ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:PitchapornN/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประวัติ

[แก้]

นายนิรุฒ มณีพันธ์ (Mr. Niruj Maneepun) เกิดวันที่ 02 กรกฎาคม 2511 สัญชาติไทย อายุ 54 ปี

นายนิรุฒ มณีพันธ์
ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย
ดำรงตำแหน่ง
24 เมษายน 2563 – ปัจจุบัน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด02 กรกฎาคม พ.ศ. 2511 (56 ปี)
เชื้อชาติไทย

ประวัติการศึกษา

[แก้]

ประสบการณ์การทํางาน

[แก้]
ระยะเวลา ตำแหน่ง หน่วยงาน
24 เมษายน 2563 - ปัจจุบัน ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย การรถไฟแห่งประเทศไทย สังกัดกระทรวงคมนาคม
พ.ศ. 2560 - 2563 รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานกำกับกฎเกณฑ์และกฎหมาย

ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)

พ.ศ. 2560 - 2563 เลขานุการคณะกรรมการ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
พ.ศ. 2562 - 2563 กรรมการ บริษัท กรุงไทยพานิชประกันภัย จำกัด (มหาชน)
พ.ศ. 2562 - 2563 กรรมการและรองประธานกรรมการ บริษัท กรุงไทยกฎหมาย จำกัด[1]
พ.ศ. 2557 - 2560 ที่ปรึกษากรรมการผู้อํานวยการใหญ่

(ระดับรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่)

บริษัท การบินไทย จํากัด (มหาชน)
พ.ศ. 2558 - 2560 กรรมการ บริษัท ดอนเมือง อินเตอร์เนชั่นแนล แอร์พอร์ตโฮเต็ล จํากัด
พ.ศ. 2548 - ปัจจุบัน ที่ปรึกษาอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
พ.ศ. 2555 - 2557 รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายทรัพยากรบุคคลและกํากับกิจกรรมองค์กร

บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)

พ.ศ. 2556 - 2557 กรรมการและประธานกรรมการบริหาร บริษัท โรงแรมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จำกัด
พ.ศ. 2555 - 2556 ประธานกรรมการ บริษัท ไทย-อะมาดิอุส เซาท์อีสต์เอเชีย จำกัด[2]
พ.ศ. 2553 – 2555 กรรมการ บริษัท ไทย-อะมาดิอุส เซาท์อีสต์เอเชีย จำกัด
พ.ศ. 2555 - 2556 กรรมการ บริษัท สายการบินนกแอร์ จํากัด (มหาชน)
พ.ศ. 2553 - 2556 กรรมการ บริษัท วิงสแปน เซอร์วิสเซส จำกัด[3]
พ.ศ. 2553 - 2555 รองกรรมการผู้อํานวยการใหญ่ สํานักเลขานุการบริษัท

บริษัท การบินไทย จํากัด (มหาชน)

พ.ศ. 2552 - 2555 เลขานุการบริษัท บริษัท การบินไทย จํากัด (มหาชน)
พ.ศ. 2552 - 2555 ที่ปรึกษาบริษัท บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรนํ้าภาคตะวันออก จํากัด (มหาชน)
พ.ศ. 2551 - 2553 ผู้อํานวยการใหญ่ ฝ่ายกฎหมายและกำกับกิจกรรมองค์กร

บริษัท การบินไทย จํากัด (มหาชน)

