ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกิพีเดีย:ขอให้กล้า"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 12: บรรทัด 12:


== แก้เลย แต่อย่าสะเพร่า ==
== แก้เลย แต่อย่าสะเพร่า ==
ผู้ใช้ใหม่นั้น มักจะตื่นเต้นไปกับการเปิดกว้างของ[[วิกิพีเดีย]]และกระโจนเข้าใส่มัน นี่เป็นสิ่งที่ดี แต่อย่าลืมว่า ''ขอให้กล้าแก้ไขบทความ'' ไม่ได้หมายความว่าคุณควรจะลบบทความเกี่ยวกับประเด็นที่ซับซ้อน และเต็มไปด้วยการโต้เถียง ที่มีประวัติยาวนานหลาย ๆ อัน ในหลาย ๆ กรณี เนื้อหาของบทความที่คุณเห็นนั้น ผ่านกระบวนการแก้ไขและเจรจาต่อรองของชาววิกิพีเดียที่มีประสบการณ์และมุมมองที่แตกต่างกัน การแก้ไขโดยไม่ระวังต่อบทความดังกล่าว อาจการเป็นการเข้าไปตีรังผึ้ง และผู้ใช้ที่มีส่วนร่วมในการเขียนบทความในหน้านั้น อาจโต้ตอบอย่างโกรธเกรี้ยว กระนั้นก็ตามการแก้ไขไวยากรณ์ที่ผิดพลาดนั้น ก็ยังเป็นสิ่งที่ควรกระทำอยู่
ผู้ใช้ใหม่นั้น มักตื่นเต้นไปกับการเปิดกว้างของ[[วิกิพีเดีย]]และกระโจนเข้าใส่มัน นี่เป็นสิ่งที่ดี แต่อย่าลืมว่า ''ขอให้กล้า'' ยังรวมถึงการใส่ใจสิ่งดีร่วมกัน และ'''ไม่แก้ไขแบบรบกวนหรือสะเพร่า''' แน่อนว่าการเปลี่ยนแปลงที่สุดท้ายไม่ได้ทำให้วิกิพีเดียดีขึ้นกว่าเดิมอาจถูกย้อนได้ง่ายและไม่มีผลเสียระยะยาว สำคัญที่คุณไม่ควรรู้สึกว่าถูกดูหมิ่นถ้าเกิดเหตุการณ์เ่ช่นนี้ขึ้น ถ้าคุณไม่แน่ใจก็ถามได้เสมอ

สำหรับการเปลี่ยนแปลงบทความที่เป็นเรื่องซับซ้อน และเต็มไปด้วยการโต้เถียง มีประวัติไม่ลงรอยกันอย่างยาวนาน รวมทั้ง[[WP:FA|บทความคัดสรร]]และ[[WP:FA|บทความคุณภาพ]] คุณอาจต้องใช้ความระมัดระวังเพิ่มขึ้น เพราะหลายกรณีนั้น ข้อความในหน้าดังกล่าวเป็นผลมาจากการเจรจาอย่างยาวนานและดุเดือดระหว่างชาววิกิพีเดียที่มีภูมิหลังและทัศนะต่างกัน การทะเล่อทะล่าแก้ไขโดยไม่ระวังอาจการเป็นการเข้าไปตีรังผึ้ง และคนอื่นที่เคยมีประเด็นกับเรื่องนี้อาจมีปฏิกิริยาตอบโต้ได้ ในกรณีนี้ถ้าไม่ใช่การแก้ไขเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างไวยากรณ์หรือการสะกดคำ ขอให้อ่านทั้งบทความและดูความเห็นในหน้าคุยก่อน และการขอ[[วิกิพีเดีย:ความเห็นพ้อง|ความเห็นพ้อง]]ก่อนการแก้ไขที่อาจก่อให้เกิดประเด็นใหม่ ๆ ก็เป็นความคิดที่ดี ขอให้ใช้วิจารณญาณอย่างบรรณาธิการอย่างดีที่สุดเสมอ


