ข้ามไปเนื้อหา

เครื่องหมายจตุรทิศ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผนภาพแสดงเครื่องหมายจตุรทิศที่เห็นในตอนกลางวัน พร้อมกับรูปแบบแสง ไฟที่แสดงที่นี่ได้รับการกำหนดค่าเป็น "เร็ว"

เครื่องหมายจตุรทิศ หรือ เครื่องหมายแจ้งสิ่งอันตราย (อังกฤษ: Cardinal mark) คือเครื่องหมายทางทะเล (ในรูปแบบของทุ่น หรือโครงสร้างลอยน้ำ หรือโครงสร้างคงที่อื่น ๆ) ที่ใช้ในการนำร่องทางทะเลเพื่อระบุตำแหน่งสิ่งอันตรายและทิศทางของน่านน้ำที่ปลอดภัย

เครื่องหมายจตุรทิศจะระบุทิศทางของพื้นที่ปลอดภัยในรูปแบบของจุดทิศหลัก (ตามเข็มทิศ) คือ (เหนือ ตะวันออก ใต้ ตะวันตก) ที่สัมพันธ์กับเครื่องหมาย โดยเครื่องหมายนั้นสามารถสื่อสารได้โดยไม่คำนึงถึงทิศทางและตำแหน่งของเรือที่กำลังเข้าใกล้ ซึ่งตรงกันข้ามกับระบบเครื่องหมายทางข้าง (ซึ่งเป็นที่รู้จักมากกว่า)

ลักษณะของเครื่องหมาย

[แก้]

ลักษณะและความหมายของเครื่องหมายจตุรทิศนั้นเป็นไปตามข้อกำหนดของสมาคมประภาคารและเครื่องหมายทางเรือระหว่างประเทศ (IALA)

เครื่องหมายจตุรทิศระบุทิศทางหลักหนึ่งในสีตามเข็มทิศโดย

  • ทิศทางของเครื่องหมายยอดทรงกรวยทั้งสองชิ้น หากชี้ขึ้นทั้งสองอันจะเป็นทิศเหนือ หากชี้ลงทั้งสองอันจะเป็นทิศใต้ หากหันหน้าชี้เข้าหากันจะเป็นทิศตะวันตก และหากหันชี้ออกจากกันจะเป็นทิศตะวันออก
  • ลวดลายสีที่ทาบนเครื่องหมายคือแถบสีดำและสีเหลือง โดยเรียกตามทิศทางของกรวย ซึ่งสีดำจะอยู่ในตำแหน่งที่กรวยชี้ไป เช่น ทิศเหนือสีดำจะอยู่ด้านบน ทิศตะวันตกสีดำจะอยู่ตรงกลาง
  • อีกทางเลือกคือลำดับการกระพริบไฟวาบ ประกอบไปด้วยลำดับการกระพริบที่เร็วหรือเร็วมากตามทิศทางของหน้าปัดเข็มนาฬิกาที่สอดคล้องกับทิศตามเข็มทิศ เช่น 3 ครั้งสำหรับทิศตะวันออก 9 ครั้งสำหรับทิศตะวันตก ต่อเนื่องกันไม่หยุดสำหรับทิศเหนือ และทิศใต้ที่อาจเสริมด้วยการค้างจังหว่ะยาวจำนวนหนึ่งครั้ง เพื่อแยกความแตกต่างจากทิศตะวันตกในสภาวะที่ทะเลแปรปรวน
สรุปลักษณะของเครื่องหมาย[1]
ลักษณะเฉพาะ เหนือ ใต้ ตะวันออก ตะวันตก
ด้านบนสุด

กรวยทั้งสองชี้ขึ้น


กรวยทั้งสองชี้ลง


กรวยชี้ออกจากกัน


กรวยชี้เข้าหากัน
สี สีดำเหนือสีเหลือง สีเหลืองเหนือสีดำ แถบแนวนอนสีเหลืองบนสีดำ แถบแนวนอนสีดำบนสีเหลือง
ไฟ (ถ้ามีติดตั้ง) กะพริบอย่างต่อเนื่อง กระพริบ 6 ครั้ง + วาบยาว 1 ครั้ง กะพริบ 3 ครั้ง กระพริบ 9 ครั้ง

อาจจะใช้ลำดับของแสงกระพริบแบบเร็วหรือเร็วมากก็ได้ ซึ่งหากใช้วิธีนี้จะช่วยให้สามารถแยกเครื่องหมายที่อยู่ใกล้เคียงกันในระยะสายตากันได้โดยใช้เพียงแสงกระพริบ

