ระบบบริการสุขภาพในประเทศญี่ปุ่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพรวมต่อประชากรแบ่งตามประเทศ (Total health spending per capita) ปรับตามภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อของประเทศญี่ปุ่น เปรียบเทียบกับชาติที่พัฒนาแล้วบางส่วน

ระบบบริการสุขภาพในประเทศญี่ปุ่น ให้บริการสุขภาพต่าง ๆ รวมถึง การคัดกรองโรค, การดูแลก่อนคลอด (prenatal care), และการควบคุมโรคติดต่อ ประชาชนของประเทศญี่ปุ่นจะจ่ายค่าบริการสุขภาพสูงสุดไม่เกิน 30% ในขณะที่รัฐบาลจ่ายส่วนที่เหลือ 70% ของค่าบริการทางสุขภาพ การอุดหนุนค่าบริการสุขภาพของประชาชนนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า (universal health care insurance system) ของรัฐบาลซึ่งสร้างการเข้าถึงของประชาชนอย่างเท่าเทียม ด้วยค่าบริการสุขภาพซึ่งตั้งโดยคณะกรรมการของรัฐ กฎหมายของประเทศบังคับให้ประชากรของประเทศญี่ปุ่นทุกคนต้องมีประกันสุขภาพของตัวเอง ผู้ที่ไม่มีประกันสุขภาพซึ่งทำโดยผู้ว่าจ้างงานจะได้รับสิทธิ์ในการเข้าร่วมโครงการประกันสุขภาพของรัฐซึ่งบริหารดูแลโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในระบบนี้ ผู้ป่วยสามารถเลือกแพทย์หรือสถานพยาบาลได้อย่างอิสระโดยที่ประกันสุขภาพไม่สามารถปฏิเสธค่าใช้จ่ายได้ นอกจากนี้สถานพยาบาลในประเทศญี่ปุ่นยังถูกบังคับด้วยกฎหมายให้ต้องดำเนินกิจการในรูปแบบไม่แสวงผลกำไร (non-profit) และต้องบริหารโดยแพทย์เท่านั้น

ค่าบริการทางการแพทย์นั้นถูกกำหนดอย่างเข้มงวดโดยรัฐบาลเพื่อทำให้ราคาไม่สูงเกินไป และผู้ป่วยจะต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลเพียง 10%, 20% หรือ 30% ของค่ารักษาพยาบาลเท่านั้น อัตราส่วนนี้ขึ้นอยู่กับรายได้ของครอบครัวและอายุของผู้ป่วย ส่วนค่าใช้จ่ายส่วนที่เหลือนั้นรัฐบาลเป็นผู้จ่ายให้[1] อย่างไรก็ตามรัฐได้กำหนดขีดเริ่ม (thresholds) ต่อเดือนสำหรับแต่ละครัวเรือน ซึ่งค่ารักษาพยาบาลที่เกินค่าขีดเริ่มที่ตั้งไว้ก็จะถูกยกเลิกทิ้งไปหรือรัฐเป็นผู้อุดหนุนส่วนนั้นแทน ค่าขีดเริ่มนี้จะแบ่งตามรายได้และอายุเช่นเดียวกัน

ผู้ป่วยที่ไม่มีประกันสุขภาพจะต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลเองเต็มจำนวน อย่างไรก็ตามในครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำ รัฐบาลจะยกเลิกค่าใช้จ่ายทั้งหมดและอุดหนุนค่าใช้จ่ายส่วนนั้นแทน

ค่าใช้จ่าย[แก้]

การบริหารเงินทุนส่วนการบริการสุขภาพของประเทศญี่ปุ่น (ปี 2010)[2]
สาธารณะ
14,256 พันล้านเยน(38.1%)
รัฐบาล 9,703 พันล้านเยน (25.9%)
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4,552 พันล้านเยน (12.2%)
ประกันสังคม
18,1319 พันล้านเยน (48.5%)
ผู้ว่าจ้างงาน 7,538 พันล้านเยน (20.1%)
ลูกจ้าง 10,5939 พันล้านเยน (28.3%)
จ่ายด้วยตนเอง (Out-of-pocket) 4,757 พันล้านเยน (12.7%)
อื่น ๆ 274 พันล้านเยน (0.7%)
รวม 37,420พันล้านเยน

