จักรพรรดิเปดรูที่ 2 แห่งบราซิล
จักรพรรดิเปดรูที่ 2 แห่งบราซิล | |||||
---|---|---|---|---|---|
พระบรมฉายาลักษณ์ เมื่อ ค.ศ. 1876 | |||||
จักรพรรดิแห่งบราซิล | |||||
ครองราชย์ | 7 เมษายน ค.ศ. 1831 – 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1889 | ||||
ราชาภิเษก | 18 กรกฎาคม ค.ศ. 1841 อาสนวิหารเก่าแห่งริโอเดจาเนโร | ||||
ก่อนหน้า | เปดรูที่ 1 | ||||
ถัดไป | ราชาธิปไตยถูกล้มล้าง | ||||
ประมุขพระราชวงศ์บราซิล | |||||
ระหว่าง | 7 เมษายน ค.ศ. 1831 – 5 ธันวาคม ค.ศ. 1891 | ||||
ก่อนหน้า | จักรพรรดิเปดรูที่ 1 แห่งบราซิล | ||||
ถัดไป | เจ้าหญิงอิซาเบล พระราชกุมารีแห่งบราซิล | ||||
พระราชสมภพ | 2 ธันวาคม ค.ศ. 1825 ณ พระราชวังเซา คริสโตเบา รีโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล | ||||
สวรรคต | 5 ธันวาคม ค.ศ. 1891 ณ ปารีส ประเทศฝรั่งเศส (พระชนมายุ 66 พรรษา) | ||||
พระราชบุตร | เจ้าชายอาฟงซู พระราชกุมารแห่งบราซิล เจ้าหญิงอิซาเบล พระราชกุมารีแห่งบราซิล เจ้าหญิงลีโอโพลดินาแห่งบราซิล เจ้าชายเปดรู พระราชกุมารแห่งบราซิล | ||||
| |||||
ราชวงศ์ | บราแกนซา | ||||
พระราชบิดา | จักรพรรดิเปดรูที่ 1 แห่งบราซิล | ||||
พระราชมารดา | อาร์คดัชเชสมาเรีย ลีโอโพลดิน่าแห่งออสเตรีย | ||||
ลายพระอภิไธย |
จักรพรรดิเปดรูที่ 2 แห่งบราซิล (โปรตุเกส: Dom Pedro II; 2 ธันวาคม ค.ศ. 1825 - 5 ธันวาคม ค.ศ. 1891) มีพระสมัญญานามว่า "ผู้มีจิตใจสูงส่ง" (the Magnanimous)[1] ทรงเป็นพระประมุขพระองค์ที่สองและพระองค์สุดท้ายแห่งจักรวรรดิบราซิล ทรงครองราชบัลลังก์มานานกว่า 58 ปี พระองค์ประสูติที่รีโอเดจาเนโร เป็นพระบุตรพระองค์ที่เจ็ดในจักรพรรดิเปดรูที่ 1 แห่งบราซิลกับอาร์คดัชเชสมาเรีย ลีโอโพลดิน่าแห่งออสเตรีย และเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ราชวงศ์บราแกนซาสายบราซิล พระราชบิดาของพระองค์สละราชบัลลังก์อย่างทันทีทันใดและเสด็จไปยังยุโรปในปีค.ศ. 1831 ทรงสละราชย์ให้กับพระราชโอรสขณะมีพระชนมายุ 5 พรรษาในฐานะจักรพรรดิเปดรูที่ 2 แห่งบราซิลและนำไปสู่พระชนม์ชีพวัยเด็กและวัยรุ่นที่น่าหวาดกลัวและอ้างว้าง พระองค์จำเป็นต้องใช้เวลาในการศึกษาหาความรู้เพื่อการปกครอง พระองค์ทรงรู้ว่ามันเป็นเพียงระยะเวลาสั้นๆของความสุขเพียงหนึ่งเดียวและทรงพบปะกับพระสหายรุ่นคราวเดียวกันเพียงจำนวนเล็กน้อย ประสบการณ์ของพระองค์กับเล่ห์เพทุบายในราชสำนักและความขัดแย้งทางการเมืองในช่วงเวลานี้ของพระองค์ได้รับส่งผลกระทบอย่างมากต่อพระอุปนิสัยในภายหลังของพระองค์ จักรพรรดิเปดรูที่ 2 ทรงเจริญพระชันษากลายเป็นผู้ที่มีความรู้สึกที่แรงกล้าต่อการปฏิบัติหน้าที่และทรงอุทิศพระองค์เพื่อประชาชนและประเทศชาติของพระองค์ ในทางตรงกันข้าม พระองค์ไม่ทรงพอพระทัยในบทบาทของพระองค์ในฐานะสมเด็จพระจักรพรรดิมากขึ้นเรื่อยๆ
