ธงชาติลิเบีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ลิเบีย
การใช้ ธงชาติ Small vexillological symbol or pictogram in black and white showing the different uses of the flag Small vexillological symbol or pictogram in black and white showing the different uses of the flag Reverse side is mirror image of obverse side
สัดส่วนธง 1:2
ประกาศใช้ 24 ธันวาคม 1951; 72 ปีก่อน (1951-12-24)
3 สิงหาคม 2011; 12 ปีก่อน (2011-08-03) (นำกลับมาใช้ใหม่)
ลักษณะ ลักษณะเป็นธงสามแถบแนวนอนสีแดง สีดำ และสีเขียว ที่แถบดำซึ่งกว้างเป็นสองเท่าของแถบสีแดงและสีเขียวนั้นมีรูปจันทร์เสี้ยวและดาวห้าแฉกสีขาว
ออกแบบโดย โอมาร์ ฟาเยก เชนนิบ
ธงชาติฯในรูปแบบอื่น
การใช้ ธงนาวี Small vexillological symbol or pictogram in black and white showing the different uses of the flag Small vexillological symbol or pictogram in black and white showing the different uses of the flag Reverse side is mirror image of obverse side
ลักษณะ ธงสีฟ้าที่มีธงชาติลิเบียอยู่บริเวณบนซ้าย และมีตราสมอสีขาวอยู่ด้านล่างขวา

ธงชาติลิเบีย (อาหรับ: علم ليبيا) ในปัจจุบันเป็นธงชาติเดิมในสมัยสหราชอาณาจักรลิเบีย ระหว่าง พ.ศ. 2494 - พ.ศ. 2512 ซึ่งได้ถูกฟื้นฟูเป็นสัญลักษณ์ของชาติลิเบียอีกครั้งเมื่อเริ่มเกิดการต่อต้านรัฐบาลของพันเอกมูอัมมาร์ กัดดาฟี ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 จนกระทั่งบานปลายไปสู่สงครามกลางเมือง ต่อมาเมื่อกองทัพของสภาถ่ายโอนอำนาจแห่งชาติสามารถยึดกรุงตริโปลีและโค่นล้มรัฐบาลของกัดดาฟีลงได้ จึงได้มีการประกาศฟื้นฟูฐานะธงชาติแบบเดิมขึ้นอีกครั้ง เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม ปีเดียวกัน

ประวัติ[แก้]

ประเทศลิเบียเริ่มมีธงชาติในฐานะรัฐเอกราชครั้งแรกเมื่อลิเบียได้รับเอกราชจากอิตาลีในปี พ.ศ. 2494 ภายใต้ชื่อประเทศสหราชอาณาจักรลิเบีย (อังกฤษ: United Kingdom of Libya, ปกครองด้วยระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ) มีลักษณะเป็นธงสามแถบแนวนอนสีแดง สีดำ และสีเขียว ที่แถบดำซึ่งกว้างเป็นสองเท่าของแถบสีแดงและสีเขียวนั้นมีรูปจันทร์เสี้ยวและดาวห้าแฉกสีขาว

ต่อมาเมื่อพันเอกมูอัมมาร์ กัดดาฟีทำรัฐประหารโค่นล้มรัฐบาลระบอบกษัตริย์ในปี พ.ศ. 2512 และเปลี่ยนชื่อประเทศเป็นสาธารณรัฐอาหรับลิเบีย ธงชาติลิเบียจึงเปลี่ยนไปใช้ธงสามสีสามแถบแนวนอนสีแดง-ขาว-ดำ ตามอย่างธงซึ่งได้รับอิทธิพลจากธงขบวนการปฏิวัติอาหรับ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2515 ลิเบียได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐอาหรับ (มีอียิปต์และซีเรียเป็นสมาชิกร่วมด้วย) ลิเบียจึงรับเอาธงของสหพันธ์ดังกล่าวมาใช้เป็นธงชาติ ซึ่งมีลักษณะคล้ายธงชาติลิเบียในปี พ.ศ. 2512 แต่ได้เพิ่มรูปเหยี่ยวแห่งกูเรช (Hawk of Qureish) สยายปีกสีทองยืนจับม้วนแพรแถบจารึกนามของสหพันธ์ไว้ด้วย[1]

