ดานีแยล อัลวิส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ดาเนียล อัลวีส)
ดานีแยล อัลวิส
อัลวิสขณะได้รับรางวัลผู้เล่นยอดเยี่ยมกับบราซิลในโกปาอาเมริกา 2019
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเต็ม ดานีแยล อัลวิส ดา ซิลวา[1]
วันเกิด (1983-05-06) 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1983 (40 ปี)
สถานที่เกิด จูอาเซย์รู รัฐบาเยีย บราซิล
ส่วนสูง 1.72 m (5 ft 7 12 in)[2]
ตำแหน่ง แบ็กขวา
สโมสรเยาวชน
1996–1998 จูอาเซย์รู
1998–2001 บาเยีย
สโมสรอาชีพ*
ปี ทีม ลงเล่น (ประตู)
2001–2002 บาเยีย 25 (2)
2002–2008 เซบิยา 175 (11)
2008–2016 บาร์เซโลนา 247 (14)
2016–2017 ยูเวนตุส 19 (2)
2017–2019 ปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง 48 (2)
2019–2021 เซาเปาลู 56 (3)
2021–2022 บาร์เซโลนา 14 (1)
2022–2023 อูนัม 13 (0)
ทีมชาติ
2003 บราซิล อายุไม่เกิน 20 ปี 7 (0)
2006– บราซิล 124 (8)
* นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 29 กรกฎาคม ค.ศ. 2022
‡ ข้อมูลการลงเล่นและประตูให้แก่ทีมชาติล่าสุด ณ วันที่ 29 กรกฎาคม ค.ศ. 2022

ดานีแยล อัลวิส ดา ซิลวา (โปรตุเกส: Daniel Alves da Silva; เกิด 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2526) หรือรู้จักกันในชื่อ ดานี อัลวิส (โปรตุเกส: Dani Alves) เป็นนักฟุตบอลชาวบราซิล ปัจจุบันลงเล่นในตำแหน่งแบ็กขวาให้แก่อูนัม สโมสรในลิกา เอเมเอกิส ในประเทศเม็กซิโก และทีมชาติบราซิล อัลวิสเป็นหนึ่งในกองหลังที่ดีที่สุดตลอดกาลในการแข่งขันฟุตบอลในทวีปยุโรป โดยเขาได้แชมป์ถึง 9 ครั้งในการแข่งขันระดับทวีป ตามหลังเพียงเปาโล มัลดีนีเท่านั้น[3][4]

ก่อนที่จะเข้าร่วมทีมกับบาร์เซโลนา ในปี พ.ศ. 2551 อัลวิสได้ประสบความสำเร็จอย่างมากมายในระยะเวลา 6 ปีกับเซบิยา ด้วยการช่วยให้ทีมได้แชมป์ยูฟ่าคัพ 2 สมัย และ โกปาเดลเรย์ อีก 1 ครั้ง โดยเขาได้เข้าร่วมกับบาร์เซโลนาด้วยค่าตัว 32.5 ล้านยูโร[5] ซึ่งทำให้เขาเป็นกองหลังที่แพงที่สุดอันดับที่ 3 ตลอดกาล หลังจากนั้นเขาได้เทรเบิลแชมป์กับบาร์เซโลนาตั้งแต่ฤดูกาลแรกและฤดูกาลถัดมา โดยชนะเลิศซูเปร์โกปาเดเอสปัญญา, ยูฟ่าซูเปอร์คัพ และฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก อีกทั้งเขายังช่วยทีมให้ได้แชมป์ซูเปร์โกปาเดเอสปัญญาอีก 2 สมัย, ลาลิกา 5 สมัย และยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก อีก 2 สมัยในฤดูกาลถัดมา ต่อมาในปี พ.ศ. 2559 เขาได้หมดสัญญากับบาร์เซโลนาและย้ายมาร่วมทีมกับยูเวนตุส โดยไม่เสียค่าตัว[6] หลังจากนั้นเขาได้แชมป์เซเรียอา ฤดูกาล 2016–17 และโกปปาอีตาเลีย ฤดูกาล 2016–17 ด้วยเวลาเพียงฤดูกาลเดียว[7] จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2560 เขาได้ย้ายมาร่วมทีมกับปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง โดยไม่เสียค่าตัว[8]

เขาได้ลงเล่นให้กับทีมชาติบราซิลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 โดยอัลวิสมีชื่อในการทำการแข่งขันฟุตบอลโลก 2 ครั้ง และโกปาอาเมริกา 4 ครั้ง

ชีวิตส่วนตัว[แก้]