การสืบทอดจักรวรรดิอยู่บนปากเหวแห่งการล่มสลาย จักรพรรดิเปดรูที่ 2 ทรงหันมาใช้ภาษาโปรตุเกสบราซิลเพื่อเข้าสู่อำนาจในเวทีระดับชาติ ประเทศได้เจริญเติบโตโดยแตกต่างจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างกลุ่มฮิสปานิกอเมริกาในเรื่องความมีเสถียรภาพทางการเมือง การคุ้มครองเสรีภาพในการพูดอย่างขันแข็ง การเคารพในสิทธิมนุษยชน การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่รุ่งเรืองและโดยเฉพาะอย่างยิ่งรูปแบบรัฐบาล การทำงานแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ บราซิลยังคงได้ชัยชนะในความขัดแย้งระหว่างประเทศทั้งสามกรณี (สงครามพลาทีน, สงครามอุรุกวัยและสงครามปารากวัย)ในรัชกาลของพระองค์ เช่นเดียวกับการชนะในข้อพิพาทในหลายประเทศอื่นๆ และความตึงเครียดภายในประเทศ จักรพรรดิเปดรูที่ 2 ทรงผลักดันอย่างเหนียวแน่นในการผ่านการเลิกทาสแม้จะมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่มีประสิทธิภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจ ผู้มีสติปัญญามีสิทธิในตนเอง องค์จักรพรรดิทรงสร้างพระเกียรติในฐานะผู้ทรงอุปถัมภ์ที่เข้มแข็งในการเรียนรู้, วัฒนธรรมและวิทยาศาสตร์ พระองค์ทรงเคารพและชื่นชมนักวิชาการเช่น ชาลส์ ดาร์วิน, วิกตอร์ อูโก และฟรีดริช นีทเชอ และพระองค์เป็นพระสหายกับริชาร์ด วากเนอร์, หลุยส์ ปาสเตอร์และเฮนรี วัดส์เวิร์ท ลองเฟลโลว์ และคนอื่นๆ
แม้ว่าจะทรงปรารถนาที่จะเปลี่ยนแปลงรูปแบบรัฐบาลที่ไม่ใช่ชาวบราซิลทั้งหมด องค์จักรพรรดิทรงถูกล้มราชบัลลังก์จากการรัฐประหารโดยฉับพลันที่เกือบจะไม่มีการสนับสนุนจากภายนอกของกลุ่มผู้นำทหารที่ต้องการการปกครองรูปแบบสาธารณรัฐที่นำโดยระบอบเผด็จการ จักรพรรดิเปดรูที่ 2 ทรงเบื่อหน่ายในสถาบันจักรพรรดิและสิ้นหวังในแนวโน้มของระบอบราชาธิปไตยในอนาคต แม้ว่าจะทรงได้รับการสนับสนุนอย่างท่วมท้น พระองค์ทรงได้รับอนุญาตไม่ต้องถูกเนรเทศและไม่ทรงสนับสนุนความพยายามใดๆในการฟื้นฟูสถาบันพระมหากษัตริย์ พระองค์ทรงดำรงพระชนม์ชีพช่วงสองปีสุดท้ายในยุโรปโดยการเนรเทศ ทรงประทับเพียงลำพังและมีพระราชทรัพย์เพียงน้อยนิด
