พระธรรมเจดีย์ (สมคิด เขมจารี)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระธรรมเจดีย์

(สมคิด เขมจารี)
พระธรรมเจดีย์(สมคิด เขมจารี).jpg
ชื่ออื่นเจ้าคุณสมคิด วัดทองนพคุณ
ส่วนบุคคล
เกิด5 พฤษภาคม พ.ศ. 2487
นิกายมหานิกาย
การศึกษาน.ธ.เอก, ป.ธ.9, พธ.ด.(กิตติมศักดิ์)
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดทองนพคุณ กรุงเทพมหานคร
อุปสมบท29 พฤษภาคม พ.ศ. 2508
ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดทองนพคุณ, เจ้าคณะภาค 11

พระธรรมเจดีย์ นามเดิม สมคิด บุตรทุมพันธ์ ฉายา เขมจารี เป็นเจ้าอาวาสวัดทองนพคุณ กรุงเทพมหานคร[1] เจ้าคณะภาค 11[2]

ชาติภูมิ[แก้]

พระธรรมเจดีย์ มีนามเดิมว่า สมคิด นามสกุล บุตรทุมพันธ์ เกิดเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2487 โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายบ่ายและนางคำตา นามสกุลบุตรทุมพันธ์ ภูมิลำเนาอยู่บ้านเลขที่ 1 หมู่ที่ 8 ตำบลอุ่มเม่า อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด

การบรรพชาและอุปสมบท[แก้]

บรรพชา ณ ภูมิลำเนาจังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2500 มีเจ้าอธิการบุญ เจ้าอาวาสวัดศรีสะเกศ เจ้าคณะตำบลเชียงใหม่ อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นพระอุปัชฌาย์ อุปสมบทเมื่ออายุครบ 21 ปีบริบูรณ์ เข้าพิธีอุปสมบทที่วัดหนองขุ่น เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2508 มีเจ้าอธิการหอม คุตตจิตโต เจ้าอาวาสวัดโนนรังน้อย เจ้าคณะตำบลยางโยภาพ อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอธิการจำปา สิริปุญโญ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระมหาอมร เขมจิตโต วัดหนองขุ่น เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า เขมจารี

การศึกษา/วิทยฐานะ[แก้]

  • พ.ศ. 2498 สำเร็จการศึกษาชั้น ป.4 ที่โรงเรียนประชาบาลประจำหมู่บ้าน
  • พ.ศ. 2504 สอบได้นักธรรมชั้นตรี-โท-เอก ตามลำดับ สำนักเรียนวัดหนองขุ่น จังหวัดอุบลราชธานี
  • พ.ศ. 2507 สอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค สำนักเรียนวัดหนองขุ่น จ.อุบลราชธานี
  • พ.ศ. 2509 สอบได้เปรียญธรรม 5 ประโยค
  • พ.ศ. 2518 สอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค จากสำนักเรียนวัดทองนพคุณ กรุงเทพมหานคร

ปกครองคณะสงฆ์[แก้]

  • พ.ศ. 2525 เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดทองนพคุณ
  • พ.ศ. 2530 เป็นเลขานุการรองเจ้าคณะภาค 8
  • พ.ศ. 2533 เป็นพระอุปัชฌาย์ วิสามัญ
  • พ.ศ. 2537 เป็นเจ้าอาวาสวัดทองนพคุณ[3]
  • พ.ศ. 2541 เป็นรองเจ้าคณะภาค 11[4]
  • พ.ศ. 2558 เป็นเจ้าคณะภาค 11

เกียรติคุณ[แก้]

  • พ.ศ. 2544 ได้รับพระราชทานรางวัลเสาเสมาธรรมจักร ในฐานะผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา ประจำปีพุทธศักราช 2544 ประเภทส่งเสริมการศึกษาพระพุทธศาสนา สาขาการศึกษาพระปริยัติธรรม
  • พ.ศ. 2553 สภามหวิทยาลัย มีมิติถวายปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

สมณศักดิ์[แก้]

  • พ.ศ. 2527 ได้รับพระราชทานตั้งสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระกิตติสารเมธี
  • 9 มิถุนายน พ.ศ. 2539 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชปริยัติเวที ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพปริยัติมุนี ศรีวิสุทธินายก ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[5]
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมเจดีย์ ศรีปริยัติคุณ วิบูลสิทธินายก ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[6]

อ้างอิง[แก้]

ก่อนหน้า พระธรรมเจดีย์ (สมคิด เขมจารี) ถัดไป
พระธรรมธีรราชมหามุนี (เที่ยง อคฺคธมฺโม) 2leftarrow.png เจ้าคณะภาค11
(พ.ศ. 2558 - ปัจุจุบัน)
2rightarrow.png ยังอยู่ในตำแหน่ง