ดาราศาสตร์โอลิมปิกระดับชาติ ประเทศไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การแข่งขันดาราศาสตร์โอลิมปิกระดับชาติ (อังกฤษ: Thailand Astronomy Olympiad: TAO) เป็นการแข่งขันโอลิมปิกวิชาการในระดับประเทศที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีเพื่อคัดเลือกผู้แทนประเทศไทยไปเข้าร่วมการแข่งขันในรายการโอลิมปิกระหว่างประเทศจำนวน 2 รายการ ได้แก่ ดาราศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ (IAO) ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และ ดาราศาสตร์และฟิสิกส์ดาราศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ (IOAA) ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

หลักเกณฑ์เบื้องต้นของการแข่งขัน[1][แก้]

นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น กําลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 และต้องมีอายุไม่เกิน 15 ปีในวันที่ 1 มกราคมของปีที่มีการแข่งขัน แต่ไม่น้อยกว่า 14 ปีบริบูรณ์ในวันที่ 31 ธันวาคมของปีที่มีการแข่งขัน นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายต้องกำลังศึกษาไม่เกินระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3-5 ในปีการศึกษาที่จัดการแข่งขัน มีอายุไม่น้อยกว่า 14 ปีบริบูรณ์ในวันที่ 31 ธันวาคม และอายุไม่เกิน 19 ปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 กรกฎาคม ในปีที่จัดการแข่งขัน

ศูนย์ สอวน. วิชาดาราศาสตร์ จะหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ศูนย์เจ้าภาพมีความรับผิดชอบที่จะต้องดูแลให้ความเสมอภาคแก่ผู้เข้าแข่งขันทุกคน และจะต้องเชิญตัวแทนจากทุกศูนย์เข้าร่วมแข่งขัน

ศูนย์ที่เข้าร่วมการแข่งขัน สามารถส่งนักเรียนได้ไม่เกินศูนย์ละ 2 ทีม ทีมละ 6 คน ประกอบด้วยทีม มัธยมศึกษาตอนต้น 1 ทีม และหรือ ทีมระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 1 ทีม (ยังไม่นับรวมอดีตผู้แทนหรือตัวสำรองที่กลับมาเข้าแข่งขันอีกครั้ง)

กรณีเคยเป็นผู้แทนประเทศไทยระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ไม่มีสิทธิ์เป็นผู้แทนประเทศไทยในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นได้อีก แต่มีสิทธิ์เข้าค่าย 2 ในระดับม.ปลาย เพื่อคัดเลือกไปเป็นตัวแทนของศูนย์มาแข่งขันระดับชาติระดับมัธยมศึกษาตอนปลายต่อไป

นักเรียนที่เคยเป็นผู้แทนประเทศในการแข่งขัน IOAA ปีที่ผ่านมาและมีคุณสมบัติข้างต้น สามารถเข้าแข่งขันระดับชาติได้อีกไม่เกิน 2 ครั้ง นักเรียนผู้แทนประเทศไทยหรือผู้เป็นตัวสำรองการเป็นผู้แทนประเทศไทยทั้งระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่ได้ผ่านการอบรมเข้มก่อนการไปแข่งขัน เมื่อกลับเข้ามาแข่งขันดาราศาสตร์โอลิมปิกระดับชาติอีกครั้งให้ถือเป็นนักเรียนของศูนย์เดิมที่เคยสังกัด และไม่นับรวมกับสมาชิก 6 คนในทีม

เมื่อแรกเริ่มในการแข่งขันครั้งที่ 1 มีศูนย์ สอวน. วิชาดาราศาสตร์ 4 ศูนย์ รับผิดชอบนักเรียนใน 4 ภูมิภาค ได้แก่ ศูนย์สมาคมดาราศาสตร์ไทย ภาคกลาง ปัจจุบันคือศูนย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ศูนย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ภาคเหนือ ปัจจุบันรับผิดชอบภาคเหนือตอนบน) ศูนย์มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) และศูนย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (ภาคใต้) ต่อมามีการจัดตั้งศูนย์ สอวน. เพิ่ม ได้แก่ศูนย์มหาวิทยาลัยนเรศวร (ภาคเหนือตอนล่าง) ศูนย์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ศูนย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ภาคกลาง เริ่มเข้าแข่งขันตั้งแต่ครั้งที่ 6 โดยตั้งขึ้นแทนศูนย์สมาคมดาราศาสตร์ไทย ซึ่งเข้าร่วมการแข่งขันครั้งที่ 5 เป็นครั้งสุดท้าย) ศูนย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (ภาคใต้) ศูนย์โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย (ภาคกลาง) ศูนย์โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์และโรงเรียนกำเนิดวิทย์) ศูนย์โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย มัธยมศึกษาตอนต้น เริ่มเข้าแข่งขันตั้งแต่ครั้งที่ 10 มัธยมศึกษาตอนปลาย เริ่มเข้าแข่งขันตั้งแต่ครั้งที่ 17) ศูนย์โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ (โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ เริ่มเข้าแข่งขันตั้งแต่ครั้งที่ 10) และศูนย์โรงเรียนวัดนวลนรดิศ (โรงเรียนวัดนวลนรดิศ เริ่มเข้าแข่งขันตั้งแต่ครั้งที่ 16) นับตั้งแต่การแข่งขันดาราศาสตร์โอลิมปิกระดับชาติ ครั้งที่ 16 มีศูนย์ สอวน. วิชาดาราศาสตร์ที่เข้าร่วมการแข่งขันรวมทั้งสิ้น 12 ศูนย์

