ข้ามไปเนื้อหา

ชอโดร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หญิงสาวในเฮราต ประเทศอัฟกานิสถาน สวมชอโดร์แบบมีลวดลาย ซึ่งเป็นสิ่งที่พบได้ยากในบรรดาหญิงสาวในอิหร่านนับตั้งแต่การปฏิวัติอิหร่าน แต่ยังพบได้ทั่วไปในอัฟกานิสถานและทาจิกิสถาน

ชอโดร์ (เปอร์เซีย, อูรดู: چادر, แปลตรงตัว'เต็นท์') เป็นเครื่องแต่งกายส่วนนอกหรือเสื้อคลุมแบบเปิดที่สตรีหลายประเทศซึ่งได้รับอิทธิพลจากเปอร์เซียใช้งาน (อิหร่าน, อัฟกานิสถาน, ปากีสถาน และทาจิกิสถานในระดับหนึ่ง) เช่นเดียวกันกับชุมชนชีอะฮ์ในอิรัก, บาห์เรน, เลบานอน, อินเดีย และอัลเกาะฏีฟ ประเทศซาอุดีอาระเบียในพื้นที่สาธารณะหรือกลางแจ้ง

ชอโดร์เป็นผ้าครึ่งวงกลมยาวเต็มตัวที่เปิดด้านหน้า ผู้สวมใส่จะจับปิดด้านหน้าเมื่อดึงมาคลุมศีรษะ ชอโดร์ไม่มีช่องเปิดสำหรับมือ กระดุม หรือตะขอ โดยอาจจับปิดด้วยการพับไว้ใต้แขนของผู้สวมใส่ก็ได้ คำศัพท์นี้ในภาษาเปอร์เซียเก่าอาจใช้อ้างถึงผ้าเกือบทุกชนิด ผ้าคลุมศีรษะ หรือแม้แต่เต็นท์[1][ไม่อยู่ในแหล่งอ้างอิง] คำนิยามนี้ยังคงมีอยู่ในวิธภาษาเปอร์เซียตะวันออกอย่างทาจิกและดารีที่ใช้สำนวน ชอโดร์ หมายถึงผ้าหรือผ้าพันคอเกือบทุกชนิด[2][3] รวมถึงผ้าพันคอแบบหลวม ๆ ซึ่งในภาษาเปอร์เซียแบบอิหร่านไม่เหมาะที่จะเรียกว่าชอโดร์

ก่อนหน้าการปฏิวัติอิหร่านใน ค.ศ. 1978–1979 ชอโดร์สีดำมักใช้ในงานศพและช่วงไว้ทุกข์ ผ้าที่มีลวดลายสีสันสดใสเป็นผ้าธรรมดาที่สวมใส่ในชีวิตประจำวัน ปัจจุบัน ผู้หญิงอิหร่านส่วนใหญ่ที่สวมชอโดร์จะสวมชุดสีดำเมื่อออกไปข้างนอก และจะสวมชุดสีอ่อนสำหรับใช้ในร่ม

ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์

[แก้]

สมัยโบราณถึงอิสลามตอนต้น

[แก้]
แมเลก แจฮอน ฆอโนม ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแห่งอิหร่านกอญัรใน ค.ศ. 1848

Fadwa El Guindi ระบุต้นกำเนิดของผ้าคลุมในเมโสโปเตเมียโบราณที่ "ภรรยาและลูกสาวของชนชั้นสูงในชนชั้นขุนนางจะต้องสวมผ้าคลุมหน้า"[4] ผ้าคลุมถือเป็นสถานะชนชั้น และกฎการแต่งกายนี้เป็นไปตามกฎหมายป้องกันความฟุ่มเฟือย

Bruhn/Tilke ระบุไว้ใน A Pictorial History of Costume ค.ศ. 1941 พร้อมแสดงภาพวาดที่ระบุว่าคัดลอกจากภาพนูนของอะคีเมนิดเมื่อศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล เป็นภาพบุคคลที่มีใบหน้าส่วนล่างซ่อนอยู่ใต้ผ้ายาวที่พันรอบศีรษะ[5] บางคนอ้างอย่างเข้าใจผิดว่าเป็นผู้หญิง แต่ที่จริงคือทหารชาวมีดซ์[6] สตรีอะคีเมนิดในศิลปะเปิดเผยเรืองร่างเกือบตลอดเวลา[7] บันทึกคำว่า chador แบบแรกสุดปรากฏในอักษรปะห์ลาวีเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 6 ในฐานะชุดคลุมหัวสตรีของผู้หญิงที่นับถือศาสนาโซโรอัสเตอร์[8]

