ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จักรพรรดิเต้ากวัง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 29: บรรทัด 29:
จักรพรรดิเต้ากวัง ขึ้นครองราชย์ภายหลังการสวรรคตอย่างกะทันหันของจักรพรรดิเจี่ยชิ่ง ในปี [[พ.ศ. 2363]] (ค.ศ. 1820) ระหว่างเสด็จแปรพระราชฐานหลบร้อนไปยังเมืองเฉิงเต๋อ ซึ่งได้มีพระราชโองการแต่งตั้งไว้ในพินัยกรรม แต่เนื่องจากการที่สวรรคตในที่ห่างไกลเมืองหลวง จึงทำให้ องค์ชายสี่ เหมี่ยนซิน พระโอรสองค์เล็ก[[จักรพรรดินีเซี่ยวเหอรุ่ย พระพันปีหลวง|พระนางเสี้ยวเหอ]]ของคัดค้านว่า เป็นพินัยกรรมปลอม และเตรียมการจะก่อกบฏ พระองค์จึงทรงวางแผนโยนไปให้[[จักรพรรดินีเซี่ยวเหอรุ่ย พระพันปีหลวง|พระนางเสี้ยวเหอ]]ตัดสินและได้ขอกำลังทหารส่วนหนึ่งมาคุ้มกัน ซึ่ง[[จักรพรรดินีเซี่ยวเหอรุ่ย พระพันปีหลวง|พระนางเสี้ยวเหอ]]ได้ยอมรับว่า พินัยกรรมนั้นเป็นของจริง และได้พระราชทานอภัยโทษประหารองค์ชายเหมี่ยนซินไว้
จักรพรรดิเต้ากวัง ขึ้นครองราชย์ภายหลังการสวรรคตอย่างกะทันหันของจักรพรรดิเจี่ยชิ่ง ในปี [[พ.ศ. 2363]] (ค.ศ. 1820) ระหว่างเสด็จแปรพระราชฐานหลบร้อนไปยังเมืองเฉิงเต๋อ ซึ่งได้มีพระราชโองการแต่งตั้งไว้ในพินัยกรรม แต่เนื่องจากการที่สวรรคตในที่ห่างไกลเมืองหลวง จึงทำให้ องค์ชายสี่ เหมี่ยนซิน พระโอรสองค์เล็ก[[จักรพรรดินีเซี่ยวเหอรุ่ย พระพันปีหลวง|พระนางเสี้ยวเหอ]]ของคัดค้านว่า เป็นพินัยกรรมปลอม และเตรียมการจะก่อกบฏ พระองค์จึงทรงวางแผนโยนไปให้[[จักรพรรดินีเซี่ยวเหอรุ่ย พระพันปีหลวง|พระนางเสี้ยวเหอ]]ตัดสินและได้ขอกำลังทหารส่วนหนึ่งมาคุ้มกัน ซึ่ง[[จักรพรรดินีเซี่ยวเหอรุ่ย พระพันปีหลวง|พระนางเสี้ยวเหอ]]ได้ยอมรับว่า พินัยกรรมนั้นเป็นของจริง และได้พระราชทานอภัยโทษประหารองค์ชายเหมี่ยนซินไว้


