ต่ง เจี้ยนหฺวา
ต่ง เจี้ยนหฺวา | |||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
董建華 | |||||||||||||||||||||||||
นายกองค์การบริหารฮ่องกง คนที่ 1 | |||||||||||||||||||||||||
ดำรงตำแหน่ง 1 กรกฎาคม 2540 – 12 มีนาคม 2548 | |||||||||||||||||||||||||
ประธานาธิบดี | เจียง เจ๋อหมิน หู จิ่นเทา | ||||||||||||||||||||||||
หัวหน้ารัฐบาล | หลี่ เผิง อู่ หรงจี หวัง เจิ่งเบา | ||||||||||||||||||||||||
ก่อนหน้า | สถาปนาตำแหน่งใหม่ คริส แพตเทิน (ในนามของผู้ว่าการเกาะฮ่องกงของอังกฤษ) | ||||||||||||||||||||||||
ถัดไป | โดนัลด์ จาง | ||||||||||||||||||||||||
รองประธานสภาที่ปรึกษาทางการเมืองประชาชนจีน | |||||||||||||||||||||||||
ดำรงตำแหน่ง 13 มีนาคม 2548 – 10 มีนาคม 2566 | |||||||||||||||||||||||||
ประธานสภา | เจี่ย จิงหลิน อู่ เจ้อเจียง วัง หยาง | ||||||||||||||||||||||||
ข้อมูลส่วนบุคคล | |||||||||||||||||||||||||
เกิด | เซี่ยงไฮ้, สาธารณรัฐจีน | 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1937||||||||||||||||||||||||
คู่สมรส | เบตตี้ ถัง (สมรส 1981)[1] | ||||||||||||||||||||||||
ที่อยู่อาศัย | Grenville House, Mid-Levels | ||||||||||||||||||||||||
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล (วิทยาศาสตรบัณฑิต) | ||||||||||||||||||||||||
อาชีพ |
| ||||||||||||||||||||||||
ลายมือชื่อ | |||||||||||||||||||||||||
ชื่อภาษาจีน | |||||||||||||||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 董建華 | ||||||||||||||||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 董建华 | ||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||
ต่ง เจี้ยนหฺวา (เกิด 7 กรกฎาคม พ.ศ.2480) เป็นนักธุรกิจชาวฮ่องกงและอดีตผู้บริหารเขตบริหารพิเศษฮ่องกงระหว่างปี 2540 – 2548 ซึ่งเป็นผู้นำคนแรกของฮ่องกงหลังจากอังกฤษส่งมอบคืนเกาะฮ่องกงให้กับจีน นอกจากนี้เขายังเคยเป็นรองสภาที่ปรึกษาทางการเมืองประชาชนจีนในช่วงปี 2548-2566 อีกด้วย
ต่ง เจี้ยนหฺวา เป็นลูกชายคนโตของต่ง เจ้าหรง พ่อค้าแม่เหล็กในเซี่ยงไฮ้ ภายหลังจากการอพยพมายังฮ่องกงหลังพรรคคอมมิวนิสต์จีนสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน จากนั้นก็เริ่มทำธุรกิจในการขนส่งข้ามสมุทรในชื่อบริษัท Orient Overseas Container Line (OOCL) ในปี 2524 เขาได้เข้าคุมบริษัทต่อหลังจากพ่อของเขาเสียชีวิต แต่ในช่วงที่เขาบริหารบริษัท OOCL ก็เกิดวิกฤติจนล้มละลาย แต่ในช่วงวิกฤตินั้นบริษัทของเขาได้รับความช่วยเหลือจากเฮนรี่ ฟอร์คซึ่งทำให้บริษัทของเขาได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลจีน และทำให้เขาได้มีความสัมพันธ์กับคนระดับสูงภายในพรรคคอมมิวนิสต์จีน