พ.ศ. 2551 - 2552 อนุกรรมการพิจารณาโครงการ โครงการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
พ.ศ. 2550 - 2553 ที่ปรึกษาอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏลานนา
พ.ศ. 2549 - 2550 อนุกรรมการบริหารความเสี่ยง สถาบันบริการกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน)
พ.ศ. 2548 - 2549 อนุกรรมการการพิจารณาการออกพันธบัตร สถาบันบริการกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน)
พ.ศ. 2547 - 2550 กรรมการด้านกฎหมายและสัญญา บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
พ.ศ. 2548 - 2551 อัยการจังหวัดประจำกรม
  • สำนักงานที่ปรึกษากฎหมาย สำนักอัยการสูงสุด
  • ปฏิบัติหน้าที่ผู้ช่วยเลขานุการอัยการสุงสุด (นายคัมภีร์ แก้วเจริญ)
  • ปฏิบัติหน้าที่ผู้ช่วยเลขานุการผู้ตรวจราชการอัยการ (นายอรรถพล ใหญ่สว่าง)
พ.ศ. 2541 - 2547 อัยการประจำกรม
  • สำนักงานคดีอาญา
  • สำนักงานคดีศาลแขวง
  • สำนักงานคดีแพ่ง
  • สำนักงานที่ปรึกษากฎหมาย
  • สำนักงานคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร
  • สำนักงานอัยการสูงสุด
  • ปฏิบัติหน้าที่ผู้ช่วยเลขานุการรองอัยการสูงสุด (นายประเวศ มะกรวัฒนะ)
พ.ศ. 2540 - 2541 ผู้ช่วยคณบดี และอาจารย์ประจำ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

หลักสูตรอบรม

[แก้]
  • หลักสูตรจิตวิทยาฝ่ายอำนวยการ รุ่นที่ 102 สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
  • หลักสูตรนักบริหารการยุติธรรมทางปกครองระดับสูง (บยป.) รุ่นที่ 2 วิทยาลัยการยุติธรรมทางปกครอง สำนักงานศาลปกครอง
  • หลักสูตรภูมิพลังแผ่นดิน สำหรับผู้บริหารระดับสูง รุ่นที่ 1 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • หลักสูตรหลักนิติธรรมเพื่อประชาธิปไตย (นธป.) รุ่นที่ 2 วิทยาลัยรัฐธรรมนูญ สถาบันรัฐธรรมนูญ ศึกษาสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ
  • หลักสูตรนักบริหารระดับสูงด้านการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมและการลงทุน (วธอ.) รุ่นที่ 3 สถาบันวิทยาการธุรกิจและอุตสาหกรรม (Institute of Business and Industrial Development)
  • หลักสูตรอบรมด้านหลักนิติธรรม และการพัฒนาที่ยั่งยืน (RoLD) รุ่นที่ 2 สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ)
  • หลักสูตรผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง (บยส.) รุ่นที่ 23 สถาบันพัฒนาข้าราชการ ฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม
  • หลักสูตรฝึกอบรมการพัฒนาผู้บริหารระดับสูง สำนักงานตำรวจแห่งชาติวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ

สถาบันการศึกษา (อาจารย์ด้านกฎหมายให้สถาบันการศึกษาต่างๆ)

[แก้]

เป็นอาจารย์ด้านกฎหมายให้กับสถาบันการศึกษาต่างๆ อาทิ สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติ บัณฑิตยสภา มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยศรีปทุม ในวิชาต่างๆดังนี้

  • วิชากฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (2540-ปัจจุบัน)
  • วิชากฎหมายการลงทุนระหว่างประเทศ (2540-ปัจจุบัน)
  • วิชากฎหมายการค้าระหว่างประเทศ (2540-ปัจจุบัน)
  • วิชากฎหมายสัญญาและละเมิดชั้นสูง (2544-2551)
  • วิชากฎหมายมรดก (2547-2555)

สำนักงานอัยการ

[แก้]

1. อัยการผู้ว่าคดี ทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา โดยมีคดีสำคัญๆ อาทิ

