ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บีเอ็นเคโฟร์ตีเอต"
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560 |
ป้ายระบุ: แก้ไขด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยเว็บอุปกรณ์เคลื่อนที่ |
||
บรรทัด 93: | บรรทัด 93: | ||
==คำวิพากษ์วิจารณ์== |
==คำวิพากษ์วิจารณ์== |
||
หลายครั้งที่ผ่านมาบีเอ็นเคโฟร์ตีเอต ออฟฟิศ มักได้รับคำวิพากษ์วิจารณ์ ถึงกรณีการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐาน |
หลายครั้งที่ผ่านมาบีเอ็นเคโฟร์ตีเอต ออฟฟิศ มักได้รับคำวิพากษ์วิจารณ์ ถึงกรณีการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐาน |
||
นักวิจารณ์บางคนได้ตั้งข้อสงสัยและคำถามเกี่ยวกับเป้าหมายของบริษัทที่จะบรรลุผลตามได้เป้า โดยตั้งข้อสังเกตุว่าเป็นผลมาจากการจัดการวงที่ย่ำแย่ และขาดแผนการในอนาคตที่ชัดเจน<ref name = "voice">{{cite web|url=http://news.voicetv.co.th/thailand/513382.html|title=ไขปม: การตลาดโอตะ กระแส BNK48 จะอยู่รอดในตลาดไทยได้จริงหรือ?|author-first=พิเชฐ|author-last=ยิ่งเกียรติคุณ|language=th|location=Bangkok|publisher=Ditigal TV Network|website=Voice TV|accessdate=2017-08-07|date=2017-08-07}}</ref> |
|||
ณัฐพงศ์ ไชยวานิชย์ผล คอลัมนิสต์ด้านวัฒนธรรมญี่ปุ่นและผู้ดำเนินรายการท่องเที่ยว ได้มองว่าบริษัท "ยังไม่มีความพร้อม" เนื่องจากขาดการประชาสัมพันธ์ที่ดี และไม่สามารถวางแผนกิจกรรมหรือประกาศรายละเอียดได้ก่อนเนื่องจากต้องมีการตรวจสอบจำนวนผู้เข้าชม นอกจากนี้เขายังชี้ให้เห็นว่ายอดขายรวมของ[[ไอตะกัตตะ#ฉบับบีเอ็นเคโฟร์ตีเอต|ซิงเกิลแรก]]อยู่ที่ 13,500 แผ่น ซึ่งเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างต่ำ และกิจกรรมเชิงพาณิชย์ที่ถือว่าเป็นแหล่งรายได้หลักของกลุ่มนั้นมีฐานกลุ่มคนดูที่เฉพาะ ณัฐพงศ์ยังกล่าวอีกว่าตัวบริษัทเองต้องแบกรับความเสี่ยงเป็นอย่างมากที่จะต้องดูแลศิลปิน 30 คน และอาจจะไม่สามารถอยู่รอดในทางธุรกิจได้เกิน 2 ปี<ref name = "voice"/> |
|||
เฉลิมพล สูงศักดิ์ นักร้องนำวง Seal Pillow ได้เสริมว่าหนึ่งในจุดอ่อนของวงนี้ก็คือการนำสมาชิกวงที่มีความสามารถแตกต่างกันมาคัดเลือกด้วยวิธีเดียวกันหมด ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ ทั้งที่ค่ายอาจนำความสามารถด้านอื่นมาเป็นจุดขายได้เวลาออกงาน<ref>{{cite web|url=https://news.voicetv.co.th/entertainment/517801.html|title=จาก AKB48 สู่ BNK48: เส้นทางสายไอดอลไทย|language=th|author-first=แก้วตา|author-last=เกษบึงกาฬ|date=2017-08-23|accessdate=2017-08-23|publisher=Digital TV Network|website=Voice TV}}</ref> |
