พระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก พระยาโบราณราชธานินทร์)
มหาอำมาตย์โท

พระยาโบราณราชธานินทร์
(พร เดชะคุปต์)

เกิด28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2415
เมืองธนบุรี ประเทศสยาม
เสียชีวิต30 เมษายน พ.ศ. 2479 (64 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม
สัญชาติสยาม
ชื่ออื่นเจ้าคุณกรุง
อาชีพข้าราชการฝ่ายปกครอง
มีชื่อเสียงจากผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยา
คู่สมรส6 คน
บุตร16 คน
บิดามารดา
  • ขุนฤทธิ์ดรุณเสรฐ (เดช เดชะคุปต์) (บิดา)
  • ไผ่ ฤทธิ์ดรุณเสรฐ (มารดา)
ภาพล้อพระยาโบราณราชธานินทร์ ฝีพระหัตถ์รัชกาลที่ 6

มหาอำมาตย์โท พระยาโบราณราชธานินทร์ นามเดิม พร เดชะคุปต์(28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2415 – 30 เมษายน พ.ศ. 2479) เป็นอดีตข้าราชการไทยสังกัดกระทรวงมหาดไทย ผู้ดำรงตำแหน่งเป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า มีชื่อเสียงจากความรอบรู้ในประวัติศาสตร์ไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา และการเป็นผู้บุกเบิกการค้นคว้าทางโบราณคดีที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยา

ประวัติ[แก้]

มหาอำมาตย์โท พระยาโบราณราชธานินทร์ สยามินทรภักดีพิริยพาหะ มีนามเดิมว่า พร เดชะคุปต์ เกิดเมื่อวันพุธที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2415 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่บ้านริมคลองบางกอกน้อย ธนบุรี โดยเป็นบุตรขุนฤทธิ์ดรุณเสรฐ (เดช เดชะคุปต์) สารวัตรใหญ่มหาดเล็กเวรฤทธิ์ กับ นางฤทธิ์ดรุณเสรฐ (ไผ่ สกุลเดิม กันตามะระ) มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 6 คน คือ

  1. หลวงประชุมบรรณสาร (พิณ เดชะคุปต์) รับราชการกระทรวงกลาโหม
  2. อำมาตย์โท พระยาพิพิธภักดี (เพิ่ม เดชะคุปต์) รับราชการกระทรวงมหาดไทย ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน ปี พ.ศ. 2467[1]
  3. นางสาวใย เดชะคุปต์
  4. พระยาโบราณราชธานินทร์ฯ (พร เดชะคุปต์) รับราชการกระทรวงมหาดไทย
  5. นางอภิรักษสมบัติ (เรือน ดิษยรักษ์)
  6. นายพล เดชะคุปต์

ในวัยเด็ก พระยาโบราณราชธานินทร์ได้รับการศึกษาที่วัดยี่ส่าย ต่อมาบิดาได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ระหว่างนี้ได้ศึกษาเล่าเรียนกับพระยาศรีสุนทรโวหาร และเมื่อมีการจัดการศึกษาสมัยใหม่อย่างตะวันตก บิดาจึงได้นำไปถวายตัวกับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และได้เข้าเรียนที่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบในปี พ.ศ. 2432 จึงได้เป็นครูช่วยสอนที่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบจนกระทั่งได้เริ่มเข้ารับราชการในปีถัดมา

ตำแหน่งทางราชการ[แก้]

