รถไฟใต้ดินมิวนิก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รถไฟใต้ดินมิวนิก
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งมิวนิก
ประเภทรถไฟใต้ดิน, รถไฟผิวดิน
จำนวนสาย7[1]
จำนวนสถานี100[1][note 1]
ผู้โดยสารต่อวัน1,035,600 คน (ค.ศ. 2012)
ผู้โดยสารต่อปี378 ล้านคน (ค.ศ. 2012)[1]
เว็บไซต์MVG (บริษัทขนส่งมิวนิก)
การให้บริการ
เริ่มดำเนินงาน19 ตุลาคม ค.ศ. 1971
ผู้ดำเนินงานบริษัทขนส่งมิวนิก
(Münchner Verkehrsgesellschaft)
จำนวนขบวน572 คัน[1]
ข้อมูลทางเทคนิค
ระยะทาง95 km (59.0 mi)[1]
รางกว้าง1,435 mm (4 ft 8 12 in)
(รางมาตรฐาน)
ความเร็วเฉลี่ย35.6 mph (57.3 km/h)[1]
ผังเส้นทาง
Munich U-Bahn network in 2008.
Munich U-Bahn network in 2008.

รถไฟใต้ดินมิวนิก (เยอรมัน: U-Bahn München อูบาห์น มึนเชิน) เป็นระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ในเมืองมิวนิก ประเทศเยอรมนี เริ่มดำเนินการในปี ค.ศ. 1971[1] โดยบริษัทขนส่งมิวนิก (Münchner Verkehrsgesellschaft, MVG) ปัจจุบันมีจำนวน 7 เส้นทาง 96 สถานี ระยะทางทั้งสิ้น 95 กิโลเมตร (59 ไมล์)[1]

เส้นทางในปัจจุบัน[แก้]

โครงข่ายรถไฟใต้ดินมิวนิก ค.ศ. 2008
โครงข่ายรถไฟใต้ดินมิวนิก ค.ศ. 2008
โครงข่ายรถไฟใต้ดินมิวนิก ตามลักษณะภูมิประเทศ ค.ศ. 2010
โครงข่ายรถไฟใต้ดินมิวนิก ตามลักษณะภูมิประเทศ ค.ศ. 2010

ปัจจุบันมีจำนวน 7 เส้นทาง 96 สถานี ระยะทางทั้งสิ้น 95 กิโลเมตร (59 ไมล์)[1]

U1 โอลึมเพีย-ไอน์เคาฟส์เซ็นทรุมมังฟาลพลัทซ์
U2 เฟลท์มอคิงเมสเซชตัทออสท์
U3 โมซัคเฟือร์สเทินรีทเวสท์
U4 เวสท์เอ็นท์ชตรัสเซออาราเบลลาพาร์ก
U5 ไลเมอร์พลัทซ์นอยแพร์ลัคซืท
U6 การ์ชิง-ฟอร์ชุงเซ็นทรุมคลีนีคุมโกรสฮาเดิร์น
U7 เวสท์ฟรีทโฮฟนอยแพร์ลัคเซ็นทรุม

โครงข่ายมีระยะทางทั้งสิ้น 95 กิโลเมตร (59 ไมล์)[1] มีสถานีจำนวน 100 สถานี (เมื่อนับรวมสถานีเปลี่ยนเส้นทาง)[1] สถิติผู้โดยสารปี ค.ศ. 2012 อยู่ที่ 378 ล้านคน[1] รถไฟใช้ความเร็วสูงสุดที่ 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

การขยาย[แก้]

การขยายระบบในปัจจุบัน[แก้]