- เป็นอัยการเจ้าของสำนวนและอัยการผู้ว่าคดีแก้ต่างคดีแพ่งให้กับธนาคารแห่งประเทศไทย กรณีที่เอกชนฟ้องธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวอ้างว่า การที่ธนาคารแห่งประเทศไทยมีคำสั่งปิดสถาบันการเงินในปี พ.ศ. 2540 ทำให้เอกชนที่ไม่ได้รับเงินที่กู้ยืมจากสถาบันการเงินที่ถูกผิดได้รับความเสียหาย โดยคดีที่ทุนทรัพย์ที่พิพาทประมาณ 12,000 ล้านบาท จำนวน 1 คดี และประมาณ 8,000 ล้านบาท จำนวน 1 คดี ทั้งนี้ ศาลแพ่งได้พิพากษาให้ธนาคารแห่งประเทศไทยชนะคดี โดยยกฟ้องเอกชนทั้ง 2 คดี

- เป็นอัยการเจ้าของสำนวนและอัยการผู้ดำเนินคดีที่สำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ยื่นข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการ เรียกค่าเสียหายจากการผิดสัญญาตัวแทนจำหน่ายสิทธิในการใช้ตราสัญลักษณ์กีฬาเอเชี่ยนเกมส์ เมื่อปี 2540 จำนวนทุนทรัพย์ 4 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ อนุญาโตตุลาการได้ตัดสินให้เอกชนชดใช้เงินดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยเต็มจำนวน

- เป็นอัยการเจ้าของสำนวนในการดำเนินคดีที่เกี่ยวข้องกับโครงการสัมปทานภาครัฐ

2. อัยการที่ให้คำปรึกษาและตรวจร่างสัญญาแก่รัฐ อาทิ

- เป็นอัยการเจ้าของสำนวนกรณีที่สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีหารือการคำนวณค่าปรับกรณีที่บริษัท ITV ผิดสัญญา

- เป็นอัยการให้คำปรึกษาและ/หรือตรวจร่างสัญญาในเรื่องสำคัญๆ จำนวนมาก โดยเฉพาะ ที่เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง การร่วมทุนหรือการลงทุนในโครงการใหญ่ๆ ให้แก่หน่วยงานของรัฐ

3. อัยการผู้กรองงานให้แก่ผู้บริหารระดับสูงของสำนักงานอัยการสูงสุด ประกอบด้วย

- ปฏิบัติหน้าที่ผู้ช่วยเลขานุการอัยการสูงสุดผู้รับผิดชอบกรองงานคดีแพ่ง และคดีปกครองให้กับอัยการสูงสุด (นายคัมภีร์ แก้วเจริญ)

- ปฏิบัติหน้าที่ผู้ช่วยเลขานุการอัยการสูงสุดผู้รับผิดชอบกรองงานคดีแพ่งให้กับอัยการสูงสุด (นายประเวศ มะกรวัฒนา)

- ปฏิบัติหน้าที่ผู้ช่วยเลขานุการผู้ตรวจราชการสำนักงานอัยการสูงสุด

บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)

[แก้]

1.   การบริหารฝ่ายกฎหมายและกำกับกิจกรรมองค์กร

- ปรับโครงสร้างของฝ่ายฯ ให้เหมาะสมสอดคล้องกับลักษณะธุรกิจ

- สร้างระบบงานภายในฝ่ายฯ เช่น ระบบการให้บริการด้านนิติการ ระบบการตรวจและการจัดทำสัญญา ระบบการบริหารคดีความ และระบบการจัดเก็บและบริหารสัญญาทุกฉบับของการบินไทยทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

- เป็นผู้ริเริ่ม Whistle Blower ในการบินไทย โดยจัดให้มีระเบียบที่เกี่ยวข้อง และจัดตั้งหน่วยงานชื่อ สำนักตรวจการองค์กร (Corporate Inspection Office) ให้อยู่ภายใต้ฝ่ายกฎหมายฯ เพื่อเป็นช่องทางในการรับเรื่องร้องเรียนจากพนักงานทุกระดับ และหน่วยงานภายนอก

- เป็นผู้นำทีมทนายและฝ่ายกฎหมายต่อสู้คดี Antitrust ในประเทศสหรัฐอเมริกาและในสหภาพยุโรปจนชนะคดี ส่งผลให้การบินไทยรอดพ้นจากการถูกปรับเป็นเงินกว่า 2 หมื่นล้านบาท

