเนื้อหา

ชิรก์ (อิสลาม)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ในศาสนาอิสลาม ชิริก (อาหรับ: شرك) เป็นบาปจากการบูชาเทวรูปหรือพหุเทวนิยม (เช่น สักการะใครหรืออะไรก็ตามเป็นพระเจ้านอกจากอัลลอฮ์)[1] ตามหลัก เตาฮีด (เอกเทวนิยม)[2] มุชริกูน (مشركون พหุพจน์ของ มุชริก مشرك) คือผู้ที่ทำ ชิริก ซึ่งหมายถึง "มีความสัมพันธ์" และอิงถึงการยอมรับพระเจ้าและความศักดิ์สิทธิ์คู่กับอัลลอฮ์ (ในฐานะ "ผู้มีหุ้นส่วน" กับพระเจ้า)[3][4]

ในกฎหมายชะรีอะฮ์ ชิริกเป็นอาชญากรรมที่อภัยไม่ได้ เพราะเป็นบาปขั้นร้ายแรง: อัลลอฮ์ทรงอภัยบาปทุกชนิด ยกเว้น ชิริก โดยผู้ที่ได้รับการยกเว้นคือ ผู้ศรัทธาที่สำนึกผิดจากชิรก์ก่อนตาย[2][5]

ศัพทมูลวิทยา

[แก้]

คำว่า ชิริก มาจากรากสามอักษรว่า ช-ร-ก (ش ر ك) มีความหมายทั่วไปว่า "เพื่อแบ่งปัน"[6] ในอัลกุรอาน มักหมายถึง "แบ่งปันในฐานะหุ้นส่วน" ดังนั้น พหุเทวนิยม จึงหมายถึง "อ้างเป็นหุ้นส่วนกับอัลลอฮ์" ในอัลกุรอาน ชิริก กับคำว่า มุชริกูน (مشركون)—ผู้ทำชิริกและเป็นปฏิปักษ์ต่อศาสนาอิสลาม—มักกล่าวเป็นศัตรูของศาสนาอิสลาม (ในซูเราะฮ์อัตเตาบะฮ์ อายะฮ์ 9:1–15)[7]: 9:1-15 

กุรอาน

[แก้]

นักวิจารณ์ศาสนาอิสลามกล่าวถึงอัลกุรอานว่าได้เน้นไปถึงการสักการะรูปปั้นของชาวอาหรับก่อนการมาของอิสลาม โดยเฉพาเทพีหลักทั้งสาม มะนาต, อัลลาต และอัลอุซซา คู่กับอัลลอฮ์ (ในอัลกุรอานซูเราะฮ์ที่ 53) และคำว่า มุชริกูน (เอกพจน์: มุชริก) มักแปลเป็นภาษาไทยว่า "พวกบูชาเจว็ด; มุชริก; ผู้ปฏิเสธศรัทธา"

อัลกุรอานกล่าวถึงสังคมในสมัยนบีนูฮ์ว่า พวกบูชารูปปั้นปฏิเสธและล้อเลียนนูฮ์ว่า "และพวกเขาได้กล่าวว่า "พวกท่านอย่าได้ทอดทิ้งพระเจ้าทั้งหลายของพวกท่านเป็นอันขาด พวกท่านอย่าได้ทอดทิ้งวัดด์ และซุวาอ์ และยะฆูษ และยะอูก และนัซร์ เป็นอันขาด" (กุรอานซูเราะฮ์นูฮ์ 71:23)[8]: 71:23 

อีกรูปหนึ่งของ ชิริก คือการสักการะทรัพยสืนหรือวัสดุอื่น ๆ เช่นในอัลกุรอาน ซูเราะฮ์อัลอะอ์รอฟ ในเรื่องราวของลูกหลานอิสราเอลที่บูชาลูกวัวที่ทำด้วยทอง[9] และมูซา สั่งให้พวกเขาขออภัยโทษ

อีกรูปแบบหนึ่งของชิรก์ในอัลกุรอาน ซูเราะฮ์อัตเตาบะฮ์ คือ การนำนักวิชาการศาสนา, พระ, สิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือนักกฎหมายทางศาสนาเป็นพระเจ้าในทางปฏิบัติ[10][11]

การตีความทางเทววิทยา

[แก้]

มุสลิมยุคกลางและนักปรัชญาชาวยิวเชื่อว่าหลักตรีเอกภาพเป็น ชิริก ในภาษาอาหรับ (หรือ ชีตุฟ ในภาษาฮีบรู) หมายถึง "การเชื่อมโยง" ในการการจำกัดความเป็นอนันต์ของพระเจ้าโดยการเชื่อมโยงพระผู้เป็นเจ้ากับการดำรงอยู่ทางกายภาพ[12]