ด้วยเส้นสายความสัมพันธ์อันดีกับรัฐบาลจีน ทำให้เขาได้เริ่มเข้าสู่วงการทางการเมืองมากขึ้น และทำให้เขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหนึ่งในรัฐมนตรีของคณะรัฐมนตรีชุดสุดท้ายของคริส แพตเทิน ผู้ว่าการเกาะฮ่องกงของอังกฤษคนสุดท้าย และหลังจากนั้นเขาก็ได้ชนะการเลือกตั้งปี 1996 ภายใต้การสนับสนุนของรัฐบาลคอมมิวนิสต์จีน ซึ่งรัฐบาลของต่ง เจี้ยนหฺวา หลังจากเข้ามาบริหารฮ่องกงในฐานะเขตบริหารพิเศษ ก็เผชิญกับปัญหาและความขัดแย้งมากมาย ไม่ว่าจะเป็นวิกฤติเศรษฐกิจเอเชียปี 2540 การระบาดของไข้หวัดนก และการเรียกร้องประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน ซึ่งในปี 2545 เขาได้รับการเลือกตั้งเป็นสมัยที่สองโดยปราศจากคู่แข่ง ทำให้ยิ่งเผชิญแรงต้านมากขึ้นจากกระแสมวลชนที่ไม่พอใจกับการบริหารของเขาและสิทธิในหลักประชาธิปไตย สุดท้ายทำให้เขาต้องตัดสินใจลาออกในวันที่ 10 มีนาคม 2548
หลังจากลงตำแหน่งผู้นำฮ่องกง เขาก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรองที่ปรึกษาทางการเมืองประชาชนจีน และยังคงมีอิทธิพลอยู่ในฮ่องกงอยู่มาก โดยเขาได้ก่อตั้งกองทุนและองค์กรที่เพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจฮ่องกง และยังมีฉายาว่า “Kingmakers” เพราะคนที่เขาสนับสนุนมักจะสามารถไต่เต้าขึ้นไปเป็นผู้นำของฮ่องกงได้ทุกคน
ชีวิตช่วงต้น
[แก้]ต่ง เจี้ยนหฺวา เกิดเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2480[3] ที่เมืองเซี่ยงไฮ่ประเทศจีน ในครอบครัวพ่อค้าพอมีฐานะ แต่ในวัย 12 ครอบครัวของเขาต้องอพยพลงมาอยู่ที่ฮ่องกงหลังจากที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนสถาปนาการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ขึ้นภายในประเทศเมื่อปี 2492 ซึ่งต่งก็ได้เรียนในฮ่องกงก่อนจะถูกส่งไปเรียนต่อต่างประเทศในอังกฤษและอเมริกา ก่อนจะกลับเข้ามาดำเนินการธุรกิจของครอบครัวอีกครั้งหลังจากเรียนจบ ซึ่งหลังจากพ่อของเขาเสียชีวิตไปในปี 2524 ต่งก็ได้เข้าควบคุมและดำเนินการกิจการของบริษัท Orient Overseas Container Line (OOCL) ต่อ อย่างไรก็ตามเมื่อเขาเข้ามาบริหารกิจการของบริษัทเขาก็เจอกับสภาพเศรษฐกิจที่ไม่ดี และเกิดปัญหาหนี้จนในที่สุดบริษัทก็ต้องยื่นล้มละลายไป แต่ในช่วงวิกฤตินั้นเฮนรี่ ฟอคนักธุรกิจชาวฮ่องกงผู้มีความสัมพันธ์อันดีกับรัฐบาลจีนได้ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือและได้ใช้เส้นสายของตัวเองในการทำให้รัฐบาลจีนช่วยอุ้มบริษัทของเขาเอาไว้ ซึ่งด้วยผลพวงในครั้งนี้ทำให้เข้ามีความสัมพันธ์และรู้จักกับคนระดับสูงภายในพรรคคอมมิวนิสต์หลายคน เช่น เจียง เจ๋อหมิน
