ประเทศซูรินาม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สาธารณรัฐซูรินาม

Republiek Suriname (ดัตช์)
ธงชาติซูรินาม
ธงชาติ
ตราแผ่นดินของซูรินาม
ตราแผ่นดิน
คำขวัญละติน: Justitia - Pietas - Fides
(อังกฤษ: "Justice - Piety - Loyalty")
ที่ตั้งของซูรินาม
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
ปารามารีโบ
ภาษาราชการภาษาดัตช์
การปกครองประชาธิปไตยระบบประธานาธิบดี
• ประธานาธิบดี
เดซี เบาเตอร์เซอ
• รองประธานาธิบดี
Ashwin Adhin
ประกาศเอกราช
25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518
พื้นที่
• รวม
163,270 ตารางกิโลเมตร (63,040 ตารางไมล์) (91)
1.10%
ประชากร
• กรกฎาคม 2549 ประมาณ
439,117 (172)
• สำมะโนประชากร 2547
487,024
3 ต่อตารางกิโลเมตร (7.8 ต่อตารางไมล์) (190)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2560 (ประมาณ)
• รวม
$ 7.928 พันล้าน
$ 13,876
จีดีพี (ราคาตลาด) 2560 (ประมาณ)
• รวม
$ 3.665 พันล้าน
$ 6,415
จีนี (2542)57.6[1]
ข้อผิดพลาด: ค่าจีนีไม่ถูกต้อง
เอชดีไอ (2559)เพิ่มขึ้น 0.725
ข้อผิดพลาด: ค่า HDI ไม่ถูกต้อง · 97th
สกุลเงินดอลลาร์ซูรินาม (SRD)
เขตเวลาUTC-3 (ART)
ขับรถด้านซ้ายมือ
รหัสโทรศัพท์597
โดเมนบนสุด.sr

ซูรินาม (อังกฤษ: Suriname, Surinam, ออกเสียง: /ˈsʊrɨnɑːm/; ดัตช์: Suriname, ออกเสียง: [ˌsyriˈnaːmə], ซือรีนาเมอ) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐซูรินาม (อังกฤษ: Republic of Suriname; ดัตช์: Republiek Suriname) เดิมรู้จักกันในชื่อ "ดัตช์เกียนา" เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ทางเหนือของทวีปอเมริกาใต้ ระหว่างเฟรนช์เกียนาทางทิศตะวันออกกับกายอานาทางทิศตะวันตก เขตแดนทางทิศใต้ติดต่อกับบราซิล ส่วนทางเหนือจรดมหาสมุทรแอตแลนติก พื้นที่ทางใต้สุดของประเทศกำลังเป็นกรณีพิพาทกับกายอานาและเฟรนช์เกียนา

ประวัติศาสตร์

ในปลายศตวรรษที่ 18 อังกฤษได้มาตั้งอาณานิคมริมแม่น้ำซูรินาม ต่อมาเนเธอร์แลนด์ได้ทำความตกลงแลกอาณานิคมกับอังกฤษ โดยที่เนเธอร์แลนด์ได้ครอบครองอาณานิคมซูรินาม ส่วนอังกฤษได้ครอบครองนิวอัมสเตอร์ดัมของเนเธอร์แลนด์ (คือนิวยอร์กในสหรัฐอเมริกาปัจจุบัน)

ในยุคอาณานิคมชาวดัตช์ได้บุกเบิกที่ดินทำไร่ และนำทาสจำนวนมากจากแอฟริกามาใช้ทำงานไร่ ความเป็นอยู่ของทาสในซูรินามนั้นมีความยากลำบากมาก ทาสจำนวนหนึ่งจึงได้หนีเข้าไปตั้งถิ่นฐานในป่าลึก ต่อมาเมื่อมีการเลิกทาส จึงได้มีการนำแรงงานใหม่ที่มีสัญญาจ้างงานมาจากอินโดนีเซีย อินเดีย และจีน แรงงงานเหล่านี้ได้กลายเป็นชนกลุ่มน้อยที่มีจำนวนมากของซูรินาม