2.   การบริหารงานด้านการเสริมสร้างธรรมาภิบาลของการบินไทย

- เป็นผู้ผลักดันการเสริมสร้างธรรมาภิบาลในการบินไทย โดยดำเนินการให้มีหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านนี้โดยตรง และทำงานภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการธรรมาภิบาล

- เป็นผู้ริเริ่มให้มีกิจกรรมเพื่อส่งเสริมธรรมาภิบาลภายในการบินไทย เช่น การรับเรื่องร้องเรียน (Whistle Blower) การประกวดคำขวัญเกี่ยวกับธรรมาภิบาล และการจัดบรรยายต่างๆ

- เป็นผู้ดำเนินการให้มีการปรับปรุงระเบียบพัสดุของการบินไทยในสาระสำคัญ จนได้รับรางวัลดีเยี่ยม โครงการประสิทธิภาพดำเนินการพัสดุแบบบูรณาการ จากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.)

3.   การบริหารงานด้าน Compliance ของการบินไทย

- ริเริ่มและผลักดันให้เกิดหน่วยงานที่ดูแลเกี่ยวกับ Corporate Compliance Information Center เพื่อรวบรวมข้อมูลด้าน Compliance ของการบินไทยไว้ที่จุดเดียว

- ให้นโยบายในการทำกิจกรรมด้าน Compliance ทั้งหมด เช่น การกำหนด Corporate Compliance Process, Compliance Bulletin เป็นต้น

4.   งานด้านจัดหาพัสดุภาครัฐการจัดซื้อจัดจ้างและการทำโครงการด้านการจัดหาที่สำคัญของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)

- เป็นรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ที่กำกับดูแลงานด้านจัดซื้อจัดจ้างของบริษัทตั้งแต่ 2553 ถึง 2560 โดยได้กำกับดูแล และเป็นผู้ริเริ่มและร่วมเป็นกรรมการในการจัดทำระเบียบพัสดุทดแทนระเบียบพัสดุเดิม ของบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ที่ทำให้การดำเนินการง่าย และคล่องตัว แต่ขณะเดียวกัน ยังทำให้การซื้อจัดหาของบริษัทเป็นไปอย่างถูกต้องรัดกุมและโปร่งใสมากขึ้น โดยต่อมา ระเบียบพัสดุฉบับดังกล่าวยังได้รับรางวัลดีเยี่ยมในโครงการประสิทธิภาพการดำเนินพัสดุแบบบูรณาการของสำนักงานคณะกรรมการ ปปช. ในปี พ.ศ. 2556

- เป็นประธานคณะกรรมการตรวจสอบเรื่องทุจริตในการจัดหาเครื่องยนต์ (Rolls Royce) และการซ่อมบำรุง ในระหว่างปี 2534 - 2548 ของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)

5.   การจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานภาครัฐ

เป็นกรรมการในคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ. เอกชนร่วมลงทุนฯ พ.ศ. 2556 เพื่อคัดเลือกผู้รับสัมปทานการลงทุน ออกแบบ และก่อสร้างงานโยธาธิการจัดการระบบรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุงรักษา โครงการรถไฟฟ้าสีชมพู ช่วงแคราย – มีนบุรี และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง

ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)

[แก้]

1.   การบริหารงานของสายงานกำกับกฎเกณฑ์และกฎหมาย ของธนาคารฯ

- เป็นศูนย์กลางในการวางแผนกลยุทธ์ของสายงานฯ รวมถึงผลักดันแผนดังกล่าวให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจของธนาคาร

- รับผิดชอบการดูแลภาพรวมเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจของธนาคารทั้งหมดให้เป็นไปตามมาตรฐาน และไม่ขัดต่อระเบียบ ข้อบังคับ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

