ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาษาจีนกลาง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ภาษาไทย
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:

{{กล่องข้อมูล ภาษา
| name = ภาษาจีนกลาง
| nativename = 官話 / 官话 กวานฮว่า<br>汉语 ฮั่นยวี่<br>華語 ฮวายวี่
| familycolor = Sino-Tibetan
| states = [[ประเทศจีน|สาธารณรัฐประชาชนจีน]] [[สาธารณรัฐจีน]] [[ประเทศสิงคโปร์|สิงคโปร์]] [[ประเทศอินโดนีเซีย|อินโดนีเซีย]] [[ประเทศมาเลเซีย|มาเลเซีย]] และชุมชนจีนอื่นทั่วโลก
| region = ตอนเหนือ และตะวันตกเฉียงใต้ ของ[[สาธารณรัฐประชาชนจีน|จีน]]
| speakers = 867.2 ล้าน
| rank = 1
| fam2 = [[ภาษาจีน]]
| nation = [[ประเทศจีน|สาธารณรัฐประชาชนจีน]] [[สาธารณรัฐจีน]] [[ประเทศสิงคโปร์|สิงคโปร์]] [[สหประชาชาติ]]
| agency = ในสาธารณรัฐประชาชนจีน: [http://www.china-language.gov.cn/ องค์กรต่าง ๆ]<br />ในสาธารณรัฐจีน: [[Mandarin Promotion Council]]<br />ในสิงคโปร์: [[Promote Mandarin Council]]/[[Speak Mandarin Campaign]] [http://mandarin.org.sg/html/home.htm]
|iso1=zh|iso2b=chi|iso2t=zho|iso3=cmn
}}


'''ภาษาจีนกลาง''' ([[อักษรจีนตัวเต็ม|จีนตัวเต็ม]]: 官話, [[อักษรจีนตัวย่อ|จีนตัวย่อ]]: 官话, [[พินอิน]]: Guānhuà, [[ภาษาอังกฤษ]]: Mandarin) เป็นภาษาหลักของ[[ภาษาจีน]]และเป็น 1 ใน 6 ของภาษาราชการของ[[สหประชาชาติ]] ในปัจจุบันมีผู้ใช้มากกว่า 800 ล้านคนทั่วโลก
'''ภาษาจีนกลาง''' ([[อักษรจีนตัวเต็ม|จีนตัวเต็ม]]: 官話, [[อักษรจีนตัวย่อ|จีนตัวย่อ]]: 官话, [[พินอิน]]: Guānhuà, [[ภาษาอังกฤษ]]: Mandarin) เป็นภาษาหลักของ[[ภาษาจีน]]และเป็น 1 ใน 6 ของภาษาราชการของ[[สหประชาชาติ]] ในปัจจุบันมีผู้ใช้มากกว่า 800 ล้านคนทั่วโลก

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:18, 21 ธันวาคม 2561


ภาษาจีนกลาง (จีนตัวเต็ม: 官話, จีนตัวย่อ: 官话, พินอิน: Guānhuà, ภาษาอังกฤษ: Mandarin) เป็นภาษาหลักของภาษาจีนและเป็น 1 ใน 6 ของภาษาราชการของสหประชาชาติ ในปัจจุบันมีผู้ใช้มากกว่า 800 ล้านคนทั่วโลก

ชื่อภาษาจีนกลาง

ภาษาจีนกลาง เป็นคำที่คนไทยใช้เรียกภาษาหลักของจีน ในประเทศไต้หวันกับสิงคโปร์เรียกภาษานี้ว่า ฮวา-ยวี่ (อักษรจีน: 華語) แปลว่าภาษาฮวา ซึ่งคำว่า ฮวา หรือ ฮวาเยริน (อักษรจีน: 華人) เป็นคำที่ชาวจีนใช้เรียกตัวเองในปัจจุบัน สำหรับประเทศจีนจะเรียกภาษานี้ว่า ฮั่นยวี่ (อักษรจีน: 漢語) แปลว่า ภาษาฮั่น อันป็นภาษาของชาวฮั่น

ภาษาอังกฤษเรียกภาษานี้ว่า Mandarin (แมนดาริน) ซึ่งมีรากจากคำในภาษาสันสกฤษว่า มันตริน หรือเทียบตรงกับคำไทยว่า มนตรี และคำว่า กว่านฮว่า (อักษรจีน: 官話) กว่าน (อักษรจีน: 官) แปลว่าราชสำนักและ ฮว่า (อักษรจีน: 話) แปลว่าพูด เป็นชื่อโบราณที่ใช้เรียกภาษานี้ ปัจจุบันใช้ในเชิงวิชาการเพื่อแยกว่าไม่ใช่ภาษาจีนกลุ่มอื่นเช่น ภาษาแต้จิ๋ว, ภาษาฮกเกี้ยน, ภาษากวางตุ้ง เป็นต้น