ต่อมาในปี พ.ศ. 2497 อาณานิคมซูรินามได้รับการยกฐานะให้เป็นส่วนหนึ่งของเนเธอร์แลนด์ สามารถเลือกผู้แทนตนเองเพื่อบริหารกิจการภายใน แต่กิจการต่างประเทศ และการป้องกันประเทศเป็นหน้าที่ของเนเธอร์แลนด์ ต่อมาซูรินามได้รับเอกราชจากเนเธอร์แลนด์ในปี พ.ศ. 2518

การเมือง

ซูรินามมีประธานาธิบดีซึ่งได้รับเลือกจากสภาเป็นทั้งประมุขของประเทศ และหัวหน้ารัฐบาลทำหน้าที่ในการบริหารประเทศ ดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี ซูรินามได้เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติใน ปี พ.ศ. 2518

การแบ่งเขตการปกครอง

เขตการปกครองของซูรินาม

ซูรินามมีเขตการปกครอง 10 เขต ได้แก่

  1. โบรโกโปนโด (Brokopondo)
  2. โกมเมอไวเนอ (Commewijne)
  3. โกโรนี (Coronie)
  4. มาโรไวเนอ (Marowijne)
  5. นิกเกรี (Nickerie)
  6. ปารา (Para)
  7. ปารามารีโบ (Paramaribo)
  8. ซารามักกา (Saramacca)
  9. ซีปาลีวีนี (Sipaliwini)
  10. วานีกา (Wanica)

ภูมิศาสตร์

วันที่ได้รับเอกราช

25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 (จากเนเธอร์แลนด์)

รัฐธรรมนูญ

ให้สัตยาบัน 30 กันยายน พ.ศ. 2530 ทำสำเร็จ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2530

ฝ่ายบริหาร

ประธานาธิบดีเป็นทั้งประมุขของรัฐและหัวหน้าคณะรัฐบาล เป็นผู้แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งในรัฐสภา หากไม่มีผู้ได้รับการเสนอชื่อประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีคนใดได้รับเสียง 2/3 ของรัฐสภาหลังจากได้รับการลงคะแนนเสียง 2 ครั้ง โดยได้เสียงข้างมาก (ผู้แทน 893 คน มาจากสภาระดับชาติ สภาท้องถิ่น และสภาภูมิภาค) วาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี (ไม่จำกัด)

ฝ่ายนิติบัญญัติ

ระบบสภาเดี่ยว (Unicameral National Assembly) หรือ Nationale Assemblee (51 ที่นั่ง สมาชิกมาจากการเลือกตั้งระบบคะแนนนิยม) วาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี

ฝ่ายตุลาการ

Cantonal Courts Court of Justice ศาลอุทธรณ์ ผู้พิพากษามีวาระการดำรงตำแหน่งชั่วชีวิต (justices are nominated for life) Caribbean Court of Justice (CCJ) ระบบกฎหมาย

ระบบประมวลกฎหมาย ได้รับอิทธิพลมาจากประมวลกฎหมายดัชท์ (Dutch Civil Law)

เศรษฐกิจ

เศรษฐกิจ ในช่วงที่ซูรินามอยู่ภายใต้การปกครองของคณะทหาร ภาวะความไม่แน่นอนทางการเมือง และความวุ่นวายอันเนื่องมาจากการหยุดงานของกรรมกรอยู่เป็นประจำ รวมทั้งการระงับความช่วยเหลือทางการเงินของเนเธอร์แลนด์ มีผลทำให้ภาวะเศรษฐกิจของประเทศตกต่ำลงไปด้วย ต่อมาเมื่อซูรินามมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย เศรษฐกิจของประเทศฟื้นตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว และรายได้ประชาชาติก็เพิ่มขึ้นด้วย

อัตราความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ(2549) 5.8%

ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (2547) 1.09 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

