ทางด่วนคุนหมิง–กรุงเทพ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทางด่วนคุนหมิง–กรุงเทพ
Kunming–Bangkok Expressway
ข้อมูลของเส้นทาง
ความยาว1,900 กิโลเมตร (1,200 ไมล์)
ทางแยกที่สำคัญ
ปลายทางทิศเหนือ คุนหมิง มณฑลยูนนาน จีน
ปลายทางทิศใต้ กรุงเทพมหานคร ไทย
ตำแหน่งที่ตั้ง
ประเทศจีน, ลาว, ไทย
ระบบทางหลวง
ระบบทางหลวงเอเชีย
ถนนคุนหมิง–กรุงเทพ
อักษรจีนตัวเต็ม昆曼公路
อักษรจีนตัวย่อ昆曼公路
ทางด่วนคุนหมิง–กรุงเทพ
อักษรจีนตัวเต็ม昆曼高速公路
อักษรจีนตัวย่อ昆曼高速公路

ทางด่วนคุนหมิง–กรุงเทพ (อังกฤษ: Kunming–Bangkok Expressway) เป็นข้อเสนอทางด่วนระหว่างประเทศ มีเส้นทางจากนครคุนหมิง มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน ไปยังกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ผ่านทางประเทศลาว โดยช่วงแรกของทางด่วนสายนี้เปิดให้บริการใน ค.ศ. 2008[1]

หากสร้างแล้วเสร็จทางด่วนสายนี้จะมีความยาวประมาณ 1,900 กิโลเมตร (1,200 ไมล์) โดยช่วงแรกที่สร้างเสร็จและเปิดให้บริการไปแล้วใน ค.ศ. 2017 มีระยะทาง 730 กิโลเมตร (450 ไมล์) คือจากคุนหมิง ผ่านเสียวเหมิงหย่าง (มีเส้นทางแยกไปยังเชียงรุ่ง) และข้ามชายแดนลาวที่บ่อหาน โดยทั้งหมดอยู่ในพื้นที่ของมณฑลยูนนาน[2] 250 กิโลเมตร (160 ไมล์) ต่อมาของทางเส้นทางจะอยู่ในประเทศลาว ไปตามทางหลวงหมายเลข 13 และทางหลวงหมายเลข 3

การก่อสร้างดังกล่าวได้รับทุนร่วมจากจีน ลาว ไทย และธนาคารพัฒนาเอเชีย

เส้นทางจะลัดเลาะผ่านแนวป่าและที่ราบสูงทางตอนใต้ของมณฑลยูนนานและลาวตอนเหนือก่อนจะเข้าสู่ประเทศไทยที่เชียงของ จากนั้นจะวิ่งต่อไปทางใต้ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 ซึ่งตลอดเส้นทางส่วนใหญ่จะเป็นถนนทางคู่ ทิศทางละ 2 ช่องจราจร จนกระทั่งใกล้ถึงกรุงเทพมหานครถนนจึงจะเป็นถนนที่ใกล้เคียงกับมาตรฐานของทางด่วน

ถนนทั้งหมดในลาวไม่ใช่ถนนมาตรฐานทางด่วน แต่เป็นถนนแบบสองช่องจราจรสวนกันตามข้อมูลในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2019

ช่วง ความยาว1 ทางหลวงหมายเลข สถานะและหมายเหตุ
มณฑลยูนนาน  จีน
คุนหมิง – อฺวี้ซี 86 กิโลเมตร (53 ไมล์) G8511 ทางด่วนคุนหมิง–บ่อหาน ทางด่วน 6 ช่องจราจร แล้วเสร็จ (1999)
อฺวี้ซี – ยฺเหวียนเจียง 112 กิโลเมตร (70 ไมล์) ทางด่วน 4 ช่องจราจร แล้วเสร็จ (2000)
หยวนเจียง – หมัวเฮย์ 147 กิโลเมตร (91 ไมล์) ทางด่วนแล้วเสร็จ (ธ.ค. 2003)
หมัวเฮย์ – ซือเหมา 71 กิโลเมตร (44 ไมล์) ทางด่วนแล้วเสร็จ (เม.ย. 2011)
ซือเหมา – เสียวเหมิงหย่าง 97 กิโลเมตร (60 ไมล์) ทางด่วนแล้วเสร็จ (เม.ย. 2006)
เสียวเหมิงหย่าง – บ่อหาน/บ่อเต็น 217 กิโลเมตร (135 ไมล์) ทางด่วนแล้วเสร็จ
 ลาว
บ่อหาน/บ่อเต็น (ยูนนาน) – นาเตย 20 กิโลเมตร (12 ไมล์) ทล.13 ทางหลวงแล้วเสร็จ
นาเตย – หลวงน้ำทาห้วยทราย 242 กิโลเมตร (150 ไมล์) ทล.3 ทางหลวงแล้วเสร็จ
 ไทย
สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 4เชียงของ 18 กิโลเมตร (11 ไมล์) ทล.1356 ทางหลวงแบ่งแยกทิศทางกระแสจราจร
เชียงของเชียงราย 113 กิโลเมตร (70 ไมล์) ทล.1020 ทางหลวงแบ่งแยกทิศทางกระแสจราจร แต่ว่าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1174/1098/1173 อยู่ระหว่างการก่อสร้าง
เชียงราย – ชัยนาท 562 กิโลเมตร (349 ไมล์) ทล.1 ทางหลวงแบ่งแยกทิศทางกระแสจราจร (ชื่อว่าถนนพหลโยธิน)
ชัยนาท – บางปะอิน 194 กิโลเมตร (121 ไมล์) ทล.32 ทางหลวงแบ่งแยกทิศทางกระแสจราจร
บางปะอิน – กรุงเทพมหานคร 49 กิโลเมตร (30 ไมล์) ทล.1 / ทล.31 ทางหลวงแบ่งแยกทิศทางกระแสจราจร (ชื่อว่าถนนพหลโยธินและถนนวิภาวดีรังสิต)

1นับระยะทางตามถนนที่มีอยู่เดิม หากช่วงนั้นไม่เป็นทางด่วน

ทางด่วนที่มีการวางแผนหรือระหว่างก่อสร้าง ได้แก่ ทางด่วนคุนหมิง–มัณฑะเลย์ (พม่า) และทางด่วนคุนหมิง–ฮานอย (เวียดนาม) ในขณะที่ทางด่วนวังเวียง–เวียงจันทน์สร้างแล้วเสร็จเมื่อ ค.ศ. 2020[3]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Backgrounder: Kunming-Bangkok Expressway links China and ASEAN countries CCTV News - CNTV English". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-20. สืบค้นเมื่อ 2012-08-09.
  2. "Chinese section of Kunming-Bangkok Highway completed". 13 October 2017. สืบค้นเมื่อ 27 May 2019.
  3. "Vientiane to Vangvieng section of China-Laos expressway under construction - Xinhua | English.news.cn". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 25, 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]