ข้ามไปเนื้อหา

ตราแผ่นดินของเนเธอร์แลนด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตราอาร์มของเนเธอร์แลนด์
มหาลัญจกร ใช้ในการประทับตราเอกสารราชการ
ตราอาร์มรุ่นต่าง ๆ
ตราแผ่นดินอย่างย่อใช้โดยรัฐบาลเนเธอร์แลนด์
ตราอาร์มย่อ
รายละเอียด
เริ่มใช้10 กรกฎาคม ค.ศ. 1907
23 เมษายน ค.ศ. 1980
เครื่องยอดพระมหามงกุฎแห่งเนเธอร์แลนด์
โล่พื้นตราสีเงินประลายขีดสั้นสีทอง สิงโตสวมจุลมงกุฎสีทอง เล็บและลิ้นสีแดงมือซ้ายถือดาบสีเงินด้ามสีทอง ในมือขวาถือศรเจ็ดอันสีเงิน แหลมและมัดไว้ด้วยกันสีทอง
ประคองข้างสิงโตยืนผงาดสีทอง เล็บและลิ้นสีแดง
คำขวัญฝรั่งเศส: Je Maintiendrai
ตราย่อ / ตรารุ่นก่อนหน้า24 สิงหาคม ค.ศ. 1815

ตราแผ่นดินของเนเธอร์แลนด์ (ดัตช์: Groot Rijkswapen, อังกฤษ: Coat of arms of the Netherlands) เป็นตราอาร์มส่วนพระองค์ในพระมหากษัตริย์แห่งเนเธอร์แลนด์ รัฐบาลเนเธอร์แลนด์ใช้ตราย่อที่ไม่มีเสื้อคลุมและบางทีก็จะใช้เพียงแต่โล่และพระมหามงกุฎ องค์ประกอบของตราได้รับพระราชทานพระบรมราชานุมัติโดยสมเด็จพระราชินีนาถวิลเฮลมินาตามพระราชบัญญัติเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1907 และได้รับพระราชทานพระบรมราชานุมัติอีกครั้งจากสมเด็จพระราชินีนาถยูเลียนาเมื่อวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 1980 (สำหรับตราที่ใช้อย่างเป็นทางการดูข้อมูลได้ที่สำนักพระราชวังเนเธอร์แลนด์ เก็บถาวร 2008-07-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน)

นิยามของตราอย่างเป็นทางการ

[แก้]
นิยามของตราอย่างเป็นทางการ
อังกฤษ: Azure, billetty Or a Lion with a coronet Or armed and langued Gules holding in his dexter paw a sword Argent hilted Or and in the sinister paw seven arrows Argent pointed and bound together Or. The seven arrows stand for the seven provinces of the Union of Utrecht. The shield is crowned with the (Dutch) royal Crown and supported by two lions Or armed and langued Gules. They stand on a scroll Azure with the text (OR) "Je Maintiendrai" (medieval French for "I will maintain".)
ไทย: พื้นตราสีเงินประลายขีดสั้นสีทอง สิงโตสวมจุลมงกุฎสีทอง เล็บและลิ้นสีแดงมือซ้ายถือดาบสีเงินด้ามสีทอง ในมือขวาถือศรเจ็ดดอกสีเงิน แหลมและมัดไว้ด้วยกันสีทอง ศรเจ็ดดอกเป็นสัญลักษณ์ของเจ็ดจังหวัดของสหภาพอูเทร็คท์ เครื่องยอดเป็นพระมหามงกุฎแห่งเนเธอร์แลนด์ และประคองข้างด้วยสิงโตสีทอง เล็บและลิ้นสีแดง ยืนบนแถบสีเงินอักษรสีทอง ที่มีคำขวัญ “ข้าจะพิทักษ์”
หมายเหตุ: แปลตามศัพท์และหลักไวยากรณ์ของการเขียนนิยามของตรา

สำหรับพระมหากษัตริย์ตราอาร์มตั้งอยู่ในเสื้อคลุมสีแดงบุด้วยขนเออร์มิน เหนือเสื้อคลุมเป็นซุ้มสีแดงเหนือซุ้มเป็นพระมหามงกุฎสีทอง