  • พ.ศ. 2433 เสมียนโท กรมศึกษาธิการ กระทรวงธรรมการ
  • พ.ศ. 2434 เสมียนเอกและสารวัตรตรวจโรงเรียนหลวง กระทรวงธรรมการ
  • พ.ศ. 2435 เสมียนเวรพิเศษ กระทรวงพระคลัง ปฏิบัติหน้าที่เป็นรองเลขานุการส่วนพระองค์ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ เสนาบดีกระทรวงพระคลัง
  • พ.ศ. 2436 เสมียนเอก กระทรวงมหาดไทย ปฏิบัติหน้าที่ฝึกหัดนักเรียนที่จะส่งไปรับราชการตามหัวเมือง
  • พ.ศ. 2437 รองนายเวรกรมพลำภัง กระทรวงมหาดไทย (ปัจจุบันคือ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย)
  • 18 มีนาคม พ.ศ. 2438 ขุนวิเศษรักษา ตำแหน่งขุนหมื่น[2]
  • 1 เมษายน พ.ศ. 2439 พันพุฒอนุราช ตำแหน่งหัวพัน ถือศักดินา ๔๐๐[3]
  • พ.ศ. 2439 ข้าหลวงมหาดไทยประจำมณฑลกรุงเก่า
  • 18 มกราคม พ.ศ. 2439 รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นหลวงอนุรักษ์ภูเบศร์ ถือศักดินา ๘๐๐[4]
  • พ.ศ. 2440 รักษาราชการแทนผู้รักษากรุงเก่า (นับเข้าทำเนียบนามผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในปัจจุบัน)
  • 16 กันยายน พ.ศ. 2441 ผู้รักษากรุงเก่า (เทียบเท่าผู้ว่าราชการจังหวัดในปัจจุบัน)[5]
  • 20 กันยายน พ.ศ. 2441 พระอนุรักษภูเบศร์ คงถือศักดินา 800[6]
  • 22 กันยายน 2443 – พระยาโบราณบุรานุรักษ์ ถือศักดินา 3000[7]
  • 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2444 ปลัดมณฑลกรุงเก่า[8]
  • พ.ศ. 2446 ผู้รั้งตำแหน่งข้าหลวงเทศาภิบาลกรุงเก่า[9]
  • พ.ศ. 2447 ผู้ช่วยบรรณารักษ์หอสมุดพระวชิรญาณ
  • 13 ตุลาคม พ.ศ. 2448 กรรมสัมปาทิกหอสมุดสำหรับพระนคร[10]
  • 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2449 - ข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า[11][12] (โดยเข้ารับพระราชทานสัญญาบัตรระหว่างเสด็จออกขุนนางที่ พระที่นั่งอภิเศกดุสิต)
  • พ.ศ. 2450 - เลขานุการโบราณคดีสโมสร
  • 29 ตุลาคม พ.ศ. 2451 - มรรคนายก วัดสุวรรณดาราราม[13]
  • 14 ตุลาคม พ.ศ. 2454 นายหมู่ใหญ่[14]
  • 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2455 ได้รับพระราชทานเพิ่มเกียรติยศเป็น พระยาโบราณราชธานินทร์ สยามินทรภักดี พิริยะพาหะ ตำแหน่งข้าหลวงเทศาภิบาล สำเร็จราชการมณฑลกรุงเก่า ถือศักดินา 10,000 ไร่[15]
  • 10 มิถุนายน พ.ศ. 2456 - นายกองตรี[16]
  • 19 มิถุนายน พ.ศ. 2456 - ได้รับพระราชทานยศข้าราชการพลเรือนเป็นมหาอำมาตย์โท (เทียบเท่านายพลโทของทหารบก)[17]
  • พ.ศ. 2457 กรรมการวรรณคดีสโมสร
  • 10 กันยายน พ.ศ. 2459 - นายกองเอก[18]
  • พ.ศ. 2459 เป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่าและเป็นอุปราชภาคอยุธยา เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยรวบรวมหัวเมืองเป็นภาค
  • พ.ศ. 2468 พ้นจากตำแหน่งอุปราชภาคอยุธยา เนื่องจากยกเลิกระบบการปกครองแบบภาค
  • 22 พฤษภาคม 2469 – มหาอำมาตย์โท[19]
  • พ.ศ. 2469 อุปนายกแผนกโบราณคดีของราชบัณฑิตยสภา
  • 4 เมษายน พ.ศ. 2472 - เกษียณอายุราชการ[20]

ยศ[แก้]

  • 14 ตุลาคม 2454 – นายหมู่ใหญ่[21]
  • 10 มิถุนายน 2456 – นายกองตรี[22]

ผลงาน[แก้]