U6 (ทิศเหนือ) : การปรับปรุงสถานีเฟริทมานิง
ต้องมีสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินขนาดที่ใหญ่กว่านี้ในละแวกสนามกีฬาอัลลิอันซ์อาเรนาใหม่ ชานชลาใหม่ที่ 2 ถูกสร้างขึ้น และชานชลาเก่าถูกย้ายไปทางเหนืออีกประมาณ 100 เมตร สะพานเดินข้ามได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อที่จะได้เข้าถึงชานชลาได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังมีการสร้างรางรถเพิ่มอีกด้วย เริ่มสร้างเมื่อ 10 ตุลาคม 2002 และเปิดให้บริการใน 4 พฤษภาคม 2005
U3/U6: การปรับปรุงสถานีมารีนพลัทซ์
จากการเพิ่มขึ้นของการจราจรและการสร้างสนามกีฬาอัลลิอันซ์อาเรนาใหม่ทำให้มีความจำเป็นจะต้องขยายสถานีนี้ ซึ่งเป็นสถานีเปลี่ยนรถขนาดใหญ่ จึงมีการสร้างอุโมงค์ทางเดินเพิ่มขึ้นเพื่อที่จะให้มีการกระจายผู้โดยสารที่จะไปต่อรถ S-Bahn. โดยสร้างขนานกับชานชลาที่มีอยู่แล้ว เริ่มสร้างเมื่อ 27 พฤษภาคม 2003 และเปิดให้บริการใน 29 พฤษภาคม 2006
U6 (ทิศเหนือ) : ขยายเส้นทางการ์ชิง-โฮคบรึค - การ์ชิง - การ์ชิง-ฟอร์ชุงเซนทรุม
การขยายครั้งนี้ผ่านเมืองการชิงซึ่งมีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแห่งมิวนิกวิทยาเขตการ์ชิงและสถาบันวิจัยอื่นๆตั้งอยู่ ให้เข้าถึงระบบรถไฟฟ้าใต้ดิน เริ่มสร้างเมื่อ 2 เมษายน 2001 และเปิดให้บริการใน 14 ตุลาคม 2006
U3 (ทิศเหนือ) : ขยายเส้นทางโอลึมเปียเซนทรุม - โอเบอร์วีเซนเฟลด์ - โอลึมเปีย-ไอน์เคาฟ์เซนทรุม
เริ่มสร้างเมื่อ 5 มิถุนายน 2001 และเปิดให้บริการใน 28 ตุลาคม 2007
U3 (ทิศเหนือ) : ขยายเส้นทางโอลึมเปีย-ไอน์เคาฟ์เซนทรุม - โมซาเคอร์ ซังค์-มาร์ตินส์-พลัทซ์ - โมซัค
เริ่มสร้างเมื่อ 7 สิงหาคม 2004 และเปิดให้บริการใน 11 ธันวาคม 2010

การขยายระบบในอนาคต[แก้]