- ให้ข้อสังเกตและข้อแนะนำที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับระเบียบ ข้อบังคับ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของธนาคารแก่ผู้บริหารระดับสูง และคณะกรรมการของธนาคาร นอกจากนี้ ยังบริหารจัดการให้สายงานฯ สามารถตอบสนองความต้องการในส่วนนี้ต่อพนักงานและผู้บริหารในทุกระดับชั้น

- บริหารทรัพยากรของสายงานฯ ให้สามารถดำเนินงานด้านกฎหมายของธนาคารให้มีมาตรฐาน และเกิดประสิทธิภาพ ตลอดจนการกำกับการดำเนินคดีซึ่งมีมากกว่า 20,000 คดีที่มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ รวมถึงการติดตามทวงถามเร่งรัดหนี้สินเชื่อบุคคล และสินเชื่อธุรกิจเพื่อสนับสนุนการดำเนินกิจการของธนาคารได้อย่างมีคุณภาพ

2.   การกำกับดูแลการจัดซื้อจัดจ้างของธนาคารฯ

เป็นประธานคณะกรรมการพิจารณาด้านพัสดุ (กพพ.) ของธนาคารกรุงไทย ซึ่งทำหน้าที่กำกับ ตีความ และแก้ปัญหาด้านการจัดซื้อจัดจ้างของธนาคารกรุงไทย และบริษัทในเครือให้เป็นไปโดยความเรียบร้อยและถูกต้องตามระเบียบ ข้อบังคับ และกฎหมาย

 3. การปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการบริหารฯ และคณะกรรมการธนาคารกรุงไทย จำกัด มหาชน

 -  ทำหน้าที่กำกับและดูแลให้การนำเสนอ การพิจารณา และการลงมติของคณะกรรมการฯ เป็นไปโดยเรียบร้อย โปร่งใสและมีประสิทธิภาพ สามารถนำไปปฏิบัติอย่างรวดเร็ว และสัมฤทธิ์ผล

 - ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการธนาคารที่ต้องรับผิดชอบในการนำเสนอด้านสินเชื่อของ    ธนาคารต้องเรียนรู้และเข้าใจกระบวนการทางด้านการเงิน การลงทุน การพัฒนาธุรกิจและการบริหารความเสี่ยง โดยต้องสามารถให้ข้อคิดเห็นและคำแนะนำตลอดจนสามารถตรวจสอบความถูกต้อง เหมาะสมในแต่ละโครงการได้ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

การรถไฟแห่งประเทศไทย

[แก้]

งานพัฒนาและบริหารโครงการโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ที่สำคัญ

1.   โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน

-    เร่งรัดการดำเนินเตรียมการส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง การรื้อย้ายสาธารณูปโภค การส่งมอบพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ (Transit Oriented Development) แล้วเสร็จ

-    แก้ไขปัญหาการบริหารสัญญาจนสามารถเดินรถไฟเชื่อมสนามบินสุวรรณภูมิ ให้บริการต่อเนื่องได้เป็นที่เรียบร้อย ไม่มีผลกระทบกับการให้บริการประชาชน

2.  โครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ-นครราชสีมา และส่วนต่อขยายนครราชสีมา-หนองคายและการเตรียมการเชื่อมต่อรถไฟความเร็วสูงจีน-ลาว

- บริหารจัดการการเจรจา จัดทำสัญญา บริหารสัญญาที่เกี่ยวข้องจนสามารถเริ่มงานก่อสร้างงานโยธารถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 1 กรุงเทพ-นครราชสีมา

- ดำเนินการด้านต่าง ๆ จนสามารถออกแบบงานก่อสร้างระยะที่ 2 นครราชสีมา-หนองคาย แล้วเสร็จ โดยใช้บริษัทที่ปรึกษาของไทย เป็นการสนับสนุนองค์ความรู้ที่ได้มาจากการออกแบบของผู้เชี่ยวชาญจากจีน

