ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เอเอ็มดี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Professoreieifortroll (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 29: บรรทัด 29:
[[ไฟล์:AMDmarkham4.jpg|thumb|left|แคมปัสของเอเอ็มดี ใน [[Markham, Ontario|Markham, ออนทาริโอ, แคนาดา]], เดิมคือสำนักงานใหญ่ของ ATI]]
[[ไฟล์:AMDmarkham4.jpg|thumb|left|แคมปัสของเอเอ็มดี ใน [[Markham, Ontario|Markham, ออนทาริโอ, แคนาดา]], เดิมคือสำนักงานใหญ่ของ ATI]]
[[ไฟล์:Amdheadquarters.jpg|thumb|right|250px|สำนักงานใหญ่ของ [[Sunnyvale, California]]]]
[[ไฟล์:Amdheadquarters.jpg|thumb|right|250px|สำนักงานใหญ่ของ [[Sunnyvale, California]]]]
บริษัท ผลิต การ์ดจอ และ จีพียู ที่ดีกว่า Intel และ Nvidia เพราะผมเด็กค่ายแดง อิอิ ซื้อเลย ดีคุ้ม
แอดวานซ์ ไมโคร ดีไวซ์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1969,<ref>{{cite book|last=Rodengen|first=Jeffrey L.|title=The spirit of AMD, Advanced Micro Devices|year=1998|publisher=Write Stuff Engerprises|location=Fort Lauderdale, FL|isbn=978-0-945903-21-5|page=30}}</ref> โดยกลุ่มผู้บริหารเดิมจาก [[Fairchild Semiconductor]], ประกอบด้วย [[เจอรี่ แซนเดอร์]] [[เอ็ดวิน เทอร์นี่]], จอห์น คาเรย, สเวน ซิมอนเซน, [[แจ๊ค กิฟฟอร์ด]] และ สมาชิก 3 คนในกลุ่มของแจ๊ค, แฟรงค์ บ๊อทเต้, จิม ไจลส์, และ แลรี่ สเตรนเจอร์.โดยที่บริษัทเริ่มผลิต ลอจิกชิป , ต่อมาจึงเข้าสู่ธุรกิจการผลิตแรมในปี 1975. และในปีเดียวกันนี้เอง พวกเขาก็เริ่มจำหน่ายสิ่งที่ได้จากการทำสถาปัตยกรรมย้อนกลับซึ่งเป็นสิ่งที่เลียนแบบมาจาก หน่วยประมวลผล [[Intel 8080]]. ในช่สงเวลานั้น,เอเอ็มดีก็ได้ออกแบบและสร้างหน่วยประมวลผลในซีรีส์ ([[Am2900]], Am29116, Am293xx) ซึ่งถูกนำมาใช้แพร่หลายในการออกแบบวงจรของมินิคอมพิวเตอร์เวลาต่อมา, เอเอ็มดีก็พยายามที่จะทำให้โปรเซสเซอร์เล็กลง โดยการรวม [[Am29000|AMD 29K processor]], ให้เข้ากับ อุปกรณ์กราฟิกและเสียง เช่นเดียวกับหน่วยความจำแบบ EPROM. โดยมันเสร็จในช่วงกลางปี 1980 เรียกกันว่า AMD7910 and AMD7911 "World Chip" โดยเป็นอุปกรณ์แรกๆที่ ครอบคลุมทั้ง Bell และCCITT. โดย AMD 29K ยังเป็น [[embedded processor]] อีกด้วย และ เอเอ็มดี ยังแยกให้ Spansion ออกไปเพื่อสร้าง [[หน่วยความจำแฟลช]]. เอเอ็มดี ยังตัดสินใจที่จะเปลี่ยนแนวทางสู้กับหน่วยประมวลผลจาก อินเทล โดยวางให้เป็นธุรกิจหลัก และให้ตลาดหน่วยความจำแฟลชเป็นตลาดรอง

เอเอ็มดี ประกาศว่าได้เข้าซื้อกิจการของ [[ATI Technologies]] ในวันที่ 24 กรกฎาคม ค.ศ. 2006.โดยที่ เอเอ็มดี จ่ายเงินสด$4.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และหุ้นจำนวน 58 ล้านหุ้น, รวมมูลค่าทั้งหมด$5.4พันล้านดอลลาร์สหรัฐ. โดยกระบวนการทั้งหมดเสร็จสิ้นเมื่อ 25 ตุลาคม ค.ศ. 2006<ref>{{cite web |url=http://www.newswire.ca/en/releases/archive/October2006/25/c4187.html |title=AMD Completes ATI Acquisition and Creates Processing Powerhouse |publisher=NewsWire |date=October 25, 2006}}{{ลิงก์เสีย|date=มีนาคม 2556}}</ref> ในปี ค.ศ. 2010 หน่วยประมวลผลทั้งหมดของบริษัทเปลี่ยนมาใช้ชื่อแบรด์ AMD ในการทำตลาด.<ref>{{cite web|url=http://www.arnnet.com.au/article/358774/ati_re-branded_amd/ |title=ATI to be re-branded as AMD – branding, ATI Radeon, ati, amd – ARN |publisher=Arnnet.com.au |date=2010-08-30 |accessdate=2011-02-19}}</ref>
เอเอ็มดี ประกาศว่าได้เข้าซื้อกิจการของ [[ATI Technologies]] ในวันที่ 24 กรกฎาคม ค.ศ. 2006.โดยที่ เอเอ็มดี จ่ายเงินสด$4.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และหุ้นจำนวน 58 ล้านหุ้น, รวมมูลค่าทั้งหมด$5.4พันล้านดอลลาร์สหรัฐ. โดยกระบวนการทั้งหมดเสร็จสิ้นเมื่อ 25 ตุลาคม ค.ศ. 2006<ref>{{cite web |url=http://www.newswire.ca/en/releases/archive/October2006/25/c4187.html |title=AMD Completes ATI Acquisition and Creates Processing Powerhouse |publisher=NewsWire |date=October 25, 2006}}{{ลิงก์เสีย|date=มีนาคม 2556}}</ref> ในปี ค.ศ. 2010 หน่วยประมวลผลทั้งหมดของบริษัทเปลี่ยนมาใช้ชื่อแบรด์ AMD ในการทำตลาด.<ref>{{cite web|url=http://www.arnnet.com.au/article/358774/ati_re-branded_amd/ |title=ATI to be re-branded as AMD – branding, ATI Radeon, ati, amd – ARN |publisher=Arnnet.com.au |date=2010-08-30 |accessdate=2011-02-19}}</ref>



รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:01, 2 พฤษภาคม 2560

แอดวานซ์ ไมโคร ดีไวซ์ lnc.
ประเภทบริษัทจำกัดมหาชน
S&P 500 Component
การซื้อขาย
แม่แบบ:New York Stock Exchange
ISINUS0079031078 Edit this on Wikidata
อุตสาหกรรมเซมิคอนดัคเตอร์
ก่อตั้ง1 พฤษภาคม 1969
ผู้ก่อตั้งเจอรี่ แซนเดอร์
เอ็ดวิน เทอร์นี่
ผู้ร่วมก่อตั้งคนอื่นๆ
สำนักงานใหญ่
เอเอ็มดี พาเลส,[1]
Sunnyvale, California, U.S.
พื้นที่ให้บริการ
ทั่วโลก
บุคลากรหลัก
ดร.ลิซ่า ซู
(ประธานกรรมการบริหาร)

ดร.ลิซ่า ซู (ซีอีโอ)
ผลิตภัณฑ์ไมโครโพรเซสเซอร์ เมนบอร์ดชิปเซ็ต การ์ดแสดงผล หน่วยความจำหลัก TV tuner cards
รายได้เพิ่มขึ้น 5.50 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2014)
รายได้จากการดำเนินงาน
ลดลง -155 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2014)
รายได้สุทธิ
ลดลง -403 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2014)
สินทรัพย์ลดลง 3.767 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2014)
ส่วนของผู้ถือหุ้นลดลง 187 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2014)
พนักงาน
9,687 (2014)[2]อ้างอิงผิดพลาด: พารามิเตอร์ในป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง
เว็บไซต์www.amd.com

แอดวานซ์ ไมโคร ดีไวซ์, Inc. หรือ เอเอ็มดี เป็นบริษัทสัญชาติอเมริกัน ก่อตั้งเมื่อ ปี ค.ศ. 1969 โดยพนักงานเก่าจากบริษัท Fairchild Semiconductor โดย เอเอ็มดี ผลิตสินค้าเกี่ยวกับ เซมิคอนดัคเตอร์ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่มลรัฐแคลิฟอร์เนีย โดยเป็นผู้พัฒนา ซีพียู และเทคโนโลยีต่างๆ ออกสู่ตลาด และ ผู้ใช่ทั่วไป.โดยที่สินค้าหลักของบริษัทคือ ไมโครโพรเซสเซอร์,เมนบอร์ดชิปเซ็ต,การ์ดแสดงผล,ระบบฟังตัว สำหรับคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์,คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และ ระบบฝังตัวต่าง โดยที่ผลิตภัณฑ์ของเอเอ็มดีที่เป็นที่รู้จักได้แก่ไมโครโพรเซสเซอร์ตระกูล APU,Phenom II,Athlon II, Sempron, บนคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล, APU Mobile ในคอมพิวเตอร์แบบพกพา,Opteron สำหรับเซิร์ฟเวอร์ และชิปกราฟิก Readeon เอเอ็มดี เป็นผู้ผลิตอันดับ 2 ในตลาดของไมโครโพรเซสเซอร์ ที่มีพื้นฐานอยู่บน x86 อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในผู้ผลิตชิปกราฟิกการ์ดรายใหญ่ของโลก และ ยังผลิตหน่วยความจำแบบแฟลช โดยในปี 2010 เอเอ็มดี เป็นผู้ผลิตเซมิคอนดัคเตอร์ อันดับที่ 12 ของโลก[3]

เอเอ็มดีนับเป็นคู่แข่งที่สำคัญของอินเทลในตลาดไมโครโพรเซสเซอร์ และมีคดีความฟ้องร้องกันอยู่ในหลายประเทศ เรื่องอินเทลผูกขาดการค้า ปัจจุบันได้ทำการยอมความกันไปแล้ว[4]

ประวัติของบริษัท

แคมปัสของเอเอ็มดี ใน Markham, ออนทาริโอ, แคนาดา, เดิมคือสำนักงานใหญ่ของ ATI
สำนักงานใหญ่ของ Sunnyvale, California

บริษัท ผลิต การ์ดจอ และ จีพียู ที่ดีกว่า Intel และ Nvidia เพราะผมเด็กค่ายแดง อิอิ ซื้อเลย ดีคุ้ม เอเอ็มดี ประกาศว่าได้เข้าซื้อกิจการของ ATI Technologies ในวันที่ 24 กรกฎาคม ค.ศ. 2006.โดยที่ เอเอ็มดี จ่ายเงินสด$4.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และหุ้นจำนวน 58 ล้านหุ้น, รวมมูลค่าทั้งหมด$5.4พันล้านดอลลาร์สหรัฐ. โดยกระบวนการทั้งหมดเสร็จสิ้นเมื่อ 25 ตุลาคม ค.ศ. 2006[5] ในปี ค.ศ. 2010 หน่วยประมวลผลทั้งหมดของบริษัทเปลี่ยนมาใช้ชื่อแบรด์ AMD ในการทำตลาด.[6]

ในรายงานเมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 2006 ของ เอเอ็มดี, และคู่แข่งในอุตสาหกรรมอย่าง Nvidia, ได้รับหมายศาลจาก กระทรวงยุติธรรม ของสหรัฐอเมริกา เกี่ยวกับการตั้งราคาของการ์ดจอให้มีการแข่งขันกันอย่างยุติธรรมไม่ให้ร่วมกันตั้งราคาสูงเอาเปรียบผู้บริโภค[7]

ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2008, เอเอ็มดี ได้ประกาศแผนที่จะแยกโรงงานผลิตโปรเซสเซอร์ โดยได้รับการลงทุนจาก Advanced Technology Investment Co., โดยร่วมทุนกับบริษัทจากรัฐบาลของ Abu Dhabi. โดยบริษัทใหม่นี้มีชื่อเรียกว่า GlobalFoundries Inc.. โดยทางบริษัทใหม่นี้จะทำหน้าที่การผลิตชิปต่างๆให้กับ เอเอ็มดี ผู้เดียว[8] โดยการแยกตัวออกมาครั้งนี้ทำให้พนักงานกว่า 1,000 ตำแหน่งถูกเลิกจ้าง ซึ่งนับเป็น 10% ของพนักงาน เอเอ็มดี ทั่วโลก .[9]

ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2011, เอเอ็มดี ประกาศว่าอดีตซีอีโอจาก เลโนโว โรรี่ รีด จะมาทำหน้าที่เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารต่อจาก ดริก มีเยอร์.[10] และเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายต่างๆและจึงทำให้มีแผนการแก้ไขแรงงานให้มุ่งเน้นไปที่การสนับสนุนการพัฒนาของ ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์พลังงานต่ำ,ในเดือน พฤศจิกายน เอเอ็มดีจึงได้ประกาศเลิกจ้างพนักงาน 1400 คน ซึ่งนับว่าเป็น 10% จากพนักงานทั่วโลก.[9] โดยแผนนี้มีเวลาสิ้นสุดถึง ไตรมาสที่ 1 ปี ค.ศ. 2012 [9]

