ดาวยักษ์ใหญ่ยิ่งเหลือง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผนภาพของแฮร์ตสปรอง–รัสเซิลแสดงตำแหน่งดาวยักษ์ใหญ่ยิ่งเหลืองอยู่ด้านบน

ดาวยักษ์ใหญ่ยิ่งเหลือง (yellow hypergiant) เป็นดาวฤกษ์มวลมหาศาลที่ประกอบด้วยก๊าซที่ขยายตัวใหญ่มาก ชนิดสเปกตรัมอาจเป็นได้ตั้งแต่ A จนถึง K มีมวลตั้งแต่ 20 เท่าจนถึง 50 เท่าของมวลดวงอาทิตย์

ดาวยักษ์ใหญ่ยิ่งเหลืองอย่างดาว Rho Cassiopeiae ในกลุ่มดาวค้างคาวนั้นจะมองดูแล้วเหมือนมีการระเบิดอยู่เป็นระยะ แต่จริง ๆ แล้วนั่นแค่เกิดจากการลดแสงลงอย่างต่อเนื่อง เชื่อกันว่าดาวยักษ์ใหญ่ยิ่งเหลืองหายากมากภายในเอกภพ เนื่องจากมวลส่วนแกนกลางเกิดการเผาผลาญอย่างรวดเร็วมาก ทำให้ดาวประเภทนี้อยู่ในแถบลำดับหลักเพียงระยะเวลาสั้นประมาณไม่กี่ล้านปีก่อนที่จะเกิดเป็นมหานวดาราหรือไฮเปอร์โนวา ดาวยักษ์ใหญ่ยิ่งเหลืองนั้นเป็นช่วงหลังจากสิ้นสุดการเป็นดาวยักษ์แดง แล้วกำลังเปลี่ยนไปเป็นสีน้ำเงิน อยู่ในบริเวณช่วงว่าง ๆ สีเหลืองภายในแผนภาพของแฮร์ตสปรอง–รัสเซิล ซึ่งแก๊สมีความไม่เสถียรขณะกำลังเปลี่ยนผ่านไปทางสีน้ำเงิน[1] ดาวฤกษ์ชนิดนี้จะเผาผลาญมวลที่แกนกลางจนหมดสิ้นอย่างรวดเร็ว และก่อให้เกิดมหานวดาราประเภท 2 ในที่สุด

โครงสร้างภายใน[แก้]

ตามแบบจำลองทางฟิสิกส์ของดาวฤกษ์ในปัจจุบัน ดาวยักษ์ใหญ่ยิ่งเหลืองมีเขตพาความร้อนอยู่ภายในเขตแผ่รังสีซึ่งแตกต่างจากดาวฤกษ์ขนาดเท่าดวงอาทิตย์ซึ่งมีชั้นการแผ่รังสีอยู่ภายในชั้นการพาความร้อน[2] เนื่องจากความกดดันที่รุนแรงบนแกนกลางขอดาวยักษ์ใหญ่ยิ่งเหลือง จึงเชื่อว่าแกนกลางนั้นประกอบด้วยสสารสถานะเสื่อมทั้งหมดหรืออาจแค่บางส่วน

ชั้นโครโมสเฟียร์[แก้]

เนื่องจากขนาดที่ใหญ่มาก ดาวยักษ์ใหญ่ยิ่งเหลืองจึงมีสนามแม่เหล็กขนาดใหญ่และปล่อยพลังงานออกมา และมีประสิทธิภาพในการกักเก็บวัสดุบนพื้นผิวน้อยกว่าดาวฤกษ์ประเภทอื่น ๆ ดังนั้นดาวยักษ์ใหญ่ยิ่งเหลืองจึงมีชั้นบรรยากาศที่แผ่ขยายออกไปมาก บางครั้งเห็นจานฝุ่นและก๊าซ และอาจมีระบบดาวเคราะห์ อยู่รอบ ๆ

ตัวอย่างดาวฤกษ์ประเภทนี้[แก้]

ชื่อ รัศมีโดยประมาณ
Rho Cassiopeiae 450 R
V382 Carinae[1] 747 R
V509 Cassiopeiae (HR 8752) 400 R
V1302 Aquilae 357 R
HD 33579 380 R
IRAS 17163-3907 1000 R[3][4]
HR 5171 A 1316 R[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Stothers, Richard B.; Chin, Chao‐wen (2001). "Yellow Hypergiants as Dynamically Unstable Post–Red Supergiant Stars". The Astrophysical Journal. 560 (2): 934–936. Bibcode:2001ApJ...560..934S. doi:10.1086/322438. ISSN 0004-637X.
  2. Seeds, Michael A. (2004). Astronomy: The Solar System and Beyond (4th ed.). Brooks Cole. ISBN 978-0534421113.
  3. "'Fried Egg' Nebula Cracks Open Rare Hypergiant Star". Space.com. 2011-09-28. สืบค้นเมื่อ 2017-10-21.
  4. "Feast your Eyes on the Fried Egg Nebula". ヨーロッパ南天天文台. 2011-09-28. สืบค้นเมื่อ 2017-10-21.
  5. Chesneau, O.; และคณะ (2014). "The yellow hypergiant HR 5171 A: Resolving a massive interacting binary in the common envelope phase". Astronomy & Astrophysics. 563: A71. arXiv:1401.2628v2. Bibcode:2014A&A...563A..71C. doi:10.1051/0004-6361/201322421. ISSN 0004-6361.