หลังจากเหตุการณ์ความช่วยเหลือในครั้งนั้น ทำให้ต่ง เจี้ยนหฺวา เริ่มเข้ามีบทบาททางการเมืองมากขึ้น ในขณะเดียวกันรัฐบาลจีนก็ต้องการยกระดับการเจรจาระหว่างจีนกับอังกฤษในเรื่องของการคืนเกาะฮ่องกงมากขึ้น จีนต้องการคนฮ่องกงที่มีชื่อเสียงหรือมีบทบาททางเศรษฐกิจในการกดดันรัฐบาลฮ่องกงอีกทางหนึ่ง ต่งใช้จุดนี้เริ่มเดินในเส้นทางการเมือง จนในที่สุดเมื่อมีการประกาศอย่างเป็นทางการว่าอังกฤษจะส่งมอบเกาะฮ่องกง เขาก็ได้เข้าร่วมในสภาร่างธรรมนูญการปกครอง ในการร่างธรรมนูญการปกครองของฮ่องกง (Basic Law) และรับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีของคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลของคริส แพตเทิน ก่อนจะลงรับการเลือกตั้งชิงตำแหน่งผู้นำสูงสุดของเขตบริหารพิเศษฮ่องกงในปี 2539 ซึ่งในตอนที่ลงนั้นเขาเป็นม้ารองบ่อนที่แทบไม่มีใครรู้จัก และยังมีบารมีทางการเมืองที่น้อย แต่ด้วยแรงสนับสนุนจากรัฐบาลจีนโดยเฉพาะจากเจียง เจ๋อหมิน ทำให้เขามีฐานเสียงมากขึ้นและชนะการเลือกตั้งจากคณะกรรมการเลือกตั้งที่รัฐบาลปักกิ่งเลือกขึ้นมา และขึ้นเป็นผู้นำเขตบริหารพิเศษฮ่องกงคนแรกหลังจากที่ฮ่องกงกลับสู่ดินแดนจีนอีกครั้ง[4]
ผู้นำเขตบริหารพิเศษฮ่องกง
[แก้]รัฐบาลสมัยแรก
[แก้]หลังจากเข้ามากุมบังเหียน รัฐบาลก็ออกนโยบายที่มุ่งเน้นไปยังโครงสร้างสามกลุ่ม ประกอบด้วย การเคหะ สังคมผู้สูงอายุและภาคการศึกษา[5]โดยเฉพาะเรื่องการเคหะเพราะฮ่องกงประสบปัญหาผู้คนล้นเมืองทำให้ต่งมองว่าฮ่องกงควรจะมีการสร้างแฟลตราคาถูกเพื่อให้คนทั่วไปมีที่อยู่อาศัยเป็นหลักเป็นแหล่ง โครงการของรัฐบาลมองว่าควรจะมีการสร้างแฟลตหรือการเคหะจำนวน 85,000 ยูนิตในแต่ละปี ซึ่งจะเพียงพอและช่วยทำให้คนมีที่อยู่อาศัยได้ อย่างไรก็ตามภายหลังการเข้ามาบริหารรัฐบาลของต่งก็ถูกพิษเศรษฐกิจเล่นงานจากวิกฤติเศรษฐกิจเอเชียปี 2540 ทำให้โครงการที่ต้องใช้เงินเป็นจำนวนมากต้องถูกระงับไป
อย่างไรก็ตามภายใต้การบริหารงานของต่ง เจี้ยนหฺวา โครงการหลายอย่างมักจะถูกตั้งคำถามจากสาธารณชนตลอดจนรัฐบาลกลาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการเอื้อพรรคพวกเพราะโครงการหลายอย่างมักจะถูกสร้างขึ้นเพื่อเอื้อประโยชน์กับกลุ่มธุรกิจอื่น เช่น โครงการ Cyberport อันเป็นโครงการสวนขนาดใหญ่ก็ถูกตั้งคำถามว่าเอื้อประโยชน์การประมูลโครงการให้กับมหาเศรษฐีริชาร์ด ลี หรือการจัดการพื้นที่ของฮ่องกงดิสนีย์แลนด์ด้วยการปล่อยเช่าพื้นที่ด้วยสัญญา 50 ปี และโครงการการสร้างคาสิโนในฮ่องกง นอกจากนี้รัฐบาลต่งยังถูกมองว่าไม่มีประสิทธิภาพในการบริหารสิ่งต่าง ๆ เช่น การรับมือการระบาดของไข้หวัดนกที่ระบาดครั้งใหญ่ การจัดการสนามบิน หรือการรับมือประชากรที่ขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลทำให้ในช่วงปี 2545 คะแนนของต่งตกต่ำลงอย่างรวดเร็ว และเขาเหลือความนิยมแค่เพียง 47 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น
รัฐบาลสมัยที่สอง
[แก้]แม้จะเผชิญกับเสียงวิพากษ์วิจารณ์จำนวนมาก แต่ต่ง เจี้ยนหฺวาก็ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้นำฮ่องกงอีกครั้งในปี 2545 ซึ่งในการเลือกตั้งครั้งนี้ไม่มีใครลงสมัครชิงเป็นคู่แข่ง และแม้ว่าความนิยมจะตกต่ำแต่คนที่เลือกไม่ใช่ประชาชน แต่เป็นรัฐบาลจีนทำให้เขายังสามารถชนะการเลือกตั้งและเข้าบริหารฮ่องกงได้อีกวาระหนึ่ง
