พูดคุย:เปรม ติณสูลานนท์

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เปรม ติณสูลานนท์ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประเทศไทยและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศไทย ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ เปรม ติณสูลานนท์ หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 พอใช้  บทความนี้อยู่ที่ระดับพอใช้ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
เปรม ติณสูลานนท์ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิการเมืองและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับการเมือง ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ เปรม ติณสูลานนท์ หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 พอใช้  บทความนี้อยู่ที่ระดับพอใช้ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
เปรม ติณสูลานนท์ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิการทหารและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับอาวุธ ทหาร การทหาร และสงคราม ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ เปรม ติณสูลานนท์ หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 พอใช้  บทความนี้อยู่ที่ระดับพอใช้ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

การยกย่อง[แก้]

"ได้รับการยกย่องจากทั่วโลกในฐานะนายกรัฐมนตรีผู้มีจริยธรรมและคุณธรรมสูง เป็นที่รักและศรัทธาของคนไทย" ดิฉันเอาออกนะค่ะ เพราะเท่าที่สัมผัสได้ คนไม่ชอบท่านสมัยเป็นนายกก็มากมาย เคยโดนชกจนจมูกหัก มีนักวิชาการมากมายออกมาขับไล่ จริยธรรมคุณธรรมมีอะไรเป็นตัวชี้วัด? ใครจะใส่เข้าไปอีก รบกวนขอแหล่งอ้างอิงด้วยค่ะ ว่าใครยกย่องทั่วโลก ใครบอกว่ามีจริยธรรมคุณธรรมสูง และประเทศนี้ผู้ที่เป็นที่รักและศรัทธาของคนไทยทั่วทั้งแผ่นดิน คงมีแต่"สถาบัน"ค่ะ ความเห็นส่วนตัวน่ะค่ะ ด้วยความเคารพ

ครับ แก้ไขข้อความ ไม่มีปัญหาครับ แต่กรุณาเลือกใช้ภาพที่เหมาะสม ไม่ใช่ภาพที่จงใจส่อเสียดด้วยด้วยครับ - tikiwiki - ('-' )( '-' )( '-') - 10:31, 19 ตุลาคม 2006 (UTC)

ถามหาความรับผิดชอบ[แก้]

นักวิชาการไทย ได้กล่าวว่าพลเอกเปรมเป็นบุคคลที่มีบทบาททางการเมือง ในช่วงวิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2549[2] นักวิเคราะห์จากต่างประ้เทศ กล่าวว่าพลเอกเปรม เป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการเมืองไทย พร้ิอมทั้งได้สนับสนุนให้ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ทำการรัฐประหาร ยึดอำนาจการปกครองแผ่นดิน จากรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ้และยังได้ โน้มน้าวพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ให้สนับสนุนคณะทหาร

นักวิชาการไทยนี่ใคร..บิดาคุณเหรอ..หรือหมาแมวที่ไหน....นักวิเคราะห์จากต่างประ้เทศ ...นี่ใคร...สัตว์บกหรือสัตว์น้ำ.......ถามนิดเหอะ..คำนี้น่ะ

ได้ โน้มน้าวพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ให้สนับสนุนคณะทหาร

ได้ฟังกับหูไหม...ได้ยินจากไหน...มีที่มาไหม...แล้วไอ้ภาพเลือดอาบ..ทีวีทุกช่องถ่ายเห็นชัดเจน...ว่าไอ้พวก..นปก มันขว้างมาเองจากข้างหลังแล้วก็หล่นใส่กบาลโง่ ๆ ของไอ้พวกข้างหน้า ทำไมไม่เอามาลง....คุณจะเลียแข้งเลียขาใคร...ไม่มีใครว่าหรอกครับ...แต่ถ้าแบบนี้มันเป็นกลาง....โลกนี้คนดีคงมีนายคุณคนเดียวล่ะมั้ง --Sutton 15:27, 29 กรกฎาคม 2007 (UTC)

เรื่องในหลวงผมเอาออกให้ก็ได้ ถ้าการวิจารณ์นั้นกระทบจิตใจคน แต่ในวิกิภาษาอื่นในบทความเดียวกันนี้ก็ยังมีการวิจารณ์ปรากฏอยู่ด้วยนะครับ คุณก็ตามไปแจ้งเจตจำนงค์ของคุณที่วิกิต่างภาษาเหล่านั้นด้วยแล้วกันครับ ผมไขข้อข้องใจให้แล้วนะครับว่านักวิชาการไทยคนนั้นคือใคร ก็อ่านมาจากลิงก์ที่อ้างอิงนั่นแหละ ส่วนเว็บ fobes.com น่าจะเป็นการวิจารณ์จากทีมข่าวมากกว่านะครับ (เหมือนที่สื่อต่างๆ ทำ) --Octahedron80 16:47, 29 กรกฎาคม 2007 (UTC)


มาอ้างฝรั่งเขียนวิกีน่าเชื่อถือ คุณประสาทแล้ว ฝรั่งหัวดำนะสิ นานใจล์ นายจักรภพ นี่มันก็เขียนฝรั่งเก่ง