|||
==ภาพลักษณ์== |
==ภาพลักษณ์== |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:29, 28 ธันวาคม 2560
บีเอ็นเคโฟร์ตีเอต | |
---|---|
เนย, แก้ว, ปัญ, เจนนิษฐ์, โมบายล์, เฌอปราง, อร, น้ำหนึ่ง, และมิโอริ ในงานแคตเอ็กซ์โป 4 ที่สวนสนุกวันเดอร์เวิลด์ เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 | |
ข้อมูลพื้นฐาน | |
ที่เกิด | กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
แนวเพลง | |
ช่วงปี | พ.ศ 2560 – ปัจจุบัน |
ค่ายเพลง | บีเอ็นเคโฟร์ตีเอต ออฟฟิศ[1] |
สมาชิก | ดูที่ สมาชิก |
อดีตสมาชิก | ดูที่ อดีตสมาชิก |
เว็บไซต์ | bnk48.com |
บีเอ็นเคโฟร์ตีเอต (อังกฤษ: BNK48) เป็นกลุ่มไอดอลหญิงของประเทศไทย และเป็นวงน้องสาวของกลุ่มไอดอลญี่ปุ่นเอเคบีโฟร์ตีเอต (AKB48) ภายใต้แนวคิดร่วมกันคือ "ไอดอลที่คุณสามารถไปพบได้"[2] ก่อตั้งโดย บีเอ็นเคโฟร์ตีเอต ออฟฟิศ[3][1][น 1] โดยเริ่มเปิดออดิชันครั้งแรกเมื่อช่วงกลางปี พ.ศ. 2559[4] เปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2560 ด้วยสมาชิก 30 คน โดยมีหนึ่งคนเป็นสมาชิกแลกเปลี่ยนจากวงพี่น้อง[5] และเปิดตัวซิงเกิลแรกออกมาในชื่อ อยากจะได้พบเธอ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2560[6] ต่อมาในช่วงปลายปี ได้มีสมาชิกสองคนประกาศจบการศึกษา ทำให้ปัจจุบันทางวงมีสมาชิกทั้งหมด 28 คน[7]
ชื่อของวงนั้นตั้งตามชื่อย่อของ บางกอก (Bangkok) หรือ กรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของประเทศไทย มีสีประจำวงเป็นสีม่วงอ่อนของดอกกล้วยไม้[8]
ประวัติ
พ.ศ. 2559: ก่อนการเปิดตัวและการออดิชัน
ก่อนที่จะมีการประกาศอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับการจัดตั้งวงบีเอ็นเคโฟร์ตีเอตในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2554 ยะซุชิ อะกิโมะโตะ ผู้ก่อตั้งแฟรนไชส์เอเคบีโฟร์ตีเอต ได้ให้สัมภาษณ์กับนิตยสารจีคิว (GQ)[9] และรายการทีวี วะรัตเตะ อีโตะโมะ[10] ของประเทศญี่ปุ่นถึงความเป็นไปได้ในการจัดตั้งวงน้องสาวนอกประเทศญี่ปุ่นต่อจากวงเจเคทีโฟร์ตีเอต (JKT48) ซึ่งประเทศที่เป็นไปได้ก็คือประเทศไต้หวันและประเทศไทย