ในรัชสมัยจักรพรรดิเต้ากวัง ได้ทรงหาทางกำจัดขุนนางกังฉินและบรรดาขุนนางที่ไม่เอาการเอางาน จึงทำให้เหล่าขุนนางลับหลังจะนินทาพระองค์อยู่เสมอ ๆ และทำให้ขุนนางแบ่งแยกกันเป็นฝักเป็นฝ่ายต่างก็สนับสนุนพระโอรสอันเกิดจากพระมารดาที่เป็นชนเผ่าเดียวกับตน แต่พระองค์ก็ได้หาทางบริหารประเทศอย่างเต็มที่ ในรัชสมัยของพระองค์ประเทศเป็นปึกแผ่น ดูเหมือนเข้มแข็ง แต่ภายในอ่อนแออันเกิดจากการฉ้อราฎร์บังหลวงที่เป็นระบบกันมานานแต่สมัย[[เฉียนหลง|จักรพรรดิเฉียนหลง]] ในรัชสมัยนี้พระองค์ได้ออกนโยบายให้ทุกคนในวังประหยัด โดยมีพระองค์เป็นแบบอย่าง และเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดคือ [[สงครามฝิ่น]]กับ[[อังกฤษ]]ในปี [[พ.ศ. 2382]] (ค.ศ. 1839) และ [[พ.ศ. 2383]] (ค.ศ. 1840) [[ยุคล่าอาณานิคม]] ซึ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก และนำมาสู่การสูญเสียเกาะ[[ฮ่องกง]]และการล่มสลายของราชวงศ์ชิงในภายหลัง
ในรัชสมัยจักรพรรดิเต้ากวัง ได้ทรงหาทางกำจัดขุนนางกังฉินและบรรดาขุนนางที่ไม่เอาการเอางาน จึงทำให้เหล่าขุนนางลับหลังจะนินทาพระองค์อยู่เสมอ ๆ และทำให้ขุนนางแบ่งแยกกันเป็นฝักเป็นฝ่ายต่างก็สนับสนุนพระโอรสอันเกิดจากพระมารดาที่เป็นชนเผ่าเดียวกับตน แต่พระองค์ก็ได้หาทางบริหารประเทศอย่างเต็มที่ ในรัชสมัยของพระองค์ประเทศเป็นปึกแผ่น ดูเหมือนเข้มแข็ง แต่ภายในอ่อนแออันเกิดจากการฉ้อราษฎร์บังหลวงที่เป็นระบบกันมานานแต่สมัย[[เฉียนหลง|จักรพรรดิเฉียนหลง]] ในรัชสมัยนี้พระองค์ได้ออกนโยบายให้ทุกคนในวังประหยัด โดยมีพระองค์เป็นแบบอย่าง และเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดคือ [[สงครามฝิ่น]]กับ[[อังกฤษ]]ในปี [[พ.ศ. 2382]] (ค.ศ. 1839) และ [[พ.ศ. 2383]] (ค.ศ. 1840) [[ยุคล่าอาณานิคม]] ซึ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก และนำมาสู่การสูญเสียเกาะ[[ฮ่องกง]]และการล่มสลายของราชวงศ์ชิงในภายหลัง


จักรพรรดิเต้ากวังมีอุปนิสัยส่วนพระองค์คือ โปรดปราน[[ปืน]]เป็นพิเศษ ได้สวรรคตในปี [[พ.ศ. 2393]] (ค.ศ. 1850) และผู้ครองราชย์สืบไปคือ [[จักรพรรดิเสียนเฟิง|องค์ชายอี้จู่]]ภายหลังขึ้นครองราชย์ใช้พระนามว่า [[จักรพรรดิเสียนเฟิง]]
จักรพรรดิเต้ากวังมีอุปนิสัยส่วนพระองค์คือ โปรดปราน[[ปืน]]เป็นพิเศษ ได้สวรรคตในปี [[พ.ศ. 2393]] (ค.ศ. 1850) และผู้ครองราชย์สืบไปคือ [[จักรพรรดิเสียนเฟิง|องค์ชายอี้จู่]]ภายหลังขึ้นครองราชย์ใช้พระนามว่า [[จักรพรรดิเสียนเฟิง]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 00:53, 2 มกราคม 2563

จักรพรรดิเต้ากวัง
ฮ่องเต้องค์ที่ 8 แห่งราชวงศ์ชิง
ครองราชย์3 ตุลาคม ค.ศ. 1820 - 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1850
(29 ปี 145 วัน)
ก่อนหน้าจักรพรรดิเจียชิ่ง
ถัดไปจักรพรรดิเสียนเฟิง
ประสูติ16 กันยายน ค.ศ.1782
พระราชวังต้องห้าม ปักกิ่ง
เหมียนหนิง หมิ่นหนิง
สวรรคต25 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1850 ( 67 พระชันษา)
พระราชวังต้องห้าม ปักกิ่ง
จักรพรรดินีจักรพรรดินีเสี้ยวมู่เฉิง
จักรพรรดินีเสี้ยวเซิงเฉิง
จักรพรรดินีเสี้ยวชวนเฉิง
ราชวงศ์ชิง
พระราชบิดาจักรพรรดิเจียชิ่ง
พระราชมารดาจักรพรรดินีเซี่ยวซูรุ่ย