ถ้าพวกคุณไม่ตะแบงจะย้อนกลับการแก้ไขหรือลบทิ้งของคนอื่นแต่แรก..มันก็ไม่ยาวมาจนถึงนี่หรอก....อ้างส่งเดชว่าเขาโน้มน้าว...ใครมันจะบังอาจทำอย่างนั้นกับพระองค์ท่านได้ พอเขาแก้ไขก็ล๊อกไม่ให้แก้...คุณจะด่าใครหรืออะไร..ก็เอาเหอะ..แต่สถาบันสูงสุดนี่ขอไว้...ถ้าพวกคุณไม่ได้ยินเองกับหู..อย่ามาแนวนี้อีกจะขอบคุณมาก ๆ เลยครับ...--Sutton 17:11, 29 กรกฎาคม 2007 (UTC)

ไปอ่านวิกิภาษาอื่นสิครับ พวกบุคคลสำคัญ ๆ ของไทย ข้อมูลเยอะกว่าที่คนไทยรู้ ๆ กันอีก เพราะฝรั่งเขาถือว่ามีอิสระในการบันทึกเรื่องราว ตราบใดที่เป็นความจริงและมีหลักฐานอ้างอิง วิกิไทยคงไม่สามารถเขียนความจริงบางอย่างลงไปได้ เพราะบุคคลใหญ่โตบางคนคงไม่ยอมรับความจริง พวกเสื้อเหลืองนี่ก็กบในกะลาเหลือเกิน น่าเบื่อ วิกิทุกภาษาเค้ามีมาตรฐานเดียวกันแหละครับ คือถ้าเรื่องไหนไม่จริง ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจน เค้าลบส่วนนั้นทิ้งทันทีครับ ถ้ามันไม่ใช่เรื่องจริง วิกิภาษาอื่นเค้าจะปล่อยมันบันทึกเอาไว้อย่างนั้นทำไม คิดเอาเอง Romangelo 01:55, 28 มิถุนายน 2553 (ICT)


คราวหลังเวลาแก้ไขอะไรที่เยอะๆ ช่วยกรุณาใส่เหตุผลของการแก้ไขไว้ที่คำอธิบายอย่างย่อด้วยครับ ขอบคุณ --Octahedron80 17:20, 29 กรกฎาคม 2007 (UTC)

      • ยึดข้อเท็จจริงที่รับรู้กันโดยมีการอ้างอิงจากแหล่งที่มีความน่าเชื่อถือในสังคม อาจเรียกว่ากระแสหลัก และสามารถบอกข้อถกเถียงได้

แต่ที่เถียงกันข้างบนนี้..มันเรื่องของ คนมีผลประโยชน์ทับซ้อน กัน มาทะเลาะกันหรือเปล่า 13 มกราคม 2553

ข้อความที่จะทำให้เกิดการโต้แย้ง...เพราะว่าเป็นสารที่เขากล่าวให้ฟังมาอีกที! หรือ เป็นแค่เพียงการสันนิษฐานเบื้องต้น![แก้]

หัวข้อ "บทบาทในวิกฤตการณ์การเมืองและการรัฐประหาร พ.ศ. 2549"

หลังการทำรัฐประหาร พ.ศ. 2549 มีนักวิชาการกล่าวหา พลเอกเปรม ว่ามีความเกี่ยวข้องกับ... หรือช่วงที่ ยังเป็นที่กล่าวหาอีกว่า พลเอกเปรม อาจมีบทบาทสำคัญ ...

คือว่า...มันเป็นข้อความที่ฟังมาจากบุคคลที่ 3 อีกทีหนึ่ง มันทำให้เราอยากสืบค้นข้อมูลว่า...ว่ามันจะจริงหรือเท็จอย่างไร แล้วก็ต้องไปถกถามกัน

ถกกันไปถกกันมา ก็มันเป็นที่ยากแก่พิสูจน์นิ(เพราะมันไม่ได้เห็นมากับตาตัวเอง) ก็เลยเกิดการโต้เถียงกันเองในที่สุด!...--unknown_00011 12:13, 31 กรกฎาคม 2007 (UTC)

3 สิ่งพึงระวัง "การเมือง-ศาสนา-พระมหากษัตริย์" --unknown_00011 12:15, 31 กรกฎาคม 2007 (UTC)

+ เนื้อหาที่มาจากคำบอกเล่า เสี่ยงต่อคำว่า "อคติ" ระหว่างคู่ขัดแย้ง คู่กรณีทางการเมือง เช่น บางประเด็นคงต้องไปถามคุณสุริยะใส เอาเองว่ารู้มาจากไหน ใครบอก ไม่เ่ช่นนั้นคงต้องแปลว่า เราจะเชื่อคำเล่าของคุณสุริยะใสใช่ไหม ? หรือ คำบอกกล่าวของคุณสุริยะใสนั้น "น่าเชื่อถือ" และ พึงเชื่อ ?

==พลเอกเปรม เคยออกมาพูดปฏิเสธแล้วนะครับ แต่ไม่ค่อยเป็นข่าว นึกถึงชายชราอายุเกือนร้อยนะครับ คงไม่มีกำลังไปสั่งใคร==

อันนี้ผมพูดจริงๆนะ ตรรกะง่ายๆ คนแก่อายุขนาดนี้ มีแต่ชื่อเสียงแต่ไม่มีเงิน ไม่มีผลประโยชน์ ไม่มีอำนาจรัฐที่จะอำนวยตำแหน่งให้ใครได้ เป็นคุณ คุณจะยอมทำตามคนแก่ๆธรรมดาสั่งหรือ?

