มีทู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

"มีทู" (อังกฤษ: Me Too) แปลว่า "ฉันด้วย" เป็นแฮชแท็กสองคำที่แพร่หลายรวดเร็วหลังใช้ในสื่อสังคมช่วงเดือนตุลาคม ค.ศ. 2017 เพื่อประณามการประทุษร้ายทางเพศ (sexual assault) และการคุกคามทางเพศ (sexual harassment) หลังจากฮาร์วีย์ เวน์สเตน (Harvey Weinstein) ผู้ผลิตภาพยนตร์ชาวอเมริกัน ถูกกล่าวหาว่าประพฤติมิชอบทางเพศ[1][2][3] วลีนี้ ทารานา เบิร์ก (Tarana Burke) นักกิจกรรมสังคม ใช้ในแง่ดังกล่าวมานานแล้ว ภายหลังจึงเป็นที่นิยมขึ้นเมื่ออะลิสซา มิลาโน (Alyssa Milano) นักแสดงหญิง เชิญชวนผู้หญิงทั้งหลายให้ทวีตสองคำนี้ออกไปเพื่อบอกเล่าประสบการณ์อันจะช่วยชี้ให้เห็นพฤติกรรมเกลียดผู้หญิง[4][5] นับแต่นั้น จึงมีผู้คนนับล้าน รวมถึงผู้มีชื่อเสียงมากมาย ใช้แฮชแท็กนี้แบ่งปันประสบการณ์ของตน[6][7]

ความเป็นมา[แก้]

ทารานา เบิร์ก นักกิจกรรมสังคมและนักจัดการชุมชน ริเริ่มวลี "มีทู" นี้ที่เครือข่ายสังคมมายสเปซ (Myspace)[8] เมื่อ ค.ศ. 2006 โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการระดับรากหญ้าเพื่อส่งเสริม "การสร้างพลังด้วยการรับรู้ร่วมกัน" (empowerment through empathy) ในกลุ่มผู้หญิงผิวสีที่มีประสบการณ์ถูกทารุณทางเพศ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ด้อยโอกาส[4][9][10][11][12] เบิร์กได้สร้างสารคดีชื่อ มีทู โดยแถลงว่า ได้แรงบันดาลใจในการใช้ถ้อยคำนี้มาจากการที่ไม่รู้จะตอบสนองอย่างไรกับเด็กหญิงวัยสิบสามปีที่ไว้ใจเล่าให้เธอฟังว่า ตนถูกทารุณทางเพศ เบิร์กกล่าวภายหลังว่า ตอนนั้นน่าจะได้บอกไปว่า "มีทู" (ฉันก็ด้วย)[8]

ครั้นวันที่ 15 ตุลาคม ค.ศ. 2017 อะลิสซา มิลาโน นักแสดงหญิง เชิญชวนให้เผยแพร่วลีดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการรณรงค์ให้เกิดความตระหนักรู้ จะได้แสดงให้เห็นขอบเขตและความแพร่หลายของปัญหาทางเพศ เธอทวีตว่า "ถ้าผู้หญิงทั้งหลายที่ถูกคุกคามหรือประทุษร้ายทางเพศขึ้นสเตตัสว่า 'ฉันด้วย' อาจทำให้ผู้คนรับรู้ว่าปัญหามันหนักหนาสาหัสเพียงใด" ("If all the women who have been sexually harassed or assaulted wrote 'Me too.' as a status, we might give people a sense of the magnitude of the problem.")[13][14][15][6][4] ภายหลังมิลาโนแถลงว่า วลีนี้เอามาจากเบิร์ก และระบุว่า เรื่องราวของเบิร์กนั้น "อบอุ่นหัวใจและสร้างแรงบันดาลใจ"[8]

ผลพวง[แก้]

จนถึงวันที่ 15 ตุลาคม ค.ศ. 2017 มีการใช้วลีนี้แล้วกว่า 200,000 ครั้ง[16] วันที่ 16 ตุลาคม ค.ศ. 2017 ทวีตออกไปแล้วกว่า 500,000 ครั้ง[1] ส่วนที่เฟซบุ๊ก ภายใน 24 ชั่วโมงแรก มีผู้คนกว่า 4.7 ล้านคนใช้เป็นแฮชแท็กแล้วกว่า 12 ล้านข้อความ[7] มีรายงานว่า ผู้ใช้สื่อสังคมในสหรัฐอย่างน้อย 45% มีเพื่อนที่ใช้วลีดังกล่าว[17]

การตอบสนองในระดับสากล[แก้]

แฮชแท็กนี้ติดอันดับความนิยมในประเทศต่าง ๆ อย่างน้อย 85 ประเทศ ซึ่งรวมถึงปากีสถาน สหราชอาณาจักร และอินเดีย[18]

คำวิจารณ์[แก้]

มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่า แฮชแท็กนี้เป็นการโยนความรับผิดให้ตัวผู้ถูกคุกคามหรือทารุณทางเพศเอง ซึ่งไม่ต่างกับการซ้ำเติม (re-traumatizing)[19][20][21][22] บางคนมองว่า แฮชแท็กนี้ทำให้สังคมเหนื่อยหน่ายและเกรี้ยวโกรธ มากกว่าจะเกิดความเห็นอกเห็นใจกันถ้วนหน้า[23][24] เบิร์กเองเดิมทีก็วิพากษ์ความเคลื่อนไหวนี้ว่า เป็นการเมินเฉยต่อกิจกรรมของหญิงผิวดำในการสร้างวาทกรรมเกี่ยวกับการประทุษร้ายทางเพศ แต่ภายหลังกลับลำสรรเสริญผู้ร่วมเคลื่อนไหว และยกความดีให้มิลาโนที่เอ่ยถึงขบวนการทำนองเดียวกันของตน[9]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 France, Lisa Respers (October 16, 2017). "#MeToo: Social media flooded with personal stories of assault". CNN. สืบค้นเมื่อ October 16, 2017.
  2. Schmidt, Samantha (October 16, 2017). "#MeToo: Harvey Weinstein case moves thousands to tell their own stories of abuse, break silence". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ October 16, 2017.
  3. Chuck, Elizabeth (October 16, 2017). "#MeToo: Alyssa Milano promotes hashtag that becomes anti-harassment rallying cry". NBC News. สืบค้นเมื่อ October 16, 2017.
  4. 4.0 4.1 4.2 Guerra, Cristela (October 17, 2017). "Where'd the "Me Too" initiative really come from? Activist Tarana Burke, long before hashtags - The Boston Globe". BostonGlobe.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-17. สืบค้นเมื่อ October 18, 2017.
  5. Khomami, Nadia (October 20, 2017). "#MeToo: how a hashtag became a rallying cry against sexual harassment" – โดยทาง www.theguardian.com.
  6. 6.0 6.1 "#MeToo: Sexual Harassment and Assault Movement Tweeted Over 500,000 Times as Celebs Share Stories". People. October 16, 2017.
  7. 7.0 7.1 CNN, Cassandra Santiago and Doug Criss. "An activist, a little girl and the heartbreaking origin of 'Me too'". CNN. สืบค้นเมื่อ October 18, 2017.
  8. 8.0 8.1 8.2 Ohlheiser, Abby (October 19, 2017). "The woman behind 'Me Too; knew the power of the phrase when she created it — 10 years ago". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ October 20, 2017.
  9. 9.0 9.1 Hill, Zahara (October 16, 2017). "Black Woman Tarana Burke Founded the "Me Too" Movement". Ebony. ISSN 0012-9011. สืบค้นเมื่อ October 17, 2017.
  10. Leah, Rachel (October 17, 2017). "Hollywood's brightest join the 10-year-old #MeToo movement, but will that change anything?". Salon. สืบค้นเมื่อ October 17, 2017.
  11. Shugerman, Emily (October 17, 2017). "Me Too: Why are women sharing stories of sexual assault and how did it start?". The Independent. สืบค้นเมื่อ October 17, 2017.
  12. Mazza, Ed (October 16, 2017). "#MeToo: Alyssa Milano's Call for Sexual Abuse Victims to Come Forward Goes Viral". HuffPost. สืบค้นเมื่อ October 17, 2017.
  13. Graham, Ruth (October 17, 2017). "Why the #MeToo Moment Is Liberating, Dispiriting, and Uncomfortable All at Once". Slate. สืบค้นเมื่อ October 18, 2017.
  14. Moore, Suzanne (October 16, 2017). "It's not just one monster. 'Me too' reveals the ubiquity of sexual assault". The Guardian. สืบค้นเมื่อ October 16, 2017.
  15. "In saying #MeToo, Alyssa Milano pushes awareness campaign about sexual assault and harassment". Los Angeles Times. Tronc. สืบค้นเมื่อ October 17, 2017.
  16. Sini, Rozina (October 16, 2017). "'MeToo' and the scale of sexual abuse". BBC News.
  17. "More than 12M "Me Too" Facebook posts, comments, reactions in 24 hours". CBS News. October 17, 2017. สืบค้นเมื่อ October 23, 2017.
  18. Strum, Laura. "Twitter chat: What #MeToo says about sexual abuse in society". PBS NewsHour. สืบค้นเมื่อ October 25, 2017.
  19. Schlack, Julie. "#MeToo Flared But Won't Endure". www.wbur.org. NPR. สืบค้นเมื่อ October 19, 2017.
  20. Maltby, Kate. "Mayim Bialik and the trouble with #MeToo". CNN. สืบค้นเมื่อ October 19, 2017.
  21. Gerson, Jen (October 17, 2017). "Jen Gerson: I mean no disrespect when I say that I have a problem with #MeToo". National Post. สืบค้นเมื่อ October 19, 2017.
  22. CNN, Sandee LaMotte,. "#MeToo sexual assault stories trigger trauma for some". CNN. สืบค้นเมื่อ October 20, 2017.{{cite news}}: CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์)
  23. Hempel, Jessi. "The Problem with #MeToo and Viral Outrage | Backchannel". Wired. สืบค้นเมื่อ October 19, 2017.
  24. Charleston, Libby-Jane (October 17, 2017). "Why I'm Not Joining The #MeToo Hashtag Even Though I Was Sexually Harassed". HuffPost. สืบค้นเมื่อ October 19, 2017.