ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงเรียนจิตรลดา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ChitraladaReal (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{กล่องข้อมูล โรงเรียน|ชื่อ=โรงเรียนจิตรลดา|ชื่ออังกฤษ=Chitralada School|ชื่อย่อ=CD|เพลง=เพลงมาร์ชจิตรลดา|คำขวัญ=</br> ''"รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ มีวินัย ใฝ่ความรู้ คู่คุณธรรม"''|ก่อตั้ง=[[10 มกราคม]] [[พ.ศ. 2498]]|ประเภท=โรงเรียนเอกชน|ตำแหน่งหัวหน้า=ผู้จัดการและผู้อำนวยการ|หัวหน้า=|ต้นไม้=|สี=เหลือง ฟ้า|ที่ตั้ง=โรงเรียนจิตรลดา บริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต ถ.ราชวิถี แขวงสวนจิตรลดา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10303|เว็บไซต์=http://www.chitraladaschool.ac.th/|นักเรียน=|ภาพ=Chitralada School.jpg|logo=[[ไฟล์:Cdlogo1.gif|150px]]}}'''โรงเรียนจิตรลดา''' ([[ภาษาอังกฤษ|อังกฤษ]]: Chitralada School) เป็นโรงเรียนที่[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช|พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ]] ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งขึ้น ในบริเวณ[[พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน]] [[พระราชวังดุสิต]] และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นค่าใช้จ่ายของโรงเรียน นักเรียนที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เข้ามาเรียน จึงไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน<ref>http://www.thairath.co.th/content/435294</ref>
{{กล่องข้อมูล โรงเรียน|ชื่อ=โรงเรียนจิตรลดา|ชื่ออังกฤษ=Chitralada School|ชื่อย่อ=CD|เพลง=เพลงมาร์ชจิตรลดา|คำขวัญ=</br> ''"รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ มีวินัย ใฝ่ความรู้ คู่คุณธรรม"''|ก่อตั้ง=[[10 มกราคม]] [[พ.ศ. 2498]]|ประเภท=โรงเรียนเอกชน|ตำแหน่งหัวหน้า=ผู้จัดการและผู้อำนวยการ|หัวหน้า=|ต้นไม้=|สี=เหลือง ฟ้า|ที่ตั้ง=โรงเรียนจิตรลดา บริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต ถ.ราชวิถี แขวงสวนจิตรลดา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10303|เว็บไซต์=http://www.chitraladaschool.ac.th/|นักเรียน=|ภาพ=Chitralada School.jpg|logo=[[ไฟล์:Cdlogo1.gif|150px]]}}'''โรงเรียนจิตรลดา''' ([[ภาษาอังกฤษ|อังกฤษ]]: Chitralada School

[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช|พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช]] ได้พระราชทานพระบรมราโชบายให้โรงเรียนจิตรลดาได้ดำเนินงานมาโดยตลอด ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้[[สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี]]เป็นองค์บริหาร โรงเรียนจึงได้รับสนองพระราโชบายในการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง โดยมีท่านผู้หญิงอังกาบ บุณยัษฐิติ ผู้จัดการและผู้อำนวยการโรงเรียนจิตรลดา เป็นผู้รับสนองพระราโชบายมาบริหารและดำเนินการ<ref>http://www.chitraladaschool.ac.th/cd1_03.php</ref>

โรงเรียนจิตรลดาได้รับการยอมรับว่าเป็น "the most exclusive school in Thailand"<ref>http://www.triposo.com/layer/2avrjug</ref>.


==ประวัติโรงเรียนจิตรลดา<ref>http://www.chitraladaschool.ac.th/cd1_01.php</ref>==
==ประวัติโรงเรียนจิตรลดา<ref>http://www.chitraladaschool.ac.th/cd1_01.php</ref>==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 01:36, 9 พฤษภาคม 2560

โรงเรียนจิตรลดา
Chitralada School
ไฟล์:Cdlogo1.gif
ข้อมูล
ชื่ออื่นCD
ประเภทโรงเรียนเอกชน
คำขวัญ
"รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ มีวินัย ใฝ่ความรู้ คู่คุณธรรม"
สถาปนา10 มกราคม พ.ศ. 2498
สีเหลือง ฟ้า
เพลงเพลงมาร์ชจิตรลดา
เว็บไซต์http://www.chitraladaschool.ac.th/

โรงเรียนจิตรลดา (อังกฤษ: Chitralada School

ประวัติโรงเรียนจิตรลดา[1]

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการศึกษาในระดับอนุบาลขึ้น ณ พระที่นั่งอุดร ในพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ซึ่งในขณะนั้นเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี เมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2498 เนื่องด้วยขณะนั้น สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญาฯ เจริญพระชนมายุพร้อมที่จะทรงพระอักษรได้ จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปิดโรงเรียน โดยมีพระอาจารย์คนแรกที่ถวายฯการสอนเพียงคนเดียว คือ ดร.ทัศนีย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา (ท่านผู้หญิงทัศนีย์ บุณยคุปต์) และโปรดเกล้าฯ ให้มีพระสหายร่วมศึกษาอีก 7 คน นับเป็นนักเรียนรุ่นแรกของโรงเรียนจิตรลดา 

