ข้ามไปเนื้อหา

สิงโตในมุทราศาสตร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก สิงโต (มุทราศาสตร์))
สิงโตครึ่งตัว
บนเครื่องยอด
สิงโตที่ใช้เป็น
เครื่องหมายหลัก

สิงโต (อังกฤษ: Lion) เป็นสัตว์ที่นิยมใช้เป็นเครื่องหมายกันในตราอาร์มกันมากที่สุดเครื่องหมายหนึ่ง เพราะเป็นสัตว์ที่เป็นสัญลักษณ์ของความกล้าหาญ การรักษาเกียรติยศ ความแข็งแกร่ง และ ความเป็นสัตว์ที่ถือกันว่าสูงศักดิ์ ที่เดิมถือกันว่าเป็นราชาแห่งสัตว์ทั้งปวง

ลักษณะการวางท่า

[แก้]

ลักษณะการวางท่าของสิงโตก็มีด้วยกันหลากหลายเพราะความพยายามที่จะสร้างความแตกต่างระหว่างตราหรือธง แต่ในยุคกลางลักษณะการวางท่าของสิงโตมีอยู่เพียงไม่กี่ท่าที่ใช้กัน[1] สิ่งที่มักจะสร้างถกเถียงกัน (โดยเฉพาะในตราอาร์มของฝรั่งเศส) คือความแตกต่างระหว่างสิงโตในท่าเดินว่าเป็น “เสือดาว” หรือไม่[1] ลักษณะการวางท่าหลักของสิงโตในตราอาร์มก็ได้แก่:

ชื่อท่า ตัวอย่าง คำบรรยาย
“Rampant”
“ยืนผงาด”
“ยืนผงาด” เป็นท่าที่พบบ่อยที่สุด เป็นท่ายืนตรงหันข้างยกขาหน้า[2] ตำแหน่งของขาหลังของท่านี้ก็แตกต่างกันออกไป บางท่าก็จะยืนกางขาบนสองเท้าหลัง หรือยืนบนขาเดียว อีกขาหนึ่งยกขึ้นพร้อมที่จะตะปบ คำว่า “rampant” มักจะไม่ใช้ โดยเฉพาะในนิยามของตราในสมัยต้นๆ เพราะเป็นท่าที่ใช้กันเป็นปกติ

ข้อสังเกต: บางครั้งท่านี้ก็เรียกว่า “segreant” แต่เป็นท่าเดียวกับที่ใช้สำหรับกริฟฟินและมังกร[3]

“Passant”
“ยืนยกเท้าหน้า”
“ยุรยาตรยกเท้าหน้า”
“ยืนยกเท้าหน้า” เป็นท่ายืนขณะที่ยกอุ้งเท้าหน้า สามขายืนบนดิน[4] “สิงโตของอังกฤษ” เป็นสิงโตที่มีคำนิยามว่า “สิงห์ยืนยกเท้าหน้าสีทอง” (lion passant guardant Or) ที่เป็นสัญลักษณ์ที่มาเพิ่มเติมเพื่อเกียรติยศ (Augmentation of honour) [4]

ข้อสังเกต: สิงโตที่ใช้ท่านี้อาจจะเรียกว่า “เสือดาว” (ดูคำอธิบายข้างล่าง)