ทั้งนี้ ศูนย์ สอวน. วิชาดาราศาสตร์บางศูนย์เปิดรับนักเรียนเข้าอบรมเฉพาะในระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น ได้แก่ ศูนย์โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ และศูนย์โรงเรียนวัดนวลนรดิศ ในขณะที่ศูนย์โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เปิดรับนักเรียนเข้าอบรมเฉพาะในระดับ มัธยมศึกษาตอนปลาย ศูนย์โรงเรียนวัดนวลนรดิศ ศูนย์โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ และศูนย์โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยเปิดรับเฉพาะนักเรียนจากโรงเรียนของตนเท่านั้น และศูนย์โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เปิดรับเฉพาะนักเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์และโรงเรียนกำเนิดวิทย์เท่านั้น

พื้นที่รับผิดชอบของศูนย์ สอวน. ส่วนภูมิภาค ได้แก่

ศูนย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รับผิดชอบภาคเหนือตอนบน 8 จังหวัด (เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน แพร่ น่าน ลำพูน ลำปาง พะเยา)

ศูนย์มหาวิทยาลัยนเรศวร รับผิดชอบภาคเหนือตอนล่าง 8 จังหวัด (กำแพงเพชร ตาก นครสวรรค์ พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุตรดิตถ์)

ศูนย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ รับผิดชอบภาคใต้ 9 จังหวัด (ชุมพร นครศรีธรรมราข ระนอง สุราษฎร์ธานี กระบี่ ตรัง พังงา ภูเก็ต สงขลา)

ศูนย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี รับผิดชอบภาคใต้ 5 จังหวัด (พัทลุง นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สตูล)

ศูนย์มหาวิทยาลัยขอนแก่น รับผิดชอบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 14 จังหวัด (เลย กาฬสินธุ์ ขอนแก่น มหาสารคาม สกลนคร หนองคาย อุดรธานี ร้อยเอ็ด หนองบัวลำภู บึงกาฬ ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์)

ศูนย์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี รับผิดชอบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 6 จังหวัด (นครพนม มุกดาหาร ยโสธร ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ อุบลราชธานี)

ส่วนนักเรียนในอีก 27 จังหวัด (กรุงเทพมหานคร ชัยนาท นครนายก นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทารสาคร สระบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง อุทัยธานี กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด ปราจีนบุรี ระยอง สระแก้ว) สามารถเลือกเข้าอบรมในศูนย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือศูนย์โรงเรียนสามเสนวิทยาลัยก็ได้

ลักษณะการแข่งขัน[2][แก้]

การแข่งขันถูกแบ่งออกเป็นสามส่วน ประกอบด้วยการสอบภาคทฤษฎี ภาควิเคราะห์ข้อมูล และภาคสังเกตการณ์ โดยสัดส่วนคะแนนเป็น 60 : 20 : 20 คะแนน ตามลำดับ ปัจจุบันการสอบส่วนต่าง ๆ มีรายละเอียดดังนี้

