สีเงิน (มุทราศาสตร์)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
“Argent” สีเงินทางซ้าย หรือ ว่าง
“Argent” สีเงินทางซ้าย หรือ ว่าง
ตราของเมือง Santiago do Cacém ที่แสดงความแตกต่างระหว่างสีขาวและสีเงิน
ตราของเมือง Santiago do Cacém ที่แสดงความแตกต่างระหว่างสีขาวและสีเงิน

สีเงิน (อังกฤษ: Argent) เป็นภาษามุทราศาสตร์ที่บรรยายลักษณะของผิวตรา (Tincture) ที่เป็นสีเงินหรือบางครั้งก็เรียกว่าสีขาว ที่อยู่ในกลุ่มผิวตราสีอ่อนที่เรียกว่า “โลหะ” ถ้าเป็นการแกะพิมพ์ “เงิน” ก็จะเป็นบริเวณที่ทิ้งว่างไม่มีลวดลาย หรืออาจจะจารึกด้วยอักษรย่อ “ar.” ของคำว่า “Argent”

คำว่า “Argent” มาจากภาษาลาติน ว่า “argentum” ที่มาจากภาษากรีก “Αργυρος” ที่แปลว่า “เงิน” หรือ “โลหะสีขาว”

ในการสร้างตราอาร์มในสมัยโบราณบริเวณที่ระบุว่าเป็นสีเงินอาจจะทำด้วยแผ่นเงิน แต่เมื่อเวลาผ่านไปเงินที่ใช้ก็มีปฏิกิริยากับอากาศและเปลี่ยนเป็นสีที่คร่ำลง ฉะนั้นบางครั้งจึงเป็นการยากที่จะตีความหมายของตราในสมัยโบราณที่มีส่วนที่เป็นสีดำว่าเป็นสีดำ (sable) หรือเป็นสีเงิน

สีเงิน และ สีขาว[แก้]

อาร์เธอร์ ชาร์ลส์ ฟ็อกซ์-เดวีส์ ในหนังสือ Complete Guide to Heraldry (คู่มือมุทราศาสตร์ฉบับสมบูรณ์) ที่เขียนในปี ค.ศ. 1909 ให้ความเห็นอย่างยืดยาวในหัวข้อนี้ว่ามีกรณีที่สีขาวเป็นผิวตราที่ต่างจากสีเงินแต่ใช้กันน้อยครั้งมาก โดยมีข้อสนับสนุนจาก "white แถบคาดs" (Label) ที่ใช้ในตราอาร์มของพระราชวงศ์อังกฤษ แต่ก็มีผู้โต้ว่าข้อที่บรรยายอยู่ในข่าย "white labels proper" ฉะนั้นสีขาวจึงไม่ใช่ “ผิวตรา” ตามกฎมุทราศาสตร์[1] เก็บถาวร 2003-09-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

สีขาวดูเหมือนจะเห็นกันว่าเป็นผิวตราที่ต่างจากสีเงินในเครื่องอิสริยาภรณ์โปรตุเกสเช่นในตราของเทศบาลเมือง Santiago do Cacém] ในโปรตุเกส ที่แสดงความแตกต่างของเสื้อผ้าสีขาวของมัวร์และสีของม้าของอัศวินที่เป็นสีขาวกับสีเงินของปราสาทที่อยู่เหนือโล่ และในสีของ Logistical and Administrative Command ของกองทหารอากาศของโปรตุเกส

ผิวตราสีเงินเป็นสัญลักษณ์ของ:

อ้างอิง[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]