ในปี 2008 ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของญี่ปุ่นคิดเป็น 8.2% ของจีดีพี หรือคิดเป็น 2,859.7 ดอลลาร์สหรัฐต่อประชากร สูงเป็นอันดับที่ 20 ในบรรดาประเทศสมาชิกขององค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) และคิดเป็นปริมาณเท่ากับค่าเฉลี่ยรวมของประเทศในกลุ่มด้วย[3] ในปี 2018 สัดส่วนค่าใช้ายของญี่ปุ่นได้เพิ่มเป็น 10.9% ของจีดีพี ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศกลุ่ม OECD ซึ่งอยู่ที่ 8.8%[3]

รัฐบาลญี่ปุ่นสามารถวบคุมรายจ่ายได้เป็นหลายทศวรรษด้วยระบบตารางเวลาการใช้เงินคืนค่าบริการของรัฐที่เป็นระบบระเบียบ (nationally uniform fee schedule for reimbursement) นอกจากนี้รัฐบาลยังสามารถลดค่าบริการนี้ลงได้เมื่อเศรษฐกิจเกิดการชะลอตัวหรือฝืดเคือง[4] ในทศวรรษ 1980 ค่าใช้จ่ายการบริการสุขภาพของญี่ปุ่นได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่นเดียวกับประเทศที่พัฒนาทางอุตสาหกรรมแล้วหลายประเทศ (industrialised nations) ในขณะที่บางประเทศอย่างสหรัฐปล่อยให้ค่าบริการนี้สูงขึ้นเรื่อย ๆ ญี่ปุ่นกลับลงมือจัดการควบคุมอุตสาหกรรมสุขภาพอย่างจริงจังและแน่นหนาเพื่อควบคุมราคาบริการ[5] ค่าบริการสุขภาพทุกรูปแบบจะถูกตั้งและควบคุมทุกสองปีโดยผ่านการเจรจาระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขกับแพทย์ ทุกบริการทางการแพทย์และทุกการใช้ยาจะถูกตั้งราคาไว้ที่มาตรฐานเดียวกันในทุกสถานพยาบาล ทั้งประเทศ หากแพทย์เลือกที่จะหลีกหนีระบบนี้ด้วยการเพิ่มจำนวนบริการทางการแพทย์ให้กับผู้ป่วยเพื่อเพิ่มรายได้ ก็อาจส่งผลให้ในการประเมินตั้งราคาในครั้งถัดไป รัฐบาลอาจลดราคาค่าบริการของบริการทางการแพทย์นั้น ๆ ลง[6] เหตุการณ์นี้เคยเกิดขึ้นแล้วเมื่อปี 2002 เมื่อรัฐบาลลดค่าบริการ MRI ลง 35% จากสองปีก่อนหน้า[6] ดังนั้น จนถึงปี 2009 ค่าบริการ MRI ส่วนช่วงคอจึงอยู่ที่เพียง 98 ดอลลาร์สหรัฐในประเทศญี่ปุ่น เทียบกับในสหรัฐที่อยู่ที่ 1,500 ดอลลาร์สหรัฐ[7]

เมื่อค่าใช้จ่ายทางการแพทย์รวมของผู้ป่วยต่อเดือนนั้นถึงขีดสุดที่รัฐกำหนดไว้ จะไม่มีการเหมาจ่ายต่อไปอีกในเดือนนั้น ๆ[8] ค่าขีดเริ่ม (threshold) ของการเหมาจ่ายต่อเดือนนั้นแบ่งเป็นสามระดับตามรายได้และอายุของผู้ป่วย[4][9]

