ดาวยักษ์
หน้าตา
ดาวยักษ์ (อังกฤษ: giant star) คือดาวฤกษ์ชนิดหนึ่งที่มีรัศมีและโชติมาตรสัมบูรณ์มากกว่าดาวฤกษ์ในแถบลำดับหลักที่มีอุณหภูมิยังผลเท่ากัน[1] โดยทั่วไปดาวยักษ์จะมีรัศมีระหว่าง 10 ถึง 100 เท่าของรัศมีดวงอาทิตย์ และความส่องสว่างระหว่าง 10 ถึง 1,000 เท่าของดวงอาทิตย์ ดาวฤกษ์ที่มีความสว่างยิ่งกว่าดาวยักษ์จะเรียกว่า ดาวยักษ์ใหญ่ และดาวยักษ์ใหญ่ยิ่ง[2][3] บางครั้งดาวฤกษ์ในแถบลำดับหลักที่มีความร้อนสูงและส่องสว่างมาก ๆ ก็อาจถูกเรียกว่าดาวยักษ์ได้เช่นเดียวกัน[4] การที่ดาวยักษ์มีรัศมีและความส่องสว่างที่สูงมาก ทำให้มันอยู่เหนือแถบลำดับหลัก (ค่าความส่องสว่างระดับ V ตามการจัดประเภทดาวฤกษ์ของเยอร์เกสบนแผนภาพของแฮร์ตสปรอง–รัสเซิล เทียบกับกับระดับความส่องสว่าง II หรือ III[5]
ตัวอย่าง
[แก้]ดาวยักษ์ซึ่งเป็นที่รู้จักแพร่หลาย ซึ่งมีสีต่าง ๆ ดังเช่น :
- ดาวอัลไซโอนี (η Tauri), ดาวยักษ์สีน้ำเงิน-ขาว (B-type) [6] เป็นดาวสว่างที่สุดในกระจุกดาวลูกไก่[7]
- ดาวธูบัน (α Draconis), ดาวยักษ์สีขาว (A-type)[8]
- σ Octantis, ดาวยักษ์สีขาว (F-type)[9]
- ดาวคาเพลลา (α Aurigae Aa), ดาวยักษ์สีเหลือง-ขาว (G-type) หนึ่งในกลุ่มดาวที่เรียงตัวกันเป็นกลุ่มดาวคาเพลลา[10]
- ดาวอาร์คตุรุส (α Bootes), ดาวยักษ์สีส้ม (K-type)[11]
- ดาวมิรา (ο Ceti), ดาวยักษ์สีแดง (M-type)[12]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Giant star, entry in Astronomy Encyclopedia, ed. Patrick Moore, New York: Oxford University Press, 2002. ISBN 0-19-521833-7.
- ↑ supergiant, entry in The Encyclopedia of Astrobiology, Astronomy, and Spaceflight, David Darling, on line, accessed May 15, 2007.
- ↑ hypergiant, entry in The Encyclopedia of Astrobiology, Astronomy, and Spaceflight, David Darling, on line, accessed May 15, 2007.
- ↑ Giant star, entry in Cambridge Dictionary of Astronomy, Jacqueline Mitton, Cambridge: Cambridge University Press, 2001. ISBN 0-521-80045-5.
- ↑ giant, entry in The Facts on File Dictionary of Astronomy, ed. John Daintith and William Gould, New York: Facts On File, Inc., 5th ed., 2006. ISBN 0-8160-5998-5.
- ↑ Alcyone, entry in SIMBAD, accessed May 16, 2007.
- ↑ Alcyone เก็บถาวร 2010-07-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน at Jim Kaler's STARS, accessed on line May 16, 2007.
- ↑ Thuban, entry in SIMBAD, accessed May 16, 2007.
- ↑ Sigma Octantis, entry in SIMBAD, accessed May 16, 2007.
- ↑ α Aurigae Aa, entry in SIMBAD, accessed May 16, 2007.
- ↑ Pollux, entry in SIMBAD, accessed May 16, 2007.
- ↑ Mira, entry in SIMBADaccessed May 16, 2007.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Interactive giant star comparison.