ที่บ้านพักสี่เสาเทเวศร์ เมื่อวันที่ 30 มี.ค.2552 คณะอาจารย์ และศิษย์เก่าวชิราวุธวิทยาลัย ได้เดินทางเข้าพบและให้กำลังใจ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี ที่บ้านพัก ซึ่งสำนักข่าวไอเอ็นเอ็น ได้นำเสนอเนื้อหาคำพูดระหว่าง พล.อ.เปรม ที่ได้กล่าวกับศิษย์เก่าวชิราวุธ กรณีที่ถูก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวหาว่า อยู่เบื้องหลังเหตุปฏิวัติรัฐประหาร เพื่อล้มรัฐบาลทักษิณ มีใจความสำคัญ ดังนี้(ตั้งแต่ข้างล่างเป็นคำพูดพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นะครับ)

“ขอพูดบางกอกน่ะ ใจคอไม่อยากจะพูดเท่าไหร่ คุณทักษิณ ท่านกล่าวหา 3 อย่าง”

ข้อ 1.เขาเปิดเผยว่า ผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ คือเรา คือคนเขารู้หมดแล้ว ตั้งแต่คุณทักษิณพูดตั้งแต่วันนั้น แล้วคุณทักษิณ ว่า แต่เราพยายามถามเขาตอนนั้น ว่า หมายถึงเราใช่ไหม เขาก็ไม่ตอบ แล้วเราก็ถามอีกว่า ถ้าไม่ใช่เรา ก็ขอให้บอกมาว่าใคร ให้รู้กันชัดๆ ไม่ได้ถามแต่คุณทักษิณ ให้คนถามคุณหญิงอ้อ ว่า งั้นให้ช่วยพูดหน่อยได้ไหมว่า ที่คุณทักษิณ พูดว่า ผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญนั้น ไม่ใช่ผม เขาก็ไม่พูด ตกลงไม่พูด ไม่ตอบ ทั้งสามคำถาม ซึ่งจริงๆ เราก็รู้ว่า เขาหมายถึงเรา ตอนนั้นคุณทักษิณ ไปพูดที่ไหนไม่รู้ แล้วก็เปิดเผยผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ คือ พล.อ.เปรม

ข้อ 2.เขากล่าวหาว่า เราอยู่เบื้องหลังการปฏิวัติของคุณสนธิ เราก็ไม่รู้ว่าจะไปชี้แจงเขาได้อย่างไร เพราะว่าเราไม่ได้อยู่เบื้องหลังการปฏิวัติ เราจะอยู่เบื้องหลังการปฏิวัติไม่ได้ เพราะเราไม่มีหน้าที่ ที่จะต้องไปปฏิวัติ และเราก็ไม่มีอิทธิพลพอที่จะไปบอกคุณสนธิ ว่า “ปฏิวัติเถอะ” เพราะตอนนั้น รัฐบาลคุณทักษิณ นี่แย่มากๆ คนกำลังเล่นงานรัฐบาลทักษิณอยู่ ถ้าคุณจำได้ เขาจึง ไชโย ไชโย กันมาตอนที่ทหารออกมาปฏิวัติ คุณทักษิณ ก็บอกว่า ป๋า อยู่เบื้องหลังการปฏิวัติครั้งนี้ เบื้องหลังนี่ หมายความว่า อย่างไรก็ไม่รู้ เรานี่คงจะไปยุแหย่ หรือไม่ก็รู้ว่า คุณสนธิ จะปฏิวัติ แต่ก็จริงๆ เรามิได้เกี่ยวข้อง เขาก็ปฏิวัติกันไป ก็คิดดูกันเอาก็แล้วกันว่า ถ้าเรามีอิทธิพลพอที่จะไปบอกคุณสนธิ ว่า คุณไปปฏิวัติ คุณสนธิก็แย่ เพราะคุณสนธิต้องคิดเองว่า ทำไมจึงต้องปฏิวัติ มีเหตุใดที่ปล่อยให้รัฐบาลคุณทักษิณอยู่ต่อไปไม่ได้ ไม่ใช่มาเชื่อเรา ฉะนั้น เราไม่ได้อยู่เบื้องหลังเบื้องหน้า