ในบริบททางเทววิทยา ผู้ที่ทำ ชิริก คือผู้ที่ตั้งสิ่งที่ถูกสร้างกับอัลลอฮ์ โดยจะเป็นบาปนี้ในตอนที่คนหนึ่งจินตนาการว่ามีหุ้นส่วนที่เหมาะกับการสักการะคู่กับ อัลลอฮ์ ตามที่อัลกุรอานกล่าวว่า: "แท้จริงอัลลอฮฺ จะไม่ทรงอภัยโทษให้แก่การที่สิ่งหนึ่งจะถูกให้มีภาคี ขึ้นแก่พระองค์และพระองค์ทรงอภัยให้แก่สิ่งอื่นจากนั้นสำหรับผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ และผู้ใดให้มีภาคีขึ้นแก่อัลลอฮฺแล้วแน่นอนเขาก็ได้อุปโลกน์บาปกรรมอันใหญ่หลวงขึ้น" (กุรอาน ซูเราะฮ์อันนิซาอ์ 4:48)[13]: 4:48 

ผู้ติดตามลัทธิศูฟีบางส่วน มีแนวโน้มที่จะเชื่อในสิ่งอื่นคู่กับพระเจ้าว่าเป็นหนึ่งในพหุเทวนิยม (ชิริก) นั่นไม่รวมถึงพระเทียมเท็จ แต่รวมความเชื่อในการมีตัวตนของสิ่งอื่น ซึ่งเป็นที่ยอมรับโดยเอกเทวนิยม เช่น มารเป็นต้นกำเนิดของความชั่ว หรือเจตจำนงเสรีเป็นต้นกำเนิดของหน้าที่ของสิ่งถูกสร้างของพระเจ้า เท่ากับการเชื่อว่ามีอำนาจอื่นนอกจากพระเจ้า[14]

สถานะของชาวคัมภีร์ (อะฮ์ลุลกิตาบ) โดยเฉพาะชาวยิวและคริสต์ แนวคิดของการไม่เชื่อในมุมมองของศาสนาอิสลามยังไม่เป็นที่กระจ่าง ชาลส์ อดัมส์ (Charles Adams) เขียนว่า กุรอานตำหนิชาวคัมภีร์ด้วยคำว่า กุฟร์ เพราะปฏิเสธโองการของมุฮัมมัด เมื่อพวกเขาควรเป็นกลุ่มแรกที่ยอมรับมันในฐานะผู้สืบทอดวจนะในยุคก่อน และเลือกเฉพาะชาวคริสต์ที่ปฏิเสธหลักฐานความเป็นเอกภาพของพระเจ้า[15] โองการจากซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮ์ 5:73[16]: 5:73  ("แท้จริงบรรดาผู้ที่กล่าวว่าอัลลอฮฺเป็นผู้ที่สามของสามองค์ นั้นได้ตกเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธาแล้ว...") คู่กับอายะฮ์อื่น เป็นที่เข้าใจว่าศาสนาอิสลามได้ปฏิเสธความเชื่อเรื่องตรีเอกภาพของศาสนาคริสต์[17] อีกอะยะฮ์หนึ่งปฏิเสธการเป็นพระเจ้าของอีซา บุตรของมัรยัม (พระเยซู บุตรของพระแม่มารีย์) อย่างเด็ดขาดและกล่าวถึงผู้คนที่ให้พระเยซูเท่ากับพระเจ้าเป็นผู้ปฏิเสธ ซึ่งจะถูกลงโทษในนรกตลอดกาล[18][19] อัลกุรอานไม่ได้กล่าวถึงพระเยซูในฐานะบุตรของพระเจ้าหรือเป็นพระเจ้า แต่ได้กล่าวเป็นศาสดาและศาสนทูตของพระเจ้าที่ส่งมายังลูกหลานอิสราเอล[20] นักคิดมุสลิมบางคน เช่น มุฮัมมัด อัฏฏอลิบี มีมุมมองแบบรุนแรงในโองการที่เกี่ยวกับความเชื่อในหลักตรีเอกภาพและการเป็นพระเจ้าของพระเยซู (อัลมาอิดะฮ์ 5:19, 5:75-76, 5:119)[16] ว่าเป็นหลักการที่ไม่ใช่คริสเตียนซึ่งถูกปฏิเสธโดยคริสตจักร[21]

Cyril Glasse วิจารณ์การใช้คำว่า กาฟิรูน [พหุพจน์ของ กาฟิร] เพื่อกล่าวถึงชาวคริสต์ว่าเป็น "การใช้งานอย่างหละหลวม"[22] รายงานจากสารานุกรอิสลาม ในหลักนิติศาสตร์อิสลาม อะฮ์ลุลกิตาบ นั้น "มักใจกว้างกว่าพวก กุฟฟาร [พหุพจน์ของ กาฟิร] อื่น ๆ..." และ "ในทางทฤษฎี" มุสลิมจะถูกลงโทษ ถ้าเขาพูดกับชาวยิวหรือคริสต์ว่า: "เจ้าผู้ปฏิเสธศรัทธา"[23]