ถ้าคุณพบบทความเกี่ยวกับประเด็นที่ก่อให้เกิดการโต้เถียงที่คุณต้องการจะแก้ไข คุณควรจะเข้าไปอ่านบทความให้ครบถ้วน อ่านหน้าอภิปราย และดูประวัติของบทความนั้น ๆ เพื่อจะได้พอทราบที่มาที่ไปและสถานะปัจจุบันของบทความดังกล่าว
ถ้าคุณพบบทความเกี่ยวกับประเด็นที่ก่อให้เกิดการโต้เถียงที่คุณต้องการจะแก้ไข คุณควรจะเข้าไปอ่านบทความให้ครบถ้วน อ่านหน้าอภิปราย และดูประวัติของบทความนั้น ๆ เพื่อจะได้พอทราบที่มาที่ไปและสถานะปัจจุบันของบทความดังกล่าว

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:11, 11 สิงหาคม 2563

วลี ขอให้กล้า อธิบายได้อีกอย่างว่า "ลงมือทำเลย" ชุมชนวิกิพีเดียส่งเสริมให้ผู้ใช้มีความกล้าเมื่อปรับสารานุกรมให้ทันสมัย วิกิของเราพัฒนาได้เร็วกว่าถ้าทุกคนช่วยกันแก้ไขปัญหา แก้ไขไวยากรณ์ เพิ่มข้อเท็จจริง และตรวจดูว่าการใช้ถ้อยดำมีความถูกต้องแม่นยำ ฯลฯ การแก้วิกิพีเดียก็เหมือนดังชื่อ วิกิ ที่มีความหมายว่า เร็ว ๆ ไว ๆ (ในภาษาฮาวาย) คิดได้เมื่อไร ก็เขียนเลยเมื่อนั้น จะช่วยให้วิกิพีเดียเติบโตได้อย่างรวดเร็ว เราอยากให้ทุกคนมีความกล้าและช่วยให้วิกิพีเดียเป็นสารานุกรมที่ดีขึ้นกว่าเดิม คุณเคยอ่าน ๆ อยู่แล้วคิดว่า "ทำไมหน้านี้จึงมีการสะกดคำ ไวยากรณ์หรือการจัดผังดีกว่านี้ไม่ได้" หรือเปล่า วิกิพีเดียไม่เพียงเปิดโอกาสให้คุณเพิ่มและแก้ไขบทความเท่านั้น วิกิพีเดียยังอยากให้คุณทำเสียด้วย แต่ขอให้ทำเช่นนั้นอย่างสุภาพนะ แน่นอนว่าผู้เขียนคนอื่นในนี้จะแก้สิ่งที่คุณเขียนด้วยเหมือนกัน อย่าถือโทษโกรธกัน! เพราะคนอื่นก็อยากให้วิกิพีเดียเป็นสารานุกรมดีที่สุดเท่าที่เป็นไปได้เหมือนกัน นอกจากนี้ เมื่อคุณเห็นข้อพิพาทในหน้าอภิปราย อย่าเป็นเพียงคนผ่านไปมา หรือ "เข้ามาดู" เท่านั้น ขอให้กล้าแล้วช่วยออกความเห็นได้เลย

แก้เองเลยถ้าทำได้ เพราะการบ่นไม่ช่วยอะไร ถ้าคุณไปพบเจอข้อผิดพลาดหรือปัญหากำกวมซึ่งคนที่มีเหตุผลคนไหนเห็นแล้วก็น่าจะแนะนำให้แก้ไขนั้น ทางที่ดีที่สุดอาจเป็นการใช้ความกล้าแก้ไขปัญฆานั้นเอง มากกว่าออกความเห็นหรือบ่นให้ผู้อื่น เพราะคุณควรเอาเวลาเขียนถึงปัญหามาพัฒนาสารานุกรมดีกว่า ถ้าไม่ได้เหลือบ่ากว่าแรงคุณเกินไปนัก

อย่าโกรธเคืองกันถ้าการแก้ไขของคุณถูกย้อนหรือลบ เป็นธรรมดาที่คุณรู้สึกถูมิใจหรือยึดติดในงาน "ของคุณ" แต่ขออย่าเก็บความรู้สึกนั้นมาใช้ในวิกิพีเดีย กรุณาอ่าน วิกิพีเดีย:สันนิษฐานว่าผู้อื่นสุจริตใจ และ วิกิพีเดีย:มารยาท เพราะอย่าลืมว่าวิกิพีเดียเปิดโอกาสให้ทุกคนร่วมกันแก้ ถ้าคุณข้องใจ ขอให้กล้าตั้งกระทู้ในหน้าอภิปรายเพื่อไม่ให้เกิดสงครามแก้ไข โดยเฉพาะหน้าที่เขียนดีแล้วหรือหน้าที่มีคนเข้าชมมาก หรือจะคิดแบบนี้ก็ได้ ถ้าการแก้ไขคุณยังไม่เจอย้อน บางทีคุณอาจกล้าไม่พอหรือเปล่า