ข้อ 3 เขาบอกว่า เราเป็นคนนำ ผบ.เหล่าทัพ ไปเฝ้าฯพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งก็ไม่จริง คืนนั้นเขาประกาศปฏิวัติกัน ประมาณ 3 ทุ่มเศษๆ คือ วันที่ 19 กันยายน พอเราได้ยินว่า เขาปฏิวัติกันไป เราก็เข้าไปในสวนจิตรฯ ที่เราเข้าไป เพราะเป็นหน้าที่ของเราที่เป็นองคมนตรี เนี้ยเมื่อมีปัญหาอย่างนี้ เราก็ต้องไปอยู่ใกล้ๆ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เผื่อว่า ท่านจะมีรับสั่งอย่างไรบ้าง เราจะได้รับใส่เกล้ามาปฏิบัติ เพราะมันเป็นเหตุการณ์ฉุกเฉิน เราเข้าไปประมาณ 3 ทุ่มเศษๆ คุณสนธิ กับ คุณชลิต ผบ.ทอ.2 คน เข้าไป เมื่อตอน 5 ทุ่มเศษ คุณสถิรพันธุ์ ผบ.ทร. มาทีหลัง มาเกือบ 2 ยาม แสดงให้เห็นว่า เราไม่ได้นำ 3 คน เข้าไปสวนจิตรฯ เพื่อเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เราไปของเราเอง แต่พอตอนที่เมื่อพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯลงมา เราเล่าข้ามตอนไปนิดว่า พวกที่เข้าไปบอก สมุหราชองครักษ์ เขาจะมาเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมุหราชองครักษ์ ก็ไปทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สักพักหนึ่ง ก็เสด็จฯลงมาทั้ง 2 พระองค์ เพราะฉะนั้น เราก็เป็นคนเข้าไปร่วมในการเฝ้าฯ จะว่าเรานำเข้าเฝ้าฯก็ไม่ถูก แต่ว่าเราไปอยู่ในที่นั่นด้วย เพราะฉะนั้น ที่คุณทักษิณ บอกว่า เราเป็นคนที่นำ 3 คนนี้ไปเฝ้าฯพระเจ้าอยู่หัว ก็เป็นเรื่องที่ไม่ตรงข้อเท็จจริง เพราะเราเข้าไปก่อน ชั่วโมงกว่า และเราก็ไม่รู้ว่า เขาจะมา หรือไม่มา เรารู้ก็ต่อเมื่อ คุณสนธิ เข้าไปกับ คุณชลิต ไปเจอเราในสวนจิตรฯ แล้ว นี่คือเรื่องจริงๆ ที่เกิดขึ้น เราขี้เกียจไปต่อความยาวสาวความยืด ไม่แก้ตงแก้ตัว

พะจุณณ์ ก็ทราบดี พวกเราก็ทราบดี เล่าให้ฟังเพื่อจะได้รู้ว่า ที่จริงมันเป็นอย่างไร ที่จริงคุณทักษิณ ก็มาบ้านเราหลายครั้ง คุณอ้อ ก็มาหลายครั้ง แล้วเมื่อ คุณทักษิณ ถูกปฏิวัติ แล้วคุณอ้อ ก็มาอีก แล้วหนังสือพิมพ์ก็เล่นงานเรา จำได้ไหม คุณอ้อ ก็มาให้ป๋าช่วยเหลือตอนนั้น สักประมาณปลายๆ เดือนกันยายน ที่เล่าให้ฟังทั้งหมดนี้ เพื่อจะได้รู้ว่า เหตุการณ์บ้านเมืองตอนนั้น เป็นมาอย่างไร อยากจะพูดกับทุกคน และขอบใจว่า เราเนี้ย เราถือว่า เราไม่มีศัตรู ไม่มีฝ่ายตรงข้ามกับเรา เพราะเราถือว่า เราจะทำหน้าที่ของเรา เพื่อคนไทยทุกคน แต่บางส่วน เขาเห็นว่า เราเป็นฝ่ายตรงข้ามกับเขา เราก็ไม่ว่าอะไร เขาอยากเป็นฝ่ายตรงข้ามก็เป็น แต่เราไม่เป็นด้วย เราถือว่า เราทำเสมอภาค ไม่มีฝ่ายตรงข้าม แต่นี่มีบางคนเห็นว่า เราเป็นฝ่ายตรงข้ามกับเขา เป็นฝ่ายตรงข้ามกับคุณทักษิณ ความจริง เราก็ไม่ได้เป็นฝ่ายตรงข้ามกับคุณทักษิณหรอก ที่เขาปฏิวัติ รู้สึกว่า เขาจะมีเหตุผลพอสมควร นี่คือ ที่อยากให้เข้าใจ ให้รู้เรื่อง ก็ขอบใจที่มากัน และมีหลายคนที่โทรศัพท์มาบ้าง มาพบเองบ้าง ขอมาเชียร์ และมาให้กำลังใจ ผมขอบอกว่า ขอบคุณ กำลังใจผมยังอยู่เต็มร้อย ผมไม่มีปัญหา ผมโดนมาเยอะแล้ว ผมโดนมามากกว่านี้ด้วยซ้ำไป อย่างตอนที่ผมเป็นแม่ทัพ ผมไปปราบ ผกค.เขาก็พูดว่า ปราบพวก ผกค. ผมบอกว่า ผมไม่ได้มาปราบพวกคุณหรอก ผมมาทำความเข้าใจกับพวกคุณ ว่า เราเข้าใจถูก เข้าใจผิดกันอย่างไร ผมไม่มีหน้าที่จะมาปราบคนไทยหรอก มีหน้าที่มาช่วยเหลือพวกไทยด้วยกัน ว่า ทำอย่างนี้ไม่ถูกหรอก ควรจะทำอย่างนี้มากกว่า เพื่อจะได้รู้ว่า ผมไม่คิดว่า คนไทยเป็นศัตรู เป็นฝ่ายตรงข้าม ผมมีหน้าที่ที่จะทำให้คนไทยรักกัน ชอบพอกัน อันนี้ ถ้าหนังสือพิมพ์ถามผม ผมก็จะตอบ บางคนเขาบอกว่า ผมควรจะมาชี้แจง ผมคิดว่ายังไม่ชี้แจงหรอก แต่ถ้าเผื่อถามก็จะชี้แจง แต่เล่าให้พวกเราฟัง โดยเฉพาะเด็กๆ ทั้งหลาย เพื่อจะได้รู้ความจริง

