รายชื่อประภาคารในประเทศไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ที่ทำการประภาคารแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี

นี่คือหน้าของรายชื่อประภาคารในประเทศไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายทางเรือในประเทศไทย ปัจจุบันมีหน่วยงานหลักดูแลอยู่ 2 หน่วยงาน คือ กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม และกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ

ประวัติ[แก้]

แต่เดิมเครื่องหมายเดินเรือในน่านน้ำไทยอยู่ในความรับผิดชอบของทั้งกรมเจ้าท่า และกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือโดยไม่มีการแบ่งเขตความรับผิดชอบกันอย่างชัดเจน จนระทั่งมีการกำหนดเขตความรับผิดชอบขึ้นเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2515 โดยกำหนดให้กรมเจ้าท่าดูแลเครื่องหมายเดินเรือในร่องน้ำ คือตั้งแต่ปากร่องน้ำเข้าไปจนถึงปลายร่องน้ำที่มีการขุดลอกเข้าไปยังพื้นที่ท่าเรือ และกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ ดูแลเครื่องหมายเดินเรือนอกร่องน้ำ คือตั้งแต่ปากร่องน้ำที่มีการขุดลอกออกไปยังทะเล[1]

ประภาคารถือเป็นเครื่องหมายเดินเรือภายนอกร่องน้ำ จึงอยู่ในความดูแลของกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือทั้งหมดในปัจจุบัน[1] ซึ่งมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอยู่หลายครั้งจนปัจจุบันประเทศไทยมีประภาคารตามทำเนียบเครื่องหมายทางเรือในประเทศจำนวนทั้งสิ้น 9 ประภาคาร[2]

ประภาคาร[แก้]

ประภาคารในประเทศไทย ปัจจุบันอยู่ภายใต้การดูแลของกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ มีจำนวนทั้งสิ้น 9 ประภาคาร[2] ตามทำเนียบเครื่องหมายทางเรือในประเทศ[3][4][5]

ชื่อ ภาพ เริ่มใช้งาน (พ.ศ.) ที่ตั้ง ลักษณะไฟ ความสูงหอ พิสัย รหัสประจำประภาคาร
THN NGA Admiralty ARLHS
ประภาคารอัษฎางค์ (หินสัมปะยื้อ) 2434 กองหิน ชลบุรี

13°11′19.67″N 100°47′53.94″E / 13.1887972°N 100.7983167°E / 13.1887972; 100.7983167

Fl(3) W 15s (fl 0.5s, ec 1.5s)x 2, fl 0.5s, ec 10.5s 9 เมตร (30 ฟุต) 10 ไมล์ทะเล (19 กิโลเมตร) 102 20672 F2954 THA010[6]
ประภาคารระยอง 2462 ปากน้ำระยอง

12°29′22.85″N 101°16′34.64″E / 12.4896806°N 101.2762889°E / 12.4896806; 101.2762889

Fl(3) W 15s (fl 0.5s, ec 1.5s)x 2, fl 0.5s, ec 10.5s 16 เมตร (52 ฟุต) 21 ไมล์ทะเล (39 กิโลเมตร) 114 20600 F2988 THA067[7]
ประภาคารแหลมสิงห์ 2449 ปากน้ำจันทบุรี

12°28′11.15″N 102°03′28.98″E / 12.4697639°N 102.0580500°E / 12.4697639; 102.0580500

Fl(3) W 15s (fl 0.5s, ec 1.5s)x 2, fl 0.5s, ec 10.5s 6 เมตร (20 ฟุต) 10 ไมล์ทะเล (19 กิโลเมตร) 118 20580 F2996 THA066[5]
ประภาคารแหลมงอบ 2487 ปลายแหลมงอบ ตราด

12°10′12.09″N 102°23′32.38″E / 12.1700250°N 102.3923278°E / 12.1700250; 102.3923278

Oc W 3s fl 1.0s, ec 2.0s 14 เมตร (46 ฟุต) 13 ไมล์ทะเล (24 กิโลเมตร) 121 20568 F3002 THA065[8]
ประภาคารเกาะมัตโพน 2451 ทางเข้าแม่น้ำชุมพร

10°26′56.20″N 99°15′14.84″E / 10.4489444°N 99.2541222°E / 10.4489444; 99.2541222

LFl WR 7s fl 2.0s, ec 5.0s 12 เมตร (39 ฟุต) ขาว 16 ไมล์ทะเล (30 กิโลเมตร)

แดง 8 ไมล์ทะเล (15 กิโลเมตร)

211 20796 F2924 THA025[9]
ประภาคารเกาะปราบ 2450 ยอดเกาะ ทางเข้าแม่น้ำบ้านดอน สุราษฎร์ธานี

