ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จังหวัดปกครองตนเองชนชาติไท สิบสองปันนา"

พิกัด: 22°00′N 100°48′E / 22.000°N 100.800°E / 22.000; 100.800
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 49: บรรทัด 49:


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==
ในสมัยโบราณนั้น เคยเป็นที่ตั้งของ[[อาณาจักรน่านเจ้า]] มีเมืองหลวงอยู่ที่ [[หนองแส]] หรือ เมือง[[ต้าลี่]] ในประเทศจีนปัจจุบัน
ในสมัยโบราณนั้น เคยถูกปกครองและรุกรานหลายครั้งจากชนชาติไป๋หรืออาณาจักรน่านเจ้า
ย้ำว่าน่านเจ้าไม่ใช่คนไทย ซึ่งคนไทยก็หลงตัวเองว่าเคยยิ่งใหญ่ทั้งที่น่านเจ้าหรือต้าหลี่เป็นชนชาติไป๋ ซึ่งมีความใกล้ชิดกับพม่า และ ทิเบตมาก

สิบสองปันนานั้นได้เป็นราช[[อาณาจักรหอคำเชียงรุ่ง]] เมื่อประมาณ 825 ปีก่อน โดย พญาเจือง หรือสมเด็จพระเจ้าหอคำเชียงรุ่งที่ 1 ในตำราของไทย เมื่อพุทธศตวรรษที่ 18 ชาว[[มองโกล]]ได้รุกราน[[อาณาจักรล้านนา]] ส่วนสิบสองปันนานั้นจึงได้เป็นของมองโกล และก็ได้เป็นของจีนต่อมา(ตาม[[ประวัติศาสตร์จีน]])

การอ่อนแอของราชวงค์อาฬโวสวนตาลครั้งแรกเริ่มคราวสมัยสมเด็จพระเจ้าหอคำเชียงรุ่งที่ 3 (ท้าวอ้ายปุง) รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงค์อาฬโวสวนต๋าน จากนั้นเกิดความวุ่นวายเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ สุดท้ายถึงรัชกาลที่ 24 ท้าวอินเมิง (ท้าวอินเมือง) อาณาจักรสิบสองปันนาเริ่มเป็นปึกแผ่นมากที่สุด การขยายอาณาเขตเข้าไปยึดถึงเมือง[[เชียงตุง]] เมืองแถน ([[เดียนเบียนฟู]]) เชียงแสน ล้านช้าง จึงเป็นเหตุให้การอพยพ[[ชาวไทลื้อ]]จาก[[เชียงรุ่ง]]และอีกหลายหัวเมืองลื้อเข้าไปสู่ดินแดนดังกล่าว เพื่อเข้าไปตั้งชุมชนปกครอง หัวเมืองประเทศราช ซึ่งหากมองมาถึงปัจจุบันมีชาวไทลื้อกระจายไปทั่วทั้งเมืองแถน หัวเมืองทางเหนือของลาว ทุกเมือง รัฐฉานของพม่า จนถึง[[เชียงตุง]] และแถบไต้คง