มีความเป็นไปได้ว่าธรรมเนียมการคลุมตัวยังคงสืบทอดต่อในจักรวรรดิซิลูซิด, พาร์เทีย และซาเซเนียน การสวมผ้าคลุมหน้าไม่เพียงแต่จำกัดเฉพาะสตรีผู้สูงศักดิ์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงกษัตริย์เปอร์เซียด้วย[8]

ในสมัยอิสลาม ชอโดร์ยังคงความหมายของการประดับประดาไว้ในอิหร่านบางส่วน แต่เมื่อเวลาผ่านไป ชอโดร์ได้รับความหมายจากศาสนาอิสลามและฮิญาบอิสลาม ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวคิดของอัลกุรอาน[9]

ก่อนอิสลาม

[แก้]

ในโบราณวัตถุบางส่วนจากสมัยอะคีเมนิด เช่น ภาพนูนที่ Ergili (อานาโตเลียตะวันตกเฉียงเหนือ), แบบผ้าที่ Pazyryk และลายประทับกรีก-อิหร่าน ปรากฏผ้าคลุมที่คล้ายกับผ้าคลุมที่สามารถพบได้แบบปัจจุบัน รูปปั้นบางส่วนจากยุคพาร์เทียแสดงให้เห็นภาพผู้หญิงสวมผ้าคลุมที่คล้ายกับชอโดร์ ซึ่งอยู่เหนือผ้าพันศีรษะ Zia Poor ยังหมายถึงผ้าคลุมศีรษะของผู้หญิงในรูปภาพที่ปรากฏบนแผ่นเงินของซาเซเนียนเป็นชอโดร์[10]

หลังอิสลาม

[แก้]

ปะห์ลาวี

[แก้]

การปฏิวัติอิหร่าน

[แก้]

หลังการปฏิวัติอิหร่าน เริ่มมีการบังคับให้สวมฮิญาบ ซึ่งถูกสตรีหลายคนคัดค้าน

ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1980 ในช่วงการปฏิวัติวัฒนธรรมอิหร่าน มีมติให้สตรีที่อยู่ในหน่วยงานราชการและสถาบันการศึกษาต้องสวมผ้าคลุมหน้า[11]

ด้านเศรษฐกิจ

[แก้]

ตามข้อมูลสถิติในปี ค.ศ. 2014 ชุดแชโดร์สีดำที่ถูกนำเข้ามายังอิหร่าน มีมูลค่ามากกว่า 100 ล้านดอลลาร์[12]

ชอโดร์ในวาระต่าง ๆ

[แก้]

ในประเทศอิหร่าน สุภาพสตรีจะสวมผ้าแชโดร์ในพิธีกรรมต่าง ๆ ทางศาสนาอิสลาม และจะสวมเมื่อไปยังสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อความเรียบร้อย[13] และศาสนาคริสต์ในอิหร่านก็มีคำสั่งและกฎระเบียบที่เน้นย้ำสำหรับบรรดาสุภาพสตรีเช่นกัน[14]

นอกอิหร่าน

[แก้]