เอเอ็มดียังประกาศแผนในตุลาคม ค.ศ. 2012 โดยมีแผนจะเลิกจ้างพนักงานเพิ่ม 15% เพื่อลดค้าใช้จ่ายลงอีก.[11]

ในปี ค.ศ. 2012 นี้ AMD ยังเข้าซื้อกิจการ SeaMicro ผู้ผลิตเซิฟเวอร์ประหยัดพลังงาน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในแผนเพื่อส่วนแบ่งการตลาดของผลิตภันฑ์กลุ่มนี้[12]

ประวัติของโปรเซสเซอร์ในตลาด

โปรเซสเซอร์ก่อน AMD 8080 (AMD AM9080ADC / C8080A), ปี ค.ศ. 1977
AMD D8086, ปี ค.ศ. 1978

คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลของไอบีเอ็มและสถาปัตยกรรม x86

ในเดือนกุมภาพันธ์ปี ค.ศ. 1982, เอเอ็มดี ได้ลงนามทำสัญญากับ อินเทล, เพื่อมีสิทธิในการผลิตซีพียูที่มีต้นแบบมาจาก 8086 และ 8088 โปรเซสเซอร์. เพราะว่า IBM ต้องการใช้ Intel 8088 ในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลของพวกเขาเอง,แต่ในข้อตกลงของ IBM ในเวลานั้น ต้องการให้มีการผลิตชิป 2 เจ้าจึงจะใช้ชิปนี้ในคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลของพวกเขา. ภายหลังนั้น เอเอ็มดี ได้ผลิต Am286 ขึ้นมา ภายใต้ข้อตกลงเดียวกัน, แต่ว่าอินเทลยกเลิกข้อตกลงนี้ในปี ค.ศ. 186 และ ปฏิเสธที่จะถ่ายทอดรายละเอียดทางเทคนิคในส่วนของ i386 . เอเอ็มดี จึงได้ต่อสู้ฟ้องร้อง ไม่ให้อินเทลยกเลิกสัญญานี้ และพวกเขาก็เป็นฝ่ายชนะในการฟ้องร้อง, แต่อินเทลได้ยื่นอุทรณ์. ทำให้คดีความนั้นเกิดขึ้นเป็นระยะเวลานาน จนไปจบลงในปี ค.ศ. 1994 เมื่อศาลแห่งแคลิฟฟอร์เนีย ได้ตัดสินให้ เอเอ็มดี เป็นฝ่ายชนะคดี. ซึ่งเป็นกลางต่อ เอเอ็มดี และ เอเอ็มดี ยังมีสิทธิตามกฎหมายที่จะใช้ Intel's microcode. ระหว่างที่คดีความยังไม่แน่นอนนั้น เอเอ็มดี ก็ได้พัฒนาการดีไซน์ซีพียูจากการทำสถาปัตยกรรมย้อนกลับจากโค๊ดของอินเทลอีกด้วย.

ในปี ค.ศ. 1991, เอเอ็มดี ได้วางจำหน่าย Am386,ซึ่งเลียนแบบมาจากโปรเซสเซอร์ Intel 386 . ซึ่งมันสามารถทำยอดขายถึง 1 ล้านชิ้นในเวลาไม่นาน.หลังจากนั้น, Am486 ก็ถูกใช้เป็นส่วนประกอบของผู้ผลิตคอมพิวเตอร์อย่าง, คอมแพค, และบริษัทอื่นๆ. ผลิตภันฑ์ที่มีพื้นฐานมาจาก Am486-based ,ได้แก่ Am5x86, ก็สร้างความสำเร็จให้แก่ เอเอ็มดี ในตลาดระดับล่าง. อย่างไรก็ตาม, ผลิตภัณฑ์นี้ก็มีช่วงระยะเวลาไม่นานในอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล, เพราะว่าโปรเซสเซอร์ที่ได้จากการทำสถาปัตยกรรมย้อนกลับจากโค๊ดของอินเทลก็ได้วางตลาด และเป็นกำลังหลักของบริษัทในเวลาต่อมา.

K5, K6, แอททอล์น, ดูรอน และ เซมพรอน

โปรเซสเซอร์ x86 ลำดับแรกของเอเอ็มดีคือK5, ซึ่งว่างจำหน่ายในปี ค.ศ. 1996.[13] โดยที่ตัว "K" ที่อยู่ด้านหน้าของรุ่นซีพียูคือ คริปโตไนต์. (เป็นแร่ในจินตนาการจากการ์ตูนฝรั่งเรื่อง ซูเปอร์แมน ของ ค่ายดีซีคอมิก และแร่นี้จะปล่อยกัมมันตภาพรังสีซึ่งสามารถที่จะส่งผลให้ซูเปอร์แมนอ่อนแอลงได้.ซึ่งทางเอเอ็มดีนั้นเปรียบอินเทลเป็นเสมือน ซูเปอร์แมน เพราะว่ามีส่วนแบ่งการตลาดมากที่สุด[14]) โดยที่หมายเลข 5 นั้นก็คือ รุ่นของหน่วยประมวลผล, ซึ่งเอเอ็มดีไม่สามารถใช้ชื่อตามอินเทลได้ เพราะเมื่ออินเทลได้วางตลาดเพนเทียม,พวกเขาก็ได้จดชื่อเป็นชื่อทางการค้า มิใช่เลขสามัญดังเดิม ทำให้เอเอ็มดีไม่สามารถใช้ชื่อเพนเทียมทำการค้าได้.

ในปี ค.ศ. 1996,เอเอ็มดีได้เข้าซื้อกิจการของ NexGen,สำหรับเพื่อมีสิทธิ์ในการใช้ Nx series กับโปรเซสเซอร์แบบ x86 อย่างถูกต้อง.เอเอ็มดีได้ให้ทีมดีไซน์ของ NexGen ซึ่งเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์นั้น, ให้อยู่ตามลำพัง, และมอบเวลาและเงินให้พวกเขาสร้าง Nx686 ใหม่. ผลของการสร้างนั้นทำให้ได้โปรเซสเซอร์ K6 , ซึ่งออกวางจำหน่ายในปีค.ศ. 1997. โดยที่ตัวโปรเซสเซอร์ K6 นั้นใช้ Socket 7 ในการติดตั้งลงบนเมนบอร์ด,และยังไม่พอรุ่น K6-3/450 ของพวกเขานั้นสามารถทำความเร็วได้มากกว่าอินเทล เพนเทียม II (ซึ่งเป็นเจอเนอเรชั่นที่ 6 ของโปรเซสเซอร์). K7 เป็นโปรเซสเซอร์รุ่นที่ 7 ของเอเอ็มดี, โดยเริ่มวางขายเมื่อ 23 มิถุนายน ค.ศ. 1999, ภายใต้ชื่อแบรนด์ แอททอล์น . ซึ่งแตกต่างจากโปรเซสเซอร์รุ่นก่อนๆของเอเอ็มดี,แอททอล์น นั้นยังไม่สามารถใช้เมนบอร์ดร่วมกับอินเทลเมื่ออย่างแต่ก่อนได้อีกเนื่องจากปัญหาทางลิขสิทธิ์ของ Slot 1 , แอททอล์นจึงใช้ Slot A แทน, ซึ่งเป็นซ๊อกเก็ตของโปรเซสเซอร์จากทางบริษัท Alpha. ดูรอน เป็นโปรเซสเซอร์ที่มีราคาถูกและจำกัดคุณสมบัติบางอย่างให้ต่ำลงจากแอททอล์น (มี L2 cache 64KB จาก 256KB ของแอททอล์น) ใช้ในซ๊อกเก็ตแบบ 462 เข็ม (ซ๊อกเก็ต A) หรือเมนบอร์ดที่บัดกรีซีพียูลงโดยตรงบนเมนบอร์ด. เซมพรอน วางจำหน่ายโดยเป็นเวอร์ชันที่ถูกลงของแอททอล์น เอ๊กซ์พี, โดยที่วางจำหน่ายทับไลน์เดิมของดูรอน ในซ๊อกเก็ต A ยุค PGA และยังได้รับการพัฒนาให้เป็นซีพียูในยุคของซ๊อกเกต AM 3 อีกด้วย