ประเทศญี่ปุ่นเลือกใช้ยาทั่วไป (generic drugs) เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย ในปี 2010 ญี่ปุ่นมีเป้าหมายในการเพิ่มยาเข้าไปในบัญชียาที่ครอบคลุมโดยประกันสุขภาพของรัฐ อาการเจ็บป่วยต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการสูงอายุยังคงเป็นหนึ่งในความกังวลหลัก ผู้สูงอายุจึงเป็นเป้าหมายหลักของการวิจัยและการตลาดของบริษัทยาในญี่ปุ่น[10]

การจัดสรร[แก้]

แพทย์ที่ให้บริการต่อประชากร ข้อมูลปี 1960 ถึง 2008

ประชากรญี่ปุ่นมีการคาดหมายคงชีพเมื่อเกิด (life expectancy at birth) สูงที่สุดในโลก อยู่ที่ 83 ปี (ข้อมูลปี 2009) แยกเป็นเพศชายอยู่ที่ 79.6 ปี และเพศหญิงที่ 86.4 ปี[3] สิ่งนี้สำเร็จได้ในระยะเวลาที่ค่อนข้างสั้นด้วยการลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคติดต่อลงอย่างรวดเร็วในช่วงทศวรรษ 1950 ถึงต้นทศวรรษ 1960 ตามด้วยการลดอัตตราการเสียชีวิตจากเส้นเลือดในสมองแตกลงอย่างรวดเร็วในช่วงกลางทศวรรษ 1960[11]

ข้อมูลปี 2008 พบว่าจำนวนเตียงผู้ป่วยระยะเฉียบพลัน (acute care beds) ต่อประชากร 1000 คนอยู่ที่ 8.1 สูงกว่าประเทศสมาชิก OECD อย่างสหรัฐ ซึ่งอยู่ที่ 2.7[3] อย่างไรก็ตามการเปรียบเทียบโดยใช้ค่านี้อาจเป็นไปได้ยาก เนื่องจาก 34% ของผู้ป่วยที่เข้าโรงพยาบาลนานกว่า 30 วัน รวมกระทั่งเวลาที่พักรักษาตัวบนเตียง จะถูกรวมเป็นผู้ป่วยระยะเฉียบพลันทั้งหมด[12] โดยเฉลี่ยผู้ป่วยหนึ่งคนพบแพทย์ 13 ครั้งต่อปี มากกว่าสองเท่าของค่าเฉลี่ยรวมของประเทศสมาชิก OECD[13]

ข้อมูลปี 2008 ระบุว่ามีแพทย์ปฏิบัติการ 2.2 คนต่อประชากร 1000 คน ซึ่งใกล้เคียงกับสหรัฐที่ 2.4 ส่วนจำนวนพยาบาลปฏิบัติการอยู่ที่ 9.5 คนต่อประชากร 1000 คน ต่ำกว่าสหรัฐที่ 10.8 อยู่เล็กน้อย และเกือบเท่ากันกับสหราชอาณาจักร (9.5) และแคนาดา (9.2)[3] แพทย์และพยาบาลของญี่ปุ่นจะได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตลอดชีวิต โดยไม่ต้องมีการต่อใบอนุญาต ศึกษาต่อเพิ่มเติม และไม่มีการตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงาน[14] แพทย์ทั่วไป (Generalist) กับแพทย์เฉพาะทาง (Specialist) ในญี่ปุ่นนั้นไม่ได้ถือว่าแตกต่างกันอย่างเป็นทางการ ปกติแล้วในญี่ปุ่น แพทย์จะถูกฝึกฝนให้เป็นแพทย์เฉพาะทางโดยตรง[15] โดยเมื่อจบการศึกษาในสาขาเฉพาะทางแล้ว มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่เลือกประกอบอาชีพในฐานะแพทย์เฉพาะทางด้านที่ได้ศึกษามา ในขณะที่แพทย์ส่วนใหญ่มักเลือกที่จะออกจากโรงพยาบาลขนาดใหญ่และมาประกอบอาชีพในโรงพยาบาลชุมชนขนาดเล็ก ๆ ตามต่างจังหวัดหรือเปิดคลินิกของตนเอง[4] ประเทศญี่ปุ่นไม่มีระบบสำหรับการเป็นแพทย์ทั่วไปโดยตรง ต่างกันกับหลายประเทศ จึงทำให้ผู้ป่วยมักพบแพทย์เฉพาะทางในคลินิกต่าง ๆ โดยตรง ระบบการศึกษาที่เป็นหลักสูตรสำหรับแพทย์ทั่วไปเพิ่งมีครั้งแรกในญี่ปุ่นเมื่อปี 1978 ที่มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ซางะ (Saga Medical University)