ต่อมาเมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2559 ในงานคอนเสิร์ตอำลาจบการศึกษาของ มินะมิ ทะคะฮะชิ ณ สนามกีฬาโยะโกะฮะมะ ได้มีการประกาศอย่างเป็นทางการถึงการก่อตั้งวงน้องสาวต่างประเทศของเอเคบีโฟร์ตีเอตวงใหม่อีกสามวงด้วยกัน ซึ่งได้แก่วงทีพีอีโฟร์ตีเอต (TPE48) ประเทศไต้หวัน, เอ็มเอ็นแอลโฟร์ตีเอต (MNL48) ประเทศฟิลิปปินส์ และบีเอ็นเคโฟร์ตีเอต (BNK48) ประเทศไทย[11] โดยทางวงเปิดออดิชันครั้งแรกสำหรับรุ่นที่หนึ่งผ่านทางเว็บไซต์เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม ถึง 31 สิงหาคม มีผู้สมัครทั้งหมด 1,357 คน[4] ซึ่งทางทีมงานได้คัดเลือกผู้เข้าสมัครจำนวน 330 คนให้ผ่านเข้ารอบออดิชันครั้งต่อไปในวันที่ 5 กันยายน[12] และคัดเหลือ 80 คนในวันที่ 23 กันยายน ซึ่งทางวงมีแผนที่จะเปิดตัวสมาชิกรุ่นแรกภายในปี พ.ศ. 2559 แต่เนื่องจากเหตุการณ์สวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จึงทำให้ทางวงต้องระงับกิจกรรมทั้งหมดชั่วคราว[13] จนถึงวันที่ 18 ธันวาคม เป็นวันออดิชันรอบสุดท้าย คัดเลือกเหลือ 29 คน เป็นรุ่นแรกของวง[น 2][น 3]
พ.ศ. 2560: การเปิดตัวครั้งแรกกับซิงเกิล อยากจะได้พบเธอ และ คุกกี้เสี่ยงทาย
เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ทางวงได้ทำการเปิดตัวสมาชิกรุ่นแรกจำนวน 29 คน ในงานเจแปนเอ็กซ์โปไทยแลนด์[14][15] ต่อมาในวันที่ 13 เมษายน รินะ อิซึตะ สมาชิกวงเอเคบีโฟร์ตีเอต ประกาศว่าจะเข้าร่วมวงด้วย ทำให้สมาชิกในวงทั้งหมดเพิ่มเป็น 30 คน[16] ต่อมาเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน ทางวงได้ทำการเปิดตัวอย่างเป็นทางการในงาน "บีเอ็นเคโฟร์ตีเอตเดอะเดบิวต์" พร้อมกับซิงเกิลแรกในชื่อ อยากจะได้พบเธอ ซึ่งประกอบด้วยสามเพลง อันได้แก่ "อยากจะได้พบเธอ" "ก็ชอบให้รู้ว่าชอบ" และ "365 วันกับเครื่องบินกระดาษ" พร้อมกับประกาศสมาชิกเซ็มบัตสึชุดแรกจำนวน 16 คน[5] ซึ่งทางวงได้เปิดขายแผ่นซีดีของซิงเกิลนี้ในเฉพาะระยะเวลาสั้นๆ ออกวางจำหน่ายเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม โดยขายได้ 13,500 ชุด[3][6] นอกจากนี้ ทางวงได้จัดกิจกรรมงานจับมือเป็นครั้งแรก ในวันที่ 27 สิงหาคม ที่เซ็นทรัลพลาซา บางนา มีผู้เข้าร่วมงานเกือบ 4,000 คน[17]
ต่อมาทางวงได้เปิดตัวเพลง "คุกกี้เสี่ยงทาย" เป็นครั้งแรกในคอนเสิร์ต "2017: โฟร์วันวัน แฟนดอม ปาร์ตี้ อิน แบงคอก" ร่วมกับ ผลิตโชค อายนบุตร และ ไอคอน ที่รอยัลพารากอนฮอลล์[18][19] ซึ่งเป็นเพลงหลักของซิงเกิลในชื่อเดียวกัน มีแผนจะวางจำหน่ายในวันที่ 20 ธันวาคม[20][21] ซึ่งทางวงได้แสดงเพลงนี้อีกครั้งในงาน "เจแปนเอ็กซ์โป อิน ไทยแลนด์ 2017" ในวันที่ 1 และ 3 กันยายน ร่วมกับกลุ่มดนตรีญี่ปุ่น "เวิลด์ออเดอร์" (World Order) พร้อมกับเปิดตัวเพลงใหม่ในชื่อ "บีเอ็นเคโฟร์ตีเอต"[22][น 4]