การปฏิรูปกลไกราชการ
[แก้]การบริหารงานในฐานะรัฐบาลทำให้เขารู้ว่ากลไกของหน่วยงานราชการในฮ่องกงค่อนข้างที่จะเชื่องช้าและค่อนข้างที่จะไร้ประสิทธิภาพในการสั่งการ ดังนั้นเมื่อเขาเข้ามาอยู่ในตำแหน่งเป็นสมัยที่สองจึงทำการปฏิรูประบบกลไกราชการเสียใหม่ให้มีความรวดเร็วมากขึ้น ระบบใหม่ที่ต่งต้องการนั้นถูกเรียกกันว่า ระบบแบ่งข้าราชการตามสายงานที่รับผิดชอบ (Principal Officials Accountability System) ซึ่งกลไกระบบราชการแต่เดิมของฮ่องกงนั้น บางตำแหน่งระดับสูงเช่นรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ปลัดกระทรวง หรือแม้แต่เจ้าหน้าที่ระดับสูงต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่มาจากการไต่เต้าตำแหน่งตามความสามารถและผลงาน แต่ในการปฏิรูประบบใหม่นี้ให้อำนาจผู้บริหารสูงสุดในการแต่งตั้งคนเข้าไปยังตำแหน่งต่าง ๆ ได้เลย โดยเฉพาะตำแหน่งพวกเจ้ากระทรวงที่ไม่ต้องรอการอนุมัติหรือการแต่งตั้งจากหน่วยงานอื่น ซึ่งจากการปฏิรูประบบราชการใหม่นี้ยังเอื้อให้ผู้นำสภานิติบัญญัติที่เป็นสองพรรคใหญ่ฝ่ายโปรจีนสามารถเข้ามาสู่สภาบริหาร (คณะรัฐมนตรี) ได้โดยตำแหน่ง ยิ่งทำให้พลังของพรรคการเมืองฝ่ายประชาธิปไตยยิ่งอ่อนแอลงเข้าไปอีก
วิกฤติการ์ณทางการเมืองใน 2546
[แก้]เมื่อปี 2546 รัฐบาลฮ่องกงพยายามผ่านร่างกฎหมายในการออกกฎหมายความมั่นคง ตลอดจนเพิ่มบทบัญญัติในธรรมนูญการปกครองฮ่องกงมาตรา 23 ที่ว่าด้วยการลิดรอนสิทธิมนุษยชน สิทธิในการแสดงออก ตลอดจนกิจกรรมทางการเมือง นักข่าว นักหนังสือพิมพ์ นักกฎหมาย[6] สิ่งนี้ทำให้ชาวฮ่องกงไม่พอใจเป็นอย่างมาก เพราะกระบวนการการออกกฎหมายและแสดงความมั่นคงทางการเมืองของรัฐบาลต่งนั้น มีมากกว่าการจัดการโรคไข้หวัดใหญ่และโรคซาร์ที่ระบาดจนมีคนตายไปเป็นจำนวนมาก และมองว่านี่เป็นกระบวนการในการปิดปากประชาชนไม่ให้วิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาล จนในที่สุดก็นำไปสู่การลุกฮือของมวลชนกว่า 600,000 คน ที่ประท้วงตามท้องถนน เพื่อเรียกร้องให้ถอนกฎหมายนี้และให้ต่ง เจี้ยนหฺวา ลาออกจากตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดของฮ่องกง[7] ผลจากการประท้วงในครั้งนั้นทำให้บุคคลสำคัญหลายคนในรัฐบาลและสภาต้องลาออก เช่น หัวหน้าพรรคเสรีนิยมอย่างเจมส์ เถียนที่เป็นสมาชิกสภาบริหารก็ตัดสินใจลาออก เช่นเดียวกับรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย และรัฐมนตรีกระทรวงการคลังที่เป็นตำแหน่งใหญ่ในฮ่องกงตอนนั้นตัดสินใจลาออกเช่นเดียวกัน พร้อมกันนั้นรัฐบาลก็ผ่อนปรนท่าทีด้วยการถอนข้อกฎหมายนั้นออกไปจากฮ่องกง
ลาออก