คุณภาพ[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-08. สืบค้นเมื่อ 2012-02-01.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  2. National health expenditures summary (Report). Ministry of Health, Labour, and Welfare. 2010-09-27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-11-18.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 OECD. "OECD Health Data". OECD. สืบค้นเมื่อ 2 September 2019.
  4. 4.0 4.1 4.2 Hashimoto, Hideki (24 September 2011). "Cost containment and quality of care in Japan: is there a trade-off?". The Lancet. 378 (9797): 1175. doi:10.1016/S0140-6736(11)60987-2. PMID 21885098.
  5. Arnquist, Sarah (August 25, 2009). "Health Care Abroad: Japan". The New York Times. สืบค้นเมื่อ January 28, 2010.
  6. 6.0 6.1 "Sick around the world". Frontline. April 15, 2008. 17 นาที. PBS.
  7. Reid, T.R. (August 23, 2009). "5 Myths About Health Care Around the World". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ January 28, 2010.
  8. Ito, Masanori (December 2004). "Health insurance systems in Japan: a neurosurgeon's view". Neurologia Medico-Chirurgica. 44 (12): 624. doi:10.2176/nmc.44.617. PMID 15684593.
  9. "Catastrophic coverage". Ministry of Health, Labour and Welfare. สืบค้นเมื่อ 3 February 2012.
  10. Blecken, David (October 2010). "Healthcare Report: Japan: Hope for Change". Campaign Asia-Pacific: 90–91 – โดยทาง Ebscohost.
  11. Ikeda, Nayu (17 September 2011). "What has made the population of Japan healthy?". The Lancet. 378 (9796): 1094–105. doi:10.1016/S0140-6736(11)61055-6. PMID 21885105.
  12. "Patient survey 2008". Ministry of Health, Labour and Welfare. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 January 2012. สืบค้นเมื่อ 3 February 2012.
  13. Britnell, Mark (2015). In Search of the Perfect Health System. London: Palgrave. p. 17. ISBN 978-1-137-49661-4.
  14. Hirose, Masahiro (October 2003). "How can we improve the quality of health care in Japan? Learning from JCQHC hospital accreditation". Health Policy. 66 (1): 32. PMID 14499164.
  15. Matsumoto, Masatoshi (August 2005). "Factors associated with rural doctors' intention to continue a rural career: a survey of 3072 doctors in Japan". The Australian journal of rural health. 13 (4): 219–220. doi:10.1111/j.1440-1584.2005.00705.x. PMID 16048463.

บรรณานุกรม[แก้]

  • 講談社インターナショナル (2003). Bairingaru Nihon jiten (ภาษาญี่ปุ่น) (2003 ed.). 講談社インターナショナル. ISBN 4-7700-2720-6. - Total pages: 798
  • "employees' health insurance". Japan: An Illustrated Encyclopedia. Tokyo: Kodansha Ltd. 1993. ISBN 4069310983. OCLC 27812414. (set), (volume 1). - Total pages: 1924
  • Rapoport, John; Jacobs, Philip; Jonsson, Egon (13 July 2009). Cost Containment and Efficiency in National Health Systems: A Global Comparison Health Care and Disease Management (2009 ed.). Wiley-VCH. ISBN 978-3-527-32110-0. - Total pages: 247