007 พยัคฆ์ร้ายฝ่าเวลามรณะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก พยัคฆ์ร้ายฝ่าเวลามรณะ)
007 พยัคฆ์ร้ายฝ่าเวลามรณะ
ใบปิดภาพยนตร์
ใบปิดภาพยนตร์
กำกับแครี โจจิ ฟูคูนากะ
บทภาพยนตร์
เนื้อเรื่อง
  • นีล เพอร์วิส
  • รอเบิร์ต เวด
  • แครี โจจิ ฟูคูนากะ
สร้างจากเจมส์ บอนด์
โดย เอียน เฟลมมิง
อำนวยการสร้าง
นักแสดงนำ
กำกับภาพลินัส ซันด์เกรียน
ตัดต่อ
ดนตรีประกอบฮันส์ ซิมเมอร์
บริษัทผู้สร้าง
ผู้จัดจำหน่าย
วันฉาย28 กันยายน ค.ศ. 2021 (2021-09-28)(รอยัลอัลเบิร์ตฮอลล์)
30 กันยายน ค.ศ. 2021 (2021-09-30)(สหราชอาณาจักร)
7 ตุลาคม ค.ศ. 2021 (2021-10-07)(ไทย)
8 ตุลาคม ค.ศ. 2021 (2021-10-08)(สหรัฐ)
ความยาว163 นาที[1]
ประเทศ
  • สหราชอาณาจักร
  • สหรัฐ[2]
ภาษาอังกฤษ
ทุนสร้าง250–301 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[3][4]
ทำเงิน774.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[5][6]

007 พยัคฆ์ร้ายฝ่าเวลามรณะ (อังกฤษ: No Time to Die) เป็นภาพยนตร์แนวสายลับ ที่ออกฉายในปี ค.ศ. 2021 เป็นภาพยนตร์เรื่องที่ยี่สิบห้าใน ภาพยนตร์ชุด เจมส์ บอนด์ ที่สร้างโดย อีออนโปรดักชันส์ แสดงนำโดย แดเนียล เคร็ก เป็น เจมส์ บอนด์ สายลับเอ็มไอ6 ครั้งที่ห้าและครั้งสุดท้ายของเขา ภาพยนตร์กำกับโดย แครี โจจิ ฟูคูนากะ จากบทภาพยนตร์โดย นีล เพอร์วิส, รอเบิร์ต เวด, ฟูคูนากะและฟีบี วอลเลอร์-บริดจ์ นักแสดงชุดเดิมจากภาพยนตร์ก่อนหน้านี้ ได้แก่ เลอา แซดู, เบน วิชอว์, เนโอมี แฮร์ริส, เจฟฟรีย์ ไรต์, คริสทอฟ วัลซ์, รอรี คินเนียร์และเรล์ฟ ไฟนส์ กลับมารับบทเดิมอีกครั้ง พร้อมกับนักแสดงชุดใหม่ ได้แก่ รามี แมลิก, ลาชานา ลินช์, บิลลี แมกนิวส์เซน, อานา เด อาร์มาส, ดาวิด เดนชิกและดาลี เบนซาลาห์ ในภาพยนตร์ บอนด์ซึ่งออกจากเอ็มไอ6 ได้รับคำขอจากซีไอเอเพื่อช่วยเหลือนักวิทยาศาสตร์ที่ถูกลักพาตัว ซึ่งนำไปสู่การประลองกับคู่ต่อสู้ที่ทรงพลัง

การพัฒนาของภาพยนตร์เริ่มต้นในปี ค.ศ. 2016 โดยเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกในภาพยนตร์ชุดที่ร่วมสร้างและจัดจำหน่ายโดย ยูนิเวอร์แซลพิกเจอส์ ซึ่งได้สิทธิ์ในการจัดจำหน่าย หลังสัญญาของโซนีพิกเจอร์สหมดอายุ หลังฉายภาพยนตร์ องค์กรลับดับพยัคฆ์ร้าย ในปี ค.ศ. 2015 ยูไนเต็ดอาร์ตติสต์รีลีดซิง ถือสิทธิ์ในการจัดจำหน่ายในสหรัฐ รวมไปถึงการจัดจำหน่ายในรูปแบบดิจิทัลทั่วโลกและสิทธิ์ทางโทรทัศน์ ยูนิเวอร์แซลจะจัดจำหน่ายภาพยนตร์ในรูปแบบโฮมวิดีโอทั่วโลก แต่เดิม เดนนี บอยล์ กำหนดให้เป็นผู้กำกับและร่วมเขียนบทกับจอห์น ฮอดจ์ ทั้งคู่ออกจากโครงการเนื่องจากความคิดสร้างสรรค์แตกต่างกันในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2018 ฟูกูนากะเข้ามาแทนที่บอยล์ในเดือนต่อมา นักแสดงส่วนใหญ่ได้เซ็นสัญญากลับมาแสดงเมื่อเดือนเมษายน 2019 การถ่ายทำเริ่มต้นตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนตุลาคม ค.ศ. 2019 ในชื่อชั่วคราว บอนด์ 25 ชื่อภาพยนตร์อย่างเป็นทางการประกาศในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2019