[แก้]สถานการณ์ในช่วงขวบปีสุดท้ายของต่ง เจี้ยนหฺวา ค่อนข้างที่จะย่ำแย่เป็นอย่างมาก นอกจากเสียวิพากษ์วิจารณ์จากคนภายในแล้ว การเปลี่ยนแปลงภายในของพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่ทำให้หู จิ่นเทาขึ้นมาเป็นใหญ่ในพรรคคอมมิวนิสต์จีน หูยังเริ่มวิพากษ์วิจารณ์ต่งออกสื่อมากขึ้น พร้อมกับกดดันให้ต่งลงจากอำนาจ นอกจากนี้พวกนักธุรกิจชั้นนำและกลุ่มนักธุรกิจต่าง ๆ เริ่มให้การสนับสนุนโดนัลด์ จางในการขึ้นสู่ตำแหน่งผู้บริหารเขตพิเศษฮ่องกงคนต่อไปมากขึ้น[8] แรงกดดันนี้ยิ่งสร้างกระแสการกดดันให้ต่งมากขึ้น สื่อหลายสำนักต่างพิมพ์ข่าวเกี่ยวกับการลาออกเพิ่มขึ้น ยิ่งเมื่อมีข่าวลือว่ารัฐบาลจีนแผ่นดินใหญ่เตรียมตั้งเขาให้เป็นรองสภาที่ปรึกษาทางการเมืองประชาชนจีน ซึ่งอาจเป็นตำแหน่งที่รองรับให้กับเขาหลังจากลงจากตำแหน่งผู้บริหารเขตพิเศษฮ่องกง ต่งไม่ตอบคำถามสื่อในเรื่องนี้แต่สถานการณ์ภายในเป็นที่รับรู้แล้วว่าต่งจะลาออก
วันที่ 10 มีนาคม 2548 ต่ง เจี้ยนหฺวา ประกาศลาออกจากตำแหน่งผู้บริหารเขตพิเศษฮ่องกง โดยอ้าง “ปัญหาสุขภาพ” หลังจากนั้นเขาก็ได้บินไปปักกิ่งทันทีเพื่อรับตำแหน่งในสภาที่ปรึกษาทางการเมืองประชาชนจีน เวลาถัดมาคณะกรรมการการเลือกตั้งได้เลือกให้โดนัลด์ จางขึ้นมารับตำแหน่งเป็นผู้บริหารเขตพิเศษฮ่องกงคนถัดไป
บทบาทหลังจากลงจากอำนาจ
[แก้]ความสัมพันธ์สหรัฐ-จีน
[แก้]ในบทบาทฐานะของรองสภาที่ปรึกษาทางการเมืองประชาชนจีน ต่งมีบทบาทสำคัญในการกระจายและสร้างความรับรู้เรื่องเกี่ยวกับจีน หรือที่เราอาจจะเข้าใจโดยทั่วไปในฐานะของการขยายอิทธิพลทางวัฒนธรรมจีนไปยังต่างประเทศ โดยต่งได้ตั้งมูลนิธิแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมจีน-สหรัฐอเมริกา (China-United States Exchange Foundation (CUSEF)) ขึ้นมา ซึ่งมีหน้าที่ในการให้ทุนกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในอเมริกา เพื่อส่งเสริมและสร้างเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับจีนในมหาวิทยาลัย ทั้งนี้หลายฝ่ายกังวลถึงการเข้าถึงมหาวิทยาลัยจะสร้างอิทธิพลและสร้างกรอบให้กับนโยบายของมหาวิทยาลัย เพราะการให้ทุนของมหาวิทยาลัยแลกมาด้วยการที่ทางมหาวิทยาลัยจะต้องไม่มีนโยบายโจมตีหรือสร้างความเสียหายทางชื่อเสียงให้กับจีน รวมทั้งยังบังคับให้มีมาตรการขั้นเด็ดขาดในการกำราบนักศึกษาที่กระด้างกระเดื่องหรือโจมตีจีน ไม่ว่าจะเป็นคนชาติไหนก็ตาม
ซึ่งในขณะที่ทำเป็นหัวหน้าของมูลนิธิ ต่งก็ถูกจับตามองโดยสมาชิกวุฒิสภาของสหรัฐและนักการเมืองบางส่วนอย่างไม่ไว้วางใจเป็นจำนวนมาก
ผู้กำหนดตัวผู้บริหารเขตพิเศษฮ่องกง
[แก้]ต่ง เจี้ยนหฺวา ยังมีบทบาทในหน้าสื่อต่อไปจากบทบาทของเขาต่อการเมืองในฮ่องกง ที่มักจะมีการเจรจากับกลุ่มนักธุรกิจและเส้นสายทางการเมืองกับจีน จนได้รับฉายาว่า “Kingmakers” ในการทำให้คนที่เขาสนับสนุนสามารถก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดของเกาะฮ่องกงได้ เช่น ในการเลือกตั้งปี 2555 และ การเลือกตั้งปี 2560