รัชสมัยของจักรพรรดิเปดรูที่ 2 มาถึงจุดสิ้นสุดอย่างผิดปกติ พระองค์ทรงถูกล้มราชบัลลังก์ในขณะที่ทรงได้รับการยกย่องจากประชาชนสูงและทรงได้รับความนิยมจนถึงจุดสูงสุด และบางส่วนของความสำเร็จของพระองค์ได้ถูกนำมาสู่ความล้มเหลวในไม่ช้าของบราซิลที่มุ่งเข้าไปในระยะเวลานานของรัฐบาลที่อ่อนแอ, ระบอบเผด็จการ, และวิกฤตรัฐธรรมนูญและเศรษฐกิจ กลุ่มคนผู้ซึ่งเนรเทศพระองค์ได้เริ่มประพฤติตามแบบอย่างของพระองค์ในการบริหารสาธารณรัฐของชาวบราซิล ไม่กี่ทศวรรษหลังจากการเสด็จสวรรคตของพระองค์ พระเกียรติยศของพระองค์ได้ถูกฟื้นฟูและพระบรมศพได้ถูกนำกลับไปยังบราซิลด้วยการเฉลิมฉลองทั่วประเทศ นักประวัติศาสตร์ได้ยกย่ององค์จักรพรรดิในแง่บวกอย่างมากและหลายแห่งได้มีการจัดอันดับให้พระองค์เป็นบุคคลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในบราซิล
ช่วงต้นพระชนม์ชีพ
[แก้]ประสูติ
[แก้]เจ้าชายเปดรูประสูติเวลา 02.30 น. ของวันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ. 1825 ในพระราชวังเซา คริสโตเบา รีโอเดจาเนโร จักรวรรดิบราซิล[2] ทรงได้รับการตั้งพระนามตามนักบุญเปดรูแห่งอัลคันทารา[3][4] พระนามเต็มของพระองค์คือ เปดรู เดอ อัลคันทารา โจเอา คาร์ลอส ลีโอโพลโด ซัลวาดอร์ บีเบียโน ฟรานซิสโก ซาเวียร์ เดอ เปาลา ลีโอคาดีโอ มิเกล กาเบรียล ราฟาเอล กอนซากา[5] ทางพระราชบิดาของพระองค์คือ จักรพรรดิเปดรูที่ 1 แห่งบราซิล พระองค์ทรงเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ ราชวงศ์บราแกนซาสายบราซิล(ภาษาโปรตุเกส: Bragança) และทรงได้รับการถวายพระเกียรติเป็น "ดอม"(Dom; ลอร์ด)เมื่อแรกประสูติ[6] เจ้าชายเปดรูทรงเป็นพระราชนัดดาในพระเจ้าโจเอาที่ 6 แห่งโปรตุเกส ผู้เป็นพระอัยกาและทรงเป็นพระราชนัดดาในพระเจ้ามิเกลแห่งโปรตุเกส ผู้เป็นพระปิตุลา[7][8] พระราชมารดาของเจ้าชายเปดรูคือ อาร์คดัชเชสมาเรีย ลีโอโพลดิน่าแห่งออสเตรีย ทรงเป็นพระราชธิดาในจักรพรรดิฟรันซ์ที่ 2 จักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์พระองค์สุดท้าย ทางพระราชมารดา เจ้าชายเปดรูทรงเป็นพระราชนัดดาในจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 แห่งฝรั่งเศส ผู้เป็นพระมาตุลาและทรงเป็นพระญาติกับจักรพรรดินโปเลียนที่ 2, จักรพรรดิฟรันซ์ โยเซฟที่ 1แห่งจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีและจักรพรรดิแม็กซีมีเลียนที่ 1แห่งจักรวรรดิเม็กซิโก[9]
เจ้าชายเปดรูทรงเป็นพระราชโอรสที่ถูกต้องตามกฎหมายเพียงพระองค์เดียวของจักรพรรดิเปดรูที่ 1 ที่ทรงดำรงพระชนม์ชีพจนเจริญพระชันษา พระองค์ทรงได้รับการสถาปนาอย่างเป็นทางการในฐานะองค์รัชทายาทแห่งราชบัลลังก์บราซิลด้วยพระอิสริยยศ เจ้าชายรัชทายาท (Prince Imperial) ในวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1826[10][11] จักรพรรดินีมาเรีย ลีโอโพลดิน่าสิ้นพระชนม์ในวันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ. 