แอททอล์น เอ๊กซ์พีนั้นเริ่มวางจำหน่ายในวันที่ 9 ตุลาคม ค.ศ. 2001, และแอททอล์นเอ๊กซ์พีที่มาพร้อมกับหน่วยความจำแบบ L2 จำนวน 512 KB นั้นได้วางตลาดในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2003.[15]

แอททอล์น 64, ออพเทอรอน และ ฟีน่อม

สถาปัตยกรรม K8 นั้นพัฒนามาจากสถาปัตยกรรม K7 มาก, โดยมีคุณสมบัติที่สำคัญที่สุดเพิ่มมาอย่างคำสั่งของโปรเซสเซอร์แบบ 64-bit ซึ่งนำมาใช้ร่วมกับคำสั่งของโปรเซสเซอร์ x86ได้เป็นครั้งแรก (เรียกันว่า x86-64, AMD64, หรือ x64), เพิ่มหน่วยความคุมหน่วยความจำเข้าไปในตัวโปรเซสเซอร์, แลเพิ่มการเชื่อต่อแบบจุดต่อจุดซึ่งมีความเร็วสูง เรียกกันว่า ไฮเปอร์ทรานสปอร์ต, ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ สถาปัตยกรรมการเชื่อมต่อโดยตรง. ซึ่งเทคโนโลยีนี้เริ่มปรากฏเป็นครั้งแรกในออพเทอรอนซึ่งเป็นโปรเซสเซอร์ที่มุ่งเน้นการทำตลาดในฝั่งของเซิฟเวอร์ซึ่งเปิดตัวในวันที่ 22 เมษายน ค.ศ. 2003 s.[16] Shortly thereafter it was incorporated into a product for desktop PCs, branded Athlon 64.[17]

วันที่ 25 เมษายน ค.ศ. 2005 เอเอ็มดีก็ได้วางตลาดออพเทอรอน ซึ่งเป็นซีพียูแบบดูอัลคอร์รุ่นแรกของเอเอ็มดี, และบนเครื่องเซิฟเวอร์ที่ใช้ซีพียูแบบ x86.[18] ในเดือนต่อมาเแอเอ็มดีก็ได้วางขาย แอนทล์น 64 X2, ซึ่งเป็นโปรเซสเซอร์แบบดูอัลคอร์รุ่นแรกบนตลาดโปรเซสเซอร์แบบทั่วไป .[19] หลังจากเดือนพฤษภาคม ปี 2007 , เอเอ็มดีก็ได้ยกเลิกการใช้เลข 64 ในโปรเซสเซอร์ที่วางตลาดทั่วไป, และเปลี่ยนชื่อให้เป็นแอททอร์น X2 เฉยๆ, เพราะว่าความสำคัญของสัญลักษณ์โปรเซสเซอร์ของ64-bit computing ในโปรเซสเซอร์เริ่มมีความสำคัญน้อยลง . และการปรับปรุงบางอย่างจะเกิดขึ้นเพียงบางส่วนในการออกแบบสถาปัตยกรรม, และเปลี่ยนเป้าหมายจากการทำตลาดทั่วไปลงไปสู่การทำการตลาดโปรเซสเซอร์ที่มีราคาประหยัดลงมา.ในปี 2008, เอเอ็มดีก็ได้เริ่มวางตลาด เซมพรอนแบบดูอัลคอร์ โดยในช่วงแรกวางขายในเฉพาะในประเทศจีน, โดยมีชื่อเรียกทางการตลาดว่า เซพพรอน 2000 ซีรีส์, มาพร้อมกับ ไฮเปอร์ทรานสปอร์ตรุ่นเล็ก และ L2 cache ที่น้อยลง. ดังนั้นจึงทำให้เอเอ็มดีมีกลุ่มผลิตภัณฑ์โปรเซสเซอร์แบบดูอัลคอร์ สำหรับแต่ละเซ็กเมนต์ตลาด.

หลังจากที่ยุคของ K8 ก็มี K10 เข้ามาแทน.ในวันที่ 10 กันยายน ค.ศ. 2007 , เอเอ็มดีก็ได้จำหน่ายโปรเซสเซอร์ K10 ตัวแรกโดยมีวางจำหน่ายต่อจากโปรเซสเซอร์ออพเทอรอนยุคที่ 3 ซึ่งมีสี่แกนประมวลผล. เรียกกันว่า ฟีน่อม ซึ่งเป็นโปรเซสซอร์สำหรับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล. สถาปัตยกรรมโปรเซสเซอร์แบบ K10 นั้นออกแบบมาให้เหมาะสมสำหรับหน่วยประมวลผลแบบ ดูอัลคอร์ ทริปเปิ้ลคอร์ และ คอว์ดคอร์,[20] , โดยที่ทุกแกนประมวลผลนั้นอยู่บน Die เดียวเท่านั้น. ขณะเดียวกันเองเอเอ็มดีก็ได้วางจำหน่ายแพลตฟอร์มใหม่ ซึ่งมีชื่อเรียกว่า "สไปเดอร์", ซึ่งหมายถึงการทีในคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นมี โปรเซสเซอร์ฟีน่อม, ชิปกราฟิก R770 และชิปเซ็ต790 GX/FX จาก ชิปเซ็ตเอเอ็มดีซีรีส์ 700.

ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2009, เอเอ็มดีได้จำหน่ายซีพียูรุ่นใหม่คือ ฟีน่อม II,ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีพื้นฐานมาจาก ฟีน่อม ซึ่งใช้การผลิตแบบ 45 นาโนเมตร (รุ่นก่อนหน้าใช้การผลิตแบบ 65 นาโนเมตร). และมีชื้อแพลต์ฟอร์ตใหม่ว่า, “ดราก้อน”, ซึ่งในพลตฟอร์มนั้นต้องประกอบด้วยโปรเซสเซอร์ฟีน่อม II, ชิปกราฟิก R770 และชิปเซ็ต790 GX/FX จาก ชิปเซ็ตเอเอ็มดีซีรีส์ 700. โดยฟีน่อม II นั้นวางจำหน่ายทั้งในแบบ ดูอัลคอร์ ทริปเปิ้ลคอร์ และ คอว์ดคอร์ ที่อยู่บน die เดียวกัน, โดยที่บางคอร์นั้นถูกปิดลงเพื่อใช้จำหน่ายเป็นรุ่นแบบ ดูอัลคอร์ ทริปเปิ้ลคอร์ . ฟีน่อม II นั้นได้แก่ปัญหาบางส่วนที่พบใน ฟีน่อม,อาทิเช่น สัญญาณนาฬิกาที่มีความเร็วต่ำเกินไป , L3 cache ที่มีน้อยและบักของเทคโนโลยี คูลแอนด์'ควายเอ็ด ซึ่งเป็นข้อผิดพลาดที่ทำให้ประสิทธิภาพของโปรเซสเซอร์นั้นลดลง. โดยได้วางขายในระดับเดียวกับ คอร์ทู ควอร์ จากอินเทล. ฟีน่อม II นั้นได้เพิ่มประสิทธิภาพของหน่วยความคุมความจำจากฟีน่อมรุ่นแรก,ซึ่งทำให้สามารถใช้แรมแบบ DDR3 ได้ในซ๊อกเก็ตใหม่ คือ AM3, รวมไปถึงยังรองรับซ๊อกเก๊ตแบบเก่าคือ AM2+, ซึ่งในซ๊อกเก็ตนั้นใช้กับฟีน่อมรุ่นแรก,และสามารถใช้แรมแบบ DDR2 ได้อีกด้วย.

ในเดือนเมษายน ปี ค.ศ. 2010 เอเอ็มดีก็ได้วางแผง ฟีน่อม II แบบเฮ็กซ์ซาร์คอร์ (6-คอร์) ซึ่งมีชื่อเรียกว่า "ทูบาน".ซึ่งมีพื้นฐานมาจากออพเทอรอนแบบเฮ็กซ์ซาร์คอร์ ที่มีชื่อเรียกว่า “อิสตันบูล” . และในโปรเซสเซอร์ใหม่นี้ก็มีความสามารถใหม่อย่าง เอเอ็มดี เทอร์โบคอร์,ซึ่งจะปรับการทำงานตามสภาพแวดล้อมการใช้งานของโปรเซสเซอร์ และเพิ่มสัญญาณนาฬิกาให้เร็วกว่าสัญญาณนาฬิกาเดิมถ้าสภาพแวดล้อมนั้นมีการทำงานหนัก . และยังได้เพิ่มแพลตฟอร์มใหม่ก็คือ ”ลีโอ”, ซึ่งประกอบไปด้วยฟีน่อม II แบบเฮ็กซ์ซาร์คอร์, ชิปเซ็ตเอเอ็มดีซีรีส์ 800 และชิปกราฟิกจาก ATI คือ “Cypress” ซึ่งเป็นหน่วยประมวลผลจาก อีเวอร์กรีน (ตระกูลหน่วยประมวลผลกราฟิก) .

ฟิวชั่น, บ๊อบแคท และ บูลโดเซอร์

หลังจากการควบรวมกิจการกันของ เอเอ็มดีและเอทีไอ, ก็ได้เกิดโปรเซสเซอร์ชิ้นหนึ่งซึ่งมีชื่อเรียกเล่นว่า ฟิวชั่น ซึ่งเป็นโปรเซสเซอร์ที่มีแนวคิดที่จะรวม ซีพียู และ จีพียู ไว้บนชิปเดียวกัน,ซึ่งประกอบด้วย PCI Express 16 เลน เชื่อมกับ PCI Express ที่อยู่ภายนอกโดยทำงานแยกกัน (จีพียูซึ่งอยู่บนตัวซีพียูความเร็ว X16 และสล๊อตบนเมนบอร์ดจะมีความเร็ว X16 เหมือนเดิม ไม่ไปลดการทำงานของกันและกัน) , ซึ่งที่จะทำได้นั้นต้องการชิป นอร์ทบริดจ์ระดับสูง ที่เข้ากับเมนบอร์ด.โดยการทำงานของเอพียูคำสั่งดั้งเดิมจะถูกแบ่งไปให้ซีพียูทำงาน ส่วนการประมวลผลในงานบางอย่างจะถูกแบ่งไปที่จีพียู (เช่น. การประมวลผล ทศนิยม ), เมื่อทำการเหมาะกับการคำนวณต่างๆ เช่น การประมวลผล ทศนิยม ได้นั้น ก็ได้ผลลัพธ์ออกมาเป็น. หน่วยประมวลแบบหลอมรวมกัน คือ เอพียู. [21]

ไลโน่เป็น เอพียูตัวที่สองที่วางขายในตลาด ,[22]ซึ่งทำตลาดในระดับที่มีกำลังซื้อปานกลาง.[21] ซึ่งเป็นโปรเซสเซอร์ที่มี ซีพียู และ จีพียูอยู่บน die เดียวกัน, และไลโน่ยังสามารถทำงานกับ นอร์ทบริดจ์ได้อย่างดี, และยังทำงานบนซ๊อกเก็ตใหม่ของเอเอ็มดีอย่าง "ซ๊อกเก็ต เอฟเอ็ม 1" ซึ่งซ๊อกเก็ตนี้ทำงานร่วมกับแรมแบบ DDR3 . แต่ไลโน่ยังไม่ได้ใช้โปรเซสเซอร์ใหม่อย่างบูลโดเซอร์แต่อย่างใด ไลโน่ใช้ซีพียูที่มีสถานปัตยกรรมมาจากฟีน่อม II (ชื่อเรียก เดเนบ) ซึ่งเป็นหน่วยประมวลผลที่สูงสุดของเอเอ็มดีในขนาดนั้น และนำมาลดขนาดการผลิตซีพียูจาก 45 นาโนเมตร เป็น 32 นาโนเมตร. ในวันที่ 28 กันยายน ค.ศ. 2011, เอเอ็มดีได้รายงานว่าในไตรมาสที่ 3 ของปี 2011 บริษัทได้โอกาสที่จะสร้างรายได้ 10 เปอร์เซ็น จากการที่ ไลโน่มีปัญหาในการผลิตแบบ 32 นาโนเมตร,เพราะว่าโรงงานนั้นมีปัญหาเกี่ยวกับการผลิตแบบ 32 นาโนเมตร.[23]