ในวันที่ 10 กันยายน วรรษมณฑ์ พงษ์วานิช (คิตแคต) หนึ่งในสมาชิกรุ่นแรกของวง ได้ประกาศจบการศึกษา เนื่องจากเหตุผลทางการศึกษาที่ต้องการศึกษาต่อทางสายแพทยศาสตร์ ซึ่งทางวงบีเอ็นเคโฟร์ตีเอตก็ได้จัดคอนเสิร์ตอำลาในวันที่ 23 กันยายนที่ศูนย์การค้าเอ็มควอเทียร์[23] ต่อมาเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ไอรดา ธวัชผ่องศรี (ซินซิน) ได้ประกาศจบการศึกษาเช่นกัน โดยงานที่เธอเข้าร่วมเป็นครั้งสุดท้ายคือมินิคอนเสิร์ตชื่อ "บีเอ็นเคโฟร์ตีเอต มินิไลฟ์ แอนด์ แฮนด์เชค"[24] ซึ่งตรงกับวันที่ 18 พฤศจิกายน และภายในงานนี้ทางวงได้เปิดตัวเพลงใหม่ในชื่อ "พลิ้ว" แสดงโดยสมาชิกอันเดอร์เกิร์ล ซึ่งเป็นเพลงสุดท้ายที่ใช้ประกอบในซิงเกิล คุกกี้เสี่ยงทาย[23][25][26]
เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม ทางวงได้ก่อตั้งทีมบีทรี (BIII) ซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 24 คน[27] และเปิดออดิชันรุ่นที่สองผ่านเว็บไซต์ตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ถึง 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561[28] รวมถึงเปิดตัวซิงเกิลลำดับที่ 3 ในชื่อ โชะนิจิ และเปิดการแสดงลำดับแรกของทีมบีทรีในชื่อ ปาร์ตี กะ ฮะจิมะรุ โย! ในโรงละครของวง[29]
สมาชิก
ทางวงมีสมาชิกทั้งหมด 28 คน โดยแบ่งเป็นสมาชิกทีมบีทรี (BIII) 24 คน และสมาชิกเค็งคิวเซย์ 4 คน
การจัดการ
เอ็นเคโฟร์ตีเอต ออฟฟิศ คือบริษัทที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อดูแลจัดการวงโดยเฉพาะ โดยมีโรส มีเดีย ถือครองหุ้นร่วมกับเอเคเอ็ส[30]
ประธานบริษัทคือ จิรัฐ บวรวัฒนะ เป็นพี่ชายของ ณัฐพล บวรวัฒนะ ซึ่งเป็นผู้จัดการของวง (ชิไฮนิน)[31]
สมาชิกวงแต่ละคนจะได้รับสัญญา 6 ปี และสามารถต่ออายุสัญญาใหม่ได้[32]
การประชาสัมพันธ์
การเงิน
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การแสดงและกิจกรรม
ทางต้นสังกัด บีเอ็นเคโฟร์ตีเอต ออฟฟิศ ได้สร้าง ดิจิตอล ไลฟ์ สตูดิโอ (นิยมเรียกว่า "ตู้ปลา") ซึ่งตั้งอยู่ในศูนย์การค้าเอ็มควอเทียร์ ให้กับวงเพื่อให้สมาชิกได้เปิดโอกาสพูดคุย หรือทำกิจกรรมในหัวข้อต่างๆ ผ่านการถ่ายทอดสดทุกวันทางเฟซบุ๊กและยูทูป[33] และสมาชิกแต่ละคนยังได้ปรากฏตัวถ่ายทอดสดผ่านในแอปพลิเคชัน วูฟ (Voov) ทุกคืน อย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง[34]
เมื่อช่วงวันที่ 1 กรกฎาคม ถึง 6 สิงหาคม พ.ศ. 2560 ทางวงได้จัดงานโรดโชว์ทุกเสาร์อาทิตย์ที่ห้างสรรพสินค้าในเครือเดอะมอลล์สาขาต่าง ๆ และบลูพอร์ต เพื่อให้สมาชิกในวงได้ปรากฏตัวสู่สาธารณะมากยิ่งขึ้น[35] ซึ่งนอกจากนี้ทางวงยังได้เปิดโอกาสให้สมาชิกได้ไปแสดงในงานอีเว้นต์ต่าง ๆ โดยเฉพาะงานที่เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์ เกม หรือสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับประเทศญี่ปุ่น[33]
