ลมสุริยะ
หน้าตา
ลมสุริยะ (อังกฤษ: Solar wind) คือ กระแสของอนุภาคประจุไฟฟ้าที่ถูกปล่อยออกมาจากชั้นบรรยากาศชั้นนอกของดวงอาทิตย์สู่อวกาศ จึงมีชื่อในทฤษฎีว่า สุริยะ ส่วนใหญ่ประกอบด้วยอิเล็กตรอนและโปรตอน ซึ่งมีพลังงานเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 10-100 eV กระแสอนุภาคเหล่านี้มีอุณหภูมิและความเร็วที่แตกต่างกันออกไปตามช่วงเวลา กระแสอนุภาคจะหลุดออกพ้นจากแรงโน้มถ่วงของดวงอาทิตย์ได้เนื่องจากมีพลังงานจลน์และอุณหภูมิโคโรนาที่สูงมาก
ลมสุริยะทำให้เกิดเฮลิโอสเฟียร์ คือฟองอากาศขนาดใหญ่ในมวลสารระหว่างดาวที่ครอบคลุมระบบสุริยะเอาไว้ ลมสุริยะยังทำให้เกิดปรากฏการณ์อื่นที่เกี่ยวข้องได้แก่ พายุแม่เหล็กโลก (geomagnetic storm) ซึ่งเป็นต้นเหตุทำให้ไฟฟ้าบนโลกใช้การไม่ได้บางครั้งบางคราว, ออโรรา (หรือปรากฏการณ์แสงเหนือ-แสงใต้) และหางพลาสมาของดาวหางที่จะชี้ออกไปจากดวงอาทิตย์เสมอ
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Sun|trek website แหล่งข้อมูลทางการศึกษาสำหรับครูและนักเรียน เกี่ยวกับดวงอาทิตย์และผลกระทบที่ดวงอาทิตย์มีต่อโลก
- ปฏิบัติการคลัสเตอร์ แสดงให้เห็นว่าลมสุริยะมีอุณหภูมิสูงขึ้นอย่างไร
- ↑ McComas, D. J.; Elliott, H. A.; Schwadron, N. A.; Gosling, J. T.; Skoug, R. M.; Goldstein, B. E. (2003-05-15). "The three-dimensional solar wind around solar maximum". Geophysical Research Letters (ภาษาอังกฤษ). 30 (10): 1517. Bibcode:2003GeoRL..30.1517M. doi:10.1029/2003GL017136. ISSN 1944-8007.