บูลโดเซอร์ คือซีพียูสำหรับเซิฟเวอร์และคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลของ แอดวานซ์ ไมโคร ดีไวซ์' (เอเอ็มดี) ซึ่งวางจำหน่ายเมื่อ 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 2011. โดยสถาปัตยกรรมใน ซีพียูตระกูล K15 นี้เป็นรุ่นต่อจากสถาปัตยกรรมซีพียู (K10) ที่ใช้การออกแบบที่มีชื่อว่า M-SPACE ในซีพียูรุ่นนี้นั้นยังออกแบบเพิ่มสิ่งที่มีในซีพียูก่อนหน้าเข้าไปในซีพียู (อาทิเช่นค่ำสั่งบางส่วนจากชุดคำสั่ง SSE 5).[24]โดยอัตราการใช้พลังงานในแต่ละซีพียูจะอยู่ระหว่าง 10-125 วัตต์ ในมาตรฐาน TDP ของผลิตภัณฑ์. เอเอ็มดีอ้างว่าหน่วยประมวลผลนี้จะให้ประสิทธิภาพต่อพลังงานได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยอ้างจากการทดสอบในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ระดับสูงและบูลโดเซอร์

บ๊อบแคท เป็นโปรเซสเซอร์ล่าสุดที่ออกแบบมาสำหรับคอมพิวเตอร์ที่ราคาถูกและใช้หลังงานน้อยโดยมันถูกเปิดเผยครั้งแรกจากการให้สัมภาษณ์ของ เฮนรี่ ริชาร์ด ในงาน คอมพิวเท็กซ์ ปี 2007 และวางจำหน่ายในฐานะผลิตภัณฑ์ในไตรมาสที่ 1 ปี 2011.[22] โดยบุคคลที่เป็นกำลังหลักในการสนับสนุนนี้คือรองประธานบริษัท มาริโอ้ เอ. ริวาส ได้ให้สัมภาษณ์ไว้ว่าเป็นเรื่องยากที่จะแข่งขันในตลาดที่ใช้ไฟ 1-10 วัตต์และซีพียูมีแกนประมวลผลเดี่ยว ดังนั้นพวกเขาจึงได้มุ่งเน้นที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ซีพียูแบบแกนเดี่ยวที่ใช้ไฟ 1-10 วัตต์ออกมา ผลลัพธ์ที่ได้โปรเซสเซอร์ที่ประหยัดพลังงานมากๆ และถ้านำเข้าไปในมือถือก็สามารถใช้ไฟต่ำกว่า 1 วัตต์ได้.

ชิปจากสถาปัตยกรรม ARM

ไฟล์:AMDARM.png
ภาพขณะที่ CEO ของ AMD โรรี่ รี้ด แถลงข่าวร่วมกับ วอร์เรนท์ อีส CEO ของ ARM ในขณะนั้น

เอเอ็มดีตั้งใจที่จะวางจำหน่ายชิปที่ใช้สถาปัตยกรรมของ ARM ในปี 2014 โดยชิปนี้จะถูกใช้ในเซิฟเวอร์และคอมพิวเตอร์ที่ใช้พลังงานต่ำ เพื่อทดแทนชิป X86 ซึ่งเสียส่วนแบ่งการตลาดไปมากและใช้ในเซิฟเวอร์ของธุรกิจต่างๆ[12]

ผลิตภัณฑ์และนวัตกรรม

ผลิตภัณฑ์ด้านกราฟิก

นอกจากการผลติโปรเซสเซอร์ประมวลผล เอเอ็มดีนั้นยังมีผลิตภัณฑ์หน่วยประมวลผลด้านกราฟิกในตลาดสำหรับลูกค้าทั่วไป,มืออาชีพ และหน่วยประมวลผลสำหรับคอมพิวเตอร์ระดับสูงอีกด้วย

  • เรเดียน เป็นการ์ดหน่วยประมวลผลกราฟิก 3 มิติ. โมบิล เรเดียน คือการ์ดหน่วนระมวลผลกราฟิกที่ออกแบบมาให้ประหยัดพลังงานจากเรเดียนเดิม โดยใช้ในคอมพิวเตอร์แบบพกพาทั่วไป. โดยมีนวัตกรรมภายในประกอบไปด้วยแรมของหน่วยประมวลผลกราฟิก,ตัวโค๊ดเร่งการประมวลผลของ DVD (MPEG2) , ช่องใส่จีพียูในคอมพิวเตอร์แบบพกพา,และเทคโนโลยีจัดการพลังงาน. ล่าสุดเอเอ็มดีประกาศว่าหน่วยประมวลผลกราฟิกเรเดียนในคอมพิวเตอร์พกพานั้นรองรับมาตรฐาน DirectX 11.1 แล้วด้วย.[25]
  • ไฟร์โปร เป็นผลิตภัณฑ์สำหรับการออกแบบในเชิงธุรกิจที่การ์ดทั่วไปไม่สามารถประมวลผลให้ละเอียดได้ มีคำสั่งเฉพาะในการประมวลผล. มีพื้นฐานมาจากเรเดียน,โดยมาทำการตลาดแทนไฟล์-จีเอล ที่ใช้ทำงานเกี่ยวกับ CAD/CAM , และ ไล์-เอ็มวี ที่ใช้ทำงานเกี่ยวกับการประมวลผลกราฟิกแบบ 2 มิติ.
  • ไฟล์สตรีมเป็นหน่วนประมวลผลแบบสตรีม ซึ่งออกแบบมาจากการใช้ จีพียูทำงานหนัก สำหรับการประมวลผล floating-point ซึ่งใช้กันมากในโรงงานอุตสาหกรรม,ในการคำนวณที่ใช้คอมพิวเตอร์ระดับสูง, ในด้านวิทยาศาสตร์, และด้านการเงิน
  • อายฟินิตี้ – เป็นเทคโนโลยีที่ใช้หน้าจอ 6 เครื่องขึ้นไปในการแสดงผลจากหน่วยประมวลผลกราฟิกชิ้นเดียว.
  • อายสปีด – เป็นเทคโนโลยีที่เพิ่มประสบการณ์ในการเล่นเกมโดยเพิ่มความสมจริง หน่วยปัญญาประดิษฐ์ ฟิสิกส์ในเกม และอื่นๆอีกมากมาย.

แคททาลีส เป็นชื่อเรียกไดร์เวอร์ควบคุมการทำงานการ์ดจอ ซึ่งมีใน ไมโครซอฟท์ วินโดวส์, แม็คโอเอส, และ ลินุกซ์. ในลินุกซ์นั้นไดร์เวอร์จะเป็นแบบโอเพ่นซอร์ส ที่สนับสนุนการพัฒนาจากเอเอ็มดี. โดยที่ชุมชุผู้ใช้ลินุกซ์ภายนอกนั้นสามารถนำไดร์เวอร์ไปปรับปรุงให้เหมาะสมกับคอมพิวเตอร์ของตนได้ ไม่มีค่าใช้จ่ายแต่อย่างไร.