007 พยัคฆ์ร้ายฝ่าเวลามรณะ ฉายรอบปฐมทัศน์โลกที่ รอยัลอัลเบิร์ตฮอลล์ ในลอนดอนเมื่อวันที่ 28 กันยายน ค.ศ. 2021 และฉายในโรงภาพยนตร์สหราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 2021 ภาพยนตร์ฉายในไทยวันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ. 2021 และในสหรัฐวันที่ 8 ตุลาคม ค.ศ. 2021 หลังภาพยนตร์เลื่อนฉายอยู่หลายครั้ง เนื่องจากการออกจากโครงการของบอยล์และการระบาดทั่วของโควิด-19 ภาพยนตร์ได้รับการตอบรับที่ดีจากนักวิจารณ์ โดยชมว่าเป็นตอบจบที่เหมาะสมกับช่วงเวลาที่เคร็กแสดงเป็นบอนด์ ภาพยนตร์ทำเงินมากกว่า 774 ล้านดอลลาร์สหรัฐทั่วโลก ทำให้เป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดอันดับที่สี่ในปี ค.ศ. 2021

โครงเรื่อง[แก้]

แมดเดอลิน สวอนน์ในวัยเด็กพบเห็นแม่ของเธอถูกฆ่าโดยชายสวมหน้ากากนามลูทซิเฟอร์ ซาฟิน หลังเขาบุกมาที่บ้านเพื่อสังหารมิสเตอร์ไวต์ พ่อของเธอ แมดเดอลินหลบหนีซาฟินไปที่ทะเลสาบน้ำแข็งหลังยิงเขาแต่พลาดตกลงไปในทะเลสาบ แต่ซาฟินช่วยชีวิตเธอไว้

หลังจับกุมเอิร์นส์ สตาฟโร โบลเฟลด์ เจมส์ บอนด์ไปพักผ่อนที่เมืองมาเตรากับแมดเดอลิน ที่นั่นบอนด์ถูกมือสังหารของสเปกเตอร์ซุ่มโจมตีขณะไปเยี่ยมหลุมศพของเวสเปอร์ ลินด์ แม้บอนด์กับแมดเดอลินจะหนีรอดไปได้ แต่บอนด์เชื่อว่าตนถูกแมดเดอลินหักหลังตัดสินใจเลิกกับเธอ

ห้าปีต่อมา วัลโด โอบรูเชฟ นักวิทยาศาสตร์ถูกลักพาตัวจากห้องปฏิบัติการของ MI6 M เปิดเผยว่าโอบรูเชฟทำงานในโครงการ "เฮราคลีส" ซึ่งพัฒนาอาวุธชีวภาพอันเป็นนาโนบอตที่แพร่เชื้อคล้ายไวรัส หากแต่สามารถปรับแต่งได้ตามดีเอ็นเอของบุคคล ส่งผลให้มันเป็นอันตรายเฉพาะกับเป้าหมาย ด้านบอนด์ที่ใช้ชีวิตอยู่เงียบ ๆ ในจาเมกาได้รับการติดต่อจากฟีลิกซ์ ไลเทอร์ เพื่อนเก่า และโลแกน แอช เจ้าหน้าที่ CIA ไลเทอร์ขอให้บอนด์ตามหาโอบรูเชฟแต่บอนด์ปฏิเสธ เย็นวันเดียวกันบอนด์พบกับโนมี สายลับ MI6 ที่รับตำแหน่ง 007 ต่อจากเขา หลังทราบข้อมูลเกี่ยวกับโครงการเฮราคลีสจากโนมี บอนด์ตกลงที่จะช่วยไลเทอร์