ไฟล์:พระที่นั่งสรรเพชร.jpg
พระที่นั่งสรรเพชรมหาปราสาทที่สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งพระยาโบราณราชธานินทร์เป็นหัวหน้างานจัดสร้างบนรากฐานเดิม แต่ได้รื้อถอนออกภายหลัง
  1. ชักชวนข้าราชการ พ่อค้า และประชาชน ร่วมกันสร้างโรงพยาบาลปัญจมธิราชอุทิศ เป็นโรงพยาบาลแห่งแรกของมณฑลอยุธยา (ปัจจุบันเป็นที่ทำการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา) และนำเงินที่เหลือจากการสร้างโรงพยาบาลไปสร้างโอสถศาลาปัญจมธิราชอุทิศที่จังหวัดสระบุรี
  2. จัดตั้งสุขาภิบาลกรุงเก่าในปี พ.ศ. 2459 เพื่อดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อย
  3. ปรับปรุงตลาดใหม่ที่บริเวณหัวรอเมื่อ พ.ศ. 2458 โดยสร้างเป็นห้องแถว พื้นคอนกรีต ท่อระบายน้ำ สร้างโรงภาพยนตร์และตลาดแผงลอย (ปัจจุบันคือตลาดหัวรอ ซึ่งเป็นแหล่งค้าขายที่สำคัญแห่งหนึ่ง)
  4. จัดสร้างถนนรอบเกาะเมืองอยุธยาจนแล้วเสร็จต่อจากพระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนมรุพงศ์สิริพัฒน์ สมุหเทศาภิบาลพระองค์แรก
  5. บูรณปฏิสังขรณ์วัดร้างภายในตัวเมืองอยุธยา ที่สำคัญได้แก่การบูรณะซ่อมแซมต่อพระกรด้านซ้ายและขวาของพระมงคลบพิตรเมื่อ พ.ศ. 2461 นอกจากนี้ยังได้ออกระเบียบการรื้อถอนวัดร้างเพื่อป้องกันการบุกรุก
  6. ทำนุบำรุงด้านการเกษตรกรรม โดยรวบรวมข้อมูลทางด้านเกษตรกรรม ขุดลอกคูคลองและจัดเก็บผักตบชวา
  7. ขุดแต่งบริเวณพระราชวังโบราณและปลูกสร้างพระที่นั่งสรรเพชญ์มหาปราสาทบริเวณรากฐานเดิมเพื่อใช้ในการพระราชกุศลรัชมงคล ฉลองสิริราชสมบัติครบ 40 ปีของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. 2451
  8. เก็บรวบรวมศิลปวัตถุและโบราณวัตถุที่พบภายในเมืองอยุธยามารวบรวมไว้ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้นำสิ่งของเหล่านั้นไปจัดแสดงที่พระราชวังจันทรเกษม (ภายหลังกรมศิลปากรได้จัดตั้งเป็นพิพิธภัณท์สถานแห่งชาติจันทรเกษม)

ครอบครัว[แก้]

ในปี พ.ศ. 2440 พระยาโบราณราชธานินทร์ เมื่อครั้งยังมีบรรดาศักดิ์เป็นหลวงอนุรักษ์ภูเบศร ได้สมรสกับนางสาวจำเริญ (สกุลเดิม อินทุสุต) ธิดาพระเทพเยนทร์ (ถนอม อินทุสุต) กับนางนวม ที่กรุงเทพฯ มีบุตรธิดาด้วยกัน 5 คนคือ

  1. นายพืชน์ เดชะคุปต์ อดีตผู้ช่วยข้าหลวงตรวจการกรมหมาดไทย กระทรวงมหาดไทย
  2. นางเทพอักษร (พันธ์ อินทุสุต)
  3. นางพูน อารยะกุล
  4. นางสาวเพ็ญ เดชะคุปต์
  5. นางสาวพัฒน์ เดชะคุปต์

นอกจากนี้พระยาโบราณราชธานินทร์ยังมีบุตรธิดากับภรรยาท่านอื่นอีก 11 คน คือ

  1. นายจั่นเพชร เดชะคุปต์ (มารดาชื่อนางกิ่ง)
  2. นางเพิ่มศรี สุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา (มารดาชื่อนางประยูร)
  3. นายพฤทธิ์ เดชะคุปต์ (มารดาชื่อนางประยูร) อดีตสมุห์บัญชี อ.เมืองลำปาง
  4. นางสาวน้อม เดชะคุปต์ (มารดาชื่อนางถนอม)
  5. นายนันท์ เดชะคุปต์ (มารดาชื่อนางถนอม)
  6. นางอนงค์ เหมะกรม (มารดาชื่อนางถนอม)
  7. นายมานพ เดชะคุปต์ (มารดาชื่อนางเจิม)
  8. พันตำรวจโทวิรัตน์ เดชะคุปต์ (มารดาชื่อนางเจิม)
  9. นางสมบูรณ์ ทรรพมัทย์ (มารดาชื่อนางสุวรรณ)
  10. นายดำรง เดชะคุปต์ (มารดาชื่อนางสุวรรณ) อดีตปลัดจังหวัดระนอง
  11. รองศาสตราจารย์วรรณศิริ เดชะคุปต์ (มารดาชื่อนางสุวรรณ) ข้าราชการบำนาญ ทบวงมหาวิทยาลัย