U1 (ทิศใต้) : ขยายเส้นทาง มังฟาลพลัทซ์ - เลารินพลัทซ์ - โรงพยาบาลฮาร์ลาคิง
เป็นโครงการที่ค่อนข้างล่วงหน้าไปมาก และเนื่องจากมีการคาดการณ์ผู้โดยสารว่ามีไม่มาก จึงทำให้หยุดโครงการนี้และให้ใช้รถรางจากสถานีชวานเซชตราเซอแทน
U1 (ทิศเหนือ) : ขยายเส้นทาง โอลึมเปีย-ไอน์เคาฟ์เซนทรุม - ฟาซาเนอรี (S) - เฟลด์มอคิง - ฮาเซนแบร์กึล นอร์ด
U3 (ทิศตะวันตก) : ขยายเส้นทาง โมซัค - วาลด์ฮอร์นชตราซเซอ - อุนเทอร์เมนซิง (S)
U4 (ทิศตะวันออก) : ขยายเส้นทาง อาราเบลลาพาร์ค - โคซิมาพาร์ค - ฟีเดลีโอพาร์ค - เองกึลชาลคิง (S)
โครงการนี้มีขึ้นพร้อมกับการขยาย S-Bahn สาย S8 จากบนดินลงสู่ใต้ดินจากสถานีอุนเทอร์เฟอริง (S) จนไปถึง ลอยช์เทนแบร์กกริง (S).
U5 (ทิศตะวันตก) : ขยายเส้นทาง ไลเมอร์พลัทซ์ - วิลลีบาลด์ชตราซเซอ - อัม คนี - พาซิง (S)
แม้เส้นทางนี้จะได้รับการอนุมัติแล้ว แต่ก็ยังคงมีข้อถกเถียงกันอยู่ว่าจะมีประโยชน์มากเพียงใด เนื่องจากสายนี้จะวิ่งขนานกับ S-Bahn และรถรางสาย 19 โดยบางส่วนเห็นว่าการขยายโดยผ่าน บลูเมเนา โดยมีเพิ่มอีก 5-6 สถานี จะทำให้พื้นที่ที่ห่างไกลจาก S-Bahn เข้าถึงได้มากขึ้น
U6 (ทิศใต้) : ขยายเส้นทาง คลีนิคุมโกรซฮาเดิร์น - มาร์ตินสรีด
จะเริ่มสร้างปลายปี 2016 แล้วเสร็จในปี 2020
U6 (ทิศเหนือ) : ขยายเส้นทาง การ์ชิง-ฟอร์ชุงเซนทรุม - ฮาลแบร์กโมส - ท่าอากาศยานนานาชาติมิวนิก
U9 สายลัด: มาร์ตินสรีด - อิมเพลอชตราซเซอ - สถานีกลาง - พินาโคเทค - กีเซลาชตราซเซอ - การ์ชิง-ฟอร์ชุงเซนทรุม
ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2014, SWM/MVG ได้ประกาศรายละเอียดการสร้างสายรถไฟทางลัดสายใหม่ [2] ซึ่งจะเรียกว่า U9 โดยสายนี้จะช่วยกระจานผู้โดยสารที่แน่นขนัดจากสาย U1/U2/U7/U8 และ U3/U6 โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่สถานีเปลี่ยนรถอย่าง เซนดลิงเกอร์ ทอร์ (U1/U2/U7/U8 และ U3/U6), สถานีกลาง (U1/U2/U7/U8 และ U4/U5), และ โอเดออนพลัทซ์ (U3/U6 และ U4/U5), และจะช่วยร่นเวลาการเดินทางจาก สถานีกลาง และ สนามกีฬาอัลลิอันซ์อาเรนา โดยไม่ต้องเปลี่ยนรถไฟที่สถานีมารีนพลัทซ์หรือโอเดออนพลัทซ์อีกต่อไป มีการคาดการณ์ว่าสาย U9 จะมีผู้โดยสารรปีละ 10 ล้านคนโดยใช้งบประมาณ 250 ถึง 360 ล้านยูโรคาดว่าแล้วเสร็จในปี 2025 หากงบประมาณได้รับการอนุมัติ
U10: ฮาร์ทฮอฟ - มึนช์เนอร์ ไฟรไฮต์ - โอเดออนพลัทซ์ - เซนดลิงเกอร์ ทอร์ - ฮาราส
เป็นสายกระจายผู้โดยสารสายที่ 3 สำหรับสถานีปลายทางยังไม่กำหนด
U11: โอลึมเปีย-ไอน์เคาฟ์เซนทรุม - เวสต์ฟรีดฮอฟ - สถานีกลาง - เซนดลิงเกอร์ ทอร์ - อินสบรูกเกอร์ ริง
เป็นสายกระจายผู้โดยสารสายที่ 4 สำหรับสถานีปลายทางยังไม่กำหนด
U12: ฮาร์ทฮอฟ - เทเรซีนชตราซเซอ - สถานีกลาง - เทเรซีนวีเซอ - อิมเพลอชตราซเซอ - ฮาราส
เป็นสายกระจายผู้โดยสารสายที่ 5

ดูเพิ่ม[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. There are 100 stations, counting connecting/transfer stations twice; there are 96 stations counting all stations once.

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 "MVG in figures" (PDF). mvg-mobil.de (pdf) (ภาษาอังกฤษ). Münchner Verkehrsgesellschaft mbH (MVG) Marketing. June 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-10-04. สืบค้นเมื่อ 2013-10-02.
  2. "Projekt U9-Spange" [U9 Link Project] (PDF). MVG Informationen für die Medien. Stadtwerke München. 2014-02-11. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-03-09. สืบค้นเมื่อ 2015-01-02.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]