1826 เพียงไม่กี่วันหลังจากทรงมีพระประสูติกาลบุตรซึ่งสิ้นพระชนม์ในวันประสูติ ขณะที่เจ้าชายเปดรูยังทรงมีพระชนมายุเพียง 1 พรรษา[12][13] สองปีครึ่งต่อมา พระราชบิดาของพระองค์ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงอเมลีแห่งเลาช์เทนเบิร์ก เจ้าชายเปดรูทรงพัฒนาความสัมพันธ์ที่รักพระนาง ซึ่งพระองค์ทรงถือว่าพระนางเป็นพระราชมารดาของพระองค์[14] จักรพรรดิเปดรูที่ 1 ทรงตัดสินพระทัยที่จะฟื้นฟูราชบัลลังก์โปรตุเกสให้แก่พระราชธิดาคือ สมเด็จพระราชินีนาถมาเรียที่ 2 ที่ซึ่งราชบัลลังก์ของพระนางทรงถูกช่วงชิงโดยพระเจ้ามิเกล ผู้เป็นพระปิตุลาและเป็นพระอนุชาในจักรพรรดิเปดรูที่ 1 เช่นเดียวกับสถานะทางการเมืองของจักรพรรดิเปดรูที่ 1 ที่ลดลงนำไปสู่การสละราชบัลลังก์อย่างกะทันหันของพระองค์ในวันที่ 7 เมษายน ค.ศ. 1831[15][16] พระองค์และจักรพรรดินีอเมลีเสด็จไปยังยุโรปทันที ทรงทิ้งเจ้าชายรัชทายาทไว้เบื้องหลัง ผู้ซึ่งได้ขึ้นครองราชบัลลังก์เป็น จักรพรรดิเปดรูที่ 2 แห่งบราซิล[17][18]
ช่วงต้นพระราชพิธีราชาภิเษก
[แก้]ก่อนที่จะเสด็จออกจากประเทศ จักรพรรดิเปดรูที่ 1 ทรงเลือกบุคคล 3 คนให้มาดูแลพระราชโอรสและพระราชธิดาที่ยังทรงอยู่ คนแรกคือ ฌูเซ โบนิเฟชิโอ เดอ อันดราดา ซึ่งเป็นพระสหายของพระองค์และเป็นผู้นำที่มีอิทธิพลในช่วงระหว่างเหตุการณ์อิสรภาพแห่งบราซิลโดยได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ปกครอง[19][20] คนที่สองคือ มาเรียนา เดอ เวอร์นา ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็น ไออา (aia;พระอภิบาล) นับตั้งแต่การประสูติของจักรพรรดิเปดรูที่ 2[21] ในขณะที่ทรงพระเยาว์ เจ้าชายรัชทายาททรงเรียกเธอว่า "ดาดามา" (Dadama) เนื่องจากพระองค์ไม่สามารถออกเสียงคำว่า "ดามา" (Dama) ซึ่งแปลว่า เลดี้ ได้ถูกต้อง[11] พระองค์ทรงยกย่องว่าเธอเป็นตัวแทนพระมารดาของพระองค์และพระองค์ยังคงเรียกชื่อเล่นของเธอแม้จะทรงเจริญพระชันษาแล้วด้วยความรัก[18][22] คนที่สามคือ ราฟาเอล ทหารผ่านศึกเชื้อสายแอฟโฟร-บราซิเลียนในสงครามคิสพลาทีน[21][23] เขาเป็นพนักงานในพระราชวังเซากริสโตเบา ซึ่งจักรพรรดิเปดรูที่ 1 ทรงไว้วางพระราชหฤทัยในตัวเขาอย่างมากและทรงโปรดให้เขาดูแลพระราชโอรส ซึ่งเป็นการดำเนินการดูแลในช่วงชีวิตที่เหลือของเขา[10][23]