งานจับมือครั้งแรกจัดขึ้นเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2560 สำหรับผู้ที่สนับสนุนซิงเกิลแรก อยากจะได้พบเธอ[36] มีผู้เข้าร่วมเกือบ 4,000 คน[37] งานจับมือครั้งที่สองจัดขึ้นเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 มีผู้เข้าร่วมเกือบ 5,000 คน[38]
นอกจากนี้ทางวงยังมีรายการโทรทัศน์เป็นของตัวเองจำนวน 4 รายการ ได้แก่ บีเอ็นเคโฟร์ตีเอต เซ็มไป รายการสารคดีเกี่ยวกับช่วงระหว่างและหลังออดิชันของวง โดยช่วงหลังเป็นรายการท่องเที่ยวประเทศญี่ปุ่น มีสมาชิกจากวงเอเคบีโฟร์ตีเอต เป็นแขกรับเชิญ, บีเอ็นเคโฟร์ตีเอต โชว์ รายการวาไรตี้ที่ให้สมาชิกในวงเล่นเกมและมีช่วงให้สมาชิกแต่ละคนแสดงความสามารถพิเศษ[35], เพื่อนร่วมทางเดอะเจอร์นีย์ รายการเรียลลิตีโชว์ที่ถ่ายทำในประเทศญี่ปุ่น โดยมีสมาชิก 4 คน คือ แจน, ปัญ, แก้วและตาหวาน และ อยากจะได้พบเธอ ! ญี่ปุ่น รายการท่องเที่ยวตามสถานที่จริงในฉากอะนิเมะ โดยมีสมาชิก 6 คน คือ เจนนิษฐ์, เคท, โมบายล์, ปูเป้, นิ้งและเจน[39]
โรงละคร
เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ณัฐพล บวรวัฒนะ ผู้จัดการวง บีเอ็นเคโฟร์ตีเอต ได้ออกมาประกาศสถานที่ตั้งของโรงละครหรือ "เธียเตอร์" ชื่อว่า "บีเอ็นเคโฟร์ตีเอต เดอะแคมปัส" ตั้งอยู่ที่ชั้น 4 เดอะมอลล์บางกะปิ ในพื้นที่ประมาณ 1,000 ตารางเมตร ประกอบด้วยโรงละครขนาด 350 ที่นั่งซึ่งเปิดแสดงในวันเสาร์และวันอาทิตย์, คาเฟ่, ร้านขายของที่ระลึกและสำนักงาน โดยจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561[38]
กิจกรรมการกุศล
เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2560 ทางวงได้จัดงานประมูลรูปสมาชิกในวงเพื่อนำเงินไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 246,000 บาท[40]
เกียรติประวัติ
บีเอ็นเคโฟร์ตีเอต ได้รับเลือกให้เป็นบุคคลแห่งปีจากวอยซ์ทีวี เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2560[41]
คำวิพากษ์วิจารณ์
หลายครั้งที่ผ่านมาบีเอ็นเคโฟร์ตีเอต ออฟฟิศ มักได้รับคำวิพากษ์วิจารณ์ ถึงกรณีการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐาน
ภาพลักษณ์
สมาชิกของวงนั้นจะเรียกกันว่า "ไอดอล" ที่ทำหน้าที่เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเยาวชน ซึ่งคนส่วนใหญ่มองว่าจุดขายของวงนั้นไม่ได้มาจากทักษะในการร้องหรือการเต้น แต่มาจากพัฒนาการและบุคลิกภาพของสมาชิกแต่ละคนมากกว่า ในขณะเดียวกัน การที่แฟนคลับส่วนใหญ่ซึ่งเป็นผู้ชายมายืนมองดูสมาชิกใน "ตู้ปลา" ก็ถือว่าเป็นภาพที่ค่อนข้างแปลกตาในสังคมไทยเช่นกัน[42]
