ข้ามไปเนื้อหา

กลุ่มแบนิเจย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กลุ่มแบนิเจย์ เอสเอเอส
ชื่อเดิมแบนิเจย์ เอนเตอร์เทนเมนท์ (ค.ศ. 2008 – 2011)
ประเภทบริษัทเอกชน
อุตสาหกรรมบันเทิง
ก่อนหน้าโซดิอัคมีเดีย
กลุ่มเอนเดโมลชายน์
ก่อตั้ง2008; 16 ปีที่แล้ว (2008)
ผู้ก่อตั้งสเตฟาน โคร์บิต
สำนักงานใหญ่,
พื้นที่ให้บริการทั่วโลก
บุคลากรหลัก
เจ้าของ
เว็บไซต์www.banijay.com

กลุ่มแบนิเจย์ เอสเอเอส (อังกฤษ: Banijay Group SAS; ชื่อเดิม: แบนิเจย์ เอนเตอร์เทนเมนท์ (อังกฤษ: Banijay Entertainment), ตราสินค้า แบนิเจย์ (อังกฤษ: Banijay) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2020) เป็นบริษัทผลิตและจัดจำหน่ายรายการโทรทัศน์ข้ามชาติของประเทศฝรั่งเศส ตั้งอยู่ในกรุงปารีส ก่อตั้งขึ้นในเดือนมกราคม ค.ศ. 2008 โดยสเตฟาน โคร์บิต และเป็นเจ้าของบริษัทผู้ผลิตรายการกว่า 120 แห่งใน 22 ประเทศทั่วโลก

กลุ่มแบนิเจย์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์รูปแบบรายการโทรทัศน์เรียลลิตีโชว์ที่มีชื่อเสียงหลายรายการ และรายการที่เกี่ยวข้อง รวมถึง บิกบราเธอร์, ดีลออร์โนดีล, เดอะ มันนี่ ดรอป, เฟียร์แฟกเตอร์, มาสเตอร์เชฟ, ยัวร์เฟซซาวด์สแฟมิเลียร์, เซอร์ไววอร์ และยังผลิตรายการอื่น ๆ เช่น พีคกี บลินเดอร์ส และ แบล็ก มิร์เรอร์ บริษัทได้ขยายตัวในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ผ่านการเข้าซื้อกิจการหลายครั้ง รวมถึงการซื้อกิจการใหญ่อย่างโซดิอัคมีเดีย ในปี ค.ศ. 2016 และกลุ่มเอนเดโมลชายน์ ในปี ค.ศ. 2020 หลังย่อชื่อเป็นเพียงแบนิเจย์[2]

ประวัติ

[แก้]

ในปี ค.ศ. 2009 แบนิเจย์ได้เข้าซื้อกิจการบริษัท คัวร์โซ โพรดักคิโอนส์ ของประเทศสเปน 51% เมื่อวันที่ 12 มกราคม[3], เบรนพูลทีวี ของประเทศเยอรมนี 50% ในวันที่ 2 กรกฎาคม[4] และแผนกโทรทัศน์ทั้งหมดของนอร์ดิกสค์ฟิล์ม สตูดิโอภาพยนตร์ในโคเปนเฮเกนในวันที่ 12 ตุลาคม[5] ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2010 แบนิเจย์ได้เข้าซื้อกิจการ บันนิม/เมอร์เรย์ โปรดัคชันส์ ของสหรัฐ โดยไม่เปิดเผยจำนวนเงิน[6]

ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2012 แบนิเจย์ ได้เข้าถือหุ้นใหญ่ในบริษัทผู้ผลิตของประเทศออสเตรเลีย สกรีนไทม์ ซึ่งรวมถึงแผนกในประเทศนิวซีแลนด์ และสัดส่วนการถือหุ้น 49% ในผู้ผลิตชาวไอริช ชีนาวิล ซึ่งจำหน่ายในปี ค.ศ. 2015[7] ในปีเดียวกันนั้น สถานีโทรทัศน์ของประเทศฝรั่งเศส นอนสต็อปพีเพิล และ เอชทูโอโปรดักชันส์ ของไซริล ฮาโนว์นา ได้กลายเป็นสมาชิกใหม่ของกลุ่ม[8] ตามมาในปี ค.ศ. 2013 โดยบริษัทผลิตรายการของประเทศอิตาลี แอมบรามัลติมีเดีย[9] และบริษัทผลิตรายการของประเทศสเปน ดีแอลโอ โพรดักคิโอนส์[10]

ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2014 แบนิเจย์ได้เปิดตัว แบนิเจย์สตูดิโอ ในทวีปอเมริกาเหนือ ที่ลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย ของสหรัฐ[11] เมื่อวันที่ 9 มกราคม ค.ศ. 2015 แบนิเจย์ได้เข้าซื้อกิจการ สเตฟาน เดวิด เอนเตอร์เทนเมนท์ จากนครนิวยอร์ก[12]

ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2015 กลุ่มแบนิเจย์ประกาศว่าจะควบรวมกิจการกับโซดิอัคมีเดีย การควบรวมกิจการเสร็จสมบูรณ์ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2016[13][14] ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา กลุ่มแบนิเจย์ก็ยังคงเติบโตทั้งภายในและภายนอก

ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2017 กลุ่มแบนิเจย์ได้เข้าซื้อกิจการบริษัทผู้ผลิตรายการเซอร์ไววอร์ คือ แคสตาเวย์ เทเลวิชัน โปรดักชันส์[15] ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2018 กลุ่มแบนิเจย์ได้เข้าซื้อบริษัทวอนเดอร์ในสหราชอาณาจักร[16]

ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2018 ได้มีการก่อตั้งบริษัทย่อยใหม่ 3 บริษัท ได้แก่ แบนิเจย์สตูดิโออิตาลี[17], แบนิเจย์เอเชีย[18] และแบนิเจย์โปรดักชันส์เยอรมนี[19]

ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2018 แบนิเจย์ได้เข้าสู่การเจรจาขั้นสูง เพื่อเข้าซื้อกิจการกลุ่มเอนเดโมลชายน์ ซึ่งเป็นคู่แข่งกัน[20] โดยข้อตกลงได้รับการอนุมัติในปีถัดมาในวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 2019[21] และเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 2020 คณะกรรมาธิการยุโรปได้อนุมัติการเข้าซื้อกิจการ[22] การเข้าซื้อกิจการเสร็จสมบูรณ์ในวันที่ 3 กรกฎาคม ค.ศ. 2020[23]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Our People - Banijay Group". www.banijay.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-09. สืบค้นเมื่อ 7 January 2017.
  2. https://deadline.com/2020/07/banijay-reveals-rebrand-following-endemol-shine-group-takeover-1202978059
  3. "Banijay adquiere el 51% del accionariado de Cuarzo Producciones".
  4. Hopewell, John (2 กรกฎาคม 2009). "Banijay buys 50% stake in Brainpool".
  5. "Banijay acquires Nordisk Film's TV arm".
  6. "Bunim-Murray acquired by France's Banijay".
  7. http://if.com.au/2012/09/04/article/Banijay-Group-acquires-majority-stake-in-Screentime/XWNVYNIBXL.html
  8. "Stéphane Courbit rachète la société de production de Cyril Hanouna et boucle leILE rachat d'Everest Poker".
  9. Tartaglione, Nancy (29 เมษายน 2013). "Marco Bassetti Named CEO Of Banijay; Group Acquires Italy's Ambra Multimedia". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-17. สืบค้นเมื่อ 2020-08-14.
  10. "Banijay Group Acquires Spanish TV Production Firm DLO".
  11. Keslassy, Elsa (5 เมษายน 2014). "MipTV: Banijay Taps David Goldberg to Launch Banijay Studios North America".
  12. Steinberg, Brian (8 มกราคม 2015). "Banijay Group Buys Controlling Share in Stephen David Entertainment".
  13. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-22. สืบค้นเมื่อ 2020-08-14.
  14. Barraclough, Leo; Keslassy, Elsa (28 กรกฎาคม 2015). "Banijay, Zodiak to Merge to Create $1 Billion Production House".
  15. Tartaglione, Nancy (10 กรกฎาคม 2017). "Banijay Raises $416M To Help Finance Acquisition Of 'Survivor's Castaway Prods".
  16. Knox, David (28 กุมภาพันธ์ 2018). "Banijay acquires Wonder production arm". TV Tonight. สืบค้นเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2018.
  17. Keslassy, Elsa (25 มิถุนายน 2018). "Banijay Studios Italy Bows to Produce Premium Scripted Content".
  18. Mitchell, Robert (9 เมษายน 2018). "Banijay Group Partners With Deepak Dhar to Launch Banijay Asia".
  19. Tartaglione, Nancy (1 มีนาคม 2018). "Banijay Productions Germany Launches With Arno Schneppenheim As MD".
  20. Keslassy, Elsa (4 ตุลาคม 2018). "Banijay in Advanced Talks to Acquire Endemol Shine".
  21. Clarke, Stewart; Keslassy, Elsa (26 ตุลาคม 2019). "Banijay Seals $2.2 Billion Deal for Endemol Shine, Paving Way for Huge New Global Player".
  22. Kanter, Jake (1 กรกฎาคม 2020). "Banijay Group's $2.2BN Endemol Shine Group Takeover Approved By European Commission".
  23. "Banijay Closes Endemol Shine Acquisition, Forming Global Production Giant". 3 กรกฎาคม 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]