(ความจริงถอดเทปโดยสำนักข่าวINNแต่ลิงค์ข่าวเสีย ขอเป็นสำนักข่าวนี้แทน http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9520000036416 หวังว่าโปรดรับไว้พิจารณา

ตำรวจไม่ได้ทำร้ายประชาชน[แก้]

หากเปิดดูวิดีโอฉบับเต็มแล้ว จะเห็นว่าตำรวจต่างหากเป็นฝ่ายที่ถูกทำร้ายโดยพวกม็อบถ่อย จำนวนตำรวจที่บาดเจ็บมีสูงถึง 300 คน ส่วนพวกม็อบบาดเจ็บเพียง 40 กว่าคนซึ่งสาเหตุที่บาดเจ็บส่วนใหญ่เกิดจากการจะหินขว้างใส่ตำรวจ แต่โดนพวกเดียวกันเอง ขอให้แก้ด้วย --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ 125.27.213.97 (พูดคุยหน้าที่เขียน)

ขอบคุณสำหรับความเห็น คำแนะนำ และคำวิจารณ์ในบทความ เมื่อคุณเห็นว่าบทความไหนควรปรับปรุงอย่าลังเลที่จะแก้ไข วิกิพีเดียเป็นเว็บไซต์ในลักษณะวิกิที่ทุกคนสามารถร่วมแก้ไขได้ โดยเลือกที่ แก้ไข ในส่วนบนของของแต่ละบทความ ซึ่งการแก้ไขนั้นไม่จำเป็นจะต้องล็อกอิน (แม้ว่าจะมีข้อดีหลายอย่างถ้าล็อกอินก็ตาม) ทางวิกิพีเดียสนับสนุนให้ทุกคนกล้าแก้ไขบทความ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ทุกคนช่วยกันลงมือพัฒนาบทความให้ดีขึ้นกว่าเดิม ถ้าคุณไม่แน่ใจว่าจะเริ่มอย่างไร สามารถดูได้ที่การเริ่มต้นในวิกิพีเดีย และคำสั่งพื้นฐานในการใช้งาน และถ้าต้องการทดสอบสามารถลองได้ที่วิกิพีเดีย:กระบะทราย --Manop | พูดคุย 14:52, 14 สิงหาคม 2007 (UTC)
ผมแก้ข้อมูลและใส่แหล่งอ้างอิงแล้ว หากมีประเด็นอื่นที่คิดว่าควรเพิ่มอีก เชิญได้ครับ --Pi@k 00:53, 15 สิงหาคม 2007 (UTC)

ย้ายมาจากหน้าบทความ[แก้]

เนื้อความส่วนประวัติการรับราชการ และเครื่องราชฯ ย้ายมาจากหน้าบทความ เพราะไม่เป็นสารานุกรม - ('-' )( '-' )( '-') - 12:36, 27 สิงหาคม 2007 (UTC)

ประวัติการรับราชการและราชการพิเศษ[แก้]