ผลงาน
หมายเหตุ
- ↑ เป็นการร่วมทุนระหว่าง โรส อาร์ทิส แมเนจเมนต์ และ เอเคเอส
- ↑ มีการบันทึกเทปเพื่อตัดต่อในรายการโทรทัศน์ บีเอ็นเคโฟร์ตีเอต เซ็มไป
- ↑ ตามเดิมคัดเลือกเหลือ 30 คนเป็นรุ่นแรกของวง แต่ทว่ามีสมาชิกคนหนึ่งถูกตัดสิทธิ์ เพราะทำผิดกฎการสมัครออดิชัน
- ↑ ในงานนี้สมาชิกเซ็มบัตสึของซิงเกิลแรกทั้งสี่คน ได้แก่ แจน แก้ว อร และน้ำหนึ่ง ได้ถูกลดขั้นเพราะทำผิดกฏ จึงได้ขึ้นแสดงในฐานะอันเดอร์เกิร์ลแทน ทั้งนี้ สมาชิกที่เข้าแสดงแทนคือ ปูเป้, เจน, อิซึรินะ, และโมบายล์
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 "BNK48 Office เปิดตัวไอดอลกรุ๊ป BNK48". thansettakij.com. ฐานเศรษฐกิจ. 2017-06-06. สืบค้นเมื่อ 2017-10-28.
- ↑ พิเชฐ ยิ่งเกียรติคุณ (2017-07-17). "ไอดอล BNK48 จะไปได้ไกลแค่ไหนในวงการบันเทิงไทย". voicetv.co.th. Voice TV. สืบค้นเมื่อ 2017-10-13.
- ↑ 3.0 3.1 "BNK48 เปิดตัวสุดยิ่งใหญ่ 16 สาวเซ็นบัตสึ เป้าหมายมุ่งไอดอล No.1 ประเทศไทย". pingbook.com. Pingbook. 2017-06-03. สืบค้นเมื่อ 2017-10-28.
- ↑ 4.0 4.1 "「BNK48」メンバー募集オーディション開催決定" (ภาษาญี่ปุ่น). タイランドハイパーリンクス. 2016-07-29. สืบค้นเมื่อ 2017-02-17.
- ↑ 5.0 5.1 "ภาพ คลิป จัดเต็ม! BNK48 The Debut เปิดตัว 16 เซ็นบัตสึ พร้อมสัมภาษณ์พิเศษ 6 สาว ยูนิตแรก". music.trueid.net. True ID. 2017-06-05. สืบค้นเมื่อ 2017-10-28.
- ↑ 6.0 6.1 พิเชฐ ยิ่งเกียรติคุณ (2017-08-07). "ไขปม: การตลาดโอตะ กระแส BNK48 จะอยู่รอดในตลาดไทยได้จริงหรือ?". news.voicetv.co.th. Voice TV. สืบค้นเมื่อ 2017-10-28.
- ↑ "BNK48 Members". bnk48.com. BNK48 Office. 2017. สืบค้นเมื่อ 2017-10-31.
- ↑ "台湾、フィリピン、タイにて新たな姉妹グループ誕生!". akb48.co.jp. AKS. 2016-03-26. สืบค้นเมื่อ 2017-02-19.
- ↑ 鈴木正文 (2012-03-07). "AKB48プロジェクトの創造者、秋元 康が、いまの日本の、おもしろさを語る【2】". gqjapan.jp (ภาษาญี่ปุ่น). GQ JAPAN. สืบค้นเมื่อ 2016-05-04.
- ↑ 真紀和泉 (2011-12-23). "【エンタがビタミン♪】「数年後は世界で総選挙も」。秋元康が"いいとも"でAKBの将来性について語る。". japan.techinsight.jp (ภาษาญี่ปุ่น). Techinsight. สืบค้นเมื่อ 2016-05-04.
- ↑ "New AKB48 sister groups to be formed in Manila, Bangkok and Taipei". japantoday.com (ภาษาอังกฤษ). Japan Today. 2016-03-28. สืบค้นเมื่อ 2017-02-19.
- ↑ "BNK48_2nd_Round_Qualifier.pdf" (PDF). BNK48 Office. 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-11-16. สืบค้นเมื่อ 2017-02-17.