ในการเลือกตั้งปี 2555 เขาได้ให้การสนับสนุนกับเหลียง ชุน หยิง นักการเมืองฝ่ายปักกิ่งที่มีสายสัมพันธ์อันดีกับสี จิ้นผิง เพียงแต่ในการเลือกตั้งในตอนนั้นเขาเป็นคนรองบ่อน ที่ไม่ได้มีคะแนนนิยมในฮ่องกง ต่งจึงระดมสรรพกำลังพร้อมด้วยกลุ่มคนที่มีความรู้ความสามารถ เอามาช่วยเหลือเหลียงในแคมเปญการหาเสียง และการทำงาน จนนำไปสู่ชัยชนะของเหลียง ชุน หยิงในการเลือกตั้งครั้งนั้น
อีกครั้งหนึ่งคือการเลือกตั้งเมื่อปี 2560 เมื่อเขาออกหน้าให้การสนับสนุนแคร์รี หลั่ม ทั้งจากหน้าสื่อและการล็อบบี้ยิสต์ ซึ่งเขาได้คุยกับทั้งคนที่มีสิทธิ์เลือกตั้งไปจนถึงคนระดับสูงในการเมืองระดับชาติจีนเพื่อให้การสนับสนุนแครี่ ลัม ด้วยมองว่าเธอนั้นมีศักยภาพพอที่จะคุมสถานการณ์ที่เกิดขึ้นนี้อยู่[9] รวมทั้งพยายามที่จะสกัดคู่แข่งไม่ให้ชนะ ซึ่งรวมถึงแผนการที่อาจจะทำให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะได้หากแคร์รี หลั่มไม่ชนะการเลือกตั้ง ซึ่งส่วนหนึ่งที่ทำให้แคร์รี หลั่มชนะการเลือกตั้งก็มาจากการช่วยเหลือของต่งด้วยส่วนหนึ่ง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ First Lady on the go เก็บถาวร 3 พฤษภาคม 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, South China Morning Post, 25 July 1997
- ↑ "Search". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 July 2015. สืบค้นเมื่อ 1 July 2015. Association for Conversation of Hong Kong Indigenous Languages Online Dictionary for Hong Kong Hakka and Hong Kong Punti (Weitou dialect)
- ↑ Chinese calendar 29 May 1937 as disclosed in directorship filings at UK Companies Registry
- ↑ "HKSAR Chief Executive Tung Chee-hwa Sworn In". China Internet Information Center. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 February 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-02-11.
- ↑ Western, Neil (9 October 1997). "Maiden policy address". The Standard. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 April 2008. สืบค้นเมื่อ 11 January 2007.
- ↑ Staff reporter (7 July 2003). "Bill will limit freedoms say majority of Catholics". The Standard. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 April 2008. สืบค้นเมื่อ 11 January 2007.
- ↑ Paris Lord; Cannix Lau (2 July 2003). "500,000 show anger at 'stubborn' rulers". The Standard. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 April 2008. สืบค้นเมื่อ 11 January 2007.
- ↑ Ng, Michael (18 February 2005). "Ho throws backing behind Tsang". The Standard. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 April 2008. สืบค้นเมื่อ 11 January 2007.
- ↑ "Tung Chee-hwa: Beijing may not appoint Tsang even if he wins". ejinsight.com. 22 February 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 February 2017. สืบค้นเมื่อ 24 February 2017.