สิบสองปันนาดำรงความมั่นคงเฟื่องฟูอยู่ 100 กว่าปี ก็ถูกรุกรานอีกครั้งโดยชาวมองโกล และตกอยู่ในการปกครองของจีนอีกครั้งในปี [[พ.ศ. 1835]] การสิ้นสุดอำนาจการปกครอง และการยอมรับอำนาจของมองโกล เมื่อรัชกาลที่ 33 เมื่อพระเจ้ากรุงจีนส่งตราหัวเสือ(จุ่มกาบหลาบคำ)มาให้เป็นตราแผ่นดินแทนตรานกหัสดีลิงก์ การเปลี่ยนชื่อเจ้าผู้ครองนคร จากชื่อภาษาไทลื้อ เป็นภาษาจีน เริ่มขึ้นในยุคนี้ เจ้าผู้ครองนครชาวไทลื้อถูกเรียกว่าเจ้าแสนหวีฟ้า
สิบสองปันนาดำรงความมั่นคงเฟื่องฟูอยู่ 100 กว่าปี ก็ถูกรุกรานอีกครั้งโดยชาวมองโกล และตกอยู่ในการปกครองของจีนอีกครั้งในปี [[พ.ศ. 1835]] การสิ้นสุดอำนาจการปกครอง และการยอมรับอำนาจของมองโกล เมื่อรัชกาลที่ 33 เมื่อพระเจ้ากรุงจีนส่งตราหัวเสือ(จุ่มกาบหลาบคำ)มาให้เป็นตราแผ่นดินแทนตรานกหัสดีลิงก์ การเปลี่ยนชื่อเจ้าผู้ครองนคร จากชื่อภาษาไทลื้อ เป็นภาษาจีน เริ่มขึ้นในยุคนี้ เจ้าผู้ครองนครชาวไทลื้อถูกเรียกว่าเจ้าแสนหวีฟ้า



รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:22, 2 กรกฎาคม 2560

แม่แบบ:กล่องข้อมูล เมืองในจีน

เขตปกครองตนเองชนชาติไท สิบสองปันนา (ไทลื้อ : ᦈᦹᧈᦈᦹᧈᦋᦵᦲᧁᦘᦱᦉᦱᦑᦺ᧑᧒ᦗᧃᦓᦱ ; จีนตัวย่อ: 西双版纳傣族自治州; จีนตัวเต็ม: 西雙版納傣族自治州; พินอิน: Xīshuāngbǎnnà dǎizú Zìzhìzhōu) หรือชื่อย่อว่า ซีไต่ (จีน: 西傣; พินอิน: Xīdǎi) ตั้งอยู่ทางใต้สุดของมณฑลยูนนาน ประเทศจีน มีเมืองเอก คือ เมืองเชียงรุ่ง

ภูมิประเทศ

เขตปกครองตนเองชนชาติไท สิบสองปันนามีเนื้อที่ประมาณ 19,700 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตติดกับแขวงหลวงน้ำทา แขวงพงสาลี ของประเทศลาว และรัฐชานของพม่า โดยมีชายแดนยาวถึง 966 กิโลเมตร และมีแม่น้ำโขงไหลผ่านตอนกลาง

สิบสองปันนา มีความหมายว่า "12 อำเภอ" คำว่า "พันนา" ไม่ได้หมายถึง นาพันผืน "พันนา" เป็นหน่วยการปกครองของคนไทในอดีต ตามหนังสือพงศาวดารโยนก เชียงรายมีพันนา พะเยามี ๓๖ พันนา ถ้าเท่ากับหน่วยการปกครองปัจจุบัน ก็คือ "อำเภอ"[ต้องการอ้างอิง]

ประวัติ

ในสมัยโบราณนั้น เคยถูกปกครองและรุกรานหลายครั้งจากชนชาติไป๋หรืออาณาจักรน่านเจ้า ย้ำว่าน่านเจ้าไม่ใช่คนไทย ซึ่งคนไทยก็หลงตัวเองว่าเคยยิ่งใหญ่ทั้งที่น่านเจ้าหรือต้าหลี่เป็นชนชาติไป๋ ซึ่งมีความใกล้ชิดกับพม่า และ ทิเบตมาก สิบสองปันนาดำรงความมั่นคงเฟื่องฟูอยู่ 100 กว่าปี ก็ถูกรุกรานอีกครั้งโดยชาวมองโกล และตกอยู่ในการปกครองของจีนอีกครั้งในปี พ.ศ. 1835 การสิ้นสุดอำนาจการปกครอง และการยอมรับอำนาจของมองโกล เมื่อรัชกาลที่ 33 เมื่อพระเจ้ากรุงจีนส่งตราหัวเสือ(จุ่มกาบหลาบคำ)มาให้เป็นตราแผ่นดินแทนตรานกหัสดีลิงก์ การเปลี่ยนชื่อเจ้าผู้ครองนคร จากชื่อภาษาไทลื้อ เป็นภาษาจีน เริ่มขึ้นในยุคนี้ เจ้าผู้ครองนครชาวไทลื้อถูกเรียกว่าเจ้าแสนหวีฟ้า

