โชคัง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก วัดโจคัง)
โชคัง
วัดโชคัง
ศาสนา
ศาสนาศาสนาพุทธแบบทิเบต
นิกายเกลุก
เทพพระศากยมุนีพุทธเจ้า
ที่ตั้ง
ที่ตั้งพาร์โกร์ ลาซ่า ทิเบต
ประเทศจีน
สถาปัตยกรรม
รูปแบบวิหาร, ทิเบต, เนปาล
ผู้ก่อตั้งซงแจ็นกัมโป
เริ่มก่อตั้ง7th century
ชื่อทางการวัดอารามโชคัง
บางส่วนกลุ่มโบราณสถานพระราชวังโปตาลาในลาซ่า
เกณฑ์พิจารณาวัฒนธรรม: (i), (iv), (vi)
อ้างอิง707ter-002
ขึ้นทะเบียน1994 (สมัยที่ 18)
เพิ่มเติม2000, 2001
พื้นที่7.5 ha (810,000 sq ft)
พื้นที่กันชน130 ha (14,000,000 sq ft)
พิกัด29°39′11″N 91°2′51″E / 29.65306°N 91.04750°E / 29.65306; 91.04750พิกัดภูมิศาสตร์: 29°39′11″N 91°2′51″E / 29.65306°N 91.04750°E / 29.65306; 91.04750
โชคังตั้งอยู่ในประเทศทิเบต
โชคัง
ที่ตั้งโชคัง ในประเทศทิเบต
โชคังตั้งอยู่ในประเทศจีน
โชคัง
โชคัง (ประเทศจีน)

วัดโชคัง (ทิเบต: ཇོ་ཁང་, ไวลี: jo khang, พินอินทิเบต: qo kang) หรือ จุกลักคัง (ทิเบต: གཙུག་ལག་ཁང༌།, ไวลี: gtsug-lag-khang, พินอินทิเบต: Zuglagkang หรือ Tsuklakang) หรือในภาษาจีนเรียก ต้าเจาซื่อ (大昭寺, dà zhāo sì)เป็นวัดพุทธในลาซ่า ทิเบต ชาวทิเบตโดยทั่วไปเคารพบูชาวัดนี้ในฐานะวัดที่สำคัญและศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของทิเบต ปัจจุบันวัดโชคังอยู่ในนิกายเกลุก แต่ก็เปิดรับพุทธศาสนิกชนจากทุกนิกาย สถาปัตยกรรมของวัดผสมผสานวิหารอย่างอินเดีย, ทิเบต และเนปาล

วัดนี้ถือเป็น "หัวใจทางจิตวิญญาณของนครลาซ่า" และเป็นสถานที่ที่ผู้คนให้ความเคารพสูงสุดในทิเบต[1][2][3] ตั้งอยู่ที่ศูนย์กลางของเครือข่ายวัดพุทธโบราณในลาซ่า รวมถึงเป็นจุดศูนย์กลางของกิจกรรมการค้าในลาซ่า โดยรอบของวัดเต็มไปด้วยถนนและซอกซอยที่มีร้านค้ามากมาย[2] โชคังตั้งอยู่ 1,000 เมตร (3,300 ฟุต) ทางตะวันออกของพระราชวังโปตาลา[4] โดยรอบของวัดเป็นจัตุรัสตลาดพาร์โกร์ ซึ่งมีทางเดินเท้าให้แก่ศาสนิกชนได้เดินจาริกรอบอาณาเขตของวัดซึ่งใช้เวลาเดินรอบราว 20 นาที[5]

ประวัติศาสตร์[แก้]