3.   โครงการก่อสร้างทางคู่ และทางคู่เส้นทางใหม่

- ก่อสร้างโครงการก่อสร้างทางคู่ ระยะที่ 1 สายใต้ นครปฐม-ชุมพร  สายเหนือ ลพบุรี-ปากน้ำโพ สายตะวันออกเฉียงเหนือ มาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ และผลักดันงานปัจจุบันก่อสร้างทางรถไฟทางคู่ ช่วงหัวหิน-ประจวบฯ จนแล้วเสร็จ

- จากปัญหาการก่อสร้างในโครงการก่อสร้างทางคู่ ระยะที่ 1 สายใต้ บริเวณแม่น้ำท่าจีนเนื่องจากสาเหตุการตรวจพบระเบิดในแม่น้ำ ซึ่งปัญหาต้องการการตัดสินใจอย่างรอบคอบ โดยผลักดันจนได้รับการแก้ไขปรับรูปแบบเป็นสะพานขึงทางรถไฟแห่งแรกของประเทศไทย จนสำเร็จอันจะส่งผลให้โครงการก่อสร้างทางคู่สมบูรณ์และปลอดภัยกับประชาชน และเป็นไปตามแผนและนโยบายของรัฐบาล

-   ดำเนินการผลักดันและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ จนมีการดำเนินงานก่อสร้างโครงการทางคู่เส้นทางใหม่แล้วเสร็จ จำนวน 2 สายทาง ประกอบด้วย เส้นทางเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ และเส้นทางบ้านไผ่-นครพนม ซึ่งเป็นโครงการที่ล่าช้าสะสมมาเป็นระยะเวลานานหลายสิบปี

4.   โครงการสายสีแดง และสถานีกลางบางซื่อ

-   สามารถเร่งรัดและเปิดใช้สายสีแดง และสถานีกลางบางซื่อแล้วเสร็จ เมื่อ 29 พฤศจิกายน 2564

-   นำการรถไฟฯ เข้ามีส่วนร่วมในการช่วยแก้ไขปัญหาวิกฤตของประเทศ จากการแพร่ระบาดของ โควิด 19 ด้วยการเปิดให้ใช้สถานีกลางบางซื่อเป็นศูนย์ฉีดวัคซีนขนาดใหญ่และให้บริการประชาชนหลายสิบล้านคน

ด้านการดำเนินงานตามนโยนบายภาครัฐและกระทรวงคมนาคม

การบริหารและดำเนินโครงการตามนโยบายของกระทรวงและรัฐบาล เพื่อประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติ

ริเริ่มโครงการหัวรถจักรไฟฟ้าทดแทนรถจักรดีเซล ตามนโยบายภาครัฐในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอน ซึ่งก่อให้เกิดทั้งมลภาวะและภาวะโลกร้อน รวมถึงเป็นการประหยัดพลังงานโดยจะเริ่มทดสอบ EV on Train ได้ในปลายปี 2565

การสร้างแหล่งรายได้ใหม่และภาพลักษณ์ที่ดีให้กับการรถไฟแห่งประเทศไทย

-   ส่งเสริมบริการขนส่งสินค้าทางรถไฟฯ โดยร่วมมือกับทั้งภาครัฐและเอกชนในการใช้รถไฟในการขนส่งสินค้า

-   ส่งเสริมให้เอกชนใช้พื้นที่สถานีทำกิจกรรมอีเว้นท์ อาทิ งาน Cartier ซึ่งเป็นแบรนด์ระดับโลก สามารถสร้างมูลค่าในด้านการสื่อสารของหัวลำโพงทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เป็นมูลค่าที่สูง ทั้งยังสร้างมูลค่าเพิ่มและส่งผลต่อภาพลักษณ์ในเชิงบวกให้แก่การรถไฟ แห่งประเทศไทย ทำให้รับรู้และรู้จักในระดับสากล       