  • 2 พฤษภาคม 2481 ตำแหน่งนักเรียนเทคนิค
  • 20 มกราคม 2484 ประจำกองรถรบ และได้รับพระราชทานยศ ว่าที่ ร้อยตรี (ราชการสนามกรณีสงครามอินโดจีน)
  • 19 มิถุนายน 2484 ได้รับพระราชทานยศ ร้อยตรี
  • 23 กรกฎาคม 2484 ประจำกรมรถรบ
  • 1 กรกฎาคม 2485 ได้รับพระราชทานยศ ร้อยโท (ราชการสนามกรณีสงครามมหาเอเชียบูรพา)
  • 1 กรกฎาคม 2487 ได้รับพระราชทานยศ ร้อยเอก
  • 11 มกราคม 2488 เป็นหัวหน้ากองบังคับการ กรมรถรบ
  • 13 มกราคม 2488 เป็นรองผู้บังคับกองร้อยที่ 2 กองพันที่ 1 กรมรถรบ
  • 23 กรกฎาคม 2489 เป็นผู้บังคับกองร้อยที่ 2 กองพันที่ 1 กรมรถรบ
  • 4 ธันวาคม 2489 เป็นนายกทหารฝึกหัดราชการโรงเรียนทหารม้า
  • 29 สิงหาคม 2490 เป็นผู้บังคับกองร้อยที่ 2 กองพันที่ 1 กรมรถรบ
  • 8 เมษายน 2492 รักษาราชการ รองผู้บังคับกองพันที่ 1 กรมรถรบ
  • 1 กรกฎาคม 2492 ได้รับพระราชทานยศ พันตรี
  • 18 กันยายน 2493 เป็นผู้บังคับกองร้อยที่ 3 กองพันทหารม้าที่ 4
  • 1 พฤษภาคม 2493 เป็นรองผู้บังคับกองพันที่ทหารม้าที่ 4
  • 7 กรกฎาคม 2493 เป็นรองผู้บังคับการจังหวัดทหารอุตรดิตถ์
  • 4 มิถุนายน 2495 เข้าศึกษาในโรงเรียนยานเกราะในความอำนวยการของหน่วย MAAG
  • 1 เมษายน 2495 เป็นรองผู้บังคับกองพันทหารม้าที่ 7 และรองผู้บังคับการจังหวัดทหารบกอุตรดิตถ์
  • 24 เมษายน 2496 เป็นอาจารย์แผนยุทธวิธี กองการศึกษาโรงเรียนยานเกราะกองพลน้อยทหารม้า
  • 8 มิถุนายน 2497 เป็นอาจารย์แผนกวิชาทหาร กองการศึกษาโรงเรียนยานเกราะกองพลน้อยทหารม้า
  • 30 ธันวาคม 2497 เป็นผู้บังคับกองพันทหารม้าที่ 5 กรมทหารม้าที่ 2 และรักษาราชการอาจารย์แผนกวิชาทหาร กองศึกษา โรงเรียนยานเกราะ กองพลน้อยทหารม้า
  • 23 พฤศจิกายน 2498 เป็นอาจารย์หัวหน้าแผนกวิชาทหาร กองการศึกษาโรงเรียนยานเกราะ กองทหารม้า และรักษาราชการผู้บังคับกองพันทหารม้าที่ 5 กรมทหารม้าที่ 2
  • 16 ธันวาคม 2498 เป็นอาจารย์แผนกหัวหน้าวิชาทหาร กองศึกษาโรงเรียนยานเกราะ กองพลทหารม้า
  • 1 มกราคม 2499 ได้รับพระราชทานยศ พันเอก
  • 10 มีนาคม 2501 เป็นผู้ช่วยบัญชาการโรงเรียนทหารม้ายานเกราะ ศูนย์การทหารม้า
  • 25 ธันวาคม 2501 เป็นรองผู้บัญชาการโรงเรียนทหารม้ายานเกราะ ศูนย์การทหารม้า
  • 3 กุมภาพันธ์ 2502 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ
  • 13 มีนาคม 2506 เป็นรองผู้บังคับชาการโรงเรียนทหารม้า ศูนย์การทหารม้า
  • 1 ตุลาคม 2506 เป็นรองผู้บัญชาการทหารม้า และรองผู้บังคับการจังหวัดทหารบกสระบุรี
  • 4 พฤษภาคม 2511 มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นวุฒิสภา
  • 1 ตุลาคม 2511 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นผู้บัญชาการศูนย์การทหารม้า และผู้บังคับการจังหวัดทหารบกสระบุรี ได้รับพระราชทานยศ พลตรี
  • 4 เมษายน 2512 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นองครักษ์เวร
  • 18 กรกฎาคม 2512 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นนายทหารพิเศษประจำกรมทหารม้าที่ ๑ รักษาพระองค์
  • 16 ธันวาคม 2515 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
  • 1 ตุลาคม 2516 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นรองแม่ทัพภาคที่ 2
  • 1 ตุลาคม 2517 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นแม่ทัพภาคที่ 2 และได้รับพระราชทานยศ พลโท
  • 1 ตุลาคม 2518 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นราชองครักษ์พิเศษ
  • 1 ตุลาคม 2520 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก ได้รับพระราชทานยศ พลเอก และเป็นรองผู้อำนวยการป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ ฝ่ายทหารบก
  • 12 พฤศจิกายน 2520 ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
  • 27 กรกฎาคม 2521 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นนายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์
  • 1 ตุลาคม 2521 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็น ผู้บัญชาการทหารบก
  • 4 ธันวาคม 2521 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นนายทหารพิเศษประจำกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์
  • 24 พฤษภาคม 2522 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในคณะรัฐบาลซึ่งมี พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ เป็นนายกรัฐมนตรี
  • 12 กรกฎาคม 2522 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นนายทหารพิเศษประจำกรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์
  • 15 กรกฎาคม 2523 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นนายทหารพิเศษประจำกรมทหารที่ 21 รักษาพระองค์
  • 3 มีนาคม 2523 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็น นายกรัฐมนตรี
  • 12 มีนาคม 2526 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอีกตำแหน่งหนึ่ง
  • 1 พฤษภาคม 2526 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็น นายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่งหลังจากประกาศยุบสภา เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2526
  • 5 สิงหาคม 2529 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็น นายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่งหลังจากประกาศยุบสภา เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2529
  • 23 สิงหาคม 2531 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็น องคมนตรี
  • 29 สิงหาคม 2531 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศยกย่อง เป็น “รัฐบุรุษ
  • 4 กันยายน 2541 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็น ประธานองคมนตรี

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญตรา[แก้]

พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ได้รับราชการ สนองพระเดชพระคุณ ด้วยความกล้าหาญ เสียสละ ใช้ความรู้ ความสามารถปฏิบัติงานในทุกด้าน