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2007 เป็นต้นมา เอเอ็มดี ก็ได้ร่วมมือกับนักพัฒนาใมนการพัฒนาไดร์เวอร์ฟรี, แต่ในส่วนของซอฟต์แวร์ แคททาสิสนั้นไม่ฟรี. โดยที่นักพัฒนานั้นได้พัฒนาคุณสมบัติต่างๆสำหรับชิปเซ็ต หลายๆครั้ง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่วิเศษ ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นมาจากเดิมหลายเท่าตัว, จนตอนนี้นั้นพวกเขาได้หยุดการสนับสนุนไดร์เวอร์ฟรีไปแล้ว. หลังจากที่ได้มอบสเป็คต่างๆออกไปยังชุมชนนักพัฒนา, ต่อจากนั้นเอเอ็มดีก็ได้เริ่มพัฒนาไดร์เวอร์โอเพ่นซอร์สตัวใหม่ , โดยจ้างพนักงานบางคนเข้ามารับผิดชอบในการทำไดร์เวอร์ใหม่นี้อีกด้วย.[26][ลิงก์เสีย]

ชิปเซตของ เอเอ็มดี

หลังจากที่วางจำหน่าย แอททอล์น 64 ในปี ค.ศ. 2003, เอเอ็มดีก็ได้ออกแบบชิปเซ็ต สำหรับโปรเซสเซอร์ของพวกเขาหลังจากยุคของ สถาปัตยกรรม K6 และ K7 . โดยชิปเซ็ตนี้ได้แก่ชิปเซ็ต AMD-640, ชิปเซ็ต AMD-751 และชิปเซ็ต AMD-761 .แต่เนื่องด้วยสถานการณ์ในปี 2003 ณ ขณะหลังจากวางขาย แอททอล์น 64 , ทำให้เอเอ็มดีนั้นเลือกที่จะไม่ออกแบบชิปเซ็ตของตัวเองและอนุญาตให้ผู้ผลิตรายอื่นๆออกแบบชิปเซ็ตของตัวเองได้ แต่ต้องเปิดเผยการทำงานให้กับเอเอ็มดี. ทำให้ได้ “สถาปัตยกรรมการควบคุมแบบเปิด” จาก เอทีไอ, เวีย และ ซิส ได้พัฒนาชิปเซ็ตของตนเองสำหรับ แอททอล์น 64 ,แอททอล์น 64 X2 และ แอททอล์น 64 FX ,และชิปเซ็ตจาก เอ็นวีเดียสำหรับ Quad FX platform.

สถานการณ์เดียวกันนี้ทำให้เอเอ็มดีเลือกที่จะหยุดพัฒนาชิปเซ็ตสำหรับโปรเซสเซอร์ของเซิฟเวอร์อย่าง ออพเทอรอน ในปี 2004 หลังจากชิปเซ็ต AMD-8111, และทำให้เอเอ็มดีนั้นเลือกที่จะไม่ออกแบบชิปเซ็ตของตัวเองและอนุญาตให้ผู้ผลิตรายอื่นๆออกแบบชิปเซ็ตของตัวเองได้ แต่ต้องเปิดเผยการทำงานให้กับเอเอ็มดี. ทุกวันนี้, เอ็นวีเดีย และ บรอดคอม ยังจำหน่ายชิปเซ็ตที่ใช้กับโปรเซสเซอร์บนเซิฟเวอร์อย่าง ออพเทอรอน.

หลังจากที่เข้าซื้อกิจการของ เอทีไอ เทคโนโลยี ในปี 2006 ทำให้บริษัทได้ทีมออกแบบชิปเซ็ตที่ได้ออกแบบ ชิปเซ็ตรุ่นก่อนหน้าอาทิเช่น เรเดียน เอ๊กซ์เพรส 200 และ เรเดียน เอ๊กซ์เพรส 3200. เอเอ็มดีได้เปลี่ยนชื่อชิปเซ็ตสำหรับใช้กับโปรเซสเซอร์ของบริษัทให้เป็น เอเอ็มดีทั้งหมด (ชิปเซ็ตครอสไฟล์ เอ๊กซ์เพรส 3200 ถูกเปลี่ยนเป็น เอเอ็มดี 580X ครอสไฟล์). ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2007I, เอเอ็มดีได้เปิดตัวชิปเซ็ตภายใต้แบรนด์ของตัวเองเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 2004 พร้อมกับวางจำหน่ายชิปเซ็ต [ชิปเซ็ตเอเอ็มดีซีรีส์ 690|690G]] (ก่อนหน้านั้นพัฒนาโดยมีชื่อเล่นเรียกกันว่า RS690), โดยมาพร้อมกับ IGP.ซึ่งเป็นชิปเซ็ตตัวแรกในวงการที่ใช้พอร์ต HDMI 1.2 บนเมนบอร์ด, โดยมียอดจำหน่ายมากกว่า 1 ล้านชิ้น. และยังมุ่งเป้าแข่งขันกับชิปเซ็ต อินเทล IGP , โดยการใช้ชิป เรเดียน เอ๊กเพรส 1250 (มีชื่อเรียกว่า RS600, ขายภายใต้แบรนด์ ATI) โดยการขายให้กับผู้ผลิตอย่าง, Abit และ ASRock. โดยขณะที่เอเอ็มดีผลิตเซ็ตนี้, อินเทลยังไม่ได้อนุญาตให้ ATI ใช้งาน FSB ความเร็ว 1333 MHz .

ในวันที่ 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 2007, เอเอ็มดีได้เปิดตัวชิปเซ็ตซีรีส์ใหม่ คือ ชิปเซ็ตเอเอ็มดีซีรีส์ 7XX, ซึ่งทำตลาดตั้งแต่ผู้ใช้ที่ต้องการการเชื่อมต่อการ์ดประมวลผลกราฟิกหลายใบ จนไปถึงผู้ใช้ที่ต้องการความประหยัดโดยการมีหน่วยประมวลผลกราฟิกฝังอยู่ในเมนบอร์ด, โดยมาทดแทน ชิปเซ็ตเอเอ็มดีซีรีส์ 470/570/580 และ ชิปเซ็ตเอเอ็มดีซีรีส์ 690, โดยเป็นครั้งแรกที่เอเอ็มดีมีชิปเซ็ตที่สามารถใส่การ์ดประมวลผลกราฟิกหลายใบ.โดยชิปเซ้ตนี้วางขายในวันที่ 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 2007 โดยเป็นส่วนหนึ่งของแพลตฟอร์ม สไปเดอร์, ส่วนชิปเซ็ตที่มีหน่วยประมวลผลกราฟิกฝังอยู่ในเมนบอร์ด ได้วางจำหน่ายภายหลังฤดูฝน ปี 2008 เป็นส่วนหนึ่งของแพลตฟอร์ม คาร์ทวิลล์ .