การสอบภาคทฤษฎีเป็นการแก้โจทย์ปัญหาเชิงทฤษฎีดาราศาสตร์ ประกอบด้วยข้อสอบข้อสั้น (ข้อละ 10 คะแนน) ไม่เกิน 5 ข้อ ข้อกลาง (ข้อละประมาณ 20 คะแนน) ไม่เกิน 5 ข้อ และข้อยาว (ข้อละประมาณ 50 คะแนน) ไม่เกิน 3 ข้อ รวม 250 คะแนน ให้เวลา 4 ชั่วโมง ทั้งนี้ข้อสอบระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลายทั้งฉบับจะคล้ายกัน แต่อาจมีบางข้อที่ไม่เหมือนกัน หรือบางข้อย่อยในระดับ มัธยมศึกษาตอนปลาย จะยากกว่าระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น เช่น ต้องพิสูจน์สูตรบางส่วนเอง หรือไม่มีคำใบ้มาให้

การสอบภาควิเคราะห์ข้อมูลเป็นการแก้โจทย์ปัญหาเชิงวิจัยปฏิบัติโดยการใช้ความรู้ทางสถิติและทักษะในการวัดคำนวณข้อมูลประยุกต์เข้ากับความรู้ด้านทฤษฏีดาราศาสตร์ ประกอบด้วยข้อสอบ 2 ข้อ ข้อละ 75 คะแนน รวม 150 คะแนน ให้เวลา 3 ชั่วโมง ทั้งนี้ข้อสอบระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลายทั้งฉบับจะคบ้ายกัน แต่บางข้อย่อยในระดับ มัธยมศึกษาตอนปลาย อาจยากกว่าระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น เช่น ต้องคิดหาความคลาดเคลื่อนของค่าต่าง ๆ เพิ่มด้วย

การสอบภาคสังเกตการณ์แบ่งเป็นสองส่วนย่อย ได้แก่การสอบสังเกตการณ์ภาคกลางวันและภาคกลางคืน ทั้งสองส่วนย่อยจะต้องใช้ความรู้เกี่ยวกับการใช้กล้องโทรทรรศน์ ตำแหน่งของดาวฤกษ์และวัตถุท้องฟ้า รวมถึงดาราศาสตร์ทรงกลมมาประยุกต์ในการแก้โจทย์ปัญหา หากฟ้าปิดในการสอบภาคกลางคืนอาจย้ายการสอบไปในท้องฟ้าจำลองได้ ทั้งนี้ นักเรียนจะมีโอกาสได้ตรวจสอบอุปกรณ์ที่ใช้ในการสอบภาคสังเกตการณ์ก่อนการสอบจริงเสมอ

การแข่งขันโดยปกติจัดขึ้นในระยะเวลา 6 วัน ดังนี้

วันที่ 1 พิธีเปิดการแข่งขัน

วันที่ 2 การสอบภาควิเคราะห์ข้อมูลในตอนเช้า

วันที่ 3 การสอบภาคทฤษฎีในตอนเช้า การสอบภาคสังเกตการณ์กลางคืนในตอนค่ำ

วันที่ 4 การสอบภาคสังเกตการณ์กลางวันช่วงกลางวัน

วันที่ 5 การทัศนศึกษาของนักเรียน งานเลี้ยงสังสรรค์ในตอนค่ำ

วันที่ 6 พิธีปิดการแข่งขันและมอบเหรียญรางวัล

เกณฑ์การมอบรางวัล[3][แก้]

เกณฑ์การตัดสินผู้ชนะจะได้รับเกียรติบัตรและเกียรติคุณประกาศ โดยให้ผู้ได้รับรางวัล รวมทั้งหมดประมาณ 60% ของจำนวนผู้เข้าร่วมแข่งขันในแต่ละระดับ โดยมีสัดส่วนของรางวัล ดังนี้

รางวัลเหรียญทอง มีสัดส่วน 12% ของจำนวนผู้เข่าแข่งขันทั้งหมด

รางวัลเหรียญเงิน มีสัดส่วน 15% ของจำนวนผู้เข่าแข่งขันทั้งหมด

รางวัลเหรียญทองแดง มีสัดส่วน 20% ของจำนวนผู้เข่าแข่งขันทั้งหมด

รางวัลเกียรติคุณประกาศ มีสัดส่วน 13% ของจำนวนผู้เข่าแข่งขันทั้งหมด

ทั้งนี้ ในการคำนวณหากมีเศษทศนิยม ให้ปัดจำนวนขึ้น และอาจมีการเปลี่ยนเกณฑ์ตัดเหรียญรางวัลตามความเหมาะสม โดยพิจารณาจากคะแนนของนักเรียน

ผู้แข่งขันที่ได้คะแนนสูงสุดจะได้รับรางวัลพิเศษ 5 รางวัล ได้แก่ รางวัลคะแนนรวมสูงสุด รางวัลคะแนนภาคทฤษฎีสูงสุด คะแนนรวมภาควิเคราะห์ข้อมูลและภาคสังเกตการณ์สูงสุด รางวัลนักดาราศาสตร์หญิง (Women in Astronomy Award) และรางวัลผู้ได้คะแนนสูงสุดระดับภูมิภาค โดยมอบรางวัลในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 1 รางวัล และระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 1 รางวัล