ทำให้เกิดผลดีแก่ชาติบ้านเมือง จนได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญเชิดชูเกียรติวงศ์ตระกูล ที่สำคัญคือ

  • พ.ศ. 2484 เหรียญชัยสมรภูมิ (สงครามอินโดจีน)
  • พ.ศ. 2491 จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย
  • พ.ศ. 2495 จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก
  • พ.ศ. 2496 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย
  • พ.ศ. 2498 เหรียญจักรมาลา
  • พ.ศ. 2504 ตริตาภรณ์ช้างเผือก
  • พ.ศ. 2505 เหรียญชัยสมรภูมิ (สงครามมหาเอเชียบูรพา)
  • พ.ศ. 2505 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย
  • พ.ศ. 2512 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย
  • พ.ศ. 2515 ประถมาภรณ์ช้างเผือก
  • พ.ศ. 2518 มหาวชิรมงกุฎ
  • พ.ศ. 2519 ทุติยจุลจอมเกล้า
  • พ.ศ. 2521 มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก
  • พ.ศ. 2521 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ
  • พ.ศ. 2521 เหรียญรัตนาภรณ์ ชั้นที่ ๓
  • พ.ศ. 2521 เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ ๑
  • พ.ศ. 2522 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ ๒ มหาโยธิน
  • พ.ศ. 2525 ปฐมจุลจอมเกล้า
  • พ.ศ. 2531 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคล นพรัตน์ราชวราภรณ์
  • พ.ศ. 2533 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ ๑ เสนางคะบดี
  • นอกจากนี้ยังได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญต่างประเทศจากหลายประเทศ

ข้อมูลจำนวนพี่น้องของ พล.อ.เปรม[แก้]

จริงๆแล้วพลเอกเปรมมีพี่น้องทั้งหมด 8 คน ไม่ใช่ 6 คนนะคะ

[1]

- Maya-aya - ('-' )( '-' )( '-') - 16:05, 26 ตุลาคม 2007(UTC+7)

Invisible hand ?[แก้]

มีการพูดกันหลายครั้ง เช่น ท่านนายก สมัคร ,ท่านนายกเงา ถึงเรื่องมือที่มองไม่เห็น และมีพยายามอธิบายว่าเป็นใคร แต่ไม่ได้บอกชื่อ บอกแค่ว่าแฟนทาทา ที่อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์สำคัญหลายๆอย่าง สมควรเขียนเรื่องนี้ไหม ? --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 125.26.61.27 (พูดคุย | ตรวจ) 23:02, 22 กุมภาพันธ์ 2551 (ICT)

- มือที่มองไม่เห็น จริงๆแล้วหมายถึงท่านทักษิณ ชินวัตรครับ --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 125.25.133.42 (พูดคุย | ตรวจ) 13:02, 29 มีนาคม 2551 (ICT)

ความผิดปกติทางจิต[แก้]

ท่านเปรม เป็นบุคคลรักร่วมเพศ นี่เป็นข้อเท็จจริง สามารถเขียนไปได้หรือไม่ครับ --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 125.26.52.25 (พูดคุย | ตรวจ) 09:27, 11 พฤษภาคม 2551 (ICT)

จะเขียนได้ต้องมีแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้ครับ เช่น หนังสือพิมพ์ หนังสือ ถ้าเขียนไว้อย่างนั้น ก็ใส่ได้ว่าหนังสือเล่นนั้นเขียนไว้อย่างนั้น หรือถ้าบุคคลสำคัญพูดออกทีวี ก็คงเขียนได้แค่ว่าคนนั้นคนนี้พูดครับ ไม่ถือว่าเป็นข้อเท็จจริง พวกเว็บไซต์ที่เขียนกันเอง เว็บบอร์ด บล็อก ถือเป็นแหล่งอ้างอิงที่ไม่น่าเชื่อถือครับ ถ้าใส่มาโดยไม่มีแหล่งอ้างอิงหรือแหล่งอ้างอิงไม่น่าเชื่อถือก็จะโดนลบไป --Lerdsuwa 16:38, 11 พฤษภาคม 2551 (ICT)

อ๋อ ถึงว่าจะเป็น ก็ไม่ถือเป็นความผิดปกติทางจิตนะครับ เดี๋ยวนี้จิตแพทย์ใช้คำว่า รสนิยมทางเพศ ไม่ถือเป็นความผิดปกติ... อนึ่ง ถ้าใครสักคนยังไม่ come out การไปเขียนเช่นนั้น สามารถโดนฟ้องหมิ่นประมาททางการโฆษณาได้ ไม่ว่าจะมีข่าวลือ ไม่ลือ หรืออะไรก็ตาม .. สรุป.. เขียนไม่ได้ครับ --Lv.88 พรรณพฤกษา 2.0 ไฟล์:WikiBotany tap.png 06:27, 28 พฤษภาคม 2551 (ICT)

+ มีการกล่าวถึงเรื่องนี้ราวกับว่า เป็นประเด็นสำคัญมากๆ นำไปสู่ข้อสรุปอย่างอื่น ผู้เขียน จงใจเช่นนั้นหรือ ? หรือเป็นเพราะบุคคลคนนี้ขัดต่อผลประโยชน์ของบางคน เรียกว่ามี ผลประโยชน์ทับซ้อนระหว่างกัน พฤติกรรมนี้มีผู้ใดรู้เห็น หรือ ระวังจะกลายเป็นประเด็นเหมือนเรื่อง พระเจ้าตากเป็นบ้า หรือไม่ ?