อัลวิสเกิดในจูอาเซย์รู เป็นเมืองหนึ่งในรัฐบาเยีย ประเทศบราซิล มีบิดาชื่อ ดูมิงโกส อัลวิส ดา ซิลวา ประกอบอาชีพชาวนา โดยเขาเล่นฟุตบอลกับเพื่อนในละแวกบ้าน พ่อของเขาชื่นชอบในกีฬาฟุตบอลเช่นกัน จึงก่อตั้งทีมฟุตบอลขึ้นมา โดยอัลวิสในขณะที่อายุเพียง 6 ปี เล่นในตำแหน่งปีก แต่เขาทำประตูได้น้อยมาก พ่อของเขาจึงให้เขามาเล่นในตำแหน่งแบ็กขวา และเป็นตำแหน่งที่เขาเล่นมาจนถึงปัจจุบัน[9][10]

สโมสร[แก้]

บาเยีย[แก้]

อัลวิสลงเล่นฟุตบอลอาชีพครั้งแรกกับอีสปอร์เตคลูเบบาเยีย ในนัดที่พบกับปารานาคลูเบ ในการแข่งขันกังเปโอนาตูบราซีเลย์รูแซรียีอา ซึ่งบาเยียชนะ 3–0 โดยอัลวิสจ่ายบอลให้เพื่อนร่วมทีมทำประตูได้ถึง 2 ครั้งและช่วยให้ทีมได้อีก 1 จุดโทษ โดยหัวหน้าผู้ฝึกสอน อีวาริสตู จี มาเซดู ได้ไว้วางใจให้เขาเป็นผู้เล่นตัวจริงของทีมในหลังจากนั้น โดยเขาได้แชมป์กังเปโอนาตูบาเยียนู 2 สมัย จากฟอร์มการเล่นที่ดีทำให้เขาได้ถูกยืมตัวไปเล่นให้กับเซบิยา ในฤดูกาล 2002[11]

เซบิยา[แก้]

หลังจากลาลิกา ในฤดูกาล 2002–03 ด้วยสัญญายืมตัวจากบาเยีย อัลวิสได้ลงเล่นในการแข่งขันฟุตบอลเยาวชนชิงแชมป์โลก 2003 และช่วยให้ทีมชาติบราซิลได้แชมป์ ซึ่งเขาเป็น 1 ใน 3 ผู้เล่นที่ดีที่สุดของการแข่งขัน ทำให้เซบิยาเปลี่ยนจากสัญญายืมตัวเป็นสัญญาซื้อขาดแทน

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2549 เซบิยาได้ยืนยันที่จะขายอัลวิสให้กับลิเวอร์พูล แต่ลิเวอร์พูลไม่พึงพอใจที่เซบิยาตั้งราคาในการขายอยู่ที่ประมาณ 8 ล้านปอนด์[12] หลังจากนั้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2549 เขาได้เซ็นสัญญาใหม่กับเซบิยา โดยเป็นสัญญา 6 ปีถึงปี พ.ศ. 2555 ซึ่งเขาประสบความสำเร็จในลาลิกา ฤดูกาล 2006–07 โดยลงเล่น 47 นัด ทำประตูได้ 5 ประตู และลงเล่นในการแข่งขันยูฟ่าคัพ ทุกนัด และช่วยให้ทีมเป็นแชมป์ในฤดูกาลนั้น

หลังจากนั้นเขาได้รับสัญชาติสเปน ซึ่งจะช่วยให้สโมสรได้รับผลประโยชน์จากโควตาผู้เล่นนอกอียู และทำให้ง่ายต่อขอใบอนุญาตในการทำงานและการลงเล่นให้กับสโมสรในกลุ่มสหภาพยุโรป[13]

ในวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2550 อัลวิสได้ให้สัมภาษณ์กับสปอร์ทีวีว่าเขาต้องการที่จะย้ายออกจากเซบิยาไปอยู่กับสโมสรที่ใหญ่กว่าในยุโรป จึงทำให้เขาเป็นข่าวกับเชลซี ว่าให้ความสนใจในการดึงตัวเขาไปร่วมทีม ต่อมาในวันที่ 8 สิงหาคม อัลวิสได้ยืนยันเองว่าผู้จัดการของเขาได้อยู่ที่ประเทศอังกฤษและกำลังจัดการเจรจากับเชลซี เหลือเพียงการยินยอมจากเซบิยาเท่านั้น

ในวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2550 เซบิยาได้ปฏิเสธข้อเสนอจากเชลซีซึ่งไม่เปิดเผยค่าตัว ซึ่งคาดว่าเชลซีได้ยื่นข้อเสนอมาต่ำกว่าที่คาดไว้[14] อัลวิสได้ออกเปิดเผยว่า โฆเซ มารีอา เดล นีโด ประธานสโมสรเซบิยา ได้กังวลว่าเชลซีได้ทำการเซ็นสัญญากับฮูเลียนู เบลเล็ตตี ฟุลแบ็กชาวบราซิล ด้วยค่าตัวที่ต่ำกว่ามาก[15] หลังจากการเสียชีวิตของอันโตนีโอ ปูเอร์ตา เพื่อนร่วมทีมเซบิยา ทำให้อัลวิสตัดสินใจที่จะอยู่ช่วยทีมต่อไป

บาร์เซโลนา[แก้]

อัลวิส ในนัดที่พบกับรูบินคาซัน ในการแข่งขันยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2008–09

ในวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 อัลวิสได้เข้าร่วมทีมกับบาร์เซโลนา หลังที่จากลาเซบิยาด้วยน้ำตาและกล่าวว่าอยากที่จะกลับมาเล่นอีกครั้ง และกล่าวอีกว่าเขามาอยู่กับเซบิยาในขณะที่กำลังเด็กและกำลังที่จะลาจากด้วยการเติบโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว โดยค่าตัวอย่างเป็นทางการอยู่ที่ 23 ล้านปอนด์ และค่าตัวตามฟอร์มการเล่นอีก 7 ล้านปอนด์ ทำให้เขาเป็นหนึ่งในกองหลังที่แพงที่สุดในประวัติศาสตร์ และเป็น 1 ใน 3 ผู้เล่นที่แพงที่สุดที่บาร์เซโลนาซื้อเข้าร่วมทีม โดยเขาเซ็นสัญญา 4 ปีกับสโมสร ด้วยค่าตัวในการยกเลิกสัญญาถึง 90 ล้านยูโร อัลวิสลงเล่นนัดแรกในนัดที่พบกับวิสวาการ์กุฟ ในการแข่งขันยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก รอบคัดเลือกรอบที่ 3 ในวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2551[16] เขาลงเล่นในลาลิกา นัดแรกในนัดเปิดสนามพบกับนูมันเซีย ในวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2551[17] อย่างไรก็ดี เขาไม่ได้ลงเล่นในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกนัดชิงชนะเลิศซึ่งชนะ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด 2–0 เนื่องจากเขาได้รับโทษแบนใบเหลืองในนัดก่อนหน้า ซึ่งฤดูกาลนั้นบาร์เซโลนาได้เทรเบิลแชมป์ หลังจากได้แชมป์ลาลิกาและโกปาเดลเรย์

อัลวิสและเมสซิ ในการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก 2011 นัดชิงชนะเลิศ

ในฤดูกาลที่สองกับบาร์เซโลนา สโมสรได้แชมป์ลาลิกาและฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก หลังจากนั้นในฤดูกาล 2010–11 เขายังช่วยให้ทีมได้แชมป์ลาลิกา 3 ฤดูกาลติดต่อกัน

ในวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 อัลวิสได้ลงเล่นในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก นัดชิงชนะเลิศ ครั้งแรก และช่วยให้บาร์เซโลนาชนะแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด 3–1 ที่สนามกีฬาเวมบลีย์ โดยเป็นแชมป์ยุโรปครั้งที่ 4 ของสโมสร

ในฤดูกาล 2011–12 อัลวิสเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้ทีมได้แชมป์โกปาเดลเรย์และฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก หลังจากนั้นในฤดูกาล 2012–13 อัลวิสได้แชมป์ลาลิกาครั้งที่ 4 จาก 5 ฤดูกาลหลังจากเขาย้ายมาบาร์เซโลนา

ในฤดูกาล 2013–14 อัลวิสได้เปลี่ยนมาสวมเสื้อหมายเลข 22 ซึ่งเป็นหมายเลขเก่าของเอริก อาบีดาล และเขายังเสนอที่จะบริจาคตับของเขาในการช่วยรักษาอาบีดาลจากโรคมะเร็งตับ[18]

ในวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2558 อัลวิสได้ลงเล่นเป็นผู้เล่นตัวจริงในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก นัดชิงชนะเลิศ 2015 และทำให้สโมสรได้แชมป์ยุโรปสมัยที่ 5 ด้วยการชนะยูเวนตุส 3–1 ที่โอลึมพีอาชตาดีอ็อน ในเบอร์ลิน[19] ทำให้บาร์เซโลนาสร้างประวัติศาสตร์ด้วยการได้เทรเบิลแชมป์จากฟุตบอลลีก, ฟุตบอลถ้วย และฟุตบอลยุโรป ถึง 2 สมัย โดยมีอัลวิส, ลิโอเนล เมสซิ, อันเดรส อินิเอสตา, ชาบี, ฌาราร์ต ปิเก, เปโดร และเซร์ฆิโอ บุสเกตส์ เป็นผู้เล่นที่อยู่ในชุดเทรเบิลแชมป์ทั้ง 2 สมัน

ในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2558 อัลวิสได้เซ็นสัญญา 2 ปีกับบาร์เซโลนา ทำให้เขาจะอยู่กับสโมสรไปจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2560 พร้อมเงื่อนไขที่อาจจะขยายสัญญาเพิ่มในปีถัดไป[20]

หลังจากบาร์เซโลนาตกรอบด้วยการแพ้อัตเลติโกเดมาดริด ในการแข่งขันยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2015–16 รอบ 8 ทีม อัลวิสได้โพสต์วิดีโอลงอินสตาแกรม โดยเขาปลอมเป็นภรรยาของเขาและปลอบใจเขาจากการที่พ่ายแพ้ ทำให้ลุยส์ เอนริเก ไม่เลือกเขาลงสนามในการแข่งขันนัดถัดมากับบาเลนเซีย[21]

Wikinews
Wikinews
วิกิข่าว มีข่าวเกี่ยวกับบทความ:
Alves to leave FC Barcelona

ในวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2559 โรเบร์โต เฟร์นันเดซ เลขาธิการด้านเทคนิกของบาร์เซโลนา ได้ประกาศว่าอัลวิสจะสิ้นสุดสัญญาและออกจากทีมในช่วงฤดูร้อนหลังจากลงเล่นให้กับสโมสรถึง 8 ปี[22] อย่างไรก็ดี สัญญามีผลจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2560 แต่บาร์เซโลนาอนุญาตให้อัลวิสย้ายออกจากทีมโดยไม่มีค่าตัว

ถูกจับกุมในข้อหาล่วงละเมิดทางเพศ[แก้]

ในวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2566 อัลเวสถูกตำรวจคาตาลันจับกุมและคุมขังโดยไม่มีการประกันตัวในข้อหาล่วงละเมิดทางเพศ ข้อกล่าวหาทำร้ายร่างกายเกิดขึ้นที่ไนต์คลับบาร์เซโลนาเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2565 ผู้ร้องเรียนได้ยื่นคำร้องอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2566 El Periódico de Catalunya รายงานว่าผู้ร้องเรียนกล่าวหาตำรวจและศาลว่าหลังจากบริกรพาเธอไปพบอัลเวส ที่บริเวณวีไอพีของไนต์คลับ อัลเวสให้เธอสัมผัสอวัยวะเพศของเขาสองครั้งโดยไม่เต็มใจ จากนั้นจึงสั่งให้เธอตามเขาเข้าไปในห้องน้ำของไนต์คลับ และ ขัดขวางเธอไม่ให้ออกจากห้องน้ำ โยนเธอลงบนพื้น ตบเธอ พยายามบังคับให้เธอร่วมรักกับเขา วางเธอพิงอ่างล้างหน้า จากนั้นย้ายเธอไปที่ห้องน้ำ ข่มขืนเธอและหลั่งน้ำอสุจิ จากข้อมูลของ El Periódico น้ำอสุจิที่ตรงกับ DNA ของอัลเวสถูกเก็บจากตัวอย่างจากภายในช่องคลอดของผู้ร้องเรียน จากชุดชั้นในของเธอ จากชุดของเธอ และจากพื้นห้องน้ำ ผู้ร้องเรียนได้รับการบันทึกโดยโรงพยาบาลว่าได้รับบาดเจ็บที่หัวเข่าซึ่งสอดคล้องกับข้อกล่าวหาของเธอ และผู้ตรวจสอบพบรอยนิ้วมือ 7 รอย รอบห้องน้ำซึ่งตรงกับเหตุการณ์ของผู้ร้องเรียน