ในทางประวัติศาสตร์ ชาวคัมภีร์ที่อยู่ภายใต้การปกครองของอิสลาม จะได้สถานะใหม่ว่า ซิมมี ในขณะที่ผู้มาเยียมชมดินแดนมุสลิมจะได้สถานะเป็น มุสตะอ์มิน[23]

หลังจากศตวรรษที่ 18 ด้วยความรุ่งเรืองของวะฮาบีย์ ชิริก ถูกขยายกรอบให้กว้างกว่าเดิม เช่นการมีส่วนร่วมทางการเมืองที่ดูแผลกในศาสนาอิสลาม หรือยึดมั่นประเพณีทางศาสนา เชื่อว่าไม่ได้อยู่ในหลักการอิสลาม[24]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Nonbelief: An Islamic Perspective
  2. 2.0 2.1 Kamoonpuri, S: "Basic Beliefs of Islam" pages 42–58. Tanzania Printers Limited, 2001.
  3. Gimaret, D. (2012). "S̲h̲irk". ใน P. Bearman; Th. Bianquis; C.E. Bosworth; E. van Donzel; W.P. Heinrichs (บ.ก.). Encyclopaedia of Islam (2nd ed.). Brill. doi:10.1163/1573-3912_islam_SIM_6965.
  4. Glassé, Cyril; Smith, Huston (2003-01-01). The New Encyclopedia of Islam (ภาษาอังกฤษ). Rowman Altamira. p. 429. ISBN 9780759101906.
  5. Cenap Çakmak Islam: A Worldwide Encyclopedia [4 volumes] ABC-CLIO 2017 ISBN 978-1-610-69217-5 page 1450
  6. A. A. Nadwi, "Vocabulary of the Quran"
  7. Ibn Kathir. "Tafsir Ibn Kathir (English): Surah Al Tawbah". Quran 4 U. Tafsir. สืบค้นเมื่อ 11 March 2020.
  8. Ibn Kathir. "Tafsir Ibn Kathir (English): Surah Nuh". Quran 4 U. สืบค้นเมื่อ 11 March 2020.
  9. "Quran 7:148–150".
  10. "Quran 9:31". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-04. สืบค้นเมื่อ 2020-10-10.
  11. "Yusuf Ali translation of 9:31, footnote 1266". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-14. สืบค้นเมื่อ 2020-10-10.
  12. Learning from other faiths Hermann Häring, Janet Martin Soskice, Felix Wilfred - 2003 - 141 "Medieval Jewish (as well as Muslim) philosophers identified belief in the Trinity with the heresy of shituf (Hebrew) or shirk (Arabic): 'associationism', or limiting the infinity of Allah by associating his divinity with creaturely being"
  13. Ibn Kathir. "Tafsir Ibn Kathir (English): Surah Al Nisa". Quran 4 U. Tafsir. สืบค้นเมื่อ 11 March 2020.
  14. Awn, Peter J. (1983). Satan's Tragedy and Redemption: Iblīs in Sufi Psychology. Leiden: Brill Publishers. p. 104. ISBN 978-9004069060
  15. Charles Adams; Kevin Reinhart (2009). "Kufr". ใน John L. Esposito (บ.ก.). The Oxford Encyclopedia of the Islamic World. Oxford: Oxford University Press. ISBN 9780195305135.
  16. 16.0 16.1 Ibn Kathir. "Surah Al Ma'ida". Quran 4 U. สืบค้นเมื่อ 11 March 2020.
  17. Thomas, David (2006). "Trinity". ใน Jane Dammen McAuliffe (บ.ก.). Encyclopaedia of the Qurʾān. Brill.
  18. Joseph, Jojo, Qur’an-Gospel Convergence: The Qur’an’s Message To Christians เก็บถาวร 2022-02-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Journal of Dharma, 1 (January–March 2010), pp. 55-76
  19. Mazuz, Haggai (2012) Christians in the Qurʾān: Some Insights Derived from the Classical Exegetic Approach, Journal of Dharma 35, 1 (January–March 2010), 55-76
  20. Schirrmacher, Christine, The Islamic view of Christians: Qur’an and Hadith, http://www.worldevangelicals.org
  21. Carré, Olivier (2003). Mysticism and Politics: A Critical Reading of Fī Ẓilāl Al-Qurʼān by Sayyid Quṭb. Boston: Brill. pp. 63–64. ISBN 978-9004125902.
  22. Glasse, Cyril (1989). The New Encyclopedia of Islam (Revised 2001 ed.). NY: Altamira Press. p. 247. ISBN 978-0759101890.
  23. 23.0 23.1 Björkman, W. (2012). "Kāfir". ใน P. Bearman; Th. Bianquis; C.E. Bosworth; E. van Donzel; W.P. Heinrichs (บ.ก.). Encyclopaedia of Islam (2nd ed.). Brill. doi:10.1163/1573-3912_islam_SIM_3775.
  24. Fletcher, Charles . "Shirk." In The Oxford Encyclopedia of the Islamic World. Oxford Islamic Studies Online, http://www.oxfordislamicstudies.com/article/opr/t236/e1080 (accessed Apr 21, 2020)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]