“Statant”
“ยืน” / “ยุรยาตร”
“ยืน” เป็นท่าที่ทั้งสี่เท้าอยู่บนพื้น และขาหน้ามักจะชิดกัน[5] ท่านี้เป็นท่านิยมใช้สำหรับบนเครื่องยอดมากกว่าที่จะท่าที่ใช้เป็นตราบนโล่หลัก[6]
“Salient”
“กระโจน”
“กระโจน” เป็นท่าที่ยืนบนขาหลังสองขาชิดกัน และสองขาหน้ายกขึ้นพร้อมกันในท่าพร้อมที่จะกระโจน[6] ท่านี้หาดูได้ยากสำหรับการใช้กับสิงโต[6] แต่เป็นท่าที่ใช้ได้กับสัตว์อื่นๆ บนตราได้
“Sejant”
“นั่ง”
“นั่ง” เป็นท่านั่งคร่อมที่ขาหน้าทั้งสองขาอยู่บนพื้น[7]
“Sejant erect”
“นั่งยกเท้าหน้า”
“นั่งยกเท้าหน้า” เป็นท่านั่งแต่หลังตรง และขาหน้าทั้งสองยกขึ้นในท่าเดียวกับท่ายกขาหน้าของท่า “Rampant” ที่บางครั้งทำให้เรียกท่านี้ว่า “Sejant-rampant”[7]
“Couchant”
“นอนสง่า”
“นอนสง่า” เป็นท่านอนแต่ยกหัว[8]
“Dormant”
“หลับ”
“หลับ” เป็นท่านอนก้มหัวหนุนอุ้งเท้าหน้าและปิดตาเหมือนหลับ[8]

ลักษณะการวางท่าอื่นนอกจากนี้ก็ยังเป็นการและบรรยายอย่างละเอียด สิ่งที่น่าสังเกตคือตราอาร์มจะมีด้านซ้าย และ ขวา (dexter และ sinister) ของผู้ถือโล่ - ฉะนั้นเมื่อวาดเป็นรูปด้านซ้ายของโล่จึงเรียกว่าด้านขวา (sinister) เพราะเป็นด้านขวาของผู้ถือโล่ และ ด้านขวาของโล่จึงเรียกว่าด้านซ้าย (dexter) เพราะเป็นด้านซ้ายของผู้ถือโล่ (ซึ่งตรงกันข้ามกับความหมายของคำ เพราะตามปกติแล้วคำว่า “dexter” แปลว่า “ขวา” และ คำว่า “sinister” แปลว่า “ซ้าย”) หัวสิงห์โดยทั่วไปแล้วจะบรรยายว่าหันหน้าไปทางขวา ซึ่งเมื่อวาดเป็นรูปจึงหันไปทางซ้ายของผู้ดูโล่ นอกจากจะระบุเป็นอื่น ถ้าร่างทั้งร่างของสิงห์หันไปทางขวา ก็เท่ากับหันไปทางซ้าย (to sinister) หรือ “contourné” ถ้าร่างทั้งร่างของสิงห์หันมาหน้ามาทางผู้ดูก็จะเรียกว่า “ประจันหน้า” (affronté) ถ้าหันแต่หัวมาทางผู้ดูก็จะเรียกว่า “หันหน้า” (guardant หรือ gardant) ถ้าหันข้ามไหล่ไปทางด้านหลักก็จักเรียกว่า “เอี้ยวคอ” (regardant)

ถ้าบรรยายว่า สิงโต (หรือสัตว์อื่น) ทำท่า “ขลาด” (coward) ก็จะเป็นท่าที่เอาหางซ่อนไว้ระหว่างขาหลัง[9] หรือบางครั้งหางก็อาจจะเป็น “หางปม” (nowed), “หางแฉก” (queue fourchée) หรือ “สองหาง” (double-queued) ตราของราชอาณาจักรโบฮีเมียใช้สิงห์หางแฉก

สิงโต หรือ เสือดาว

[แก้]
สิงห์ยืนยกเท้าหน้า: สิงโต หรือ เสือดาว

สิงโตในตราอาร์มของเวลส์และอังกฤษใช้ลักษณะการวางท่าที่เรียกว่า “สิงห์ยืนยกเท้าหน้าหันหน้า” (“passant gardant”) การระบุว่าเป็นสัตว์ชนิดใดเป็นเรื่องที่มีการโต้เถียงกันเป็นอย่างมาก บ้างก็ว่าท่านี้เป็นท่าของเสือดาวไม่ใช่สิงโต แต่สัตว์ที่ปรากฏบนตรามีขนหัวอย่างสิงโตตัวผู้ โดยทั่วไปแล้วก็จะเรียกว่าสิงโต