นอกจากนี้ยังอาจใช้เครื่องหมายจตุรทิศในการดำเนินการดังต่อไปนี้

  • ระบุว่าจุดที่น้ำลึกที่สุดคือบริเวณฝั่งที่ชื่อของเครื่องหมายติดอยู่
  • ระบุด้านที่ปลอดภัยเพื่อที่จะผ่านอันตรายจุดนั้นไปได้
  • ดึงความสนใจไปที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่องน้ำ เช่น ส่วนโค้ง ทางแยก ลำน้ำสาขา หรือจุดสิ้นสุดดอนทรายใต้น้ำ
  • ดึงความสนใจไปที่อันตรายใหม่ที่พึ่งเกิดขึ้น เช่น เรือที่เกยตื้นอยู่ ในกรณีนี้มักจะวางเครื่องหมายที่เท่ากันไว้สองอันไว้ด้วยกัน เพื่อระบุว่าเป็นอันตรายที่พึ่งทำเครื่องหมายเอาไว้ และยังไม่ได้ตีพิมพ์หรือเผยแพร่บนแผนที่อย่างเป็นทางการ

การใช้งานอื่น ๆ

  • ในบางครั้งอาจใช้เครื่องหมายจตุรทิศแทนเครื่องหมายพิเศษ เพื่อระบุพื้นที่ทิ้งมูลดินหรือท่อระบายน้ำ เป็นต้น ตัวอย่างบางส่วนสามารถดูได้บนชายฝั่งทางใต้ของอังกฤษและทางตอนเหนือของฝรั่งเศส

เทคนิคการจำ

[แก้]

เครื่องหมายกรวยชี้ที่ติดไว้ด้านบนของทิศเหนือและทิศใต้สามารถสื่อสารได้ชัดเจน (คือกรวยชี้ขึ้นหรือชี้ลงทั้งสองอัน) ซึ่งส่วนที่เป็นปัญหาคือเครื่องหมายในส่วนของฝั่งตะวันออกและตะวันตก

  • เครื่องหมายด้านบนของทิศตะวันออกและตะวันตก "ตามดวงอาทิตย์" คือกรวยด้านบนชี้ไปในทิศทางที่ดูเหมือนดวงอาทิตย์จะเคลื่อนที่ไป (พระอาทิตย์ขึ้นในทิศตะวันออก หรือพระอาทิตย์ตกในทิศตะวันตก) ในขณะที่กรวยด้านล่างชี้ไปในทิศทางที่ภาพสะท้อนในมหาสมุดเหมือนจะเคลื่อนไหว ดวงอาทิตย์และเงาสะท้อนออกจากกันเมื่อพระอาทิตย์ขึ้น และเข้าหากันอีกครั้งตอนพระอาทิตย์ตก[2]
  • ทิศตะวันออกดูเหมือนไข่อิสเตอร์ (Easter egg) เครื่องหมายทางทิศตะวันตกดูเหมือนมีเอวคอด (Western women have wasp waists) [3]
  • ทิศตะวันออกดูเหมือนตัวอักษรคลาสิก E/เอปไซลอน (E/epsilon) เครื่องหมายทางทิศตะวันตกดูเหมือน "W" ที่ด้านข้าง หรือ ขนลมตะวันตก (West winds wool) ซึ่งดูเหมือนกระสวยหลอดด้าย[4]
  • ทิศตะวันออกมีขนาดใหญ่กว่าตรงกลาง "ขยายเส้นศูนย์สูตร" (Equatorially enlarged) ส่วนตะวันตกคือเอวของผู้หญิง (West is a woman's waist) [5]
  • ทิศตะวันตกดูเหมือนแก้วไวน์ที่มีก้านแคบและกว้างบนและล่าง

ส่วนของสี สามารถจดจำได้ด้วยวิธีนี้: เครื่องหมายทรงกรวยทั้งสองจะชี้ไปที่สีดำเสมอ

  • หากเครื่องหมายบนชี้ไปด้านบน สีดำจะอยู่ด้านบน
  • หากเครื่องหมายด้านบนชี้ไปที่ด้านล่าง สีดำจะอยู่ด้านล่าง
  • หากเครื่องหมายด้านบนชี้ไปที่ตรงกลาง สีดำจะอยู่ตรงกลาง
  • หากเครื่องหมายด้านบนชี้ไปด้านนอก สีดำจะอยู่ด้านนอก

ระเบียงภาพ

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. IALA 2010, p. 14.
  2. Sanders 2018.
  3. Noice 2013, p. 130.
  4. Cunliffe 2016, p. 34.
  5. RYA 1985, plates between pp 72 and 73.

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Cunliffe, Tom (2016) [2002], The complete day skipper (fifth ed.), Adlard Coles nautical (an imprint of Bloomsbury), ISBN 978-1-4729-2416-2
  • IALA, Cardinal Marks (PDF), IALA, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-12-14, สืบค้นเมื่อ 2010-06-01
  • IALA (2010), Maritime buoyage system and other aids to navigation (PDF), IALA (International association of maritime aids to navigation and lighthouse authorities), สืบค้นเมื่อ 11 August 2019
  • Noice, Alison (2013) [2007], Day skipper for sail & power (second ed.), Adlard Coles nautical (an imprint of Bloomsbury), ISBN 978-1-4081-9310-5
  • RYA (1985) [1981], Navigation, an RYA manual (second ed.), Newton Abbot: David & Charles, ISBN 0-7153-8631-X
  • Sanders, John (2018), "Cardinal Marks", Boatschool, สืบค้นเมื่อ 15 September 2020