ชาวทิเบตมองดินแดนของตนว่าถูกครอบครองโดยสิ่งมีชีวิตนามว่า srin ma (หรือ "sinma") ซึ่งเป็นปีศาจสตรีที่ต้านทานการเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา กษัตริย์ซงแจ็นกัมโปปฐมกษัตริย์แห่งทิเบตหลังรวมแผ่นดิน[6] ได้ริเริ่มแผนเพื่อต้านกับพลังของปีศาจนี้โดยสร้างวัดจำนวนสิบสองแห่งทั่วดินแดนทิเบต โดยจะสร้างขึ้นในสามช่วง ช่วงแรกประกอบด้วยสี่วัดในใจกลางของทิเบต เรียกว่า "เขาสัตว์ทั้งสี่" (ru bzhi) สี่วัดต่อมาจะสร้างในพื้นที่ท่อยู่ห่างนอกออกไปอีก (mtha'dul) และสี่วัดสุดท้าย yang'dul สร้างอยู่ที่พรมแดนของทิเบต และโชคังสร้างขึ้นท้ายสุดเพื่อเป็นศูนย์กลางของ srin ma ถือเป็นการจบพลังของปีศาจตนนี้[7]

ส่วนที่เก่าแก่ที่สุดของวัดสร้างขึ้นในปี 652 โดยซงแจ็นกัมโป กษัตริย์องค์นี้ได้ร่อนหมวก (บ้างว่าเป็นแหวน) ออกไปเพื่อหาสถานที่เหมาะสมแก่การสร้างวัด[8] หมวกนั้นหล่นลงในทะเลสาบหนึ่ง และทันใดนั้นก็มีสถูปผุดขึ้นมาจากทะเลสาบ[9] วัดโชคังจึ้งสร้างขึ้นตรงที่นี้ ในตำนานอีกรูปแบบหนึ่งเล่าว่าราชินี Bhrikuti สร้างวัดนี้ขึ้นเพื่อประดิษฐานเทวรูปที่ได้นำมา และราชินี Wencheng ได้เลือกที่ตรงนี้ตามหลักฮวงจุ้ยของจีน[6] ทะเลสาบที่ว่านั้นถูกถมขึ้นมาและสร้างวัดขึ้นบนที่ที่ถมขึ้นมานั้น ปัจจุบันยังคงเหลือให้เห็นเพียงบ่อน้ำเล็ก ๆ ตลอดเก้าศตวรรษถัดมา วัดมีการขยับขยายออกเรื่อยมา ครั้งสุดท้ายคือในปี 1610 โดยองค์ทาไลลามะที่ห้า[9]

สมัยที่จีนเข้ายึดครองทิเบตและเข้ามาทำการพัฒนาพื้นที่ลาซ่า รัฐบาลจีนได้ทำลายทางเดินรอบวัดที่เชื่อมกับลานจัตุรัสด้านหน้าทิ้ง ทางเดินภายมนถูกแปลงเป็นตลาดนัด เหลือทางเดินให้แก่ผู้มาจาริกแสวงบุญเพียงเล็กน้อย ส่วนศาสนวัตถุต่าง ๆ ในจัตุรัสหน้าวัดถูกนำไปขายทิ้ง[9] ต่อมาในสมัยการปฏิวัติวัฒนธรรม ยุวชนแดงได้เข้าโจมตีวัดโชคังในปี 1966 เริ่มต้นในวันที่ 24 สิงหาคม[10][11] และนับจากนั้นเป็นเวลาร่วมทศวรรษ ไม่มีการประกอบศาสนกิจภายในโชคังและพุทธารามทิเบตใด ๆ อีก โชคังเริ่มถูกบูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่อีกครั้งในปี 1972 แล้วเสร็จเป็นส่วนใหญ่ในปี 1980 หลังจากนั้นวัดได้กลับมาประกอบศาสนกิจดังเดิม ปัจจุบันวัดเป็นศาสนสถานสำคัญของทิเบต ผู้คนมากมายเดินทางมาเพื่อสักการะเทวรูปของโชโพรินโปเช ภายในวิหารด้านในสุดของวัด[12] ในสมัยการปฏิวัติวัฒนธรรมนั้น วัดโชคังรอดพ้นจากการถูกทำลายล้าง และมีบันทึกไว้ว่าวัดถูกล้อมปิดไม่ให้ใครเข้าจนถึงปี 1979[9] ในระหว่างนั้น มีบันทึกว่าภายในวัดโชคังบางส่วนถูกใช้งานเป็นโรงเลี้ยงหมู โรงฆ่าหมู และเป็นที่ตั้งของกองทัพจีน วรรณกรรมทิเบตภายในวัดถูกทหารเผาทิ้ง และในช่วงเวลาหนึ่ง วัดโชคังเคยถูกใช้เป็นโรงแรม[13]