โดยเมื่อคิดคะแนนกลุ่มนักเรียนที่เข้าแข่งขันปกติ ตามเกณฑ์การให้รางวัลเรียบร้อยแล้ว ให้นำคะแนนของนักเรียนกลุ่มผู้แทนประเทศไทยหรือผู้เป็นตัวสำรองการเป็นผู้แทนประเทศไทย มาแทรกในแต่ละช่วงรางวัลของกลุ่มนักเรียนที่เข้าแข่งขันปกติ และให้มีสิทธิ์ในการรับเหรียญรางวัล แต่ไม่รวมถึงรางวัลพิเศษ ผู้ที่ได้คะแนนรวมสูงสุด 3 อันดับแรกของการแข่งขันในระดับม.ต้น และผู้ที่ได้คะแนนรวมสูงสุด 5 อันดับแรกของการแข่งขันในระดับม.ปลาย จะได้เป็นผู้แทนประเทศไทยไปแข่งขันดาราศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ (IAO) และดาราศาสตร์และฟิสิกส์ดาราศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ (IOAA) ในปีนั้นๆ ตามลำดับ

ทั้งนี้ เกณฑ์การมอบรางวัลข้างต้นถูกใช้เป็นครั้งแรกในการแข่งขันครั้งที่ 17 ปัจจุบันมีศูนย์สอวน. ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 11 ศูนย์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 10 ศูนย์ หากไม่คำนึงถึงนักเรียนผู้แทนและสำรองผู้แทนในการแข่งขันครั้งก่อนหน้า จะได้จำนวนผู้ได้รับเหรียญรางวัลในแต่ละระดับดังนี้

ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เหรียญทอง 8 คน เหรียญเงิน 10 คน เหรียญทองแดง 14 คน เกียรติคุณประกาศ 9 คน

ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เหรียญทอง 8 คน เหรียญเงิน 9 คน เหรียญทองแดง 12 คน เกียรติคุณประกาศ 8 คน

เกณฑ์การตัดสินผู้ชนะก่อนการแข่งขันครั้งที่ 16 คะแนนมาตรฐานจะถูกคำนวณจากคะแนนรวมเฉลี่ยของผู้เข้าแข่งขันที่ได้คะแนนสูงที่สุดจำนวน 3 คนแรกโดยไม่นับนักเรียนกลุ่มผู้แทนประเทศไทยหรือสำรองผู้แทนประเทศไทยในการแข่งขันครั้งก่อนหน้า

รางวัลเหรียญทอง มอบให้กับผู้เข้าแข่งขันที่ได้คะแนนรวมตั้งแต่ 90% ของคะแนนมาตรฐานขึ้นไป

รางวัลเหรียญเงิน มอบให้กับผู้เข้าแข่งขันที่ได้คะแนนรวมตั้งแต่ 78% ขึ้นไป แต่น้อยกว่า 90%

รางวัลเหรียญทองแดง มอบให้กับผู้เข้าแข่งขันที่ได้คะแนนรวมตั้งแต่ 65% ขึ้นไป แต่น้อยกว่า 78%

รางวัลเกียรติคุณประกาศ มอบให้กับผู้เข้าแข่งขันที่ได้คะแนนรวมตั้งแต่ 50% ขึ้นไป แต่น้อยกว่า 65%

ทั้งนี้ คะแนนเกณฑ์ของแต่ละรางวัลจะถูกปัดลงเป็นจำนวนเต็ม

สรุปผล[แก้]