บอนด์ไปที่คิวบาและพบกับพาโลมา สายลับ CIA ที่ทำงานกับไลเทอร์ ทั้งสองลอบเข้าไปหาตัวโอบรูเชฟในงานเลี้ยงวันเกิดโบลเฟลด์ที่จัดโดยสมาชิกสเปกเตอร์ โบลเฟลด์ซึ่งถูกคุมขังอยู่ในลอนดอนสั่งการผ่านดวงตาเทียมให้ฆ่าบอนด์ด้วยนาโนบอต แต่นาโนบอตนั้นกลับฆ่าสมาชิกสเปกเตอร์ทั้งหมดแทน เนื่องจากโอบรูเชฟตั้งคำสั่งตามที่ซาฟินบอก บอนด์พบตัวโอบรูเชฟแล้วพาไปหาไลเทอร์และแอช แต่แอชซึ่งเป็นสายลับสองหน้าทำงานให้ซาฟินฆ่าไลเทอร์และหนีไปพร้อมโอบรูเชฟ

มิสมันนีเพนนีและ Q จัดการให้บอนด์พบกับโบลเฟลด์เพื่อแกะรอยหาโอบรูเชฟ ขณะเดียวกันซาฟินพบกับแมดเดอลินและข่มขู่ให้เธอฉีดนาโนบอตใส่ตัวเอง เมื่อบอนด์พบกับแมดเดอลินในห้องขังโบลเฟลด์ เขาสัมผัสตัวเธอและได้รับนาโนบอตโดยไม่รู้ตัว หลังแมดเดอลินออกจากห้องขัง โบลเฟลด์ยั่วยุบอนด์ด้วยการบอกว่าตนจัดฉากการซุ่มโจมตีในมาเตราเพื่อให้บอนด์คิดว่าแมดเดอลินหักหลัง บอนด์จึงเข้าทำร้ายโบลเฟลด์ ทำให้โบลเฟลด์ตายจากนาโนบอตที่มาจากบอนด์

บอนด์ตามแมดเดอลินไปที่บ้านสมัยเด็กของเธอในนอร์เวย์ ที่นั่นบอนด์พบกับมาทิลเดอ ลูกสาวของแมดเดอลินวัย 5 ปีซึ่งแมดเดอลินบอกว่าไม่ใช่ลูกของเขา แมดเดอลินเล่าเรื่องที่พ่อแม่ซาฟินถูกฆ่าโดยพ่อของเธอตามคำสั่งโบลเฟลด์เมื่อซาฟินยังเป็นเด็ก ทำให้ซาฟินอาฆาตแค้นโบลเฟลด์และสเปกเตอร์ หลังจากนั้นไม่นานซาฟินส่งแอชและลูกน้องมาไล่ล่าบอนด์ บอนด์ฆ่าแอช แต่พบว่าซาฟินจับตัวแมดเดอลินและมาทิลเดอไป

Q พบว่าซาฟินอยู่ที่ฐานบนเกาะระหว่างญี่ปุ่นและรัสเซีย บอนด์และโนมีจึงลอบเข้าไปที่นั่นและพบว่าซาฟินใช้ที่นี่เป็นโรงงานผลิตนาโนบอตโดยมีแผนจะใช้มันฆ่าผู้คนนับล้านเพื่อสร้างโลกใหม่ โนมีฆ่าโอบรูเชฟ ส่วนบอนด์ช่วยแมดเดอลินกับมาทิลเดอก่อนจะให้ทั้งสองหนีออกจากเกาะพร้อมโนมี ส่วนตนจะอยู่เปิดประตูกันระเบิดของโรงงานแล้วให้ M สั่งยิงมิสไซล์เพื่อทำลายโรงงานทั้งหมด

บอนด์ฆ่าคนของซาฟินจำนวนมากก่อนสู้กับซาฟิน แต่ถูกซาฟินปล่อยนาโนบอตที่ตั้งคำสั่งให้ฆ่าแมดเดอลินและมาทิลเดอใส่ บอนด์ฆ่าซาฟินก่อนจะไปเปิดประตูและสั่งให้ M ยิงมิสไซล์ บอนด์ใช้วิทยุบอกลาแมดเดอลินเป็นครั้งสุดท้าย ส่วนแมดเดอลินบอกบอนด์ว่ามาทิลเดอเป็นลูกของเขา ก่อนมิสไซล์จะระเบิดทำลายโรงงานและคร่าชีวิตบอนด์

หลังเรื่องทั้งหมดจบลง M มันนีเพนนี Q แทนเนอร์ และโนมีร่วมกันดื่มไว้อาลัยให้บอนด์ ด้านแมดเดอลินขับรถไปตามถนนกับมาทิลเดอ ก่อนจะเริ่มเล่าเรื่องราวของบอนด์ให้ลูกสาวเธอฟัง