เอเอ็มดีกลับมาทำตลาดชิปเซ็ตของเซิฟเวอร์อีกครั้งพร้อมกับชิปเซ็ต ชิปเซ็ตเอเอ็มดีซีรีส์ 800 สำหรับเซิฟเวอร์. โดยมันสนับสนุนซาต้า 6.0 จิกะบิต/วินาที 6 พอร์ต, สถานพลังงานแบบ C6 , พร้อมคุณสมบัติรองรับในโปรเซสเซอร์ เอเอ็มดี ฟิวชั่น และ AHCI รุ่น 1.2 พร้อม SATA ที่มีคุณสมบัติ FIS–based switching . โดยชิปเซ็ตนี้รองรับโปรเซสเซอร์ ฟีน่อม และ เอเอ็มดีแพลตฟอร์ม ควอร์ด เอฟเอ๊กซ์ (890FX), IGP (890GX).

แพลตฟอร์ม เอเอ็มดี คอว์ด เอฟ-เอ๊กซ์

แพลตฟอร์ม เอเอ็มดี คอว์ด เอฟ-เอ๊กซ์เป็นแพลตฟอร์มสำหรับผู้ใช้ที่ต้องการความแรงมากกว่าแบบธรรมดา,โดยแพลตฟอร์มนี้จะอนุญาตให้ใช้โปรเซสเซอร์ 2 ตัวเชื่อต่อกันได้ผ่านเทคโนโลยี ไฮเปอร์ทรานสปอร์ต, และยังสามารถใช้หน่ายความจำแบบ buffered memory/registered memory DIMM ที่ใช้กันในเครื่องเซิฟเวอร์ได้ด้วย, และในเมนบอร์ดสำหรับเซิฟเวอร์, สามารถติดตั้งโปรเซสเซอร์ แอททอล์น 64 FX ซีรีส์ 70 และเมนบอร์ดแบบพิเศษ .[27] เอเอ็มดีวางขายแพลตฟอร์มนี้สำหรับคนที่ต้องการและเรียกมันว่า"เมก้า ทาสก์กิ้ง",[28] ซึ่งทำให้การประมวลผลในระบบเดียวกันนั้นสามารถทำได้มากขึ้น. โดยแพลตฟอร์มนี้กลับมาอีกครั้งเมื่อเปิดตัว สถาปัตยกรรม K10 และชิปเซ็ต ชิปเซ็ตเอเอ็มดีซีรีส์ 700 , โดยมีชื่อเล่นเรียกว่า "FASN8".

แหล่งข้อมูลอื่น

อ้างอิง

  1. AMD Headquarters. Retrieved July 26, 2010.
  2. "AMD 2011 CR Report" (PDF), Corporate Responsibility Report, สืบค้นเมื่อ 2012-05-31
  3. "Semiconductor market declines less than expected". iSuppli. November 23, 2009.
  4. "AMD รับ 1.25 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จาก Intel เพื่อยอมความระหว่างกัน". Blognone. August 6,2011. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  5. "AMD Completes ATI Acquisition and Creates Processing Powerhouse". NewsWire. October 25, 2006.[ลิงก์เสีย]
  6. "ATI to be re-branded as AMD – branding, ATI Radeon, ati, amd – ARN". Arnnet.com.au. 2010-08-30. สืบค้นเมื่อ 2011-02-19.
  7. "Justice Dept. subpoenas AMD, NVIDIA". New York Times. December 1, 2006.[ลิงก์เสีย]
  8. Vance, Ashlee (October 7, 2008). "A.M.D. to Split Into Two Operations". The New York Times. สืบค้นเมื่อ March 26, 2010.
  9. 9.0 9.1 9.2 "AMD To Fire 1,400". November 4, 2011.
  10. Dylan McGrath, EE Times. "Former IBM, Lenovo exec takes the helm at AMD". August 25, 2011. Retrieved August 25, 2011.
  11. Ian King (October 18, 2012), Tom Giles (บ.ก.), AMD Forecast Misses Estimates; to Cut 15 Percent of Staff, Bloomberg, สืบค้นเมื่อ October 31, 2012
  12. 12.0 12.1 Ashlee Vance (October 30, 2012), "AMD Finds the Courage for Another Server Chip Gambit", Bloomberg Businessweek, businessweek.com, สืบค้นเมื่อ October 31, 2012
  13. "AMD K5". CPU-INFO.COM. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 August 2007. สืบค้นเมื่อ July 11, 2007. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  14. Hesseldahl, Arik (July 6, 2000). "Why Cool Chip Code Names Die". Forbes Inc. สืบค้นเมื่อ July 14, 2007. {{cite news}}: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า : |coauthors= (help)
  15. Huynh, Jack (February 10, 2003). "The AMD Athlon XP Processor with 512KB L2 Cache" (PDF). amd.com. AMD. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 26 October 2007. สืบค้นเมื่อ October 2, 2007. {{cite news}}: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า : |coauthors= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  16. Scott Wasson. "Workstation platforms compared", techreport.com, The Tech Report, LLC., 2003-09-15, Retrieved on July 29, 2007.
  17. Scott Wasson. "AMD's Athlon 64 processor", techreport.com, The Tech Report, LLC., September 23, 2003. Retrieved on July 29, 2007.
  18. Scott Wasson. "AMD's dual-core Opteron processors", techreport.com, The Tech Report, LLC., April 21, 2005. Retrieved on July 29, 2007.
  19. Scott Wasson. "AMD's Athlon 64 X2 processors", techreport.com, The Tech Report, LLC., May 9, 2005. Retrieved on July 29, 2007.
  20. AMD announcement. Retrieved September 17, 2007.
  21. 21.0 21.1 Stokes, Jon (February 8, 2010). "AMD reveals Fusion CPU+GPU, to challege Intel in laptops". Ars Technica. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 February 2010. สืบค้นเมื่อ February 9, 2010. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  22. 22.0 22.1 Hruska, Joel (July 16, 2010). "AMD Flip-Flops: Llano Later, Bobcat Bounding Forward". HotHardware.
  23. Jeffrey Burt, eWeek. "AMD Cuts Q3 Forecast Due to Chip Manufacturing Problems". September 28, 2011. Retrieved October 7, 2011.
  24. Bulldozer 50% Faster than Core i7 and Phenom II, techPowerUp, สืบค้นเมื่อ 2012-01-23
  25. "AMD launches DirectX 11 graphics chips for laptops". techworld.com. 2010-01-08. สืบค้นเมื่อ 2010-01-08.
  26. An overview of graphic card manufacturers and how well they work with Ubuntu Ubuntu Gamer, January 10, 2011 (Article by Luke Benstead)
  27. AMD FX-4130 Benchmark
  28. Official Press Release (AMD Quad FX Platform with Dual Socket Direct Connect Architecture Redefines High-End Computing for Megatasking Enthusiasts)