+ ขอโทษนะครับ ถ้าคุณเรียกพวกรักร่วมเพศว่าเป็นพวกผิดปรกติทางจิต ผมว่าคุณไม่ใช้พวกประชาธิปไตย

วันเลือกตั้ง[แก้]

เรียนผู้ดูแลเว็บไซต์ เนื่องจากบทความนี้ไม่อนุญาตให้แก้ไข จึงของท้วงติงในด้านประวัติศาสตร์ อันเนื่องมาจากข้องมูลในเว็บไซต์เกี่ยวกัพลเอกเปรม ติณสูลานนท์

สมัยที่ 3 คณะรัฐมนตรี คณะที่ 44 : 5 สิงหาคม 2529 - 3 สิงหาคม 2531 สิ้นสุดลงภายหลังการยุบสภา ในวันที่ 29 เมษายน 2531 เนื่องจากเกิดปัญหาขึ้นในพรรคประชาธิปัตย์ เกิดกลุ่ม 10 มกรา ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองอย่างเป็นเอกเทศภายในพรรค กลุ่ม 10 มกรา นี้ลงมติไม่สนับสนุนพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ ที่รัฐบาลเสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภา จนทำให้พระราชบัญญัติไม่ผ่านการเห็นชอบ พรรคประชาธิปัตย์แสดงความรับผิดชอบโดยการถอนตัวจากการเป็นพรรคร่วมรัฐบาล พลเอกเปรมจึงประกาศยุบสภา มีการเลือกตั้งในวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2531

ในช่วงปลายรัฐบาลพลเอกเปรม ขณะที่กำลังจะมีการเลือกตั้ง มีกระแสการคัดค้านการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่ 4 จากกลุ่มนักวิชาการ

ภายหลังการเลือกตั้ง ในคืนวันที่ 27 กรกฎาคม 2531 หัวหน้าพรรคการเมืองที่จะร่วมกันจัดตั้งรัฐบาล โดยมีพรรคชาติไทยเป็นแกนนำ ได้เข้าพบพลเอกเปรมที่บ้านพัก เพื่อเชิญให้มาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่ 4 แต่พลเอกเปรมปฏิเสธ ต่อมาในวันที่ 4 สิงหาคม 2531 จึงได้มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ พลตรีชาติชาย ชุณหะวัณ (ยศขณะนั้น) ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 17


มีข้อผิดพลาดจากวันที่ของการเลือกตั้ง ดังนี้ การเลือกตั้งในประเทศไทยครั้งที่ 17 (24 กรกฎาคม พ.ศ. 2531) ดังนั้น วันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 ไม่ได้มีการเลือกตั้งเกิดขึ้น กรุณาแก้ไขด้วย อ้างอิงจาก เว็บไซต์

wikipedia http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87

หากข้อมูลที่ดิฉันได้เสนอแนะให้แก้ไขไม่ถูกต้อง ก็กรุณาระบุวันที่ในการเลือกตั้ง ซึ่งคือ วันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 ลงในบทความเลือกตั้งด้วยค่ะ --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Hudchuess (พูดคุยหน้าที่เขียน) 09:10, 1 พฤศจิกายน 2551 (ICT)

แก้ไขแล้ว ขอบคุณครับที่ช่วยตรวจสอบ --Pi@k 12:56, 9 เมษายน 2552 (ICT)

ตำแหน่งทางทหาร[แก้]

สืบเนื่องจากบทความในหน้านี้ซึ่งมีเนื้อความว่า จากข้อความในบทความเรื่อง ตำแหน่งทางทหาร ที่ว่า"นอกจากยศ พลเอก แล้ว พลเอกเปรม ยังถือว่าเป็นบุคคลเดียวในปัจจุบันที่มิใช่พระบรมวงศานุวงศ์ ที่ได้รับยศ พลเรือเอก ของกองทัพเรือ และ พลอากาศเอก ของกองทัพอากาศ..."

อันที่จริงก็ยังมีหลายๆบุคคลที่ได้รับการโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศพลเรือเอก และพลอากาศเอกที่ยังมีชีวิตอยู่ เช่น พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก พลเอกประมณฑ์ ผลาสินธุ์ ,พลเอกเสริม ณ นคร ,พลเอกเชษฐา ฐานะจาโร หรือน่าจะมีอีก ซึ่งมีหลักฐานที่สามารถยืนยันได้จากเวปไซต์ของกองทัพบกอยู่นะครับ ดังนั้นบทความเรื่องตำแหน่งทางทหาร ผมขอเสนอให้ยกเลิก หรือเปลี่ยนแปลงเนื้อหาใหม่ให้เป็นในแนวทางอื่นๆ อาจเป็นประวัติการทำงานทางทหารก็ได้นะครับ ขอบคุณครับ --ท่านเกรียง 14:58, 24 ตุลาคม 2009 (UTC)