โบนาเฟชิโอถูกปลดออกจากตำแหน่งในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1833 และแทนที่ด้วยผู้ปกครองคนอื่น[24] จักรพรรดิเปดรูที่ 2 ทรงใช้เวลาไปกับการศึกษาโดยมีเวลาเพียงสองชั่วโมงกำหนดไว้สำหรับเพื่อทรงพระสำราญ[25][26] ทรงมีความเฉลียวฉลาด แม้ว่าจะทรงห่างไกลจากความเป็นอัจฉริยะแต่ก็ทรงสามารถที่จะเปิดรับความรู้ได้อย่างง่ายดายมาก[27] อย่างไรก็ตามชั่วโมงสำหรับการศึกษาทรงต้องใช้ความอุตสาหะมากและเป็นการเรียกร้องเพื่อการเตรียมพระองค์ในฐานะพระมหากษัตริย์ พระองค์ทรงมีพระสหายรุ่นคราวเดียวกันจำนวนน้อยและทรงต้องติดต่อกับพระเชษฐภคินีของพระองค์อย่างจำกัด สิ่งที่มาควบคู่กับการสูญเสียพระราชยิดาและพระราชมารดาอย่างฉับพลันของจักรพรรดิเปดรูที่ 2 คือ ทรงได้รับการอบรมและอภิบาลที่ไม่มีความสุขและโดดเดี่ยว[28] สภาพแวดล้อมที่ทรงต้องเผชิญจากการที่ทรงถูกอภิบาลดูแลได้เปลี่ยนให้พระองค์ทรงมีพระบุคลิกขี้อายและขาดแคลน ทรงเห็นหนังสือเป็นที่หลบภัยและทรงหลีกหนีจากโลกความเป็นจริง[29][30]
ความเป็นไปได้ในการลดอายุการบรรลุนิติภาวะขององค์จักรพรรดิ แทนที่จะรอจนกว่าทรงมีพระชนมายุครบ 18 พรรษา ซึ่งอายุได้ถูกเลื่อนขึ้นในปีค.ศ. 1835[31] การเลื่อนฐานะการขึ้นสู่ราชบัลลังก์ได้นำไปสู่ช่วงเวลาที่มีปัญหาของวิกฤตที่ไม่สิ้นสุด คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้สร้างการปกครองในนามพระองค์ซึ่งถูกสั่นคลอนตั้งแต่เริ่มต้นโดยข้อพิพาทระหว่างฝ่ายการเมืองและเกิดการกบฏทั่วประเทศ[32] นักการเมืองซึ่งเข้ามามีอำนาจในช่วงระหว่างคริสต์ทศวรรษที่ 1830 ในขณะนี้เริ่มเคยชินกับความผิดพลาดในการปกครอง ตามความคิดเห็นของนักประวัติศาสตร์ โรเดอริค เจ. บาร์แมน ที่ว่า ในค.ศ. 1840 "พวกเขาได้สูญเสียความเชื่อมั่นในความสามารถทางการปกครองประเทศของตนเอง พวกเขายอมรับจักรพรรดิเปดรูที่ 2 ในฐานะพระประมุขผู้มีอำนาจ ผู้ซึ่งทรงแสดงภาพแทนในฐานะทรงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับความอยู่รอดของประเทศ"[33] เมื่อทรงถูกทูลถามโดยนักการเมืองว่า ถ้าพระองค์ทรงต้องการพระราชอำนาจเต็มหรือไม่ จักรพรรดิเปดรูที่ 2 ทรงยอมรับอย่างเอียงอาย[34] ในวันรุ่งขึ้น วันที่ 23 กรกฎาคม ค.ศ. 1840 สมัชชาแห่งชาติ (รัฐสภาบราซิล) ได้ประกาศอย่างเป็นทางการให้จักรพรรดิเปดรูที่ 2 พระชนมายุ 14 พรรษา บรรลุนิติภาวะ[35] ต่อมาพระองค์ทรงเข้าพระราชพิธีสรรเสริญ, สวมมงกุฎและอุทิศเพื่อพระเจ้าในวันที่ 18 กรกฎาคม ค.ศ. 1841[36][37]
การกระชับอำนาจ
[แก้]การสถาปนาพระราชอำนาจ