มัธยมศึกษาตอนต้น
ครั้งที่ วันที่ ศูนย์ สอวน. เจ้าภาพ G S B H AW BA BT BDO BW BP
BDO BD BO
1[4] 26-30 ส.ค. 2547 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 4 5 5 4 ทรงเกียรติ นุตาลัย - ทรงเกียรติ นุตาลัย พิสิฏฐ นิธิยานันท์ ณัฐธิดา มะโนรส -
2[5] 30 เม.ย. - 5 พ.ค. 2548 สมาคมดาราศาสตร์ไทย 3 2 5 3 สวรรยา เอียดตรง - เสริมสุข ธนบรรเจิดสิน ธีรสิทธิ์ อิสสรานนท์ ชุตินันท์ รัตนกาญจน์ -
3 2549 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
4 2550 มหาวิทยาลัยขอนแก่น
5 28 เม.ย. - 3 พ.ค. 2551 มหาวิทยาลัยนเรศวร
6 5 - 10 พ.ค. 2552 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
7 9 - 14 พ.ค. 2553 โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย ณภัทร หงษ์ทอง
8[6] 31 เม.ย. - 6 พ.ค. 2554 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 6 ณัฐวัตร โพธิ์สุวรรณ -
9 16 - 21 พ.ค. 2555 โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ฆนรุจ จันทรทองดี ณวรรต สวัสดิ์ทอง
10 25 - 30 เม.ย. 2556 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ณัชชา ฉันทชัยวัฒน์ ถิรกร นิมิตรปัญญา ณัชชา ฉันทชัยวัฒน์ ณัชชา ฉันทชัยวัฒน์ พัชริยา ผาติรงควิวัฒน์
11[7] 23 - 29 เม.ย. 2557 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 5 6 7 15 ปวริศ ลัภกิตโร อธิคม วาณิชย์กุล ปวริศ ลัภกิตโร อริสรา กูดอั้ว
12[8] 20 - 25 เม.ย. 2558 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 3 3 12 ภูมิ มีประเสริฐกุล พชรพล ลีนุเกียรติ์ วริท วิจิตรวรศาสตร์ พราวพรรณ อาสนิททอง ณัฐมน ตังแก
13[9] 5 - 10 พ.ค. 2559 มหาวิทยาลัยขอนแก่น 5 2 7 10 ภูมิรพี พิศุทธ์สินธุ์ ณัฐมน ตังแก ภูมิรพี พิศุทธ์สินธุ์ แพรสุนันท์ จันทร์พานิช ณัฐมน ตังแก
14[10] 24 - 29 เม.ย. 2560 มหาวิทยาลัยนเรศวร 6 1 8 14 จุลจักร จงพิพัฒนากูล ศุภไกร ทีฆมงคล ฉมชบา ชนะเกียรติ ธีรโชติ รัตนศิริดำริ
15[11] 7 - 12 พ.ค. 2561 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 5 2 15 13 วสวัตติ์ จิระสุวิบูลย์ ธนดิศ เจริญรุจิจินต์ ธนวันต์ ชัชฎานรเสฏฐ์ อัจฉริยา โรจน์บัณฑิต ธนวันต์ ชัชฎานรเสฏฐ์
16[12] 28 เม.ย. - 3 พ.ค. 2562 โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย 6 4 4 7 พัฐธนนท์ พัฒนาการวิจิตร กฤติน นวลจริง ชนิศา พร้อมพัฒนภักดี ฐณะวัฒน์ นาคมอญ
17[13] 5 - 10 ธ.ค.2563 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 9 10 14 9 บุณยกร ธารพานิช ญาณรัก ถาวรรุ่งกิจ ณรฎา จะชาลี ญาณรัก ถาวรรุ่งกิจ ณรฎา จะชาลี ญาณรัก ถาวรรุ่งกิจ
18[14] 10 - 15 ต.ค.2564 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 8 11 15 8 กิตติพัศ พงศ์อรุโณทัย ศุภกร ไพศาลเจริญ กิตติพัศ พงศ์อรุโณทัย ณกัญดา กุลสงค์ ภาณุพัฒน์ ศรีสุขวสุ
19[15] 13 -18 มิ.ย. 2565 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย 8 10 16 7 ปุณธวัช เลิศจรัญรัตน์ ทัดภู อุดมเกียรติ โมไนย สีตวาริน - ปทิตตา สิทธิวรากุล ศุภกรณ์ คำเผือ
20 25 - 30