เมื่อ พุทธศตวรรษที่ 21 พม่าได้ก่อตั้งอาณาจักรตองอู และขยายอาณาเขตของตนไปทางตะวันออก พม่าได้โจมตีสิบสองปันนา ต่อจากนั้นจึงได้แบ่งเมืองเชียงรุ้งเป็น สิบสองปัน และก็เป็น เมืองในปัจจุบัน ได้แก่ เมืองฮาย ม้าง หุน แจ้ ฮิง ลวง อิงู ลา พง อู่ เมืองอ่อง และ เชียงรุ่ง จึงเรียกเรียกเมีองแถวๆ นี้รวมกันว่า สิบสองปันนา ในช่วงสมัยนี้เป็นช่วงเวลาที่วัฒนธรรมพม่า และ ศาสนาได้เข้าไปในสิบสองปันนา

ตามเอกสารที่ได้บันทึกเมื่อปี พ.ศ. 2113 จัดแบ่งไว้ ดังนี้ [1]

  1. เมืองเชียงรุ่ง เมืองยาง เมืองฮำ รวมเป็น 1 พันนา
  2. เมืองแจ เมืองมาง (ฟากตะวันตก) เมืองเชียงลู เมืองออง เป็น 1 พันนา
  3. เมืองลวง เป็น 1 พันนา
  4. เมืองหน เมืองพาน เชียงลอ เป็น 1 พันนา
  5. เมืองฮาย เชียงเจือง เป็น 1 พันนา
  6. เมืองงาด เมืองขาง เมืองวัง เป็น 1 พันนา
  7. เมืองหล้า เมืองบาน เป็น 1 พันนา
  8. เมืองฮิง เมืองปาง เป็น 1 พันนา
  9. เชียงเหนือ เมืองลา เป็น 1 พันนา
  10. เมืองพง เมืองมาง (ฟากตะวันออก) เมืองหย่วน เป็น 1 พันนา
  11. เมืองอูเหนือ เมืองอูใต้ เป็น 1 พันนา
  12. เมืองเชียงทอง อีงู อีปาง เป็น 1 พันนา
  13. เมืองภูแถนหลวง เวียงคำแถน เป็น 1 พันนา


สมัยหลังราชวงศ์มังราย

หลังจากพระเจ้ากาวิละได้ปลดปล่อยเชียงใหม่ และ อาณาจักรล้านนา จาก พม่าแล้ว พระเจ้ากาวิละทรงพิจารณาเห็นว่าเมืองเชียงใหม่ขณะนั้นเป็นเมืองร้าง เพราะผู้คนหนีภัยสงคราม อีกทั้งในกำแพงตัวเมืองเชียงใหม่ยังมีต้นไม้เถาวัลย์ปกคลุม ชุกชุมด้วยเสือ สัตว์ป่านานาพันธ์ ผู้คนของพระองค์มีน้อยไม่อาจบูรณะซ่อมแซมเมืองใหญ่ได้ ดังนั้นจึงยกทัพไปกวาดต้อนผู้คนโดยไปตีเมืองไตในดินแดน ๑๒ ปันนา ทั้งไตลื้อ ไตโหลง(ไทใหญ่) ไตขึน (คนไตลื้อในเมืองเชียงตุง) ไตลื้อเมืองยอง ไตลื้อเมืองลวง ไตลื้อเมืองพน เมืองหย่วน เมืองล่า มาอยู่ที่เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน พะเยา และ น่านเป็นจำนวนมาก ซึ่งเรียกกันว่ายุค "เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง" อันเป็นวิธีฟื้นฟูอาณาจักรล้านนาวิธีหนึ่ง เพราะในช่วงก่อนนั้น พม่าได้กวาดต้อนชาวล้านนาไปอยู่ที่ พุกาม และ มัณฑะเลย์ ไปจำนวนมาก