[แก้]การพ้นจากตำแหน่งของคณะผู้สำเร็จราชการที่มีความขัดแย้งได้นำมาซึ่งความมั่นคงของรัฐบาล จักรพรรดิเปดรูที่ 2 ทรงถูกมองไปทั่วประเทศในฐานะผู้ทรงพระราชอำนาจอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งเป็นตำแหน่งที่วางพระองค์อยู่เหนือการแบ่งพรรคแบ่งพวกและข้อพิพาทเล็กๆน้อยๆ แต่พระองค์ก็ยังทรงเป็นไม่มากไปกว่าเด็กหนุ่ม และขี้อาย ไม่มั่นคงและยังไม่เจริญพระชันษา[38] ธรรมชาติของพระองค์เป็นผลมาจากวัยเยาว์ที่แตกหัก เมื่อพระองค์ทรงมีประสบการณ์จากการถูกทอดทิ้ง เล่ห์เพทุบายและการทรยศ[39] เบื้องหลังของพระองค์ มีกลุ่มคนระดับสูงในพระราชวังและนักการเมืองที่โดดเด่นนำโดย ออรีลีอาโน โคทินโฮ (ต่อมาคือ ไวส์เคานท์แห่งเซเปติบา) ได้กลายเป็นที่รู้จักในฐานะ "ฝ่ายราชสำนัก" ซึ่งพวกเขาได้สร้างอิทธิพลเหนือยุวจักรพรรดิ บางคนก็ใกล้ชิดกับพระองค์มาก เช่น มาเรียนา เดอ เวอร์นา และเจ้ากรมวัง เปาโล บาร์บอซา ดา ซิลวา[40] พระองค์ทรงถูกใช้เป็นเครื่องมือของข้าราชสำนักในการต่อต้านศัตรูที่แท้จริงหรือคนที่พวกเขาสงสัยว่าเป็นศัตรู[41]
รัฐบาลบราซิลได้รับประกันเจ้าหญิงเทเรซา คริสตินาแห่งราชอาณาจักรซิซิลีทั้งสองเพื่อหมั้นหมายกับจักรพรรดิ พระนางและจักรพรรดิเปดรูที่ 2 ทรงอภิเษกสมรสโดยฉันทะในเนเปิลส์วันที่ 30 พฤษภาคม ค.ศ. 1843[42] แต่เมื่อทรงพบกับพระนางจริงๆ องค์จักรพรรดิทรงผิดหวังอย่างเห็นได้ชัด[43] พระนางเทเรซา คริสตินาทรงมีพระวรกายเตี้ย ทรงมีน้ำหนักมากและแม้ว่าจะไม่ทรงถึงกับอัปลักษณ์ แต่ก็ไม่ทรงพระสิริโฉม[44] พระองค์ทรงพยายามที่จะซ่อนความท้อแท้เล็กน้อย ผู้สังเกตการณ์คนหนึ่งบอกว่าพระองค์ทรงหันหลังให้แก่พระนางเทเรซา คริสตินา อีกภาพหนึ่งกล่าวว่า พระองค์ทรงตกพระทัยอย่างมากและมีพระประสงค์ที่จะนั่ง และมันก็อาจจะเป็นไปได้หากเหตุการณ์ทั้งคู่เกิดขึ้น[45] ในคืนนั้น จักรพรรดิเปดรูที่ 2 ทรงกันแสงและทรงตรัสกับมาเรียนา เดอ เวอร์นา ว่า "พวกเขาหลอกฉัน ดาดามา!"[46] ต้องใช้เวลาหลายชั่วโมงในการโน้มน้าวให้พระองค์รู้ถึงหน้าที่ที่ต้องทรงดำเนินต่อไป[47] พิธีศีลสมรสโดยมีการให้สัตย์สาบานผ่านตัวแทนก่อนหน้านี้แล้วและมีการรับพรสมรสในวันต่อมา วันที่ 4 กันยายน[48]
ในช่วงปลายค.ศ. 1845 และต้นค.ศ. 1846 จักรพรรดิได้เสด็จประพาสแคว้นทางตอนใต้ของบราซิล โดยทรงเดินทางผ่านเซาเปาลู (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของรัฐปารานาในขณะนั้น), รัฐซันตากาตารีนาและรัฐรีโอกรันดีโดซูล พระองค์ทรงพบกับการรับเสด็จอย่างอบอุ่นและกระตือรือร้น[49] ในตอนนั้นจักรพรรดิเปดรูที่ 2 ทรงเจริญพระชันษาสมบูรณ์ทั้งพระวรกายและจิตใจ พระองค์ทรงเจริญพระชันษาด้วยความสูง 1.90 เมตร (6 ฟุต 3 นิ้ว)1.90 เมตร (6 ฟุต 3 นิ้ว)*[50][51] ด้วยพระเนตรสีฟ้าและพระเกศาสีบลอนด์ทอง[52] ทรงพระสิริโฉมหล่อเหลา[53] เมื่อทรงเจริญพระชันษา จุดอ่อนของพระองค์ได้จางหายไปและจุดแข็งทางบุคลิกภาพของพระองค์ได้เด่นขึ้นมา พระองค์ทรงมีความมั่นพระทัยและมีความรู้ไม่เพียงแต่ทรงมีความเป็นธรรมและความขยันหมั่นเพียรเท่านั้น