ศัพท์เปอร์เซียเข้าสู่เอเชียใต้ และปรากฏในภาษาฮินดูสตานีว่า cādar (चादर, แผลงเป็นอังกฤษว่า chaddar, chuddar และ chudder)[15] อย่างไรก็ตาม cādar ของอินเดียและปากีสถานอาจดูคล้ายกับ dupatta[16][17] ศัพท์ภาษาฮินดูสตานียังหมายถึงผ้าปูประเภทอื่น เช่น ผ้าปูที่นอน[18][19]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Chador word origin". Etymologeek (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-04-02.
  2. "Search Engine". Afghan Dari Dictionary. สืบค้นเมื่อ 2022-04-02.
  3. "чодар | Таджикский Словарь". Tajik-Russian Dictionary. สืบค้นเมื่อ 2022-04-02.
  4. El Guindi, Fadwa (1999), Veil: Modesty, Privacy, and Resistance, Oxford/New York: Berg, p. 16.
  5. Bruhn, Wolfgang, and Tilke, Max (1955), Kostümwerk, Tübingen: Ernst Wasmuth, p. 13, plate 10.
  6. "Iran mistakenly promotes hijab with ancient bas-relief of veiled men". The Observers - France 24 (ภาษาอังกฤษ). 2015-04-13. สืบค้นเมื่อ 2021-11-28.
  7. CLOTHING ii. In the Median and Achaemenid periods ที่ Encyclopædia Iranica
  8. 8.0 8.1 ČĀDOR (2) ที่ Encyclopædia Iranica
  9. "˹O Prophet!˺ Tell the believing men to lower their gaze and guard their chastity. That is purer for them. Surely Allah is All-Aware of what they do. And tell the believing women to lower their gaze and guard their chastity, and not to reveal their adornments except what normally appears. Let them draw their veils over their chests, and not reveal their ˹hidden˺ adornments except to their husbands, their fathers, their fathers-in-law, their sons, their stepsons, their brothers, their brothers' sons or sisters' sons, their fellow women, those ˹bondwomen˺ in their possession, male attendants with no desire, or children who are still unaware of women's nakedness. Let them not stomp their feet, drawing attention to their hidden adornments. Turn to Allah in repentance all together, O believers, so that you may be successful.
    — Surah An-Nur 24:30-31"
    .
  10. "چادر - ویکی فقه". fa.wikifeqh.ir. สืบค้นเมื่อ 2024-09-24.
  11. Ramezani, Reza (2010). Hijab dar Iran az Enqelab-e Eslami ta payan Jang-e Tahmili [Hijab in Iran from the Islamic Revolution to the end of the Imposed war] (Persian), Faslnamah-e Takhassusi-ye Banuvan-e Shi’ah [Quarterly Journal of Shiite Women], Qom: Muassasah-e Shi’ah Shinasi, ISSN 1735-4730
  12. «واردات 100میلیون دلاری چادر مشکی» ["$ 100 million import of black Chador"]. پایگاه خبری تحلیلی خرداد نیوز [Khordadnews] (ภาษาเปอร์เซีย). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-03. สืบค้นเมื่อ 2014-08-31.
  13. «چادر یونیفرم مخصوص حرم است.» [The uniform Chador is for the shrine]. شبکه اطلاع رسانی راه دانا [Rah-e Dana Information Network] (ภาษาเปอร์เซีย). 2015-04-23.
  14. Durant, Will. تاریخ تمدن [History of Civilization]. انتشارات علمی و فرهنگی [Scientific and Cultural Publishing] (ภาษาเปอร์เซีย). Vol. 3. แปลโดย Ali Asghar Soroush; Hamid Enayat; Parviz Dariush. Tehran. pp. 698–699.
  15. "Chudder". American Heritage Dictionary (in: The Free Dictionary). A cotton shawl traditionally worn in India by men and women
  16. Habib, Kiran; Khan, Foqia Sadiq (2008). Women and Human Security in South Asia: The Cases of Bangladesh and Pakistan. University Press. p. 108. the woman was sent back on the horse with gifts and a chaddar / dupatta, signifying that a woman's honour has remained intact
  17. Leitner, Gottlieb William (1880). A Detailed Analysis of Abdul Ghafur's Dictionary of the Terms Used by Criminal Tribes in the Panjab. Punjab Government Civil Secretariat Press. p. 5. “Chándá kar le” for “Take off the sheet or chaddar or dupatta”
  18. Platts, John T. (1884). "A Dictionary of Urdu, Classical Hindi, and English". Digital Dictionaries of South Asia. p. 416. ćādar, s.f. A sheet; a table-cloth; a covering; a coverlet; a calico mantle or wrapper (of one fold, which reaches from the head to the ankles)
  19. "चादर". Collins Hindi-English Dictionary. A sheet is a large rectangular piece of cloth that you sleep on or cover yourself with in a bed.

อ่านเพิ่ม

[แก้]
  • Briant, Pierre (2002), From Cyrus to Alexander, Winona Lake: Eisenbrauns
  • Bruhn, Wolfgang, and Tilke, Max (1973), A Pictorial History of Costume, original published as Kostümwerk, 1955, Tübingen: Ernst Wasmuth
  • El Guindi, Fadwa (1999), Veil: Modesty, Privacy, and Resistance, Oxford/New York: Berg
  • Mir-Hosseini, Ziba (1996), "Stretching The Limits: A Feminist Reading of the Shari'a in Post-Khomeini Iran," in Mai Yamani (ed.), Feminism and Islam: Legal and Literary Perspectives, pp. 285–319. New York: New York University Press
  • Marjane Satrapi (2000), "Persepolis"