สนามแม่เหล็กของดาวฤกษ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สนามแม่เหล็กของดวงอาทิตย์ ทำให้เกิดมวลพลาสมาฉีดพุ่งออกมาจำนวนมหาศาล ภาพจาก NOAA

สนามแม่เหล็กของดาวฤกษ์ (อังกฤษ: stellar magnetic field) คือสนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้นจากการเคลื่อนที่ของพลาสมาที่นำกระแสไฟฟ้าภายในดาวฤกษ์ในแถบลำดับหลักซึ่งเผาไหม้ด้วยออกซิเจน การเคลื่อนที่นี้เกิดขึ้นจากการพาความร้อน อันเป็นรูปแบบการถ่ายเทพลังงานอย่างหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ทางกายภาพของสสาร สนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้นในบริเวณนั้นส่งผลต่อพลาสมา ทำให้ยิ่งเพิ่มความดันขึ้นโดยไม่สมดุลกับความหนาแน่น ทำให้เกิดย่านแม่เหล็กเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับพลาสมาที่เหลือ จนกระทั่งถึงขอบเขตโฟโตสเฟียร์ของดาวฤกษ์ ซึ่งทำให้เกิดจุดบนดาวฤกษ์บนพื้นผิวดาว และเกิดปรากฏการณ์ coronal loop ตามมาด้วย[1]

อ้างอิง[แก้]

  1. Brainerd, Jerome James (July 6, 2005). "X-rays from Stellar Coronas". The Astrophysics Spectator. สืบค้นเมื่อ 2007-06-21.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]