นักแสดง[แก้]

การสร้าง[แก้]

การพัฒนา[แก้]

แครี โจจิ ฟูคูนากะ ผู้กำกับ พยัคฆ์ร้ายฝ่าเวลามรณะ

การพัฒนาของภาพยนตร์ พยัคฆ์ร้ายฝ่าเวลามรณะ เริ่มต้นในช่วงต้นปี 2016[16] ในเดือนมีนาคม 2017 ผู้เขียนบทภาพยนตร์ นีล เพอร์วิสและรอเบิร์ต เวด—ผู้เขียนบทภาพยนตร์ บอนด์ ทุกเรื่องตั้งแต่ 007 พยัคฆ์ร้ายดับแผนครองโลก (1999)—ได้รับการทาบทามเขียนบทภาพยนตร์เรื่องนี้[17] แซม เมนเดส กล่าวว่าเขาจะไม่กลับมาเป็นผู้กำกับหลังกำกับภาพยนตร์เรื่อง พลิกรหัสพิฆาตพยัคฆ์ร้าย 007 และ องค์กรลับดับพยัคฆ์ร้าย[18] คริสโตเฟอร์ โนแลน กล่าวว่าเป็นไปไม่ได้ที่เขาจะกำกับภาพยนตร์เรื่องนี้[19] ในเดือนกรกฎาคม 2017 เยนน์ ดูมาจ, เดวิด แมกเคนซีและเดอนี วีลเนิฟว์ มีชื่อเป็นผู้กำกับภาพยนตร์[20] ในเดือนธันวาคม 2017 วีลเนิฟว์ตัดสินใจออกจากตำแหน่งผู้กำกับ เนื่องจากความมุ่งมั่นของเขาที่ต้องการจะกำกับภาพยนตร์เรื่อง ดูน[21]

ในเดือนกุมภาพันธ์ 2018 แดนนี บอยล์ เป็นตัวเต็งที่จะมารับตำแหน่งเป็นผู้กำกับ[22] ในการนำเสนอของบอยล์ให้กับบรอกโคลีและวิลสัน พวกเขาเห็นว่า จอห์น ฮอดจ์ เขียนบทจากแนวคิดของบอยล์และไม่ได้ใช้บทของนีล เพอร์วิสและรอเบิร์ต เวด[23] บทร่างของฮอดจ์ได้รับการอนุมัติและบอยล์ได้การยืนยันว่าเขาจะเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ โดยเริ่มการสร้างในเดือนธันวาคม 2018[24] อย่างไรก็ตาม บอยล์และฮอดจ์ออกจากการสร้างในเดือนสิงหาคม 2018 เนื่องจากความคิดสร้างสรรค์แตกต่างกัน[25][26] ในช่วงที่บอยล์เป็นผู้กำกับ มีใบนักแสดงหลุดออกมา อธิบายถึงบทบาทของนักแสดงนำชายว่าเป็น "ชาวรัสเซียที่เย็นชาและมีเสน่ห์" และ บทบาทของนักแสดงนำหญิงว่าเป็น "ผู้รอดชีวิตที่มีไหวพริบและชำนาญ" การสร้างยังตามหาบทบาทของนักแสดงสมทบชายที่มีเชื้อสายมาวรีที่มี "ทักษะการต่อสู้ขั้นสูง"[27] มีรายงานในตอนนั้นว่าบอยล์ออกจากตำแหน่ง เพราะคัดเลือกนักแสดง โทมัสซ์ คอตซ์ เป็นตัวร้ายหลัก อย่างไรก็ตาม ต่อมาบอยล์ยืนยันว่าเพราะความขัดแย้งในเรื่องบทภาพยนตร์[28][29]

หลังจากบอยล์ออกจากตำแหน่ง วันฉายของภาพยนตร์เรื่องนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าสตูดิโอจะหาคนมาทำหน้าที่นี้ภายในหกสิบวัน[30][31] มีการประกาศเมื่อเดือนกันยายน 2018 ว่า แครี โจจิ ฟูคูนากะ จะเป็นผู้กำกับคนใหม่[32][33][34] ฟูคูนากะ เป็นชาวอเมริกันคนแรกที่กำกับภาพยนตร์ชุด บอนด์ ที่สร้างโดย อีออนโปรดักชันส์ และเป็นผู้กำกับคนแรกที่มีชื่อเป็นผู้เขียนบทในภาพยนตร์บอนด์ทุกรูปแบบ[35][a] ฟูคูนากะเคยได้รับการพิจารณาให้เป็นผู้กำกับ องค์กรลับดับพยัคฆ์ร้าย ก่อนที่แมนเดสจะกลับมารับตำแหน่งเดิม หลังเขากำกับ พลิกรหัสพิฆาตพยัคฆ์ร้าย 007 ทั้ง ๆ ที่ ฟูคูนากะแสดงความสนใจต่อบรอกโคลีและวิลสันในการกำกับภาพยนตร์ บอนด์ ในอนาคต[36] ลินัส ซันด์เกรียน ถูกจ้างให้เป็นผู้กำกับภาพในเดือนธันวาคม 2018[37]