แก้เลย แต่อย่าสะเพร่า

ผู้ใช้ใหม่นั้น มักตื่นเต้นไปกับการเปิดกว้างของวิกิพีเดียและกระโจนเข้าใส่มัน นี่เป็นสิ่งที่ดี แต่อย่าลืมว่า ขอให้กล้า ยังรวมถึงการใส่ใจสิ่งดีร่วมกัน และไม่แก้ไขแบบรบกวนหรือสะเพร่า แน่อนว่าการเปลี่ยนแปลงที่สุดท้ายไม่ได้ทำให้วิกิพีเดียดีขึ้นกว่าเดิมอาจถูกย้อนได้ง่ายและไม่มีผลเสียระยะยาว สำคัญที่คุณไม่ควรรู้สึกว่าถูกดูหมิ่นถ้าเกิดเหตุการณ์เ่ช่นนี้ขึ้น ถ้าคุณไม่แน่ใจก็ถามได้เสมอ

สำหรับการเปลี่ยนแปลงบทความที่เป็นเรื่องซับซ้อน และเต็มไปด้วยการโต้เถียง มีประวัติไม่ลงรอยกันอย่างยาวนาน รวมทั้งบทความคัดสรรและบทความคุณภาพ คุณอาจต้องใช้ความระมัดระวังเพิ่มขึ้น เพราะหลายกรณีนั้น ข้อความในหน้าดังกล่าวเป็นผลมาจากการเจรจาอย่างยาวนานและดุเดือดระหว่างชาววิกิพีเดียที่มีภูมิหลังและทัศนะต่างกัน การทะเล่อทะล่าแก้ไขโดยไม่ระวังอาจการเป็นการเข้าไปตีรังผึ้ง และคนอื่นที่เคยมีประเด็นกับเรื่องนี้อาจมีปฏิกิริยาตอบโต้ได้ ในกรณีนี้ถ้าไม่ใช่การแก้ไขเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างไวยากรณ์หรือการสะกดคำ ขอให้อ่านทั้งบทความและดูความเห็นในหน้าคุยก่อน และการขอความเห็นพ้องก่อนการแก้ไขที่อาจก่อให้เกิดประเด็นใหม่ ๆ ก็เป็นความคิดที่ดี ขอให้ใช้วิจารณญาณอย่างบรรณาธิการอย่างดีที่สุดเสมอ

ถ้าคุณพบบทความเกี่ยวกับประเด็นที่ก่อให้เกิดการโต้เถียงที่คุณต้องการจะแก้ไข คุณควรจะเข้าไปอ่านบทความให้ครบถ้วน อ่านหน้าอภิปราย และดูประวัติของบทความนั้น ๆ เพื่อจะได้พอทราบที่มาที่ไปและสถานะปัจจุบันของบทความดังกล่าว

ถ้าคุณเป็นชาววิกิพีเดียผู้ช่ำชอง คุณน่าจะพอทราบได้ว่าการแก้ไขใดเป็นสิ่งที่ผู้คนยอมรับ และอะไรเป็นสิ่งที่ควรต้องสอบถามก่อน

แต่ถ้าคุณเป็นผู้ใช้มือใหม่และไม่แน่ใจว่าคนอื่น ๆ จะมองการแก้ไขของคุณว่าอย่างไร แต่คุณก็ต้องการจะแก้ไขหรือลบบางส่วนของบทความ เราแนะนำว่าคุณควรจะ

  1. คัดลอกข้อความดังกล่าวไปยังหน้าอภิปราย และเขียนความเห็นขัดแย้งของคุณไว้ (ในกรณีที่ส่วนดังกล่าวเป็นประโยค หรือมีความยาวระดับประโยค)
  2. เขียนความเห็นของคุณไว้ในหน้าอภิปราย แต่เก็บหน้าบทความไว้เช่นเดิม (ในกรณีที่ส่วนดังกล่าวมีความยาวค่อนข้างมาก)