ด้านการบริหารจัดการภายในองค์กรและการบริหารจัดการเพื่อสังคม 

การบริหารจัดการภายในองค์กร รวมถึงการดูแลบุคลากรของการรถไฟแห่งประเทศไทยและประชาชน

- ดูแลพี่น้องคนรถไฟ ครอบครัว และประชาชนที่อยู่ในชุมชนรถไฟ และละแวกใกล้เคียงในการเข้าถึงการรักษาและดูแลด้านสาธารณสุข ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด -19 จากทีมแพทย์โรงพยาบาลบุรฉัตร  (หน่วยงานของการรถไฟฯ) และทีมงานของการรถไฟฯ เพื่อเป็นการช่วยแบ่งเบาปัญหาสาธารณสุขของภาครัฐ  

-  ร่วมกับคณะแพทย์ศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง ในการทำโครงการ Dr. Train นำรถไฟแพทย์เคลื่อนที่ออกหน่วยช่วยตรวจรักษา โรคหัวใจ โรคปอด และอื่นๆ โดยได้ดำเนินโครงการในที่แรกคือจังหวัดชุมพร มีบุคลากรและประชาชนมาร่วมโครงการฯ กว่า 600 คน พร้อมกันนี้จะมีการเดินสายออกตรวจในพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศ และจะมีการดำเนินการในด้านนวัตกรรมต่าง ๆ และ Telemed เพื่อช่วยทั้งบุคลากรและประชาชนในพื้นที่ห่างไกลให้เข้าถึงบริการทางการแพทย์และเป็นการลดความเหลื่อมล้ำให้สังคม

ด้านการบริหารจัดการทรัพย์สิน

1. การบริหารจัดการที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยคำนึงถึงประโยชน์ขององค์กร ชุมชน และประชาชนที่เกี่ยวข้องอย่างบูรณาการ อาทิเช่น

-  ดำเนินการจัดตั้งบริษัทลูก (บริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด  : SRT Asset) ตามมติคณะรัฐมนตรี พร้อมทั้งมีการสำรวจพื้นที่ทั้งหมดของการรถไฟฯ ให้บริษัทลูกสามารถนำไปพัฒนาต่อ

-   จัดการดูแลที่อยู่อาศัยให้ผู้มีรายได้น้อยที่ขอเช่าที่ดินการรถไฟฯ รวมถึงกรณีที่ต้องมีการสร้าง โครงการฯ และมีการเวนคืน

-  ร่วมกับการเคหะแห่งชาติในการใช้พื้นที่รถไฟฯ สร้างที่อยู่อาศัยให้กับผู้มีรายได้น้อย

-  แก้ปัญหาการบุกรุกที่ดินของการรถไฟฯในพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศ ทั้งการดำเนินการตามกฎหมายรวมถึงการสร้างความชัดเจนระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การใช้พื้นที่ของการรถไฟฯถูกต้องและการรถไฟฯไม่เสียประโยชน์จากการถูกใช้พื้นที่ ในขณะที่องค์กรยังสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนที่เกี่ยวข้องได้

2. การบริหารแก้ไขปัญหาการใช้สถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง (ICD) ลาดกระบัง

-   กำกับ เร่งรัด พิจารณา จนสามารถเก็บค่าขาดประโยชน์ จากการแก้ปัญหาสัญญาสัมปทานของ ICD ลาดกระบัง ที่ขาดรายได้จากสัญญาสัมปทานที่ได้สิ้นสุดไปประมาณ 3 ปี ดำเนินการเรียกเก็บค่าขาดประโยชน์ได้ถึง 867 ล้านบาท โดยไม่กระทบกับการขนส่งสินค้าของการรถไฟฯ

ตำแหน่งที่เคยได้รับพระราชทานเครื่องราชฯ

[แก้]
  • พ.ศ. ปี พ.ศ. 2541 – 2547 ดำรงตำแหน่ง อัยการประจำกรม ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.) ปี 2545

ปี 2545 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)

  • พ.ศ. ปี พ.ศ. 2548 – 2551 ดำรงตำแหน่ง อัยการจังหวัดประจำกรม ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.) ปี 2549 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. 2550 เล่ม 124 ตอนที่ 10ข หน้า 12 ลำดับที่ 27

