สภาถ่ายโอนอำนาจแห่งชาติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ลิเบีย

2011–2012
ตราแผ่นดินของลิเบีย
ตราแผ่นดิน
ที่ตั้งของลิเบีย
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
ตริโปลี
ภาษาราชการภาษาอาหรับ
ศาสนา
อิสลาม
การปกครองรัฐเดี่ยว รัฐบาลเฉพาะกาล
ประธาน 
• 2011–2012
มุสตาฟา อับดุล จาลิล
• 2011
มาห์มูด จิบริล
• 2011-2012
อับดุรราฮิม เอล-เคอิบ
สภานิติบัญญัติสภาถ่ายโอนอำนาจแห่งชาติ
ยุคประวัติศาสตร์สงครามกลางเมืองลิเบีย
• การจัดตั้ง
5 มีนาคม 2011
28 สิงหาคม 2011
• การเสียชีวิตของ มูอัมมาร์ กัดดาฟี
20 ตุลาคม 2011
• การมอบอำนาจกับผู้ที่ได้รับการคัดเลือก
8 สิงหาคม 2012
สกุลเงินดีนาร์ลิเบีย (LYD)
ก่อนหน้า
ถัดไป
สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนอาหรับลิเบีย
ลิเบีย

สภาถ่ายโอนอำนาจแห่งชาติ (อังกฤษ: National Transitional Council; อาหรับ: المجلس الوطني الانتقالي) เป็นองค์กรที่ก่อตั้งขึ้นในลิเบีย โดยกลุ่มผู้ก่อการกำเริบใน พ.ศ. 2554 ต่อต้านมูอัมมาร์ กัดดาฟี ประธานาธิบดีแห่งประเทศลิเบีย ตามประกาศการจัดตั้งอันมีขึ้นในเมืองเบงกาซีเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2554 ด้วยวัตถุประสงค์จะให้ปฏิบัติหน้าที่เป็น "โฉมหน้าทางการเมืองของคณะปฏิวัติ" เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2554 สภาได้ออกแถลงการณ์ซึ่งประกาศว่าตนเองเป็น "ผู้แทนเพียงหนึ่งเดียวของลิเบีย"[1][2] สภาได้เรียกรัฐลิเบียว่า "สาธารณรัฐลิเบีย" (อาหรับ: الجمهورية الليبية) [3]

การจัดตั้ง[แก้]

การก่อการกำเริบในลิเบีย[แก้]

หลังจากที่ได้มีการเดินขบวนประท้วงในตูนิเซียและอียิปต์ซึ่งส่งผลให้ผู้นำทั้งสองประเทศลงจากอำนาจนั้น ทางลิเบียก็ได้มีการก่อการกำเริบซึ่งเริ่มขึ้นตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554[4][5] เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ความไม่สงบได้แพร่ไปจนถึงตริโปลี จนกระทั่งปลายเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 พื้นที่ส่วนใหญ่ของลิเบียตกอยู่ภายใต้การควบคุมของฝ่ายต่อต้านกัดดาฟี ลิเบียตะวันออก ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่โดยรอบเบงกาซี เมืองใหญ่อันดับสองและเมืองท่าที่สำคัญของประเทศ อยู่ภายใต้การควบคุมของฝ่ายต่อต้านอย่างมั่นคง และฝ่ายต่อต้านเริ่มต้นจัดระเบียบตนให้มีรัฐบาลปกครอง[6]

การจัดตั้งสภาถ่ายโอนอำนาจแห่งชาติ[แก้]

สภาถ่ายโอนอำนาจแห่งชาติได้รับการจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 เพื่อเป็น "โฉมหน้าทางการเมืองของการปฏิวัติ"[7] โฆษกของสภาประกาศอย่างชัดเจนในการแถลงข่าวว่า สภาถ่ายโอนอำนาจแห่งชาตินี้ไม่ใช่รัฐบาลเฉพาะกาลและเสริมว่าสภาที่เพิ่งจัดตั้งขึ้นใหม่นี้จะไม่ติดต่อกับรัฐบาลต่างชาติและไม่ต้องการให้ต่างชาติยื่นมือเข้ามาแทรกแซง[8]