จักรพรรดิเต้ากวัง (จีน: 道光; พินอิน: Dàoguāng) พงศาวดารไทยเรียก สมเด็จพระเจ้าเตากวาง เป็นองค์ชายรองในจักรพรรดิเจี่ยชิ่ง เดิมมีพระนามว่า เหมียนหนิง (綿寧) (แปลว่า อาทิตย์อัสดง) แต่ได้เปลี่ยนพระนามใหม่ภายหลังขึ้นครองราชย์ว่า หมิ่นหนิง (旻宁) (แปลว่า ท้องฟ้า หรือ จักรวาล)

จักรพรรดิเต้ากวัง ประสูติจากมเหสีที่มีชื่อว่า จักรพรรดินีเซี่ยวซูรุ่ย(孝淑皇后) แต่พระมารดาได้สิ้นพระชนม์ไปตั้งแต่พระองค์ยังเยาว์วัย จักรพรรดิเจี่ยชิงพระราชบิดาจึงได้สถาปนาพระมเหสีองค์ใหม่ขึ้นเป็นจักรพรรดินีเซี่ยวเหอรุ่ย (孝和皇后) ซึ่งเป็นบุตรสาวของอูนาลา ขุนนางพวกเดียวกับเหอเซิน ที่ทรงไม่ไว้วางพระทัย แต่ทรงทำไปด้วยด้วยเหตุผลทางการเมือง นั่นทำให้จักรพรรดิเต้ากวังเมื่อยังทรงพระเยาว์ก็ไม่โปรดในตัวพระนางด้วยเช่นกัน แม้จะมีศักดิ์เป็นพระมารดาเลี้ยงก็ตาม แต่ได้ทรงเปลี่ยนทัศนะที่มีต่อพระนางใหม่ เมื่อครั้งหนึ่งที่ได้เสด็จไปไหว้บรรพกษัตริย์ที่สุสานราชวงศ์ชิงด้วยกัน และได้มีโจรกบฏกลุ่มหนึ่งมาจับตัวพระองค์และพระนางไปพร้อมกับสามัญชนกลุ่มหนึ่ง พวกกบฏบังคับให้พระองค์และพระนางบอกว่าใครเป็นใคร หากเงียบ ก็จะให้จ้วงแทงพระนางด้วยมีด พระนางก็ปิดปากเงียบไม่ยอมบอก นั่นจึงทำให้พระองค์ซาบซึ้งในน้ำพระทัยของพระนางเสี้ยวเหอมากและยอมรับพระนางในที่สุด

จักรพรรดิเต้ากวัง ขึ้นครองราชย์ภายหลังการสวรรคตอย่างกะทันหันของจักรพรรดิเจี่ยชิ่ง ในปี พ.ศ. 2363 (ค.ศ. 1820) ระหว่างเสด็จแปรพระราชฐานหลบร้อนไปยังเมืองเฉิงเต๋อ ซึ่งได้มีพระราชโองการแต่งตั้งไว้ในพินัยกรรม แต่เนื่องจากการที่สวรรคตในที่ห่างไกลเมืองหลวง จึงทำให้ องค์ชายสี่ เหมี่ยนซิน พระโอรสองค์เล็กพระนางเสี้ยวเหอของคัดค้านว่า เป็นพินัยกรรมปลอม และเตรียมการจะก่อกบฏ พระองค์จึงทรงวางแผนโยนไปให้พระนางเสี้ยวเหอตัดสินและได้ขอกำลังทหารส่วนหนึ่งมาคุ้มกัน ซึ่งพระนางเสี้ยวเหอได้ยอมรับว่า พินัยกรรมนั้นเป็นของจริง และได้พระราชทานอภัยโทษประหารองค์ชายเหมี่ยนซินไว้