ปัจจุบันยังคงเหลือบุตรที่ยังชีวิตอยู่สองท่าน คือ นางสมบูรณ์ ทรรพมัทย์ และ รองศาสตราจารย์วรรณศิริ เดชะคุปต์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

พระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งสยามและต่างประเทศ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์สยาม[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]

เชิงอรรถ[แก้]

  1. ข่าวตาย
  2. แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
  3. แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
  4. พระราชทานสัญญาบัตร
  5. รายงานข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า (หน้า ๕๓๐)
  6. "พระราชทานสัญญาบัตร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-03-24. สืบค้นเมื่อ 2020-07-12.
  7. พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ (หน้า 356)
  8. พระราชทานสัญญาบัตรตำแหน่งน่าที่ราชการ
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พระวรวงษ์เธอ พระองค์เจ้าอลังการ ขอลาออกจากตำแหน่งข้าหลวงเทศาภิบาล มณฑลปราจีนบุรี ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมมหมื่นมรุพงษ์ศิริพัฒน์ สำเร็จราชการมณฑลปราจีนบุรี ให้พระยาโบราณบุรานุรักษ์ รั้งตำแหน่งข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า, เล่ม 20, ตอน 36, 6 ธันวาคม พ.ศ. 2446, หน้า 629
  10. พระราชทานตราตั้ง กรรมการหอพระสมุดวชิรญาณ
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงมหาดไทย [เรื่อง พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นมรุพงษ์ขอพระราชทานพ้นจากข้าหลวงเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลกรุงเก่า และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พระยาโบราณบุรานุรักษ์เป็นข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า], เล่ม 23, ตอน 9, 3 มิถุนายน พ.ศ. 2449, หน้า 789
  12. พระราชทานสัญญาบัตรตำแหน่งหน้าที่ราชการ
  13. พระราชทานสัญญาบัตรมรรคนายก
  14. พระราชทานสัญญาบัตรกองเสือป่า
  15. พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์
  16. ส่งสัญญาบัตรเสือป่าไปพระราชทาน
  17. พระราชทานยศเลื่อนยศ
  18. พระราชทานยศนายพลเสือป่า (หน้า ๑๕๒๕)
  19. พระราชทานยศ
  20. แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ปลด,ตั้ง,ย้าย สมุหเทศาภิบาล
  21. พระราชทานสัญญาบัตรกองเสือป่า
  22. ส่งสัญญาบัตรเสือป่าไปพระราชทาน
  23. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานตรารัตนวราภรณ์, เล่ม ๓๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๗๓๙, ๗ มกราคม ๒๔๕๙
  24. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๘๙๒, ๒๑ พฤศจิกายน ๒๔๕๘
  25. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๒๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๑๙, ๒๒ มกราคม ๑๓๑
  26. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๒๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๐๔, ๒๔ พฤศจิกายน ๑๓๑
  27. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา, เล่ม ๓๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๖๗๓, ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๕๖
  28. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๓๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๐๒, ๑๐ มกราคม ๒๔๕๗
  29. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๕, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๕๐, ๙ เมษายน ๑๒๘
  30. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๘๓, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๔๖๔
  31. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๕๖, ๒๘ พฤศจิกายน ๒๔๖๙
  32. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๒๓ ตอนที่ ๓๓ หน้า ๘๕๒, ๑๑ พฤศจิกายน ๑๒๕
  33. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๙ ตอนที่ ๑๖ หน้า ๓๑๖, ๒๐ กรกฎาคม ๑๒๑
  34. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตตราต่างประเทศ, เล่ม ๒๒ ตอนที่ ๒๓ หน้า ๕๒๗, ๓ กันยายน ๑๒๔
  35. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๒๔ ตอนที่ ๑๓ หน้า ๓๓๒, ๓๐ มิถุนายน ๑๒๖
  36. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์เฮนรีดีไลออนกรุงบรันซวิก, เล่ม ๒๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๕๕, ๑๐ เมษายน ๑๒๙

อ้างอิง[แก้]

  • กรมศิลปากร. "ประวัติพระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์)", ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 63. กรุงเทพฯ : โสภณพิพรรฒธนากร, (2479).