ในด้านอัลเวสได้ให้เรื่องราวที่แตกต่างกันอย่างน้อยสี่เรื่อง ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 El Periódico ได้ให้รายละเอียดสามรอบ ในรอบแรก อัลเวสบอกกับสื่อ Antena 3 ว่าเขาไม่รู้จักผู้หญิงคนนี้ และกล่าวหาว่าเธอพยายามทำให้มีชื่อเสียงด้วยการกล่าวหาเธอ เขาบอกเป็นนัยว่าเขาเข้าไปในห้องน้ำโดยไม่รู้ว่าเธอกำลังใช้ห้องน้ำอยู่ แต่สิ่งนี้ขัดแย้งกับภาพจากกล้องวงจรปิด หลังจากเข้าใจว่ามีการรวบรวมหลักฐานเพื่อเอาผิดเขาและบัญชีข้างต้นเป็นส่วนหนึ่งของหลักฐาน อัลเวสเปลี่ยนเรื่องราวของเขาในศาล ในรอบที่สอง อัลเวสยอมรับว่าเขาเข้าห้องน้ำก่อนผู้หญิงคนนั้น และภายในห้องน้ำ เขาถ่ายอุจจาระในห้องน้ำโดยมีผู้หญิงอยู่ข้างๆ และไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลย เมื่ออัลเวสถูกถามว่าทำไมผู้หญิงคนนั้นถึงอยู่ในห้องน้ำเล็กๆ กับเขาเป็นเวลา 15 นาทีโดยไม่ทำอะไรเลย ทำไมน้ำอสุจิของเขาถึงอยู่บนพื้นห้องน้ำ อัลเวสก็เปลี่ยนเรื่องอีกครั้ง ในรอบที่สาม เขาบอกว่าผู้หญิงคนนั้นได้เลียเขาในห้องน้ำ ในวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2566 อัลเวสให้การในศาลถึงเหตุการณ์ในรูปแบบอื่น โดยอ้างว่าเขามีเพศสัมพันธ์โดยยินยอมกับผู้หญิงในระหว่างเหตุการณ์นั้น อัลเวสยังบอกด้วยว่าก่อนหน้านี้เขาปฏิเสธกิจกรรมทางเพศเพราะเขาแต่งงานแล้ว

อ้างอิง[แก้]

  1. "FIFA Club World Cup UAE 2009 presented by Toyota: List of Players" (PDF). ฟีฟ่า. 1 ธันวาคม 2552. p. 1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-06-29. สืบค้นเมื่อ 28 มีนาคม 2557. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "22 Dani Alves". สโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา. 4 มกราคม 2558. สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2558. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "Messi, Alves among Super Cup record-breakers". ยูฟ่า. 11 สิงหาคม 2558. สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. Herman, Martyn (2 มิถุนายน 2557). "Serial winner Alves keen to add page to Juventus story". รอยเตอร์. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2558. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. Memoria 09–10 (PDF) (ภาษาสเปน). สโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา. กันยายน 2553. p. 174. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 15 พฤษภาคม 2555. สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2557. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "Dani Alves è bianconero". juventus.com. 27 June 2016. สืบค้นเมื่อ 27 June 2016.
  7. "Dani Alves' Juventus deal cancelled amid reports of Manchester City move". espnfc.com. 29 June 2017. สืบค้นเมื่อ 29 June 2017.
  8. "Dani Alves joins PSG". theguardian.com. 12 July 2017. สืบค้นเมื่อ 12 July 2017.
  9. "Biography". Dani Alves — Biography. สืบค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. "Daniel Alves". FootballTop.com. สืบค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. "Daniel Alves: da Bahia para o sucesso" (ภาษาโปรตุเกส). Esporte Clube Bahia. 26 มิถุนายน 2552. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 กรกฎาคม 2554. สืบค้นเมื่อ 7 มกราคม 2554. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. "Liverpool cleared to sign Alves". BBC Sport. 15 มิถุนายน 2549. สืบค้นเมื่อ 27 เมษายน 2552. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  13. Caroe, Charlie (15 กุมภาพันธ์ 2551). "Alves alerts Chelsea and Tottenham". The Daily Telegraph. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-19. สืบค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2552. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  14. "Sevilla snub Alves bid". BBC Sport. 16 สิงหาคม 2550. สืบค้นเมื่อ 7 มกราคม 2554. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  15. "Alves reveals Del Nido dismay". Sky Sports. 24 สิงหาคม 2550. สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2550. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  16. "Soccernet match stats". ESPNsoccernet. 13 สิงหาคม 2551. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-23. สืบค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  17. "Soccernet match report". ESPNsoccernet. 2 กันยายน 2551. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-23. สืบค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  18. "Eric Abidal says Dani Alves offered him part of his liver for transplant". The Guardian. Associated Press. 16 สิงหาคม 2556. สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2557. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  19. "Barcelona see off Juventus to claim fifth title". ยูฟ่า. 6 มิถุนายน 2558.
  20. "Agreement to renew Dani Alves' contract". fcbarcelona.com. 9 มิถุนายน 2558. สืบค้นเมื่อ 9 มิถุนายน 2558. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  21. "Luis Enrique benches Dani Alves following his video". Diario AS. 17 เมษายน 2559. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-24. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2559. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  22. "Dani Alves to leave FC Barcelona this summer". fcbarcelona.com. 2 มิถุนายน 2559. สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2559. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]