เพอร์วิสและเวดถูกเรียกตัวให้เริ่มทำงานเขียนบทภาพยนตร์ใหม่กับฟูคูนากะในเดือนกันยายน 2018[36][38] ในเดือนเมษายน 2020 ฟูคูนากะพูดถึงหนึ่งในแนวคิดของเขาในช่วงแรกของบทภาพยนตร์ว่า ภาพยนตร์จะดำเนินเรื่องในหัวของบอนด์ขณะกำลังถูกทรมานโดย เอิร์นส์ สตาฟโร โบลเฟลด์ ใน องค์กรลับดับพยัคฆ์ร้าย และเป็นการเปลี่ยนฉากจบของภาพยนตร์ดังกล่าว[39] ฟูคูนากะเล่าถึงฉบับสุดท้ายของภาพยนตร์เรื่องนี้ว่าเป็นการสำรวจโลกแห่งการจารกรรม "ในยุคของสงครามอสมมาตร"[7] พอล แฮกกิส ผู้เขียนบท 007 พยัคฆ์ร้ายเดิมพันระห่ำโลก และ 007 พยัคฆ์ร้ายทวงแค้นระห่ำโลก ได้ส่งบทร่างภาพยนตร์ในเดือนพฤศจิกายน 2018[40] เช่นเดียวกับ สกอตต์ ซี. เบิร์นส์ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2019[41] แดเนียล เคร็กขอให้ ฟีบี วอลเลอร์-บริดจ์ ผู้เขียนบทและผู้สร้าง ฟลีแบก และ คิลลิงอีฟ เป็นผู้ขัดเกลาบทภาพยนตร์ในเดือนเมษายน 2019 วอลเลอร์-บริดจ์ ถูกจ้างให้แก้ไขบทสนทนา, ทำงานเกี่ยวกับการพัฒนาตัวละครและเพิ่มอารมณ์ขันให้กับบทภาพยนตร์[42][43][44] วอลเลอร์-บริดจ์ เป็นผู้เขียนบทภาพยนตร์หญิงคนที่สองในภาพยนตร์ชุด บอนด์ หลัง โจแฮนนา ฮาร์วูด เขียนบทร่วมใน พยัคฆ์ร้าย 007 และ เพชฌฆาต 007[45][b] บาร์บารา บรอกโคลี ถูกถามเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวมีทูที่งานเปิดตัว บอนด์ 25 โดยเธอระบุว่าทัศนคติของบอนด์ที่มีต่อผู้หญิงจะเปลี่ยนไปตามยุคสมัยและภาพยนตร์เรื่องนี้ควรสะท้อนให้เห็นถึงสิ่งนั้น[45] ในการสัมภาษณ์แยกต่างหาก วอลเลอร์-บริดจ์โต้แย้งว่าบอนด์ยังคงมีความเกี่ยวข้องและ "เขาต้องจริงใจกับตัวละครนี้" แทนที่จะบอกว่าเป็นภาพยนตร์ที่ต้องเติบโตและมีวิวัฒนาการ โดยเน้นว่า "สิ่งสำคัญคือภาพยนตร์เรื่องนี้ควรปฏิบัติต่อผู้หญิงอย่างเหมาะสม"[48][49]

ซาฟิน ตัวร้ายของภาพยนตร์ แต่เดิมนั้นมีสมุนและทั้งสองตัวละครให้สวนหน้ากากที่มีต้นแบบมาจากชุดเกราะล่าหมีไซบีเรีย ตัวละครสมุนนั้นถูกตัดออกจากบทก่อนที่จะเริ่มการถ่ายทำและฟูคูนากะขอให้เปลี่ยนการออกแบบชุดของซาฟิน หน้ากากใหม่มีต้นแบบมาจาก โน ในโรงละครญี่ปุ่น จากการแนะนำของฟูคูนากะ เขารู้สึกว่าหน้ากากรูปแบบเดิมนั้นดูโดดเด่นมากกว่าชุด[50]

