ข้ามไปเนื้อหา

หลุมดำดาวฤกษ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

หลุมดำดาวฤกษ์ (อังกฤษ: stellar black hole) เป็นหลุมดำชนิดหนึ่งที่เกิดจากการยุบตัวจากแรงโน้มถ่วงของดาวฤกษ์มวลมาก (ขนาดตั้งแต่ 20 เท่ามวลดวงอาทิตย์ หรือมากกว่า ทั้งนี้ขนาดที่แน่นอนยังคงต้องมีการศึกษาต่อไปเพราะเกี่ยวข้องกับปัจจัยหลายอย่าง) ในช่วงเวลาสุดท้ายของดาวฤกษ์เมื่อสิ้นอายุขัย กระบวนการนี้สามารถสังเกตได้จากการระเบิดของมหานวดารา หรือในแสงวาบรังสีแกมมา หลุมดำดาวฤกษ์ที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยพบ (นับถึงปี ค.ศ. 2007) มีขนาด 15.65±1.45 มวลดวงอาทิตย์[1] นอกจากนี้ยังมีหลักฐานว่า แหล่งกำเนิดรังสีเอกซ์ IC 10 X-1 เป็นหลุมดำดาวฤกษ์ที่คาดว่ามีขนาดมวล 24-34 เท่ามวลดวงอาทิตย์[2]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Nature 449, 799-801 (18 October 2007)
  2. Prestwich et al., The Astrophysical Journal, volume 669, part 2 (2007), pages L21–L24