นักข่าวอัลญะซีเราะฮ์ในเบงกาซี ได้รายงานว่าจะยังไม่มีการจัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกาลเต็มรูปแบบจนกระทั่งตริโปลีจะตกอยู่ภายใต้การควบคุมของฝ่ายต่อต้านรัฐบาล ซึ่งขัดแย้งกับการกล่าวอ้างของอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม มุสตาฟา โมฮัมเหม็ด อบัด อัล-จาลิล ก่อนหน้านี้เกี่ยวกับการจัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกาล ข้อคิดเห็นดังกล่าวได้รับการทำให้ชัดเจนโดยสภาระบุว่าเป็น "ความเห็นส่วนบุคคล" โฆษกของสภาอีกคนหนึ่งกล่าวว่าอัลจาลิลไม่ได้รับมติยอมรับจากกลุ่มกบฏและเมืองทั้งหมดก่อนที่จะแถลงการณ์เกี่ยวกับรัฐบาลเฉพาะกาล ซึ่งได้ก่อให้เกิด "ความรู้สึกขมขื่น" ด้านโฆษกสภายังได้ประกาศอย่างชัดเจนอีกว่า หากรัฐบาลเฉพาะกาลมีการจัดตั้งขึ้นจริง อัล-จาลิลจะมิใช่ผู้นำรัฐบาลและคำแถลงของเขาได้ทำให้ผู้นำฝ่ายค้านบางคน "ประหลาดใจและงุนงง" อัล-จาลิลถูกมองโดยผู้นำฝ่ายต่อต้านรัฐบาลบางคนว่ามีความสัมพันธ์กับระบอบกัดดาฟีมากเกินไป[9]

สมาชิกภาพ[แก้]

อัลญะซีเราะฮ์อิงกลิช ได้รายงานต่อไปว่า แต่ละนครหรือเมืองที่อยู่ภายใต้การควบคุมของฝ่ายต่อต้านรัฐบาลจะได้รับห้าที่นั่งในสภาที่จัดตั้งขึ้นใหม่นี้และจะมีการติดต่อไปยังนครใหม่ที่ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของฝ่ายต่อต้านรัฐบาลเพื่อให้นครเหล่านั้นเข้าร่วมกับสภา อัตลักษณ์ของสมาชิกสภาไม่ได้รับการเปิดเผยในการแถลงจัดตั้งสภา สิ่งที่ทราบกันมีเพียงว่าทนายความสิทธิมนุษยชน Hafiz Ghoga เป็นโฆษกของสภาใหม่นี้[8] นักหนังสือพิมพ์อัลญะซีเราะฮ์อิงกลิชในเบงกาซี กล่าวว่า มุสตาฟา โมฮัมเหม็ด อบัด อัล-จาลิลได้แสดงบทบาทผู้นำในสภาที่จัดตั้งขึ้นใหม่นี้[8]

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ[แก้]

เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2554 ฝรั่งเศสเป็นประเทศแรกที่รับรองสภาถ่ายโอนอำนาจแห่งชาติเป็นผู้แทนเพียงหนึ่งเดียวของลิเบียโดยสำนักประธานาธิบดี นีกอลา ซาร์กอซี หนึ่งวันหลังจากที่สมาชิกรัฐสภาทวีปยุโรปแสดงความต้องการให้สหภาพยุโรปรับรองกลุ่มกบฏ[10] สื่อยังรายงานอีกว่าฝรั่งเศสมีแผนจะส่งเอกอัครราชทูตไปยังเบงกาซี[11] ส่วนทางด้านโปรตุเกส มีรายงานว่า โปรตุเกสได้รับรองสภาถ่ายโอนอำนาจแห่งชาติหลังจากที่ฝรั่งเศสให้การรับรองไปก่อนหน้านี้ โดยมีการแลกเปลี่ยนการรับรองทางการทูตระหว่างกัน[12][13] ขณะที่ยังไม่มีแถลงการณ์อย่างเป็นทางการจากรัฐบาล

อ้างอิง[แก้]

  1. "Ferocious battles in Libya as national council meets for first time". 6 March 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-22. สืบค้นเมื่อ 6 March 2011.
  2. The Interim Transitional National Council Decree 3, published 5 March 2011
  3. "The Libyan Republic - The Interim Transitional National Council". Ntclibya.org. 2011-03-05. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-10. สืบค้นเมื่อ 2011-03-10.
  4. "Live Blog - Libya | Al Jazeera Blogs". Blogs.aljazeera.net. 2011-02-17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-23. สืบค้นเมื่อ 2011-02-23.
  5. "News | Libya February 17th". Libyafeb17.com. สืบค้นเมื่อ 2011-02-23.
  6. "Map of How the Protests Unfolded in Libya". New York Times. 25 February 2011. สืบค้นเมื่อ 26 February 2011]. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-11. สืบค้นเมื่อ 2011-02-28.
  8. 8.0 8.1 8.2 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ en
  9. http://www.seattlepi.com/national/1105ap_af_libya_alternate_leaders.html[ลิงก์เสีย]
  10. "BBC News - Libya: France recognises rebels as government". Bbc.co.uk. สืบค้นเมื่อ 2011-03-10.
  11. "La France reconnaît le CNL comme représentant de la Libye". L'Express. 10 March 2011.
  12. "US OPENING NEWS INCLUDING: Moody's downgraded Spanish sovereign rating to Aa2 from Aa1, with a negative outlook". Proactive Investors UK. 10 March 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-22. สืบค้นเมื่อ 11 March 2011.
  13. "France appoints envoy to rebel Libyan city". The Sydney Morning Herald. 11 March 2011. สืบค้นเมื่อ 11 March 2011.