การใช้สิงโตเป็นสัญลักษณ์

[แก้]
ภาพวาดสิงห์ในถ้ำลาส์โกซ์ในประวัติศาสตร์
สิงโตมีปีกที่เป็นสัญลักษณ์ของนักบุญมาร์คซึ่งเป็นสัญลักษณ์ประจำเมืองเวนิส (รายละเอียดของภาพเขียนโดยวิตโตเร คาร์พัชชิโอ, ค.ศ. 1516)

สิงโตเป็นสัตว์ที่ใช้เป็นสัญลักษณ์มาตั้งแต่สมัยหิน นักล่าสัตว์ในระหว่างยุคน้ำแข็งของอารยธรรมออริยาเชียน (Aurignacian) ใช้สิงโตเป็นสัญลักษณ์มากว่า 30,000 ปีโดยแสดงภาพสิงโตตัวเมียล่าสัตว์ที่มีท่าทางผยองที่ไม่ต่างไปจากสิงโตร่วมสมัย หลังจากนั้นก็มีการใช้สิงโตตัวเมียเป็นส่วนใหญ่ในการเป็นสัญลักษณ์ของการพิทักษ์และผู้นำทางการสงคราม

ภาพเขียนในที่เก็บศพที่นาคาดา (Naqada) ในอียิปต์เป็นภาพที่เขียนก่อนที่อารยธรรมของอียิปต์จะเริ่มขึ้นในแอฟริกาเหนือเป็นภาพของสิงโตสองตัวยืนทำท่าพิทักษ์ที่เชื่อกันว่าเป็นเทพสำหรับสักการะ

สฟิงซ์ฟาโรห์ฮัตเชปซุตของอียิปต์ที่มีลักษณะที่แปลกที่มีหูกลมปรากฏบนประติมากรรมที่สร้างราวระหว่างปี 1503 ถึง 1482 ก่อนคริสต์ศักราช

สิงโตมีบทบาทในหลายวัฒนธรรมโบราณหลายวัฒนธรรมต่อมา ในอียิปต์โบราณ บางครั้งฟาโรห์ก็จะใช้สฟิงซ์ซึ่งเป็นสิงโตตัวเมียที่มีหัวเป็นคนเป็นสัญลักษณ์ สฟิงซ์ที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดก็คือมหาสฟิงซ์แห่งกิซา ตั้งแต่มนุษย์เริ่มมีการบันทึกก็เป็นที่ทราบกันว่าสิงโตเป็นสัตว์ล่าเหยื่อที่ดุร้ายที่สุดพันธุ์หนึ่งในวัฒนธรรมอียิปต์โบราณและแอฟริกา และมาเป็นสัญลักษณ์อันสำคัญที่สุดของวัฒนธรรมโบราณในฐานะผู้กล้าหาญ นักต่อสู้ และผู้พิทักษ์ของอาณาจักร ตำนานอียิปต์มีสิงโตที่ได้แก่บาสต์ และเซ็คห์เม็ดในบรรดาเทพชั้นสูงของอียิปต์ ประมุขที่เป็นชายมักจะกล่าวว่ามีความเกี่ยวข้องกับลูกของเทพีเช่นมาเฮส (Maahes) ขณะที่ผู้ปกครองอียิปต์ในนิวเบีย (Nubia) ก็ได้บันทึกถึงการสักการะเดดุน (Dedun) ว่าเป็นเทพของความอุดมสมบูรณ์และความมั่งคั่ง ผู้ที่เชื่อกันว่าเป็นลูกชายของสิงโตนิวเบีย แต่นิวเบียมิได้รวมเทพไว้ในบรรดาเทพชั้นเอก