พ.ค. 2566

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
มัธยมศึกษาตอนปลาย
ครั้งที่ วันที่ ศูนย์ สอวน. เจ้าภาพ G S B H AW BA BT BDO BW BP
BDO BD BO
1[16] 7-11 ส.ค. 2547 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ -
2[17] 30 เม.ย. - 5 พ.ค. 2548 สมาคมดาราศาสตร์ไทย 4 6 6 8 กฤตภาส ชาญชัยวรวิทย์ - วัชร ฟุ้งวัชรากร นรธิป นพฤทธิ์ รพิศา นันทนีย์ -
3 2549 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
4 6-16 พ.ค. 2550 มหาวิทยาลัยขอนแก่น
5 28 เม.ย. - 3 พ.ค. 2551 มหาวิทยาลัยนเรศวร
6 5 - 10 พ.ค. 2552 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
7 9 - 14 พ.ค. 2553 โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย พชร วงศ์สุทธิโกศล
8[18] 31 เม.ย. - 6 พ.ค. 2554 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 5 นนท์ ปณิธานไพศาล -
9 16 - 21 พ.ค. 2555 โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ นนท์ ปณิธานไพศาล อติพล โพธิ์ศีสม
10 25 - 30 เม.ย. 2556 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ณัฐวัตร โพธิ์สุวรรณ เจษฎา มาไกล
11[19] 23 - 29 เม.ย. 2557 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 5 7 6 13 ณวรรต สวัสดิ์ทอง พิชญ์พล จิรวงศาพันธุ์ ณวรรต สวัสดิ์ทอง มนต์ชาดา สุขหร่อง พงศภัค ตันติวิชช์
12[20] 20 - 25 เม.ย. 2558 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 8 5 3 ชนิตา ทับทอง ณัชชา ฉันทชัยวัฒน์ พัชริยา ผาติรงควิวัฒน์ ณัชชา ฉันทชัยวัฒน์ ณัฐวัตร เตรียมแจ้งอรุณ
13[21] 5 - 10 พ.ค. 2559 มหาวิทยาลัยขอนแก่น 7 6 4 7 ภานุพงศ์ พุ่มพวง อารยา ศรวณีย์ เจตน์ อรุณแสงโรจน์ อารยา ศรวณีย์ กิจจา ครุจิต
14[22] 24 - 29 เม.ย. 2560 มหาวิทยาลัยนเรศวร 8 4 11 7 ภานุพงศ์ พุ่มพวง วริท วิจิตรวรศาสตร์ ภูมิรพี พิศุทธ์สินธุ์ แพรสุนันท์ จันทร์พานิช ปรมตถ์ บุณยะเวศ
15[23] 7 - 12 พ.ค. 2561 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 8 4 7 15 วริท วิจิตรวรศาสตร์ ศุภไกร ทีฆมงคล ธนรรณพ วุนวิริยะกิจ ศุภไกร ทีฆมงคล มณิสรา จิรพรสุวรรณ ภัทรพล เลาลัคนา
16[24] 28 เม.ย. - 3 พ.ค. 2562 โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย 9 0 7 6 ต้นกล้า ไข่มุกข์ วิวิศน์ ชุติวิกัย ธนดิศ เจริญรุจิจินต์ วสวัตติ์ จิระสุวิบูลย์ ศศมน พูลพิพัฒน์ ธนวันต์ ชัชฎานครเสฏฐ์
17[25] 5 - 10 ธ.ค.2563 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 10 10 13 8 ธนดิศ เจริญรุจิจินต์ พัฐธนนท์ พัฒนาการวิจิตร ไชยสรรค์ พิมพ์สมาน ณัฐภัทร ภูแสง กฤติน นวลจริง อัจฉริยา โรจน์บัณฑิต ฐณะวัฒน์ นาคมอญ
18[26] 10 - 15 ต.ค.2564 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 11 9 12 8 พัฐธนนท์ พัฒนาการวิจิตร สพล ไม้สนธิ์ ณัฐภัทร ภูแสง สพล ไม้สนธิ์ จิณณะ วัยวัฒนะ ณัฐภัทร ภูแสง
19[27] 13 -18 มิ.ย. 2565 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย 10 9 13 7 กฤติน นวลจริง - ณัฏฐณิชา สุกรีฑา นพณัฐ รัตนปริญญานนท์
20 25 - 30

พ.ค. 2566

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี


หมายเหตุ: G (Gold) = เหรียญทอง
S (Silver) = เหรียญเงิน
B (Bronze) = เหรียญทองแดง
H (Honorable Mention) = เกียรติคุณประกาศ
AW (Absolute Winner) = ผู้ชนะการแข่งขัน
BA (Best Overall) = รางวัลคะแนนรวมสูงสุด
BT (Best Theory) = รางวัลคะแนนภาคทฤษฎีสูงสุด
BDO (Best Practical) = รางวัลคะแนนภาคปฏิบัติสูงสุด แต่การแข่งขันครั้งที่17 -ครั้งที่18 ให้รางวัลแยกเป็น 2 รางวัล ได้แก่

BD (Best Data Analysis) = รางวัลคะแนนภาควิเคราะห์ข้อมูลสูงสุด (การแข่งขันครั้งแรกๆ เรียกการสอบภาควิเคราะห์ข้อมูลว่าภาคปฏิบัติ)