จากนั้นในเดือนกันยายน พ.ศ. 2499 เมื่อ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ฯ ทรงเจริญพระชนมายุพอที่จะทรงพระอักษรได้ จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้เพิ่มชั้นอนุบาลขึ้นอีกชั้นหนึ่ง และเพิ่มนักเรียนขึ้นอีก 4 คน เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2499 ต่อมาได้ โปรดเกล้าฯใ ห้รับพระอาจารย์เพิ่มอีกคนหนึ่งคือ น.ส.อังกาบ ประนิช (ท่านผู้หญิงอังกาบ บุณยัษฐิติ) ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2500 ซึ่งในขณะนั้นมีนักเรียนอนุบาล 2 ระดับ ระดับละ 8 คน

ในวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2500 ต่อมาเมื่อ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ได้เสด็จพระราชดำเนินมาประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต จึงได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สร้างอาคารเรียนถาวรในบริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต และพระราชทานนามโรงเรียนว่า "โรงเรียนจิตรลดา" และได้จดทะเบียนเป็นโรงเรียนราษฎร์ เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2501 เปิดสอนนักเรียน ตั้งแต่ชั้นอนุบาลศึกษาถึงประถมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2507 ได้ขออนุญาตกระทรวงศึกษาธิการขยายชั้นเรียนจนถึงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และในปีการศึกษา 2511 ได้ขยายชั้นเรียนจนถึงมัธยมศึกษาตอนปลายมาจนถึงปัจจุบัน โดยรับนักเรียนทั่วไป ตามกฎเกณฑ์ของโรงเรียนแต่ละปีการศึกษา เป็นการเปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนทั่วไปได้เข้ามาเรียนโดยมิได้เลือกชั้นวรรณะ ตามพระบรมราโชวาท “ให้โรงเรียนรับนักเรียนทั่วไปโดยไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นเชื้อพระวงศ์

เจ้านายศิษย์จิตรลดา[2]

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เริ่มทรงพระอักษรชั้นอนุบาล1 ณ พระที่นั่งอุดร ณ วันที่ 10 มกราคม 2498

สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณฯ เริ่มทรงพระอักษรในชั้นอนุบาล 1 ณ วันที่ 10 มกราคม 2499

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์ เริ่มทรงพระอักษร ณ วันที่ 2 ตุลาคม 2501

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เริ่มทรงพระอักษร ณ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2504

ม.ล.โสมสวลี กิติยากร เข้าเรียนในชั้นอนุบาล 1 เมื่อ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2504

พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ เสด็จมาทรงพระอักษรระดับอนุบาล ณ วันที่ 24 มิถุนายน 2528

พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ เสด็จมาทรงพระอักษรในระดับอนุบาล ณ วันที่ 10 กรกฎาคม 2530

องค์บริหารและผู้บริหารโรงเรียนจิตรลดาในปัจจุบัน[3]

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงของโรงเรียนจิตรลดา

  • ข้อมูลในส่วนนี้ ยังไม่มีการยืนยันอย่างเป็นทางการ จากคณะครูอาจารย์และผู้บริหารระดับสูงของโรงเรียนจิตรลดา จึงของดเว้นการใส่ชื่อ บุคคลที่อาจแอบอ้างว่าเป็นศิษย์เก่าจิตรลดา จนกว่าจะมีการตรวจสอบจากทะเบียนรุ่นของโรงเรียน และผู้ที่ระบุชื่อในส่วนนี้ทุกคน ควรต้องระบุได้ว่าจบการศึกษาขั้นสูงสุดของโรงเรียนจิตรลดาในปีการศึกษาใดอย่างชัดเจน เป็นที่ยอมรับอย่างเป็นทางการ ทั้งนี้ หากมีการใส่ชื่อบุคคลใดโดยพลการ และตรวจสอบไม่พบจริงในฐานข้อมูลของโรงเรียนจิตรลดา หรือไม่มีการยืนยันจากสมาคมนร.เก่าจิตรลดาว่าใช่ศิษย์เก่า รายนามนั้นๆจะได้รับการติดต่อเข้าไปยังหน่วยงานหรือหน่วยราชการที่บุคคลนั้นสังกัด โดยจะต้องให้มีการแสดงนามที่ระบุไว้ตรงกับทะเบียนของโรงเรียนจิตรลดา ระบุเลขประจำตนและรุ่นได้อย่างถูกต้อง และอ้างอิงที่มาที่ตรวจสอบได้ อนึ่ง การจัดสร้างข้อมูลในส่วนนี้ จะต้องผ่าน "มาตรฐานในการคัดเลือก" และมี "ความสมบูรณ์" ในแง่ของข้อเท็จจริง ผู้แจ้งแก้ไขข้อมูลในส่วนนี้ ได้พบปัญหาการใส่ชื่อบุคคลแปลกปลอมที่มิได้มีหลักฐานใดๆ ว่าจบการศึกษาสูงสุดหรือได้รับเข็มทองลงยาของโรงเรียนจิตรลดา จึงได้ขออนุญาตแล้ว จากที่ปรึกษาของผู้บริหารโรงเรียนจิตรลดา จนกว่าจะมีการคัดกรองข้อมูลตามบรรทัดฐานสากลของสถานศึกษาอันเป็นแหล่งผลิตบุคลากร ที่ได้สร้างคุณประโยชน์ให้แก่สังคมอย่างแท้จริง และจะนำเหตุการณ์ที่มีผู้ปลอมปนชื่อเข้ามา แจ้งไปยังกองงานในพระองค์ เพื่อองค์บริหารทรงรับทราบต่อไป

อ้างอิง

ดูเพิ่ม