แต่ยังทรงสุภาพ อดทนและสง่างาม บาร์แมนได้กล่าวว่า พระองค์ยังคง"มีอารมณ์ของพระองค์ภายใต้ระเบียบวินัยเหล็ก พระองค์ไม่ทรงเคยหยาบคายและไม่เคยมีพระอารมณ์ที่ไม่ดี พระองค์ทรงเป็นคนที่รอบคอบเป็นพิเศษในด้านการพูดและความระมัดระวังในการกระทำ"[54] สิ่งที่สำคัญที่สุดในช่วงนี้คือ เป็นจุดสิ้นสุดของอำนาจจากฝ่ายราชสำนัก จักรพรรดิเปดรูที่ 2 ทรงได้รับการรับรองพระราชอำนาจอย่างเต็มที่และทรงประสบความสำเร็จในการวางแผนทำให้สิ้นสุดอิทธิพลของข้าราชสำนักโดยการปลดพวกเขาออกจากวงในของพระองค์ ในขณะที่ทรงหลีกเลี่ยงที่จะทำให้เกิดความแตกแยกในสาธารณะ[55]
การยกเลิกการค้าทาสและสงคราม
[แก้]จักรพรรดิเปดรูที่ 2 ตอ้งเผชิญกับวิกฤตการณ์ถึงสามครั้งระหว่างปีค.ศ. 1848 และ 1852[56] ครั้งแรกคือการเผชิญหน้ากับการลักลอบนำเข้าทาสอย่างผิดกฎหมาย ซึ่งเป็นสิ่งต้องห้ามในปีค.ศ. 1826 ในส่วนสนธิสัญญากับสหราชอาณาจักร[57] การค้าทาสยังคงมีอย่างไม่ลดน้อยถอยลง แต่รัฐบาลอังกฤษตามพระราชบัญญัติอเบอร์ดีนปีค.ศ. 1845 ได้อนุญาตให้เรื่อรบอังกฤษขึ้นเรือของบราซิลและยึดครองเมื่อพบว่ามีการกระทำใดๆที่เกี่ยวข้องกับการค้าทาส[58] ในขณะที่บราซิลกำลังต่อสู้กับปัญหานี้ กบฏไปรเอราได้เกิดขึ้นในวันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1848 นี่เป็นความขัดแย้งระหว่างกลุ่มนักการเมืองท้องถิ่นภายในรัฐเปร์นัมบูกู ซึ่งในที่สุดถูกปราบในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1849 กฎหมายยูซีบิโอเดกูเอโรส (Eusébio de Queirós Law)ได้ถูกประกาศใช้ในวันที่ 4 กันยายน ค.ศ. 1850 ซึ่งทำให้รัฐบาลบราซิลมีอำนาจในวงกว้างที่จะทำการต่อสู้กับการค้าทาสที่ผิดกฎหมาย ด้วยเครื่องมือใหม่นี้ บราซิลได้ย้ายไปกำจัดการนำเข้าทาส ในปีค.ศ. 1852 วิกฤตครั้งแรกนี้ได้สิ้นสุด และอังกฤษได้ยอมรับว่าการค้าทาสนี้ได้ถูกปราบปรามสิ้นแล้ว[59]
วิกฤตครั้งที่สามเป็นความขัดแย้งกับสมาพันธรัฐอาร์เจนตินาเกี่ยวกับความพยายามครอบครองดินแดนที่ติดกับรีโอเดลาปลาตาและระบบการคมนาคมทางน้ำอย่างเสรี[60] นับตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1830 ผู้นำเผด็จการอาร์เจนตินาคือ ฮวน มานูเอล เดอ โรสซัสได้สนับสนุนการกบฏภายในอุรุกวัยและบราซิล เพียงในปีค.ศ. 1850 บราซิลก็สามารถรับมือกับภัยคกคามที่สนับสนุนโดยโรสซัสได้[60] พันธมิตรที่ก่อตัวขึ้นระหว่างบราซิล, อุรุกวัยและชาวอาร์เจนตินาที่ไม่พอใจ[60] ชักนำไปสู่สงครามพลาทีนและการล้มล้างผู้นำอาร์เจนตินาในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1852[61][62] บาร์แมนได้กล่าวว่า "เมื่อพิจารณาถึงเกียรติยศควรจะ...มอบให้กับองค์จักรพรรดิ ผู้ทรงมีพระทัยเย็น, ความยืนหยัดในสิ่งที่ประสงค์และความรู้สึกของความเหมาะสมในสิ่งที่พิสูจน์แล้วว่าเป็นสิ่งที่จำเป็น"[56]