ภาพยนตร์เข้าสู่กระบวนการสร้างภายใต้ชื่อชั่วคราว บอนด์ 25 ชื่อภาพยนตร์อย่างเป็นทางการประกาศเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2019 โดยมีชื่อว่า พยัคฆ์ร้ายฝ่าเวลามรณะ (No Time to Die)[51][52][c]

ดูเพิ่ม[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. ผู้กำกับชาวอเมริกัน จอห์น ฮัสตันและรอเบิร์ต แพร์ริช เป็นสองในหกผู้กำกับภาพยนตร์บอนด์เรื่อง ทีเด็ดเจมส์บอนด์ 007 เมื่อปี 1967 และ เออร์วิน เคิร์ชเนอร์ เป็นผู้กำกับภาพยนตร์บอนด์เรื่อง พยัคฆ์เหนือพยัคฆ์ เมื่อปี 1983 อย่างไรก็ตาม ภาพยนตร์ทั้งสองเรื่องไม่ได้สร้างโดย อีออนโปรดักชันส์
  2. ฮาร์วูดยังช่วยเขียนบทภาพยนตร์เรื่อง จอมมฤตยู 007 และ เดนา สตีเวนส์ ช่วยเขียนบทภาพยนตร์เรื่อง 007 พยัคฆ์ร้ายดับแผนครองโลก แต่ทั้งสองคนไม่มีชื่อในเครดิตอย่างเป็นทางการ[46][47]
  3. ชื่อเรื่องเดียวกับภาพยนตร์ เมื่อปี 1958 กำกับโดย เทอเรนซ์ ยัง, อำนวยการสร้างโดย อัลเบิร์ต อาร์. "คับบี" บรอคโคลี และเขียนบทโดย ริชาร์ด เมบอม[53][54][55] ทั้งสามคนเป็นผู้กำกับ, ผู้อำนวยการสร้างและผู้เขียนบทของ พยัคฆ์ร้าย 007, เพชฌฆาต 007 และ ธันเดอร์บอลล์ 007[56][57][58] เมบอมกับบรอคโคลียังทำงานร่วมกัน ในการเขียนบทและอำนวยการสร้างภาพยนตร์ในทศวรรษ 1980

อ้างอิง[แก้]