หลังจากนั้นรอคำตอบสักระยะ ถ้าไม่มีใครมีความเห็นขัดแย้ง คุณก็สามารถดำเนินการไปได้ แต่อย่าลืมที่จะย้ายส่วนที่ลบที่มีขนาดใหญ่ ไปไว้ที่หน้าอภิปราย และเขียนความเห็นของคุณกำกับไว้ด้วย เพื่อที่ผู้ใช้คนอื่น ๆ จะได้เข้าใจการแก้ไขของคุณ และสามารถเข้าใจประวัติของบทความนั้นได้ และอย่าลืมที่จะใส่คำอธิบายอย่างย่อของการแก้ไขของคุณลงไปด้วย

นอกจากนี้ คุณควรจะมีเคารพใน ระบบที่เป็นอยู่ บ้าง เช่น หลีกเลี่ยงที่จะแก้ไขเนื้อหาของบทความ ถ้าในขณะนั้นได้มีการลงความเห็นเกี่ยวกับการแก้ไขดังกล่าวอยู่ โดยเฉพาะถ้ายังไม่มีการเห็นพ้องต้องกันอย่างชัดเจน

แต่อย่าเพิ่งกลัวไป

อย่างไรก็ดี สำหรับบทความอื่น ๆ อีกมากมายนั้น คุณสามารถจะเข้าไปแก้ไขเช่นใดก็ได้ตามที่คุณเห็นว่าดี เฉพาะบางเรื่องที่อ่อนไหวเท่านั้นที่คุณจะต้องระมัดระวัง และโดยมากคุณก็น่าจะรู้ได้ในทันที ส่วนในกรณีที่คุณไม่ทราบ ถ้าคุณชอบที่จะโต้เถียง ส่วนใหญ่แล้ว ความกล้า ของคุณก็มักจะเป็นจุดยืนที่พออธิบายได้ ยิ่งไปกว่านั้น คุณก็ไม่น่าจะเป็นคนแรกที่เข้าไปแก้ไขบทความที่มีการโต้เถียงเหล่านั้น และแน่นอน คุณคงจะไม่ใช่คนสุดท้าย พูดง่าย ๆ ก็คือการปรับปรุงที่มีการเพิ่มเติมเนื้อหาและข้อมูลมีแนวโน้มที่จะได้รับการยอมรับ มากกว่าการปรับปรุงที่ลบ หรือตัดเนื้อหาบางส่วนทิ้ง

การเรียนรู้

อย่างไรก็ตาม คุณสามารถพัฒนาทักษะในการเขียนของคุณได้โดยการเรียนรู้จากการเขียนของคนอื่น บางทีคุณอาจเรียนรู้จากการสังเกตความเปลี่ยนแปลงของบทความที่คุณเขียน (หรือบทความอื่น ๆ ที่คุณสนใจ) เฝ้าดูว่าคนอื่นเขาปรับแต่งบทความที่คุณเขียนไว้อย่างไร วิธีนี้จะช่วยให้คุณเรียนรู้ในเบื้องต้นได้อย่างรวดเร็วทีเดียว

การกระทำและการแก้ไขที่มีผลกระทบในวงกว้าง

เราแนะนำให้คุณระมัดระวังเป็นพิเศษในกรณีที่การแก้ไขของคุณจะกระทบกับหน้าหลาย ๆ หน้า เช่น การแก้แม่แบบ หรือการย้ายหน้าที่ถูกเชื่อมโยงมาเป็นจำนวนมาก     แม้จะไม่ใช่ข้อบังคับ แต่เราแนะนำว่าคุณควรศึกษาและทำความคุ้นเคยกับนโยบายและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง (เช่น วิกิพีเดีย:หลักการตั้งชื่อบทความ) ก่อนจะเริ่มย้ายหน้า นอกจากนี้ จะเป็นมารยาทที่ดี ถ้าคุณยินดีที่จะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในหน้าที่ถูกผลกระทบจากการแก้ไขของคุณด้วย

ดูเพิ่ม