9°15′52.18″N 99°25′56.46″E / 9.2644944°N 99.4323500°E / 9.2644944; 99.4323500

Fl W 6s fl 1.5s, ec 4.5s 14 เมตร (46 ฟุต) 21 ไมล์ทะเล (39 กิโลเมตร) 216 20836 F2916 THA034[10]
ประภาคารกาญจนาภิเษก 2539 แหลมพระเจ้า (แหลมพรหมเทพ) ภูเก็ต

7°45′42.99″N 98°18′19.86″E / 7.7619417°N 98.3055167°E / 7.7619417; 98.3055167

Fl W 9s fl 0.21s, ec 8.79s 19 เมตร (62 ฟุต) 22 ไมล์ทะเล (41 กิโลเมตร) 310 22182 F1169.5 THA048[11]
ประภาคารเกาะนก 2504 กันตรัง ตรัง

7°16′15.76″N 99°28′27.80″E / 7.2710444°N 99.4743889°E / 7.2710444; 99.4743889

Fl W 3s fl 0.3s, ec 2.7s 8 เมตร (26 ฟุต) 10 ไมล์ทะเล (19 กิโลเมตร) 316 22176 F1184 THA027[12]
ประภาคารเกาะตะเภาน้อย 2442 ยอดเกาะ ท่าเรือภูเก็ต

7°49′56.02″N 98°25′25.39″E / 7.8322278°N 98.4237194°E / 7.8322278; 98.4237194

Fl(2) W 20s fl 0.144s, ec 6.522s fl 0.144s, ec 13.190s 12 เมตร (39 ฟุต) 20 ไมล์ทะเล (37 กิโลเมตร) 312 22188 F1174 THA043[13]

อดีตประภาคาร[แก้]

อดีตประภาคาร คือกระโจมไฟที่เคยมีสถานะเป็นประภาคารและมีเครื่องหมายช่วยในการเดินเรือในความรับผิดชอบ แต่ถูกปรับลดสถานะในภายหลัง และประภาคารที่เคยทำหน้าที่ประภาคารในอดีตแต่ปัจจุบันอยู่ในสภาพไม่สามารถใช้การได้

เครื่องหมายทางเรืออื่น ๆ[แก้]

เครื่องหมายทางเรืออื่น ๆ ในประเทศไทยตามทำเนียบเครื่องหมายทางเรือในประเทศไทย ประกอบไปด้วย[14]

ดูเพิ่ม[แก้]

กระโจมไฟ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 กำหนดขอบเขตความรับผิดชอบ ละการประสานงานเกี่ยวกับงานเครื่องหมายช่วยการเดินเรือในน่านน้ำไทย ระหว่าง กรมเจ้าท่า กับ กรมอุทกศาสตร์ 26 มิถุนายน 2515 (PDF). กรมเจ้าท่าและกรมอุทกศาสตร์. 2515.
  2. 2.0 2.1 รายงานประจำปี กรมอุทกศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ 2565 (PDF). กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ. 2565.
  3. ทำเนียบไฟและทุ่นในน่านน้ำไทย พ.ศ. 2556 (PDF). กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ. 2556.
  4. Bub.112 List of Lights: Radio aids and fog signals 2023 - Western Pacific and Indian Oceans, Including Persian Gulf and Red Sea. National Geospatial-Intelligence Agency. 2023. p. 344.
  5. 5.0 5.1 "Laem Sing Light - ARLHS THA-066". wlol.arlhs.com.
  6. "Hin Sampayu Light - ARLHS THA-010". wlol.arlhs.com.
  7. "Rayong Light - ARLHS THA-067". wlol.arlhs.com.
  8. "Laem Ngob/Laem Ngop Light - ARLHS THA-065". wlol.arlhs.com.
  9. "Ko Mattaphon Light - ARLHS THA-025". wlol.arlhs.com.
  10. "Ko Prap (Bandon River) Light - ARLHS THA-034". wlol.arlhs.com.
  11. "Kanchanaphisek/Laem Phra Chao/Promthep Cape Light - ARLHS THA-048". wlol.arlhs.com.
  12. "Ko Nok (West Coast) Light - ARLHS THA-027". wlol.arlhs.com.
  13. "Ko Taphao Noi (Phuket Island) Light - ARLHS THA-043". wlol.arlhs.com.
  14. ประกาศกรมเจ้าท่า ที่ 146/2563 เรื่อง ทำเนียบเครื่องหมายทางเรือ (Aids to Navigation) ในประเทศไทย (PDF). กรมเจ้าท่า. 2563.