BO (Best Observation) = รางวัลคะแนนภาคสังเกตการณ์สูงสุด
BW (Best Woman Astronomer) = รางวัลนักดาราศาสตร์หญิง
BP (Best Provincial Student) = รางวัลคะแนนสูงสุด ศูนย์ภูมิภาค

ในการแข่งขันครั้งหลัง ๆ มีการมอบรางวัล Best Solution ให้กับนักเรียนที่แก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ในการแข่งขันภาคทฤษฎีด้วย

ครั้งที่ 17 ชนิศา พร้อมพัฒนภักดี ศูนย์โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ได้รับรางวัลจากข้อสอบข้อที่ 8

ครั้งที่ 18 สพล ไม้สนธิ์ ศูนย์โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ได้รับรางวัลจากข้อสอบข้อที่ 11

ครั้งที่ 19 ทัดภู อุดมเกียรติ ศูนย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับรางวัลจากข้อสอบข้อที่ 6

สถิติการแข่งขัน[แก้]

ผู้ได้รับรางวัลเหรียญทองหลายครั้ง[แก้]

รายชื่อผู้ได้รับรางวัลเหรียญทองจากการแข่งขันดาราศาสตร์โอลิมปิกระดับชาติตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไป

  • ตัวอักษรเลขครั้งปกติ = ระดับ ม.ต้น ตัวเอียง = ระดับ ม.ปลาย
  • (อันดับ) ตัวหนา แสดงถึงครั้งที่ผู้เข้าแข่งขันคนนั้นๆได้เป็นผู้แทนประเทศไทยไปแข่งขันในระดับนานาชาติ
ชื่อ จำนวนครั้ง ครั้งที่ (อันดับ)
กฤติน นวลจริง 4 16 (2) 17 (4) 18 (9) 19 (1)
กษิดิศ จันทโรจวงศ์ 4 13 (5) 14 (6) 15 (7) 16 (5)
วิชญ์ มูลสาร 4 16 (3) 17 (6) 18 (6) 19 (4)
ชนิตา ทับทอง 3 10 (8) 11 (3) 12 (1)
ญาณภัทร เหมรัฐพาณ 3 11 (3) 13 (4) 14 (2)
ณัฐภัทร ภูแสง 3 15 (5) 17 (10) 18 (4)
ณัฐวัตร โพธิ์สุวรรณ 3 8 (1) 9 (3) 10 (1)
ธนดิศ เจริญรุจิจินต์ 3 15 (2) 16 (3) 17 (1)
ธนวันต์ ชัชฎานรเสฏฐ์ 3 15 (3) 16 (9) 17 (3)
นนท์ ปณิธานไพศาล 3 7 (3) 8 (1) 9 (1)
บุณยกร ธารพานิช 3 16 (5) 17 (1) 18 (5)
ปวริศ ลัภกิตโร 3 11 (1) 12 (7) 13 (5)
พัฐธนนท์ พัฒนาการวิจิตร 3 16 (1) 17 (2) 18 (1)
ภานุพงศ์ พุ่มพวง 3 12 (3) 13 (1) 14 (1)
ภูมิรพี พิศุทธ์สินธุ์ 3 13 (1) 14 (4) 15 (2)
วริท วิจิตรวรศาสตร์ 3 13 (2) 14 (3) 15 (1)
วสวัตติ์ จิระสุวิบูลย์ 3 14 (6) 15 (1) 16 (4)


ผู้ได้รับคัดเลือกเป็นผู้แทนประเทศหลายครั้ง[แก้]

รายชื่อผู้ได้รับคัดเลือกเป็นผู้แทนประเทศไปแข่งขันระดับนานาชาติจากการแข่งขันดาราศาสตร์โอลิมปิกระดับชาติตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไป

3 ครั้ง[แก้]

กฤติน นวลจริง (เหรียญทองคะแนนรวมที่ 2 ของโลก IAO 2019 ผู้แทนประเทศไทยระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย(IOAA) 2020 และเหรียญเงิน IOAA 2022)

ญาณภัทร เหมรัฐพาณ (เหรียญเงิน IAO 2014 เหรียญทองแดง IOAA 2016 และเหรียญทอง IOAA 2017)

ณัฐวัตร โพธิ์สุวรรณ์ (เหรียญเงิน IAO 2011 เหรียญทองแดง IOAA 2012 และเหรียญเงิน IOAA 2013)

ธนดิศ เจริญรุจิจินต์ (เหรียญเงิน IAO 2018 เหรียญเงิน IOAA 2019 และผู้แทนประเทศไทยระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย(IOAA) 2020)