  1. "No Time to Die". British Board of Film Classification. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 October 2021. สืบค้นเมื่อ 6 October 2021.
  2. "No Time to Die". Lumiere. European Audiovisual Observatory. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 October 2021.
  3. Ford, Rebecca (6 November 2019). "Bond Women: How Rising Stars Lashana Lynch and Ana de Armas Are Helping Modernize 007". The Hollywood Reporter (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 January 2020. สืบค้นเมื่อ 27 February 2020.
  4. Lang, Brent; Donnelly, Matt (30 October 2020). "Breaking Down MGM's Costly 'No Time to Die' Dilemma". Variety (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 October 2020. สืบค้นเมื่อ 4 November 2020.
  5. "No Time to Die (2021)". Box Office Mojo. IMDb. สืบค้นเมื่อ 28 January 2022.
  6. "No Time to Die (2021)". The Numbers. Nash Information Services, LLC. สืบค้นเมื่อ 28 January 2022.
  7. 7.0 7.1 Agar, Chris (26 February 2020). "No Time To Die Director Confirms James Bond's Post-Spectre Time Jump". Screen Rant. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2020. สืบค้นเมื่อ 26 February 2020.
  8. Chilton, Louis (26 February 2020). "No Time to Die: James Bond director confirms character's five-year hiatus". The Independent. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 February 2020. สืบค้นเมื่อ 27 February 2020.
  9. "James Bond is a 'wounded animal' in No Time To Die". news.com.au. 26 February 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 February 2020. สืบค้นเมื่อ 27 February 2020.
  10. "Daniel Craig Says 'No Time to Die' is About "Relationships and Family" - Fandango All Access". YouTube. March 3, 2020.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  11. 11.0 11.1 Travis, Ben (27 October 2019). "No Time To Die: Rami Malek's Villain 'Really Gets Under Bond's Skin', Says Barbara Broccoli". empireonline.com. Bauer Consumer Media. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 October 2019. สืบค้นเมื่อ 28 October 2019.
  12. "Rami Malek calls his Bond villain 'unique' and 'very complex'". EW.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 January 2020. สืบค้นเมื่อ 6 January 2020.
  13. "'No Time To Die' Cast Daniel Craig, Rami Malek, Léa Seydoux & Lashana Lynch | Entertainment Weekly". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 January 2020. สืบค้นเมื่อ 24 January 2020.
  14. "Director Cary Joji Fukunaga on NO TIME TO DIE - James Bond 007". YouTube. February 25, 2020.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  15. "Does No Time to Die trailer confirm fan theory that another classic Bond villain is returning?". Radio Times (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-07-10.
  16. "Daniel Craig Back For Spectre's Sequel? Here's What The Producers Say". cinemablend.com. 1 December 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 May 2016. สืบค้นเมื่อ 23 May 2016.
  17. Barraclough, Leo (10 March 2017). "James Bond: Neal Purvis, Robert Wade Approached to Write Next 007 Movie (Report)". Variety. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 April 2019. สืบค้นเมื่อ 18 April 2019.
  18. "Director Sam Mendes Won't Be Back For Bond 25". Slashfilm (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 9 November 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 May 2017. สืบค้นเมื่อ 23 May 2016.
  19. Chavez, Danette. "Christopher Nolan Says He's Definitely Not Directing Bond 25". The A.V. Club (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 February 2018. สืบค้นเมื่อ 25 March 2019.
  20. Hall, Jacob (26 July 2017). "Bond 25 Director Shortlist Includes Yann Demange, Denis Villenueve and David Mackenzie". /Film. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 April 2019. สืบค้นเมื่อ 18 April 2019.
  21. Sharf, Zack (2 January 2018). "Denis Villeneuve Would've Loved to Direct Bond 25, But Nothing Will Get in the Way of Dune". IndieWire. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 April 2019. สืบค้นเมื่อ 18 April 2019.
  22. Kroll, Justin; Kroll, Justin (21 February 2018). "Bond 25: Danny Boyle High on MGM's List to Direct". Variety (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 January 2019. สืบค้นเมื่อ 25 March 2019.
  23. "John Hodge penning Bond 25 script for Danny Boyle". Flickering Myth (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 22 February 2018. สืบค้นเมื่อ 25 March 2019.
  24. "Bond 25 Announcement". The Official James Bond 007 Website (ภาษาอังกฤษ). 25 May 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 March 2019. สืบค้นเมื่อ 25 March 2019.
  25. "Director Danny Boyle Exits Next James Bond Film". The Hollywood Reporter (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 November 2018. สืบค้นเมื่อ 25 March 2019.
  26. "Bond 25 'will miss 2019 release date'". BBC News. 24 August 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 May 2019. สืบค้นเมื่อ 26 December 2019.
  27. Pulver, Andrew (20 July 2018). "Next James Bond villain to be 'cold and charismatic' Russian". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 September 2018. สืบค้นเมื่อ 25 March 2019.
  28. Farley, Harry (22 August 2018). "Danny Boyle quit Bond in dispute over film's Russian villain". The Telegraph. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 November 2019. สืบค้นเมื่อ 4 January 2020.
  29. Pulver, Andrew (21 March 2019). "Danny Boyle says script dispute made him quit Bond 25". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 December 2019. สืบค้นเมื่อ 4 January 2020.
  30. Fleming, Jr, Mike (23 August 2018). "Bond 25 Hasn't Moved Off 2019 Release Date…Yet". Deadline Hollywood (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 March 2019. สืบค้นเมื่อ 25 March 2019.
