ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คอ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
InternetArchiveBot (คุย | ส่วนร่วม)
Rescuing 1 sources and tagging 0 as dead.) #IABot (v2.0.9.2
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
'''คอ''' เป็นส่วนหนึ่งของร่างกายในที่มีหลายชนิด เป็นโครงสร้างที่แยกออกจาก
{{ต้องการอ้างอิง}}
{{กล่องข้อมูล กายวิภาคศาสตร์
| Name = คอ
| Latin = collum
| GraySubject =
| GrayPage =
| Image = Structure of Adam's apple.png
| Caption = มุมมองทางด้านหน้าของลำคอ
| Image2 =
| Caption2 =
| Precursor =
| System =
| Artery =
| Vein =
| Nerve =
| Lymph =
| MeshName =
| MeshNumber =
| DorlandsPre = c_46
| DorlandsSuf = 12249447
}}

'''คอ''' เป็นส่วนหนึ่งของร่างกายใน[[สัตว์มีกระดูกสันหลัง]]ที่มี[[รยางค์]]หลายชนิด เป็นโครงสร้างที่แยก[[ศีรษะ]]ออกจาก[[ลำตัว]]


== กายวิภาคศาสตร์ของคอมนุษย์ ==
== กายวิภาคศาสตร์ของคอมนุษย์ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 07:58, 29 ตุลาคม 2565

คอ เป็นส่วนหนึ่งของร่างกายในที่มีหลายชนิด เป็นโครงสร้างที่แยกออกจาก

กายวิภาคศาสตร์ของคอมนุษย์

เนื้อเยื่อกระดูก: กระดูกสันหลังส่วนคอ

กระดูกสันหลังส่วนคอมีทั้งหมด 7 ชิ้น เรียงตามลำดับตั้งแต่บนลงล่าง C-1 ถึง C-7 โดยมีแผ่นกระดูกอ่อนอยู่ระหว่างกระดูกสันหลังแต่ละชิ้น คอทำหน้าที่รับน้ำหนักของศีรษะและปกป้องเส้นประสาทซึ่งนำข้อมูลรับความรู้สึกและสั่งการจากสมองลงไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย นอกจากนี้คอยังมีความยืดหยุ่นซึ่งทำให้สามารถหมุนและงอได้ในหลายทิศทาง กระดูกสันหลังส่วนคอทั้งเจ็ดชิ้นจะเรียงตัวโค้งแอ่นมาทางด้านหน้าเล็กน้อย ส่วนโค้งของกระดูกสันหลังบริเวณคอนี้มีลักษณะโค้งน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับส่วนโค้งของกระดูกสันหลังอื่นๆ

กายวิภาคศาสตร์เนื้อเยื่ออ่อน

เมื่อคลำในแนวกลางใต้ต่อคางจะสามารถสัมผัสตัวของกระดูกไฮออยด์ (hyoid bone) ใต้ลงไปจะเป็นส่วนนูนของกระดูกอ่อนไทรอยด์ (thyroid cartilage) ซึ่งเรียกว่า "ลูกกระเดือก" (Adam's apple) ซึ่งจะเด่นชัดในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ใต้ลงไปเป็นกระดูกอ่อนไครคอยด์ (cricoid cartilage) ซึ่งสามารถคลำได้ ระหว่างกระดูกอ่อนไครคอยด์และรอยเว้าซุปปราสเตอร์นัล (suprasternal notch) คือท่อลม (trachea) และส่วนคอดของต่อมไทรอยด์ (isthmus of the thyroid gland) ด้านข้างเป็นแนวของกล้ามเนื้อสเตอร์โนไคลโดมาสตอยด์ (Sternocleidomastoid muscle) ซึ่งเป็นจุดหลักที่สำคัญที่แบ่งระหว่างพื้นที่สามเหลี่ยมลำคอด้านหน้า (anterior triangle of neck) และพื้นที่สามเหลี่ยมลำคอด้านหลัง (posterior triangle of neck) ส่วนบนของพื้นที่สามเหลี่ยมลำคอด้านหน้ามีต่อมน้ำลายใต้ขากรรไกรหรือต่อมซับแมนดิบูลาร์ (submandibular gland) ซึ่งวางตัวอยู่ใต้ครึ่งหลังของตัวขากรรไกรล่าง การหาแนวของหลอดเลือดแดงคอมมอนคาโรติด (common carotid artery) และหลอดเลือดแดงเอกซ์เทอร์นัลคาโรติด (external carotid artery) ทำได้โดยลากเส้นเชื่อมระหว่างข้อต่อสเตอร์โนคลาวิคิวลาร์ (sterno-clavicular articulation) ไปยังมุมกรามล่าง

เส้นประสาทสมองคู่ที่ 11 หรือเส้นประสาทแอคเซสซอรี (accessory nerve) สัมพันธ์กับเส้นที่ลาก จากจุดกึ่งกลางระหว่างมุมของขากรรไกรล่างและปุ่มกกหู ไปยังกึ่งกลางของขอบด้านหลังของกล้ามเนื้อสเตอร์โนไคลโดมาสตอยด์ แล้วลากข้ามพื้นที่สามเหลี่ยมลำคอด้านหลังไปยังพื้นผิวชั้นลึกของกล้ามเนื้อทราพีเซียส (trapezius) หลอดเลือดดำคอชั้นนอก (external jugular vein) สามารถเห็นได้ง่ายจากผิวหนัง หลอดเลือดดำนี้จะทอดตัวในแนวเส้นที่ลากจากมุมขากรรไกรล่างไปยังกึ่งกลางของกระดูกไหปลาร้า (clavicle) ใกล้ๆ กันนั้นจะมีต่อมน้ำเหลืองขนาดเล็ก ส่วนหลอดเลือดดำแอนทีเรียร์จูกูลาร์ (anterior jugular vein) จะมีขนาดเล็กกว่า วิ่งลงมาประมาณครึ่งนิ้วห่างจากเส้นกึ่งกลางคอ กระดูกไหปลาร้าเป็นขอบเขตล่างสุดของคอ ส่วนด้านข้างของคอจะมีลักษณะโค้งชันออกด้านนอกเล็กน้อยไปยังไหล่เนื่องจากมีกล้ามเนื้อทราพีเซียสอยู่

การบาดเจ็บที่คอ

ความผิดปกติของคอเป็นสาเหตุหลักของการปวดคอ คอเป็นโครงสร้างที่ทำหน้าที่หลากหลายแต่ก็รับความเค้นสูง สาเหตุหลักๆ ของอาการปวดคอ (และอาการปวดบริเวณอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น การปวดที่ลามมาที่แขน) ได้แก่

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น