- ↑ "Announcement regarding BNK48 activities". Facebook. BNK48. 2016-10-15. สืบค้นเมื่อ 2017-10-18.
- ↑ "เผยโฉม 29 สาว BNK48 เกิร์ลกรุ๊ปน้องสาว AKB48 ประจำประเทศไทย". manager.co.th. Manager. 2017-02-12. สืบค้นเมื่อ 2017-02-12.
- ↑ "「BNK48」1期生29人、バンコクでお披露目 日タイ修好130周年シンボルに". ORICON NEWS (ภาษาญี่ปุ่น). oricon ME. 2017-02-13. สืบค้นเมื่อ 2017-02-13.
- ↑ "แฟนคลับไทยเฮ! อิสึตะ รินะ ไอดอล AKB48 ประกาศย้ายมาอยู่วง BNK48". thairath.co.th. ไทยรัฐ. 2017-04-14. สืบค้นเมื่อ 2017-10-28.
- ↑ แก้วตา เกษบึงกาฬ (2017-08-27). "แฟนคลับ BNK48 แห่ร่วมงานจับมือครั้งแรกของวง". news.voicetv.co.th. Voice TV. สืบค้นเมื่อ 2017-10-28.
- ↑ คมชัดลึก (2017-08-14). "โฟร์วันวัน จัดหนัก! รวม 3 บิ๊กไอดอล จาก 3 สัญชาติ". Nation TV. Nation Broadcasting Corporation. สืบค้นเมื่อ 2017-08-31.
- ↑ "411 Fandom Party in Bangkok". Bangkok Post (ภาษาอังกฤษ). Bangkok Post Public Company Limited. 2017-08-08. สืบค้นเมื่อ 2017-08-31.
- ↑ "ให้คุกกี้ทำนายกัน! "ชาวโอตะ" สุดฟิน 16 ตัวแทนสาวจากวง "BNK48" เปิดตัวเพลงใหม่ "คุกกี้เสี่ยงทาย-Koisuru Fortune Cookies" ใน "411 Fandom Party"". dodeden.com. Do De Den. 2017-08-31. สืบค้นเมื่อ 2017-08-31.
- ↑ "BNK48 2nd Single Koisuru Fortune Cookie (คุกกี้เสี่ยงทาย)". BNK48 Shop. BNK48 Office. สืบค้นเมื่อ 2017-10-06.
- ↑ วัชรพล (2017-09-01). "แฟนๆงง! 4 สาวชราไลน์ BNK48 โดนเด้งเป็น UnderGirl งาน JapanExpo 2017". Thairath. ไทยรัฐออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 2017-09-02.
- ↑ 23.0 23.1 แก้วตา เกษบึงกาฬ (2017-09-23). "BNK48 จัดคอนเสิร์ตอำลา 'คิตแคต' อย่างอบอุ่น". news.voicetv.co.th. Voice TV. สืบค้นเมื่อ 2017-09-23.
- ↑ พิเชฐ ยิ่งเกียรติคุณ (2017-10-31). "จบการศึกษาอีกราย 'ซินซิน BNK48' ประกาศออกจากวง". news.voicetv.co.th. Voice TV. สืบค้นเมื่อ 2017-10-31.
- ↑ แจ็คเก็ตขาว (2017-11-18). "ชมภาพบรรยากาศงาน BNK48 Mini Live and Handshake น้องส่งความน่ารัก สดใส ให้กำลังใจผ่านการจับมือ!!". script.today. True ID. สืบค้นเมื่อ 2017-11-18.
- ↑ กองบรรณาธิการวอยซ์ทีวี (2017-11-18). "แฟนคลับประทับใจงาน 'BNK48 Mini Live and Handshake'". voicetv.co.th. Voice TV. สืบค้นเมื่อ 2017-11-18.
- ↑ "รู้จักทีม BIII (บีทรี)ทีมอย่างเป็นทางการของ BNK48". gmlive.com. GM Live. 2017-12-24. สืบค้นเมื่อ 2017-12-24.