  31. Lang, Brent; Kroll, Justin (23 August 2018). "Bond 25: With Danny Boyle's Exit, the Latest 007 Could Miss Its Release Date". Variety. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 March 2019. สืบค้นเมื่อ 18 April 2019.
  32. Kroll, Justin (5 September 2018). "Bond 25: Inside the Search for Danny Boyle's Replacement". Variety. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 April 2019. สืบค้นเมื่อ 18 April 2019.
  33. Fleming Jr, Mike (20 September 2018). "Bond 25 Gets Cary Joji Fukunaga As New Director For 007 Daniel Craig". Deadline Hollywood. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 November 2018. สืบค้นเมื่อ 18 April 2019.
  34. Fleming, Jr, Mike (20 September 2018). "'Bond 25' Gets Cary Joji Fukunaga As New Director For 007 Daniel Craig". Deadline Hollywood (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 November 2018. สืบค้นเมื่อ 25 March 2019.
  35. "Cary Joji Fukunaga to make history as first American James Bond director". Independent.ie (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 March 2019. สืบค้นเมื่อ 26 February 2019.
  36. 36.0 36.1 Lang, Brent (15 January 2020). "'No Time to Die': A Rare In-Depth Interview With the Keepers of James Bond". Variety. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 January 2020. สืบค้นเมื่อ 15 January 2020.
  37. Sharf, Zack; Sharf, Zack (7 December 2018). "Bond 25: Cary Fukunaga Recruits Damien Chazelle's Oscar-Winning Cinematographer". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 December 2018. สืบค้นเมื่อ 7 December 2018.
  38. Pulver, Andrew (14 September 2018). "Veteran 007 writers Purvis and Wade rehired to salvage Bond 25". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 March 2019. สืบค้นเมื่อ 25 March 2019.
  39. Chitfeld, Adam (20 April 2020). "Cary Fukunaga Pitched a Version of 'No Time to Die' That Took Place Inside Bond's Head". collider.com. สืบค้นเมื่อ 21 April 2020.
  40. Polito, Thomas (1 January 2019). "Paul Haggis Has Contributed to the Bond 25 Script". GWW. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 April 2019. สืบค้นเมื่อ 14 May 2019.
  41. Pulver, Andrew (19 February 2019). "Bond 25: More Delays as New Writer Hired to Overhaul Script". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 May 2019. สืบค้นเมื่อ 14 May 2019.
  42. "Scott Z. Burns Hired To Rewrite 'Bond 25' For Director Cary Fukunaga". theplaylist.net. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 February 2019. สืบค้นเมื่อ 16 February 2019.
  43. Brooks, Richard (14 April 2019). "Phoebe Waller-Bridge brought in to liven up new Bond script". The Observer. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 April 2019. สืบค้นเมื่อ 14 April 2019.
  44. Mitchell, Robert (17 April 2019). "Phoebe Waller-Bridge to Polish Bond 25 Script". Variety. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 April 2019. สืบค้นเมื่อ 18 April 2019.
  45. 45.0 45.1 "James Bond 25: Rami Malek joins cast and Phoebe Waller-Bridge to co-write". BBC News. 25 April 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 April 2019. สืบค้นเมื่อ 25 April 2019.
  46. Cork, John; Stutz, Collin (2007). James Bond Encyclopedia. London: Dorling Kindersley. pp. 306–7. ISBN 978-1-4053-3427-3.
  47. Dye, Kerry Douglas (15 November 1999). "His Word is Bond: An Interview With 007 Screenwriter Bruce Feirstein". LeisureSuit.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 December 2006. สืบค้นเมื่อ 5 January 2007.
  48. "James Bond producers say a woman will never play the famous spy character". abc.net.au. Australian Broadcasting Corporation. 16 January 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 January 2020. สืบค้นเมื่อ 16 January 2020.
  49. Michallon, Clémence (1 June 2019). "Bond 25: Phoebe Waller-Bridge says film must 'treat women properly'". independent.co.uk. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 June 2019. สืบค้นเมื่อ 2 June 2019.
  50. "Wire Buzz: John Boyega seals Netflix deal; No Time to Die villain details; Mario to Lego". syfy.com. 12 March 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-11. สืบค้นเมื่อ 12 March 2020.
  51. "'No Time to Die' is the official title of Bond 25". 007.com. 20 August 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 August 2019. สืบค้นเมื่อ 20 August 2019.
  52. "James Bond film title revealed as No Time To Die". BBC. 20 August 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 August 2019. สืบค้นเมื่อ 20 August 2019.
  53. "James Bond film title revealed as No Time To Die". bbc.com. BBC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 October 2019. สืบค้นเมื่อ 3 March 2020.
  54. Republic to Film Serling TV Play: Studio Acquires 'Taps on a Bugle,' Third Work Sold by Author of 'Patterns' By Thomas M. Pryor, Special to The New York Times. (1923–Current file) 16 July 1955: 12.
  55. Schallert, Edwin. "'No Time to Die' Bids for Americans; Cooper Classic Soon to Start," Los Angeles Times (1923–Current File) 18 April 1957: C13.
  56. Parkinson, David (Jan 2011). "Broccoli, Albert Romolo (1909–1996)". Oxford Dictionary of National Biography (online ed.). Oxford: Oxford University Press. doi:10.1093/ref:odnb/63151. สืบค้นเมื่อ 1 December 2012. (ต้องรับบริการหรือเป็นสมาชิกหอสมุดสาธารณะสหราชอาณาจักร) (ต้องสมัครสมาชิก)
  57. "Dr. No". AFI Catalog. American Film Institute. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 August 2019. สืบค้นเมื่อ 16 December 2019.
  58. Inside Dr. No Documentary (DVD). Dr. No (Ultimate Edition, 2006): MGM Home Entertainment. 1999.{{cite AV media}}: CS1 maint: location (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]