ในช่วงสงครามโลกสิบสองปันนานั้น ตกอยู่ในแผ่นดินจีน ถูกยุบเมืองเชียงรุ่งจากเมืองหลวงเป็นแค่เมือง พร้อมๆ กับเจ้าทั้งหลายด้วย โดยเคยมีเจ้าปกครองอยู่ถึง 44 พระองค์ โดยสมเด็จพระเจ้าหอคำเชียงรุ่งที่ 44 หรือเจ้าหม่อมคำลือ(刀世勋)เป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของอาณาจักรไทลื้อ เป็นราชบุตรของเจ้าหม่อมแสนเมือง ซึ่งเป็นอนุชาของพระเจ้าแผ่นดินองค์ก่อน ซึ่งพระเจ้าแผ่นดินองค์ก่อนนั้นมีศักดิ์เป็นอาของเจ้าหม่อมคำลือ แต่พระองค์ท่านเองไม่มีบุตร จึงได้ขอเจ้าหม่อมคำลือเป็นราชบุตรบุญธรรม เจ้าหม่อมคำลือเกิดเมื่อปี ค.ศ. 1928 และไปเรียนหนังสือที่เมืองฉงชิ่งเมื่ออายุ 16 ปี จนถึงปี ค.ศ. 1944 ได้เข้า “พิธีฮับเมือง” แต่ในช่วงนั้นเกิด สงครามมหาเอเชียบูรพา (ค.ศ. 1939-1945) พิธีฮับเมืองจึงไม่สมบูรณ์ ท่านได้กลับไปเรียนหนังสือ และกลับมาทำพิธีฮับเมืองครั้งที่สอง เมื่อ ค.ศ. 1948 ขณะอายุ 20 ปี อย่างไรก็ตาม ช่วงนั้นได้เกิดการ เปลี่ยนแปลงการปกครองภายในประเทศจีน ราวปี ค.ศ. 1949-1950 ท่านจึงกลายเป็น “กษัตริย์องค์สุดท้าย” โดยเปลี่ยนฐานันดรศักดิ์จากกษัตริย์เป็นสามัญชน โดยที่ยังมิได้บริหารราชการแผ่นดินเลย เนื่องจากหลังจากทำพิธีฮับเมืองครั้งแรกแล้วท่านได้แต่งตั้งให้เจ้าหม่อมแสนเมือง พระราชบิดาเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จากนั้นท่านก็ไปเรียนหนังสือต่อ หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้วท่านได้เรียนหนังสือ ในระดับมหาวิทยาลัยที่มหาวิทยาลัยยูนนาน และได้แต่งงานกับ สิว์ จิ๊ว เฟิน ชาวจีนคุนหมิง ในปี ค.ศ.1953 ก่อนที่ จะทำงานเป็นนักวิจัยด้านภาษาศาสตร์ อีก 8 ปี ที่สถาบันวิจัยชนชาติส่วนน้อยแห่งชาติ สังกัดสภาวิทยาศาสตร์ประเทศจีน ในมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ต่อมาเจ้าหม่อมแสนเมืองได้ขอให้รัฐบาลจีนย้ายทั้งสองกลับมาที่คุนหมิง โดยมาทำงานเป็นนักวิจัยด้านภาษาซึ่งรวมถึงอักษรไทลื้อ จนกระทั่ง ในปี ค.ศ. 1971 รัฐบาลจีนมีคำสั่งให้เจ้าหม่อมคำลือและภรรยาไปทำงานในชนบททำงานในสวนอ้อย ใน อ.เชียงกุ ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของสิบสองปันนา เป็นเวลานาน ถึง 9 ปี การใช้เวลาในสวนอ้อยนี้ สิว์ จิ๊ว เฟิน เล่าว่า สามารถพกหนังสือหรือตำราเข้าไปอ่านได้ด้วยและหลังจาก เติ้ง เสี่ยวผิง ได้เป็นนายกรัฐมนตรีของจีนแล้ว เห็นว่านโยบายเอียงซ้าย นโยบายที่ให้เจ้านายไปใช้แรงงานในชนบท เป็นนโยบายที่ผิดพลาดในปัจจุบัน ดังนั้นเจ้าหม่อมคำลือและภรรยาจึงมีโอกาสกลับคุนหมิง โดยทำงานเป็นนักวิจัยที่สถาบันวิจัยชนชาติในมหาวิทยาลัยชนชาติยูนนานจนกระทั่งเกษียณอายุ โดยมีคุณวุฒิทางวิชาการคือ “ศาสตราจารย์” อย่าง ไรก็ดี หลังจากเกษียณอายุแล้ว ทางการจีนได้ให้ฐานะทางสังคมแก่ เจ้าหม่อมคำลือในฐานะเจ้านายเก่าคือเป็น รองประธานสภาที่ปรึกษาการเมืองระดับมณฑล และ กรรมการสภาที่ปรึกษาการเมืองแห่งชาติ ซึ่งมี ที่พัก และ รถประจำตำแหน่งให้ แต่ปัจจุบันท่านก็ ได้เกษียณจากทุกตำแหน่งแล้ว โดยคนที่มีแซ่เต๋า (刀) ในสิบสองปันนาก็คือ เจ้าในสิบสองปันนาที่เคยครองเมืองทั้งหลายเหล่านี้

