สโมสรวอลเลย์บอลบางกอกกล๊าส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บางกอกกล๊าส
ชื่อเต็มสโมสรวอลเลย์บอลบางกอกกล๊าส
ชื่อสั้นบีจี
ฉายากระต่ายแก้ว
ก่อตั้งพ.ศ. 2557
ยุบพ.ศ. 2561
สนามบีจี ฮอลล์ จังหวัดปทุมธานี ประเทศไทย
(ความจุ: 4,000 คน)
ประธานไทย ปวิณ ภิรมย์ภักดี
ผู้จัดการไทย กิตติศักดิ์ จิรภาสุขสกุล
ลีกวอลเลย์บอลหญิงไทยแลนด์ลีก
2017–18อันดับที่ 3
(ฤดูกาลสุดท้าย)
เว็บไซต์โฮมเพจสโมสร
เครื่องแบบ
ทีมเหย้า
ทีมเยือน
ทีมของบางกอกกล๊าส
ฟุตบอล (ชาย) ฟุตบอลบี (ชาย) วอลเลย์บอล (หญิง) (ยุบ)
ฟุตซอล (ชาย) อีสปอร์ต

สโมสรวอลเลย์บอลบางกอกกล๊าส เป็นสโมสรวอลเลย์บอลอาชีพหญิงในอดีตของประเทศไทย ตั้งอยู่ที่จังหวัดปทุมธานี โดยทีมนี้เคยเข้าแข่งขันในวอลเลย์บอลหญิงไทยแลนด์ลีก มีนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยร่วมทีมหลายคน ได้แก่ พรพรรณ เกิดปราชญ์ จรัสพร บรรดาศักดิ์ และปลื้มจิตร์ ถินขาว ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าทีม ปัจจุบันยุบทีมแล้ว

ประวัติสโมสร[แก้]

สโมสรวอลเลย์บอล บางกอกกล๊าส ภายใต้การบริหารจัดการของบริษัท บีจีเอฟซี สปอร์ต จำกัด ได้รับการจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2557 ด้วยปณิธานของคณะผู้บริหารที่ต้องการส่งเสริมอาชีพในสายกีฬาในหลากหลายประเภทให้มีความเป็นมืออาชีพและร่วมพัฒนาวงการกีฬาของประเทศให้เติบโตอย่างยั่งยืนให้เป็นที่ยอมรับและสามารถเทียบชั้นในระดับสากล เพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดนั้น สโมสรวอลเลย์บอลบางกอกกล๊าส จึงถูกวางรากฐานอย่างมั่นคง โดยการสร้างทีมอย่างมีกลยุทธ์ ด้วยการรวมทีมงานคุณภาพระดับมืออาชีพ ทั้งทีมบริหาร ทีมผู้ฝึกสอน และตัวผู้เล่น เพื่อความแข็งแกร่งเป็นหนึ่งเดียวพร้อมก้าวสู่ความสำเร็จสูงสุดร่วมกัน

โดยการแข่งขันรายการแรกที่สโมสรสโมสรวอลเลย์บอลบางกอกกล๊าส เข้าร่วมในปีแรก คือ วอลเลย์บอลดิวิชั่น 1 (โปรชาเลนจ์) ที่มีรอบการแข่งขันในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2557 ด้วยผลงานที่โดดเด่น ทีมบางกอกกล๊าสจึงสามารถทำผลงานยอดเยี่ยมได้แชมป์มาครอง และติดอันดับเลื่อนชั้นสู่การแข่งขันถ้วยสูงสุด วอลเลย์บอลไทยแลนด์ลีก 2014-2015 ซึ่งเป็นการสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งและมั่นคงประจักษ์ต่อทุกสายตา และเป็นจุดเริ่มต้นของความสำเร็จที่จะมีมาอย่างต่อเนื่องของสโมสรวอลเลย์บอลบางกอกกล๊าส

ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2561 ทางสโมสรได้ประกาศยุติการทำทีมอย่างเป็นทางการ เนื่องจากทางสโมสรได้เล็งเห็นว่านโยบายการสนับสนุนให้เป็นกีฬาอาชีพที่แท้จริงยังไม่ชัดเจน ซึ่งไม่สอดคล้องกับการส่งเสริมการทำธุรกิจกีฬาวอลเลย์บอล[1] และได้โอนสิทธิ์การเข้าร่วมการแข่งขันวอลเลย์บอลไทยแลนด์ลีกในฤดูกาล 2018–19 ให้กับสโมสรวอลเลย์บอลหญิงแอร์ฟอร์ซ