พระราชประกาศระบุว่าถ้าผู้ครองราชย์เป็นชายก็สามารถเปลี่ยนมงกุฎบนโล่เป็นหมวกเกราะพร้อมเครื่องยอดแห่งนาซอได้

ประวัติและที่มาของตรา

[แก้]

ตราอาร์มปัจจุบันเป็นตราที่ใช้มาตั้งแต่ ค.ศ. 1907 และมีความแตกต่างเพียงเล็กน้อยจากตราเดิมที่ใช้ระหว่างปี ค.ศ. 1815 ถึงปี ค.ศ. 1907 สิงโตทุกตัวสวมพระมหามงกุฎ แต่ต่างจากรุ่นปัจจุบันตรงที่สิงโตประคองข้างหันหน้ามาทางผู้ดูโล่

ตรานี้ได้รับการอนุมัติใช้โดยพระมหากษัตริย์องค์แรกของราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์สมเด็จพระเจ้าวิลเลิมที่ 1 เมื่อขึ้นครองราชย์หลังจากการประชุมแห่งเวียนนาในปี ค.ศ. 1815 ในฐานะพระมหากษัตริย์พระเจ้าวิลเลิมก็ทรงนำเอาองค์ประกอบต่างๆ ของตราอาร์มของราชวงศ์ออเรนจ์-นาซอและของอดีตสาธารณรัฐเนเธอร์แลนด์ที่ใช้ระหว่างปี ค.ศ. 1581 ถึงปี ค.ศ. 1795 มารวมกัน

จากตราของพระราชวงศ์พระองค์ก็ทรงใช้สีเงิน ลายขีดทอง และสิงโตทองสำหรับราชตระกูลนัสเซา ส่วนคำขวัญ “ข้าจะพิทักษ์” เป็นของราชตระกูลออเรนจ์ตั้งแต่ราชรัฐออเรนจ์เข้ามารวมกับราชตระกูลนัสเซา องค์ประกอบที่ว่านี้เป็นองค์ประกอบเดียวกับที่ใช้ในตราอาร์มของสมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 3 แห่งอังกฤษ ผู้ครองราชบัลลังก์อังกฤษระหว่างปี ค.ศ. 1689 ถึงปี ค.ศ. 1702 ผู้เดิมทรงดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าชายแห่งออเรนจ์ จากตราอาร์มของสาธารณรัฐดัตช์พระเจ้าวิลเลิมก็ทรงนำดาบและลูกศรมาใช้ ลูกศรเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดที่ก่อตั้งขึ้นเป็นสาธารณรัฐ

เคานท์แห่งนัสเซา

[แก้]

ตราอาร์มของราชวงศ์นัสเซาเริ่มใช้กันมาตั้งแต่ราวปี ค.ศ. 1250 ที่มีด้วยกันสองแบบสำหรับสองสาขาหลักของตระกูล เมื่อพี่น้องสองคนเคานท์วอลแรมที่ 2 และ เคานท์ออตโตที่ 1 ตกลงแบ่งดินแดนของบิดา (เคานท์เฮนรีที่ 2) ระหว่างกันในปี ค.ศ. 1255

พระมหากษัตริย์แห่งเนเธอร์แลนด์ทรงสืบเชื้อสายมาจากเคานท์ออตโต แกรนด์ดยุคแห่งลักเซมเบิร์กทรงสืบเชื้อสายมาจากเคานท์วอลแรม ทั้งสองสายยังคงใช้ “นัสเซา” ในตราอาร์ม (ข้อมูลหน้า 105 และ 106 ของ เอกสารเกี่ยวกับราชตระกูลของแกรนด์ดยุคแห่งลักเซมเบิร์ก) ทั้งสองสายต่างก็ไม่มีผู้สืบตระกูลที่เป็นชาย


หมวกเกราะและเครื่องยอดที่ใช้สำหรับผู้สืบตระกูลที่ได้ขึ้นครองราชย์ที่เป็นชาย (และยังคงใช้โดยสมาชิกของตระกูลที่เป็นชาย) มีนิยามว่า:


นิยามของตราอย่างเป็นทางการ
อังกฤษ: On a (ceremonial) helmet, with bars and decoration Or and mantling Azure and Or, issuing from a coronet Or, a pair of wings joined Sable each with an arched bend Argent charged with three leaves of the lime-tree stems upward Vert
ไทย: บนหมวกเกราะ เป็นแถบขวางแคบและตกแต่งด้วยสีทองและแพรประดับสีเงินและสีทองห้อยลงมาจากจุลมงกุฎสีทอง เหนือมงกุฎมีปีกสีดำแต่ละปีกเป็นโค้งทแยงสีเงิน หมายด้วยใบไลม์สามใบสีเขียว
หมายเหตุ: แปลตามศัพท์และหลักไวยากรณ์ของการเขียนนิยามของตรา

เครื่องยอดที่ใช้โดยผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากเคานท์ออตโตแตกต่างจากผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากเคานท์วอลแรม ในพระราชประกาศของปี ค.ศ. 1815 เครื่องยอดที่มาจากมงกุฎของตราอาร์มของเนเธอร์แลนด์เป็นเครื่องยอดที่ใช้โดยสายวอลแรม แต่ไม่เป็นที่ทราบถึงสาเหตุของการออกพระราชประกาศนี้

เครื่องยอดของสายวอลแรมนิยามว่า “Between two trunks Azure billetty Or a sitting lion Or” (“ระหว่างสองงวงสีเงิน ลายขีดสีทอง สิงห์นั่งสีทอง”) งวงอาจจะเข้าใจผิดว่าเป็นเขาวัวสองเขาซึ่งเป็นเครื่องยอดที่นิยมใช้กันในตราอาร์มของเยอรมนี บนตราอาร์มของแกรนด์ดยุคแห่งลักเซมเบิร์ก สิงโตสวมมงกุฎ เล็บและลิ้นสีแดง

ราชรัฐแห่งออเรนจ์

[แก้]

คำขวัญได้รับการนำมาใช้โดยสมาชิกผู้ปกครองทุกคนของนาซอ ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งเจ้าชายแห่งออเรนจ์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1530 เมื่อราชวงศ์สองราชวงศ์มารวมตัวกัน เคานท์เฮนรีที่ 3 แห่งนาซอ-เบรดาผู้ที่พำนักอยู่ในกลุ่มประเทศต่ำสมรสกับคลอเดียแห่งเชลอง (Claudia of Châlon) น้องชายของคลอเดียฟิลิแบร์ตแห่งเชลองเป็นเจ้าชายแห่งออเรนจ์องค์สุดท้ายจากตระกูลเชลอง เมื่อฟิลิแบร์ตเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1530 เรอเนบุตรของเฮนรีและคลอเดียก็ได้รับราชรัฐโดยมีข้อแม้ว่าต้องใช้ตำแหน่งและตราอาร์มของตระกูลเชลอง เรอเนจึงได้รับนามว่าเรอเนแห่งเชลอง (René of Châlon) คำขวัญ “ข้าจะพิทักษ์เชลอง” (Je Maintiendrai Châlons) จึงกลายมาเป็นคำขวัญของตระกูล เรอเนเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1544 โดยไม่มีผู้สืบตระกูล วิลเลียมแห่งนาซอ-ดิลเลนเบิร์กผู้เป็นลูกพี่ลูกน้องกันจึงได้รับดินแดนของเรอเน วิลเลียมกลายเป็นวิลเลียมแห่งออเรนจ์ หรือในภาษาอังกฤษรู้จักกันว่าวิลเลียมเดอะไซเลนท์ (William the Silent) ผู้ที่เป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์ออเรนจ์-นัสเซา สิ่งแรกที่วิลเลียมทำคือเปลี่ยนคำขวัญเป็น “ข้าจะพิทักษ์นัสเซา” (Je Maintiendrai Nassau) ต่อมาวิลเลียมหรือบุตรชายก็ละทิ้งชื่อราชวงศ์ออกจากคำขวัญ

ตราอาร์มของราชรัฐแห่งออเรนจ์ก็มิได้ใช้ในตราอาร์มของราชอาณาจักรแต่เป็นส่วนหนึ่งของสัญลักษณ์ส่วนพระองค์และธงของสมาชิกหลายพระองค์ในราชวงศ์เนเธอร์แลนด์

อ้างอิง

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]