เขตการปกครอง

แผนที่
# เมือง จีน พินอิน ประชากร
(ปี 2003)
พื้นที่ (ตร. กม.) ความหนาแน่น
(ตร.กม.)
1 เมืองเชียงรุ่ง 景洪市 Jǐnghóng Shì 370,000 คน 7,133 52
2 เมืองฮาย 勐海县 Měnghǎi Xiàn 300,000 คน 5,511 54
3 เมืองล่า 勐腊县 Měnglà Xiàn 200,000 คน 7,056 28

ชนเผ่า

จำนวนประชากรแบ่งตามชนเผ่า เมื่อปี พ.ศ. 2496 พ.ศ. 2543 และ พ.ศ. 2553

เชื้อชาติ ประชากร ปี พ.ศ. 2496 เปอร์เซนต์ ปี พ.ศ. 2496 ประชากร ปี พ.ศ. 2543 เปอร์เซนต์ ปี พ.ศ. 2543 ประชากร ปี พ.ศ. 2553 เปอร์เซนต์ ปี พ.ศ. 2553
ไท 123,427 54.16% 296,930 29.89% 316,151 27.89%
จีน 14,726 6.46% 289,181 29.11% 340,431 30.03%
อาข่า 32,840 14.4% 186,067 18.73% 215,434 19.01%
ยี 9,115 4.0% 55,772 5.61% 66,731 5.89%
ลาหู่ 490 0.21% 55,548 5.59% 61,504 5.43%
ปะหล่อง 12,440 5.45% 36,453 3.67% 47,529 4.19%
จินัว 3,860 1.69% 20,199 2.03% 22,124 1.95%
อิ้วเมี่ยน หรือ เย้า 7,135 3.13% 18,679 1.88% 22,266 1.96%
แม้ว หรือ ม้ง 101 0.04% 11,037 1.11% 19,055 1.68%
ไป๋ 3 0.00% 5,931 0.6%
ประชากรส่วนน้อย 5,640 0.57%
หุย 498 0.22% 3,911 0.39%
ว้า 3,736 1.64% 3,112 0.31%
จ้วง 479 0.21% 2,130 0.21%
อื่นๆ 2,807 0.3%

อ้างอิง

22°00′N 100°48′E / 22.000°N 100.800°E / 22.000; 100.800