นนท์ ปณิธานไพศาล (เหรียญเงิน IAO 2010 เหรียญเงิน IOAA 2011 และเหรียญทอง IOAA 2012)

พัฐธนนท์ พัฒนาการวิจิตร (เหรียญเงิน IAO 2019 ผู้แทนประเทศไทยระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย(IOAA) 2020 และเหรียญทองคะแนนภาคสังเกตการณ์สูงสุด IOAA 2021)

ภานุพงศ์ พุ่มพวง (เหรียญทองคะแนนรวมที่ 1 ของโลก IAO 2015 เหรียญเงิน IOAA 2016 และเหรียญทองคะแนนรวมที่ 2 ของโลก คะแนนภาคสังเกตการณ์สูงสุด IOAA 2017)

ภูมิรพี พิศุทธิ์สินธุ์ (เหรียญเงิน IAO 2016 เหรียญเงิน IOAA 2017 และเหรียญเงิน IOAA 2018)

วริท วิจิตรวรศาสตร์ (เหรียญเงิน IAO 2016 เหรียญเงิน IOAA 2017 และเหรียญเงินคะแนนภาคสังเกตการณ์สูงสุด IOAA 2018)

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. https://www.posn.or.th/projects/astronomy
  2. https://www.posn.or.th/projects/nso
  3. https://www.posn.or.th/projects/nso
  4. http://thaiastro.nectec.or.th/olympiad/2546/junior/tao/prize.html
  5. http://thaiastro.nectec.or.th/olympiad/2547/tao/prize_j.html
  6. https://mgronline.com/qol/detail/9540000055986
  7. https://www.facebook.com/pg/TAO2014/photos/?tab=album&album_id=745024178873695
  8. https://www.facebook.com/NARITpage/photos/a.601061526624132/900832833313665/?type=3&theater
  9. https://sc.kku.ac.th/sciweb/3059.html
  10. https://www.facebook.com/TAONU14/posts/1907194729556800
  11. https://www.facebook.com/ThailandAstronomyOlympiad/posts/414865502258124
  12. https://www.facebook.com/ThailandAstronomyOlympiad/posts/612081392536533
  13. https://www.facebook.com/371541079923900/posts/pfbid02TbnKNju8MtPkiFJTvuwoAphb3NBaCpC5d8ZzYkBGXcMU1oTjsAbPQ91cFJRPURxtl/?d=n
  14. https://www.facebook.com/371541079923900/posts/pfbid02FQKTZrj6PEb6d7NmBi1VwNR1nvedGPrqEAVMKZbCTRrijLKSbE6Ujrc7VoLg3nMgl/?d=n
  15. https://www.facebook.com/2204275486550636/posts/pfbid02GjkPyYqJbYQNNNF6srEFVg8tsb5a63p6qU6aVYo7BgFWB1naNziE1mRKbwXL3F78l/?d=n
  16. http://thaiastro.nectec.or.th/olympiad/2546/junior/tao/prize.html
  17. http://thaiastro.nectec.or.th/olympiad/2547/tao/prize_s.html
  18. https://mgronline.com/qol/detail/9540000055986
  19. https://www.facebook.com/pg/TAO2014/photos/?tab=album&album_id=745024178873695
  20. https://www.facebook.com/NARITpage/photos/a.601061526624132/900832833313665/?type=3&theater
  21. https://sc.kku.ac.th/sciweb/3059.html
  22. https://www.facebook.com/TAONU14/posts/1907194729556800
  23. https://www.facebook.com/ThailandAstronomyOlympiad/posts/414865502258124
  24. https://www.facebook.com/ThailandAstronomyOlympiad/posts/612081392536533
  25. https://www.facebook.com/371541079923900/posts/pfbid02TbnKNju8MtPkiFJTvuwoAphb3NBaCpC5d8ZzYkBGXcMU1oTjsAbPQ91cFJRPURxtl/?d=n
  26. https://www.facebook.com/371541079923900/posts/pfbid02FQKTZrj6PEb6d7NmBi1VwNR1nvedGPrqEAVMKZbCTRrijLKSbE6Ujrc7VoLg3nMgl/?d=n
  27. https://www.facebook.com/2204275486550636/posts/pfbid02GjkPyYqJbYQNNNF6srEFVg8tsb5a63p6qU6aVYo7BgFWB1naNziE1mRKbwXL3F78l/?d=n

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • ธรรมนูญการแข่งขันดาราศาสตร์โอลิมปิกระดับชาติ
  • หลักสูตรค่ายดาราศาสตร์โอลิมปิก