ในปี 2000 โชคังได้รับการขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก ในฐานะส่วนต่อขยายของพระราชวังโปตาลา ซึ่งขึ้นทะเบียนมาตั้งแต่ปี 1994[14][15]

ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2018 เกิดเพลิงไหม้ในบริเวณวัดที่เวลา 18:40 ตามเวลาท้องถิ่น มีภาพถ่ายและวิดีโอจำนวนมากที่ถูกเผยแพร่ไปบนสื่อสังคมของจีน แสดงให้เห็นหลังคาโค้งถูกเพลิงขนาดใหญ่โหมไหม้ และมีควันพวยพุ่งขึ้นมาจำนวนมาก แต่ต่อมาภาพเหล่านี้ถูกปิดกั้นการมองเห็นและหายไปจากสื่อสังคมของจีน สำนักข่าวทางการของรัฐจีน Tibet Daily อ้างทางออนไลน์ว่าเพลิงไหม้ "ถูกดับอย่างรวดเร็ว" และ "ไม่มีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต" ตามด้วย People's Daily ตีพิมพ์เนื้อหาเดียวกันนี้ออนไลน์และรายงานเพิ่มเติมว่า "พุทธศาสนวัตถุภายในวัดไม่ได้รับความเสียหายใด ๆ" กระนั้น รายงานทั้งสองชุดนี้ไม่มีภาพประกอบ[16] วัดถูกปิดไม่ให้เข้าชมชั่วคราว ก่อนจะเปิดอีกครั้งในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ตามข้อมูลของสำนักข่าวซินหัว[17] อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่าจีวรสีเหลืองของเทวรูปโชโพรินโปเช พระองค์หลักของวัด เป็นผ้าชิ้นใหม่ รวมถึงคำสั่งห้ามมิให้ขึ้นไปชั้นสองของวัด ตามแหล่งข้อมูลของ Radio Free Asia ภาคภาษาทิเบต[18]

อ้างอิง[แก้]

  1. Mayhew, Kelly & Bellezza 2008, p. 96.
  2. 2.0 2.1 Dorje 2010, p. 160.
  3. Klimczuk & Warner2009, p. 34.
  4. An 2003, p. 69.
  5. McCue 2011, p. 67.
  6. 6.0 6.1 "Jokhang Temple, Lhasa". sacred-destinations.com. สืบค้นเมื่อ 28 September 2015.
  7. Powers 2007, p. 233.
  8. Brockman 2011, p. 263.
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 Davidson & Gitlitz 2002, p. 339.
  10. "Tibet and the Cultural Revolution". Séagh Kehoe. 30 January 2016. สืบค้นเมื่อ 30 August 2022.
  11. Woeser (8 August 2017). "My Conversation with Dawa, a Lhasa Red Guard Who Took Part in the Smashing of the Jokhang Temple". High Peaks Pure Earth. สืบค้นเมื่อ 30 August 2022.
  12. Laird 2007, p. 39.
  13. Buckley 2012, p. 142.
  14. Buckley 2012, p. 143.
  15. "China destroys the ancient Buddhist symbols of Lhasa City in Tibet". Tibet Post. 9 May 2013. สืบค้นเมื่อ 29 September 2015.
  16. Buckley, Chris (17 February 2018). "Fire Strikes Hallowed Site in Tibet, the Jokhang Temple in Lhasa". The New York Times. New York Times. สืบค้นเมื่อ 18 February 2018.
  17. "Fire-hit Jokhang temple streets reopen after blaze at Tibet holy site". AFP. 19 February 2018. สืบค้นเมื่อ 19 February 2018.
  18. Finney, Richard (2018-02-20). "Tibet's Jokhang Temple Closes For Three Days, Raising Concerns Over Damage". Radio Free Asia. สืบค้นเมื่อ 21 February 2018.

บรรณานุกรม[แก้]