- ↑ "ใกล้ชิดแบบฟิน ๆ กับ BNK48 ในแฟนมีตติ้ง BNK48 We Wish You! A Merry Christmas". music.trueid.net. trueid. 2017-12-24. สืบค้นเมื่อ 2017-12-24.
- ↑ "สรุปทุกประกาศในงาน #BNK48 We Wish You A Merry Christmas : ทีม BIII, ซิงเกิล 3, Photobook และอีกเพียบ !!". mangozero.com. Mango Zero. 2017-12-24. สืบค้นเมื่อ 2017-12-24.
- ↑ Nainapat, Prepanod (2017-06-06). "Intro to 'BNK48' การเปิดตัวไอดอลไทยสไตล์ญี่ปุ่น และทิศทางของวงในอนาคต". The Matter. The Matter. สืบค้นเมื่อ 2017-07-25.
- ↑ กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี (2017-08-29). "คุยกับ ผจก. BNK48: คิดอย่างไรกับกระแสลบด้านการจัดการที่ผ่านมา". Voice TV. Digital TV Network. สืบค้นเมื่อ 2017-08-30.
- ↑ อำภรณ์ศรี, สันติชัย, บ.ก. (2017-07-05). "Ham Feature: Return of Japanese Idol?". Hamburger Magazine. Day Poets (91): 6.
- ↑ 33.0 33.1 "โรสฯ จับมือ "เอเคเอส" ญี่ปุ่น ผุด BNK48 ไลฟ์สดดูดรายได้". thaipost.net. Thai Post. 2017-06-03. สืบค้นเมื่อ 2017-07-25.
- ↑ "BNK48 หนึ่งเดือนหลังเดบิวท์ กับ รีวิวฉบับโอตะหน้าใหม่". Online Station. Online Station. 2017-07-03. สืบค้นเมื่อ 2017-07-28.
- ↑ 35.0 35.1 "[Idol News] BNK48 กางแผนโปรโมท …ตั้งเป้าไอดอลอันดับ 1 ของประเทศไทย!". megaxgame.com. MEGAXGAME. 2017-02-14. สืบค้นเมื่อ 2017-02-20.
- ↑ Kotori (2017-07-18). "สิ้นสุดการรอคอย.. ซิงเกิ้ลเดบิวต์แรกจากสาวๆวงไอดอลเกิร์ลกรุ๊ปไทยสัญชาติญี่ปุ่น "BNK48" กับเพลง "Aitakatta"". Pingbook. Pingbook Entertainment. สืบค้นเมื่อ 2017-07-19.
- ↑ เกษบึงกาฬ, แก้วตา (2017-08-27). "แฟนคลับ BNK48 แห่ร่วมงานจับมือครั้งแรกของวง". Voice TV. Digital TV Network. สืบค้นเมื่อ 2017-08-27.
- ↑ 38.0 38.1 "แฟนคลับประทับใจงาน 'BNK48 Mini Live and Handshake'". voicetv.co.th. Voice TV. 2017-11-18. สืบค้นเมื่อ 2017-11-19.
- ↑ "ปีใหม่นี้ พบกับรายการใหม่จากสมาชิก BNK48 2 รายการ". Facebook. BNK48. 2017-12-28. สืบค้นเมื่อ 2017-12-28.
- ↑ ไทยรัฐออนไลน์ (2017-08-06). "เหนือบรรยาย! ประมูลรูป เฌอปราง BNK48 ใบละ 7.7 หมื่น รวมทำบุญกว่า 2 แสน". Thairath Online. Thairath. สืบค้นเมื่อ 2017-08-06.
- ↑ กองบรรณาธิการวอยซ์ทีวี (2017-12-20). "BNK48: บุคคลแห่งปี VoiceTV". voicetv.co.th. Voice TV. สืบค้นเมื่อ 2017-12-20.
- ↑ Kanin Srimaneekulroj (2017-06-22). "Sisters are doin' it for themselves". bangkokpost.com. Bangkok: Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 2017-12-27.