ระบบขับถ่ายปัสสาวะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ทางเดินปัสสาวะ)
ระบบขับถ่ายปัสสาวะ
รายละเอียด
ตัวระบุ
ภาษาละตินSystema urinarium
MeSHD014551
TA98A08.0.00.000
TA23357
FMA7159
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์

ระบบขับถ่ายปัสสาวะ หรือ ระบบทางเดินปัสสาวะ ประกอบด้วยไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ หน้าที่ของระบบขับถ่ายปัสสาวะ คือ กำจัดของเสียออกจากร่างกาย ควบคุมความดันเลือดและปริมาตรเลือดในกาย ควบคุมระดับอิเล็กโทรไลต์และเมแทบอไลต์ และควบคุมค่าความเป็นกรดเบสของเลือด ทางเดินปัสสาวะเป็นระบบระบายน้ำของร่างกายโดยการขับปัสสาวะออกในท้ายที่สุด[1] ที่ไตมีปริมาณเลือดไหลเข้าจำนวนมากโดยผ่านหลอดเลือดแดงไต และออกจากไตโดยผ่านหลอดเลือดดำไต ไตแต่ละข้างประกอบด้วยหน่วยการทำงานขนาดเล็ก เรียกว่า หน่วยไต เลือดจะถูกกรองและผ่านกระบวนการต่าง ๆ ทำให้ได้ของเสียในรูปของปัสสาวะและออกจากไตทางท่อไต ซึ่งเป็นท่อที่ประกอบด้วยเส้นใยกล้ามเนื้อเรียบที่ดันให้ปัสสาวะไหลสู่กระเพาะปัสสาวะ ซึ่งเป็นที่เก็บปัสสาวะและขับออกนอกร่างกายโดยการถ่ายปัสสาวะ ระบบขับถ่ายปัสสาวะของเพศหญิงและเพศชายคล้ายกันมาก ต่างกันเพียงความยาวของท่อปัสสาวะ[2]

โดยปกติแล้วจะมีปัสสาวะที่ถูกขับออกมา 800–2,000 มิลลิลิตรต่อวันในมนุษย์สุขภาพดี ปริมาณนี้จะแตกต่างกันไปตามการได้รับของเหลวเข้าสู่ร่างกายและการทำงานของไต

โครงสร้าง[แก้]

แบบจำลองสามมิติของระบบขับถ่ายปัสสาวะ
  1. ไต (kidney) ทำหน้าที่กรองของเสียออกจากเลือด ขับออกมาเป็นน้ำปัสสาวะไหลไปตามท่อเล็กๆในไต โดยไปรวมกันที่กรวยไต จากนั้นก็ไหลผ่านท่อไตลงสู่กระเพาะปัสสาวะ พร้อมที่จะขับออกมานอกร่างกายทางท่อปัสสาวะ
  2. ท่อไต (ureter) เป็นท่อที่ออกมาจากไตในแต่ละข้างไปสู่กระเพาะปัสสาวะ
  3. กระเพาะปัสสาวะ (bladder) สามารถบรรจุน้ำปัสสาวะได้ประมาณ 500–1,000 มิลลิลิตร
  4. ท่อปัสสาวะ (urethra) เป็นท่อเล็ก ๆ ที่ออกมาจากกระเพาะปัสสาวะเพื่อจะนำน้ำปัสสาวะออกไปนอกร่างกาย

จุลกายวิภาคศาสตร์[แก้]

ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ ผนังด้านในของระบบขับถ่ายปัสสาวะจะถูกคลุมด้วยเนื้อเยื่อบุผิวชนิดแปรเปลี่ยน แตกต่างกับเนื้อเยื่อบุผิวที่บุอวัยวะส่วนใหญ่ในร่างกาย เนื้อเยื่อบุผิวชนิดแปรเปลี่ยนนี้มีลักษณะทั้งราบเรียบและโป่งขยายได้ โดยจะคลุมส่วนใหญ่ของระบบขับถ่ายปัสสาวะ รวมไปถึงกรวยไต ท่อไต และกระเพาะปัสสาวะ

อ้างอิง[แก้]

  1. "The Urinary Tract & How It Works | NIDDK". National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases.
  2. C. Dugdale, David (16 September 2011). "Female urinary tract". MedLine Plus Medical Encyclopedia.