ในรัชสมัยจักรพรรดิเต้ากวัง ได้ทรงหาทางกำจัดขุนนางกังฉินและบรรดาขุนนางที่ไม่เอาการเอางาน จึงทำให้เหล่าขุนนางลับหลังจะนินทาพระองค์อยู่เสมอ ๆ และทำให้ขุนนางแบ่งแยกกันเป็นฝักเป็นฝ่ายต่างก็สนับสนุนพระโอรสอันเกิดจากพระมารดาที่เป็นชนเผ่าเดียวกับตน แต่พระองค์ก็ได้หาทางบริหารประเทศอย่างเต็มที่ ในรัชสมัยของพระองค์ประเทศเป็นปึกแผ่น ดูเหมือนเข้มแข็ง แต่ภายในอ่อนแออันเกิดจากการฉ้อราษฎร์บังหลวงที่เป็นระบบกันมานานแต่สมัยจักรพรรดิเฉียนหลง ในรัชสมัยนี้พระองค์ได้ออกนโยบายให้ทุกคนในวังประหยัด โดยมีพระองค์เป็นแบบอย่าง และเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดคือ สงครามฝิ่นกับอังกฤษในปี พ.ศ. 2382 (ค.ศ. 1839) และ พ.ศ. 2383 (ค.ศ. 1840) ยุคล่าอาณานิคม ซึ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก และนำมาสู่การสูญเสียเกาะฮ่องกงและการล่มสลายของราชวงศ์ชิงในภายหลัง

จักรพรรดิเต้ากวังมีอุปนิสัยส่วนพระองค์คือ โปรดปรานปืนเป็นพิเศษ ได้สวรรคตในปี พ.ศ. 2393 (ค.ศ. 1850) และผู้ครองราชย์สืบไปคือ องค์ชายอี้จู่ภายหลังขึ้นครองราชย์ใช้พระนามว่า จักรพรรดิเสียนเฟิง