ภายหลังลิเบียได้เปลี่ยนชื่อประเทศเป็นสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนอาหรับลิเบียเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2520 และประกาศเปลี่ยนธงชาติใหม่เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน เพื่อเป็นการตอบโต้การเยือนอิสราเอลของนายอันวาร์ ซาดัต ประธานาธิบดีแห่งอียิปต์ เนื่องจากลิเบียถือว่าอิสราเอลเป็นศัตรูของชนชาติอาหรับทั้งมวล ธงนี้มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน พื้นสีเขียวเกลี้ยง ในยุคสมัยของกัดดาฟีนั้น กล่าวได้ว่าธงนี้เป็นธงชาติเพียงธงเดียวในโลกที่ใช้สีเพียงสีเดียว และไม่มีสัญลักษณ์หรือตัวอักษรใดๆ ประกอบในธงทั้งสิ้น[2] สีเขียวในธงนี้ หมายถึงศาสนาอิสลาม อันเป็นศาสนาประจำชาติ และเป็นสัญลักษณ์ของ "การปฏิวัติเขียว" (The Green Revolution) โดยมูอัมมาร์ กัดดาฟี[3]

ในเหตุการณ์สงครามกลางเมืองลิเบีย พ.ศ. 2554 ได้ปรากฏว่าฝ่ายค้านและกลุ่มผู้ต่อต้านรัฐบาลเผด็จการของพันเอกกัดดาฟีได้ใช้ธงชาติในยุคราชอาณาจักรเป็นสัญลักษณ์ในการต่อสู้อย่างกว้างขวาง ทั้งในบริเวณเขตยึดครองของฝ่ายต่อต้านและโดยกลุ่มผู้คัดค้านรัฐบาลกัดดาฟีที่ชุมนุมประท้วง ณ สถานทูตลิเบียประจำประเทศต่างๆ อีกหลายแห่ง ธงนี้บางครั้งอาจพบว่าไม่มีรูปจันทร์เสี้ยวและดาวสีขาวเพื่อให้สามารถทำธงสัญลักษณ์ของตนได้ง่ายขึ้น [4][5] [6] [7] [8]

การออกแบบ[แก้]

แบบการสร้างธงชาติลิเบียที่ถูกต้อง

การอธิบายเกี่ยวกับธงชาติลิเบียในมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญลงวันที่ 7 ตุลาคม 1951 และได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 1951 โดยมีใจความจากรัฐธรรมนูญว่า:

หมวด 1 ข้อ 7: ธงชาติต้องมีรูปแบบดังต่อไปนี้ ความยาวเป็นสองเท่าของความกว้าง แบ่งออกเป็นแถบสีขนานกัน 3 แถบ แถบสีบนสุดเป็นสีแดง แถบสีดำตรงกลางและแถบสีเขียวล่างสุด แถบสีดำจะต้องมีพื้นที่ต่างกันกับแถบอีกสองแถบรวมกัน และต้องมีรูปพระจันทร์เสี้ยวสีขาวตรงกลาง และปลายพระจันทร์เสี่ยวนั้นจะต้องมีดาวห้าแฉกสีขาว

ทั้งเฉดสีธงที่แม่นยำและโครงสร้างธงชาติทางกฎหมายมีอธิบายไว้ในหนังสือเล่มเล็กที่ออกโดยกระทรวงสารสนเทศแห่งราชอาณาจักรลิเบียในปี 1951[9]

ธงในอดีต[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Smith, Whitney (1975). Flags Through the Ages and Across the World. New York, New York: McGraw-Hill Book Co. p. 361. ISBN 978-0-07-059093-7. {{cite book}}: ตรวจสอบค่า |isbn=: checksum (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  2. "Libya Flag". สืบค้นเมื่อ 2008-06-16.
  3. "Libya". Flags of the World. 2006-09-23. สืบค้นเมื่อ 2007-10-11.
  4. http://www.google.com/hostednews/canadianpress/article/ALeqM5gpm_i4gCtyuAXtsDYQrIX8zrJKHQ?docId=6029350
  5. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-28. สืบค้นเมื่อ 2011-03-01.
  6. http://english.aljazeera.net/indepth/spotlight/libya/2011/02/2011224123588553.html
  7. Janathan S. Landay, Warren P. Strobel and Arwa Ibrahim (18 February 2011). "Violent repression of protests rocks Libya, Bahrain, Yemen". The Kansas City Star. สืบค้นเมื่อ 19 February 2011.
  8. Mark Tran (17 February 2011). "Bahrain in crisis and Middle East protests – live blog". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 19 February 2011.
  9. [English translation based on The Libyan Flag & The National Anthem, a booklet issued by the Ministry of Information and Guidance of the Kingdom of Libya, cited after Jos Poels at FOTW, 27 January 1997]

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]