รายได้ประชาชาติต่อหัว (2549) 4,486 ดอลลาร์สหรัฐ

อัตราเงินเฟ้อ (2549) 11.3%

มูลค่าการส่งออก (2549) 1390.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

มูลค่าการนำเข้า (2549) 1297.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

สินค้าออกที่สำคัญ ได้แก่ อะลูมิเนียม ทองคำ น้ำมัน กุ้งและปลาทะเล

สินค้าเข้าที่สำคัญ ได้แก่ สินค้าทุน เครื่องจักร น้ำมัน สินค้าอุปโภคบริโภค

ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐฯ เนเธอร์แลนด์ ญี่ปุ่น ตรินิแดด-โตเบโก


ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)

3.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2554)

GDP รายบุคคล

9,500 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2554)

อัตราการเจริญเติบโต GDP

5% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2554)

GDP แยกตามภาคการผลิต

ภาคการเกษตร 10.8% ภาคอุตสาหกรรม 24.4% ภาคการบริการ 64.8% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2548) อัตราการว่างงาน

9.5% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2547)

อัตราเงินเฟ้อ (Consumer Prices)

6.4% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2550)

ผลผลิตทางการเกษตร

ข้าวเปลือก กล้วย เมล็ดปาล์ม มะพร้าว กล้วยกล้าย(Plantains) ถั่วลิสง เนื้อวัว เนื้อไก่ กุ้งฝอย ของป่า

อุตสาหกรรม

แร่อะลูมิเนียมและทองคำ ผลิตภัณฑ์อะลูมิเนียม น้ำมัน ตัดไม้ สินค้าอุปโภคบริโภค จับปลา

มูลค่าการส่งออก

1.583 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2554)

สินค้าส่งออก

อลูมินา ทอง น้ำมันดิบ ท่อนไม้ กุ้งฝอยและปลา ข้าว กล้วย

ประเทศคู่ค้า (ส่งออก)ที่สำคัญ

นอร์เวย์ 5.5% แคนนาดา 36.8% สหรัฐฯ 12% เบลเยียม 11.6% สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) 6.1% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)

มูลค่าการนำเข้า

1.434 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2554)

สินค้านำเข้า

เครื่องจักร น้ำมัน เครื่องบริโภค ฝ้าย สินค้าจำพวกเครื่องอุปโภคบริโภค

ประเทศคู่ค้า (นำเข้า)ที่สำคัญ

สหรัฐฯ 26.6% เนเธอร์แลนด์ 16% ตรินิแดด-โตเบโก 15.1% จีน 8.4% ญี่ปุ่น 5.5% บราซิล 4.7% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2553)

สกุลเงิน

ดอลลาร์ซูรินาม (Surinam dollar, SRD)

สัญลักษณ์เงิน

SRG

ประชากร

ส่วนใหญ่เป็นชาวอินเดีย 37% ลูกผสมชาวยุโรปและชาวแอฟริกัน 31% ชาวอินโดนีเซีย (ชวา)15% ชาวแอฟริกัน 10% ชนพื้นเมือง 2% ชาวจีน 2% ชาวยุโรป 1% อื่นๆ 2%

วัฒนธรรม

(รอการเพิ่มเติมข้อมูล)

ศาสนา

ศาสนาในประเทศซูรินาม
ศาสนา %
คริสต์นิกายโปรเตสแตนต์
  
25%
คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก
  
23%
พราหมณ์-ฮินดู
  
27%
อิสลาม
  
20%
อื่นๆ
  
5%

ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์รวม 48% ส่วนใหญ่เป็นนิกายโปรเตสแตนต์ 25% นิกายโรมันคาทอลิก 23% ตามมาด้วย พราหมณ์-ฮินดู 27% อิสลาม 20% และอื่น ๆ อีก 5%

ดูเพิ่ม

(รอการเพิ่มเติมข้อมูล)

แหล่งข้อมูลอื่น

(รอการเพิ่มเติมข้อมูล)
  1. "Suriname". World Bank.