ในวงแคบคำว่า ภาษาจีนกลาง ใช้เรียก ผู่ทงฮว่า (普通话/普通話) และ กั่วอวี่ (国语/國語) ซึ่งเป็นภาษาพูดมาตรฐานที่เกือบจะเหมือนกัน ซึ่งมีพื้นฐานมาจากภาษาพูดที่ใช้กว้างขวาง คือ Beifanghua เป่ยฟางฮั่ว ซึ่งความหมายในวงแคบนี้ คือความหมายที่ใช้ในบริบทนอกวิชาการ ในวงกว้างคำว่า ภาษาจีน ใช้เรียก เป่ยฟางฮว่า ("ภาษาพูดทางเหนือ") ซึ่งเป็นประเภทที่ประกอบด้วยภาษาย่อยต่าง ๆ ของภาษาจีนที่ใช้ในทางตอนเหนือและตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ซึ่งความหมายนี้มักจะพบในบริบททางวิชาการ และจะใช้ความหมายนี้ในบทความนี้ โดยที่ผู่ตงฮั่วและกั๋วอวี่ จะใช้ชื่อจีนเรียก รวมถึงใช้ "ภาษาจีนกลางมาตรฐาน" และ "ภาษาจีนมาตรฐาน" เรียก

ภาษาประเภทเป่ยฟางฮั่วมีคนพูดมากกว่าภาษาอื่น ๆ และเป่ยฟางฮั่วก็เป็นพื้นฐานของผู่ตงฮั่วและกั่วอวี่ด้วย อย่างไรก็ดี เป็นที่น่าสังเกตว่า เป่ยฟางฮั่วครอบคลุมภาษาย่อยจำนวนมากที่ไม่สามารถเข้าใจกันได้ นอกจากนี้ แนวคิดเป่ยฟางฮั่วส่วนใหญ่ ไม่ใช้นอกวงการวิชาการเป็นคำที่ใช้อธิบายตัวเอง เมื่อให้อธิบายชนิดของภาษาพูดที่ใช้ คนจีนที่พูดชนิดของเป่ยฟางฮั่วจะอธิบายตามชนิดของภาษาที่ใช้ เช่น ภาษาเสฉวนหรือภาษาจีนตะวันออกเฉียงเหนือ ชาวจีนมักจะถือชนิดของภาษาจีนกลางที่พูด เป็นส่วนหนึ่งของการระบุมณฑลที่อายอยู่ อย่างไรก็ดี แทบจะไม่มีอะไรที่สามารถระบุได้โดยทั่วไป เกี่ยวกับแนวคิดของภาษาพูดทางเหนือ

เหมือนกับภาษาอื่น ๆ การจัดภาษาจีนกลางเป็นภาษาเดียวหรือเป็นภาษาย่อย ยังคงเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันอยู่

หมายเหตุ: ภาษาจีนกลางชนิดที่เป็นมาตรฐานเรียกว่า ผู่ตงฮั่ว (Putonghua, 普通话) และ กั๋วอวี่ (Guoyu, 國語) แต่มักจะเรียกรวม ๆ ในภาษาอังกฤษว่า Mandarin, คำว่า "ผู่ตงฮั่ว" ในภาษาอังกฤษเรียกแบบเต็ม ๆ ว่า Standard Chinese หรือ Standard Mandarin และ "กั๋วอวี่" เรียกว่า Taiwanese Mandarin

ภาษาถิ่น

นักภาษาศาสตร์หลี่หยง ได้จำแนกภาษาจีนกลางไว้ทั้งหมดเป็นแปดถิ่นใหญ่ โดยแบ่งเอาไว้ดังนี้

กลุ่มภาษาถิ่น พื้นที่ที่ใช้
ภาษาจีนกลางตะวันออกเฉียงเหนือ 辽宁中、北部、黑龙江吉林大部、内蒙古东部地区
ภาษาจีนมาตรฐาน 北京天津(除大港区外)、河北保定霸州一线以北[除张家口(晋语)外]所有地区、辽宁西部、内蒙古赤峰等地区
ภาษาจีนกลางเจียวเหลียว 辽宁辽东半岛山东胶东半岛
ภาษาจีนกลางจี้หลู่ 天津市大港区河北石家庄沧州一线以南[除邯鄲(晋语)外]等地区、山东西部(含济南德州
ภาษาจีนกลางตะวันตกเฉียงเหนือ 甘肃北部、宁夏北部、新疆东南部
ภาษาจีนกลางที่ราบภาคกลาง 河南山东西南,安徽北部,江苏徐州地区,陕西关中地区和陕南大部地区,山西西南,宁夏甘肃南部,新疆西南部,青海东部
ภาษาจีนกลางตะวันตกเฉียงใต้ 四川重庆云南贵州湖北大部,湖南西北部,广西北部,陕西南部
ภาษาจีนกลางใต้แม่น้ำแยงซี 安徽中部、江苏中部、湖北东部、江西沿江地区


อ้างอิง

  • Chao, Yuen Ren (1968). A Grammar of Spoken Chinese. University of California Press. ISBN 0-520-00219-9.
  • Norman, Jerry (1988). Chinese. Cambridge University Press. ISBN 0-521-29653-6.
  • Rahgffmsey, S. Robert (1987). The Languages of China. Princeton University Press. ISBN 0-691-01468-X.