ปี 2549 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)

คุณงามความดี จิตอาสาที่ทำประโยชน์แก่สาธารณะ

[แก้]

1. ได้บริจาคพลาสม่า กับสภากาชาดไทย เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2564

2. โครงการสร้างสถานปฏิบัติธรรม ภาวนาธรรมวัตราราม ได้ดำเนินการสร้างตั้งแต่วันที่ 28 ม.ค. 2565 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 22 ม.ค. 2566

3. โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณสะพานดำ ย่านสถานีนครลำปาง เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ของจังหวัดลำปาง และเป็นการเสริมภาพลักษณ์ที่ดีต่อการรถไฟแห่งประเทศไทยได้ดำเนินการตั้งแต่ ปี 2564 (เปิดให้ใช้บริการระยะที่ 1 เมื่อวันที่ 1 ม.ค. 2564)

4. กิจกรรม Doctor Train ออกหน่วยแพทย์เฉพาะทางเคลื่อนที่ ระหว่าง รฟท. - สจล. โดยสัญจรไปตามภูมิภาคต่าง ๆ เช่น เส้นทางสายใต้ (จ.ชุมพร เมื่อวันที่ 16 – 17 ส.ค. 2565), เส้นทางสายเหนือ (จ.ลำปาง เมื่อวันที่ 1 – 2 ธ.ค. 2565), ส่วนกลางที่ชุมชนนิคมบ้านพักรถไฟ กม.11 (เมื่อวันที่ 24 – 25 ม.ค. 2566)

5. การจัดตั้งศูนย์ฉีดวัคซีนโควิด 19 ที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ (สถานีกลางบางซื่อ) โดยการรถไฟฯ ภายใต้นโยบายกระทรวงคมนาคมได้จัดให้มีการอำนวยความสะดวกในเรื่องการบริการสถานที่ บุคลากรของการรถไฟฯ และสาธารณูปโภคต่าง ๆ ตั้งแต่วันที่ 24 พ.ค. 2564 - 30 ก.ย. 2565

6. โครงการจัดตั้งศูนย์ต้านภัยโควิด 19 ให้กับพนักงานการรถไฟฯ และครอบครัว พร้อมทั้งประชาชนโดยจัดให้มีสายด่วน 1690 เพื่อเป็นศูนย์กลางในการประสานงานให้ความช่วยเหลือ ทั้งด้านยารักษาโรค อาหาร และเครื่องดื่ม ให้กับผู้ที่ติดเชื้อโควิด 19 เมื่อเดือนมิถุนายน 2564

7. โครงการความร่วมมือระหว่างกระทรวงคมนาคม และกระทรวงสาธารณสุข โดยการรถไฟฯ สนับสนุนการดำเนินการนำส่งผู้ติดเชื้อโควิด 19 กลับสู่ภูมิลำเนา (ผู้ป่วยสีเขียว) ใน 7 จังหวัดภาคอีสานตอนล่าง จำนวน 135 คน ออกเดินทางจากสถานีรถไฟรังสิต จอดแวะส่งตั้งแต่สถานีนครราชสีมา ไปสิ้นสุดที่สถานีอุบลราชธานี เมื่อถึงปลายทางจะมีรถพยาบาลมารอรับผู้ป่วย เมื่อวันที่ 27 ก.ค. 2564

8. โครงการจิตอาสาร่วมพัฒนาและทำความสะอาดบริเวณโดยรอบสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ (สถานีกลางบางซื่อ) เมื่อวันที่ 7 ส.ค. 2564

9. โครงการครัวปันอิ่มร้อยเรียงใจ สู้ภัยโควิด ชุมชนลาดพร้าว เมื่อวันที่ 17 ส.ค. 2564

  1. "WELCOME TO KTBLAW". www.ktblaw.co.th.
  2. "Amadeus Thailand | Travel Industry's technology partner". www.thaiamadeus.com.
  3. "Home - Wingspan" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).