รายชื่อผู้เล่นชุดปัจจุบัน[แก้]

ข้อมูลอัปเดต ณ มีนาคม พ.ศ. 2561

เกียรติประวัติและผลงาน[แก้]

การแข่งขันระดับประเทศ[แก้]

วอลเลย์บอลหญิงไทยแลนด์ลีก
วอลเลย์บอลไทยเดนมาร์คซูเปอร์ลีก
  • ชนะเลิศ (2) : 2015, 2016
  • รองชนะเลิศ (1) : 2017, 2018
วอลเลย์บอลดิวิชัน 2 (โปรชาเลนจ์)
  • ชนะเลิศ (1) : 2014
วอลเลย์บอลอะคาเดมีลีก
  • อันดับที่ 3 (1) : 2016

การแข่งขันระดับนานาชาติ[แก้]

วอลเลย์บอลชิงแชมป์สโมสรโลก
  • 2016 – อันดับที่ 7
วอลเลย์บอลชิงแชมป์สโมสรเอเชีย
  • 2015 ชนะเลิศ [2]
  • 2016 อันดับที่ 3 [3]

ผลการแข่งขันลีก[แก้]

ลีก อันดับที่ จำนวนทีม แมตช์ ชนะ แพ้
ไทยแลนด์ลีก 2014–15 ชนะเลิศ 8 14 12 2
2015–16 ชนะเลิศ 8 14 14 0
2016–17 รองชนะเลิศ 8 14 12 2
2017–18 3 8 14 10 4

โค้ช[แก้]

ผู้เล่นนำเข้า[แก้]

ฤดูกาล หมายเลข ผู้เล่น ตำแหน่ง ประเทศ รายการที่ร่วมแข่งขัน
ไทยแลนด์ลีก ซูเปอร์ลีก ชิงแชมป์เอเชีย
เลก 1 เลก 2
2014–15 20 เหงียน ถิ หง็อก ฮวา ตัวบล็อกกลาง  เวียดนาม
21 อเล็กซานดรา เซอร์ซิซ ตัวตบตรงข้ามหัวเสา  เซอร์เบีย
6 นะโอะโกะ ฮะชิโมะโตะ ตัวเซต  ญี่ปุ่น
2015–16 20 เหงียน ถิ หง็อก ฮวา ตัวบล็อกกลาง  เวียดนาม
6 จัน ธิ ธาน ธุย ตัวตบตรงข้ามหัวเสา
4 จอร์แดน สก๊อตต์ ตัวตบตรงข้ามหัวเสา  สหรัฐ
16 แอชลีย์ เฟรเซอร์ ตัวตบหัวเสา
2016–17 20 เหงียน ถิ หง็อก ฮวา ตัวบล็อกกลาง  เวียดนาม
16 แอชลีย์ เฟรเซอร์ ตัวตบหัวเสา  สหรัฐ
2017–18 20 ซอนย่า มิคิสโควา ตัวตบตรงข้ามหัวเสา  เช็กเกีย
7 แอนนา มาเรีย สปาโน ตัวตบหัวเสา  กรีซ

อดีตผู้เล่น[แก้]


อ้างอิง[แก้]

  1. thairath. "แน่นอนแล้ว! บีจีวีซี ประกาศยุติการทำทีม". สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. thaipbs. ""บางกอกกล๊าส วีซี" คว้าแชมป์วอลเลย์บอลสโมสรหญิงชิงแชมป์เอเชีย". สืบค้นเมื่อ 4 January 2018.
  3. bugaboo.tv. "บางกอกกล๊าส วีซี ซิวอันดับ 3 ชิงแชมป์สโมสรเอเชีย". สืบค้นเมื่อ 4 January 2018.
  4. thairath. "สุดยิ่งใหญ่! 'บีจีวีซี' เปิดตัวสู้ศึกวอลเลย์บอลลีกฤดูกาล 2017-18". สืบค้นเมื่อ 4 January 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]