ในสมัยโบราณสิงโตเป็นสัตว์ที่พบกันเป็นปกติในบริเวณทางฝั่งทะเลตอนใต้ของทะเลเมดิเตอเรเนียนทะเลเมดิเตอเรเนียนและในกรีซและตะวันออกกลาง ในตำนานเทพเจ้ากรีกสิงโตมีบทบาทหลายอย่าง ประตูเมืองไมซีเนียมีสิงโตสองตัวยืนประกบคอลัมน์กลางที่เป็นสัญลักษณ์ของเทพองค์สำคัญของวัฒนธรรมกรีกยุคแรกที่สักการะกันมาตั้งแต่สองพันปีก่อนคริสต์ศักราช ต่อมาในตำนานเทพเจ้ากรีก สิงโตนิวเมียน (Nemean Lion) สร้างเป็นรูปสัตว์กินคน ซึ่งเป็นหนึ่งในสิบสองสิ่งที่เฮราคลีสได้รับการมอบหมายให้ทำ ในเรื่องอันโดรคลีส (Androcles) หนึ่งในนิทานอีสป ตัวเอกของเรื่องเป็นทาสที่หนีจากนายที่ช่วยดึงหนามที่ตำเท้าสิงโต ต่อมาเมื่อถูกจับตัวได้และถูกโยนให้สิงโตกินเพื่อเป็นการลงโทษ แต่สิงโตจำได้และไม่ยอมฆ่า ในพระธรรมปฐมกาลของคัมภีร์ฮิบรู ชาวอิสราเอลไลท์ใช้สิงห์แห่งยูดาห์เป็นสัญลักษณ์

การเป็นสัตว์ที่เป็นราชาแห่งสัตว์ทั้งปวงมีรากฐานมาจากอิทธิพลของหนังสือฟิซิโอโลกัส (The Physiologus) ซึ่งเป็นหนังสือของคริสเตียนยุคแรกที่เกี่ยวกับสัญลักษณ์ของสัตว์ที่เผยแพร่ไปยังวัฒนธรรมหลายวัฒนธรรม และมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมตะวันตก หนังสือฟิซิโอโลกัสเขียนขึ้นเป็นครั้งแรกเป็นภาษากรีกในคริสต์ศตวรรษที่ 2 ต่อมาได้รับการแปลเป็นภาษาลาตินราวปี ค.ศ. 400 AD และต่อมาในภาษาอื่นๆ หลายภาษาของตะวันออกกลาง เนื้อหาของหนังสือมีอิทธิพลต่อปรัชญาความคิดเกี่ยวกับความหมายของสัตว์ในยุโรปเป็นเวลากว่าพันปี และเป็นหนังสือที่มาก่อนหนังสือเรื่องสัตว์ (books of beasts) ของยุคกลาง

ในประวัติศาสตร์สมัยต่อมาการใช้สิงโตเป็นสัญลักษณ์ก็แพร่หลายมากขึ้นเพื่อแสดงความมีอำนาจเช่นในการตั้งชื่อเช่นเฮนรีสิงห์ ความนิยมการใช้สิงห์จะเห็นได้จากสิงห์ที่ปรากฏในตราอาร์มต่างๆ เป็นจำนวนมาก

ตัวอย่างของสิงโตที่ใช้ในตรา

[แก้]

สิงห์ยืนผงาด

[แก้]

สิงห์ยืนยกเท้าหน้า

[แก้]

สิงห์นอน

[แก้]

สิงห์ตะวันออก

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Fox-Davies (1909), p. 172.
  2. Fox-Davies (1909), p. 176.
  3. "Segreant". Dictionary of Heraldry. 2008-08-31. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-10. สืบค้นเมื่อ 2009-03-14.
  4. 4.0 4.1 Fox-Davies (1909), p. 181.
  5. Fox-Davies (1909), p. 182.
  6. 6.0 6.1 6.2 Fox-Davies (1909), p. 183.
  7. 7.0 7.1 Fox-Davies (1909), p. 184.
  8. 8.0 8.1 Fox-Davies (1909), p. 185.
  9. Fox-Davies (1909), p. 180.

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ สิงโตในตรา