พระบรมวงศานุวงศ์

  • พระราชบิดา: จักรพรรดิเจี่ยชิ่ง
  • พระราชมารดา: จักรพรรดินีเซี่ยวซูรุ่ย
  • พระอัครมเหสี (皇后)
  • พระมเหสี (皇貴妃)
    • พระมเหสีจิง (静皇貴妃) จากสกุลโป๋เอ่อร์จี้จี๋เท่อ (博爾濟吉特) ภายหลังได้รับการสถาปนาเป็น จักรพรรดินีเสี้ยวจิงเฉิง (孝静成皇后)
    • พระมเหสีจวงซุ่น (莊順皇貴妃) จากสกุลอูยา (烏雅)
  • พระราชเทวี (貴妃)
    • พระราชเทวีถง (彤貴妃) จากสกุลซูมู่หลู่ (舒穆魯)
    • พระราชเทวีเจีย (佳貴妃) จากสกุลกัวเจีย (郭佳)
    • พระราชเทวีเฉิง (成貴妃) จากสกุลหนิ่วฮู่ลู่ (鈕祜祿)
  • พระอัครชายา (妃)
    • พระอัครชายาเหอ (和妃) จากสกุลน่าลา (那拉)
    • พระอัครชายาเซียง (祥妃) จากสกุลหนิ่วฮู่ลู่ (鈕祜祿)
    • พระชายาฉาง (常妃) จากสกุลเฮ่อเซ่อหลี่ (赫舍里)
  • พระชายา (嬪)
    • พระชายาเจิน (珍嫔) จากสกุลเฮ่อเซ่อหลี่(赫舍里)
    • พระชายาเถียน (恬嫔)จากสกุลฟู่ฉา (富察)
    • พระชายาอวี้ (豫嫔) จากสกุลซั่งเจีย (尚佳)
    • พระชายาเชิงอวี้ (称豫嫔)
    • พระชายาซุ่น(順嬪) จากสกุลน่าลา (那拉)
    • พระชายาเหิง (恆嬪) จากสกุลไช่เจีย (蔡佳)
  • พระสนมขั้นกุ้ยเหริน (貴人)
    • พระสนมผิง (平貴人) จากสกุลจ้าว (趙)
    • พระสนมหลี่ (李貴人) จากสกุลหลี่ (李)
    • พระสนมน่า (那貴人) จากสกุลน่า (那)
    • พระสนมติ้ง(定貴人) จากสกุลซุน (孫)
  • พระสนมขั้นฉางไจ้ (常在)
    • พระสนมม้าน (蔓常在)
  • พระสนมขั้นตาอิ้ง (答应)
    • พระสนมมู่ (睦答應) จากสกุลเฮ่อเซ่อหลี่ (赫舍里)
    • นางข้าหลวง (官女子) จากสกุลหลิว (劉)
  • พระราชโอรส
    • องค์ชายอี้เว่ย (奕緯,1808–1831) อิ่นจื้อจวิ้นอ๋อง(隐志郡王)สถาปนาหลังสิ้นพระชนม์;พระโอรสในพระอัครชายาเหอ
    • องค์ชายอี้กัง (奕綱,1826–1827) ซุ่นเหอจวิ้นอ๋อง(顺和郡王)สถาปนาหลังสิ้นพระชนม์;พระโอรสในจักรพรรดินีเสี้ยวจิงเฉิง
    • องค์ชายอี้จี้ (奕繼,1829–1830) ฮุ่ยจื้อจวิ้นอ๋อง(慧质郡王)สถาปนาหลังสิ้นพระชนม์;พระโอรสในจักรพรรดินีเสี้ยวจิงเฉิง
    • องค์ชายอี้จู่ (奕詝,1831–1861) ภายหลังเป็นจักรพรรดิ;พระโอรสในจักรพรรดินีเสี้ยวฉวนเฉิง
    • องค์ชายอี้ฉง (奕誴,1831–1889) ตุนฉินชินอ๋อง(惇勤親王,1846-1889);พระโอรสในพระอัครชายาเซียง
    • องค์ชายอี้ซิน (奕訢,1833–1898) กงจงชินอ๋อง(恭忠親王,1850-1898);พระโอรสในจักรพรรดินีเสี้ยวจิงเฉิง
    • องค์ชายอี้ซวน (奕譞,1840–1891) ฉุนเสียนชินอ๋อง(醇賢親王,1872-1891);พระโอรสในพระมเหสีจวงซุ่น
    • องค์ชายอี้เหอ (奕詥,1844–1868) จงตวนจวิ้นอ๋อง(鍾端郡王,1850-1868);พระโอรสในพระมเหสีจวงซุ่น
    • องค์ชายอี้ฮุ่ย (奕譓,1845–1877) ฝูจิ้งจวิ้นอ๋อง(孚敬郡王,1850-1877);พระโอรสในพระมเหสีจวงซุ่น
  • พระราชธิดา
    • องค์หญิงตวนหมิ่นกู้หลุนกงจวู่ (端悯固伦公主,1813–1819) พระธิดาของจักรพรรดินีเสี้ยวเซิ่นเฉิง
    • องค์หญิงไม่ปรากฏพระนาม (1825) พระธิดาของพระอัครชายาเซียง
    • องค์หญิงตวนซุ่นกู้หลุนกงจวู่ (端顺固伦公主,1825–1835) พระธิดาของจักรพรรดินีเสี้ยวฉวนเฉิง
    • องค์หญิงโซ่วอันกู้หลุนกงจวู่ (寿安固伦公主,1826–1860) พระธิดาของจักรพรรดินีเสี้ยวฉวนเฉิง
    • องค์หญิงโซ่วจังเหอซั่วกงจวู่ (寿臧和硕公主,1829–1856) พระธิดาของพระอัครชายาเซียง
    • องค์หญิงโซ่วเอินกู้หลุนกงจวู่ (寿恩固伦公主,1830–1859) พระธิดาของจักรพรรดินีเสี้ยวจิงเฉิง
    • องค์หญิงไม่ปรากฏพระนาม (1840–1844) พระธิดาของพระราชเทวีถง
    • องค์หญิงโซ่วซีเหอซั่วกู้หลุนกงจวู่ (寿禧和硕公主,1841–1866) พระธิดาของพระราชเทวีถง
    • องค์หญิงโซ่วจวงกู้หลุนกงจวู่ (壽莊固倫公主,1842–1884) พระธิดาของพระมเหสีจวงซุ่น
    • องค์หญิงไม่ปรากฏพระนาม (1844–1845) พระธิดาของพระราชเทวีถง
ก่อนหน้า จักรพรรดิเต้ากวัง ถัดไป
จักรพรรดิเจี่ยชิ่ง
จักรพรรดิจีน
(พ.ศ. 2363 - พ.ศ. 2393)
จักรพรรดิเสียนเฟิง