การนำทางที่ประสบความสำเร็จของจักรวรรดิต่อวิกฤตเหล่านี้ได้เพิ่มความมั่นคงและศักดิ์ศรีของประเทศอย่างมาก และบราซิลได้กลายเป็นมหาอำนาจของซีกโลก[63] ในสากลโลก ชาวยุโรปพยายามมองประเทศในฐานะเป็นสิ่งที่รวบรวมอุดมการณ์เสรีนิยมที่เหมือนๆกัน เช่น เสรีภาพของสื่อและการเคารพรัฐธรรมนูญเพื่อเสรีภาพ ระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญแบบรัฐสภายังคงยืนอยู่ขั้วตรงข้ามกับการผสมผสานของเผด็จการและความไม่มั่นคงที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นของประเทศอื่นๆในลาตินอเมริกาช่วงเวลานี้[64]
พัฒนาการ
[แก้]จักรพรรดิเปดรูที่ 2 และการเมือง
[แก้]ในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษที่ 1850 บราซิลสงบสุขด้วยความมั่นคงภายในและความเจริญทางเศรษฐกิจ[65][66] ภายใต้นายกรัฐมนตรีฮอนอริโอ เฮอเมโต คาร์เนโร เลเอา (ต่อมาคือไวส์เคานท์ และหลังจากนั้นคือมาควิสแห่งปารานา) จักรพรรดิทรงดำเนินนโยบายเพื่อสร้างความทะเยอทะยานของพระองค์คือ คอนซิลีอาเชา (conciliação;การเจรจาต่อรอง) และเมลโฮราเมนตอส (melhoramentos;การพัฒนาทางวัตถุ)[67] การปฏิรูปของจักรพรรดิเปดรูที่ 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้การเกิดการแบ่งพรรคแบ่งพวกทางการเมืองเกิดขึ้นน้อยที่สุด และมุ่งหน้าการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานและเศรษฐกิจ ทั้งประเทศได้ถูกเชื่อมต่อด้วยการขนส่งระบบราง, ระบบโทรเลขทางไฟฟ้าและเส้นทางเรือกลไฟ รวมอยู่ภายใต้องค์กรเดียว[65] ความเห็นทั่วไปทั้งภายในและภายนอกประเทศได้มองว่าความสำเร็จนี้เนื่องมาจาก "การกำกับดูแลของสถาบันพระมหากษัตริย์และลักษณะบุคลิกภาพของจักรพรรดิเปดรูที่ 2"[65]
จักรพรรดิเปดรูที่ 2 ไม่ทรงเป็นทั้งประมุขในนามแบบอังกฤษหรือพระบุคลิกที่มีอำนาจสูงสุดแบบพระเจ้าซาร์แห่งรัสเซีย จักรพรรดิทรงใช้พระราชอำนาจผ่านการร่วมมือกับนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง, กลุ่มผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและแรงสนับสนุนที่ทรงเป็นที่นิยมของประชาชน[68] การแสดงพระองค์ของจักรพรรดิเปดรูที่ 2 บนฉากการเมืองทรงมีส่วนสำคัญในโครงสร้างทางการเมืองการปกครอง ซึ่งรวมทั้งในคณะรัฐมนตรี, สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา (หลังจากนั้นทั้งสองได้รวมกันเป็นรัฐสภา) พระองค์ทรงใช้การมีส่วนร่วมของพระองค์ในการเข้ากำกับรัฐบาลในทางตรงโดยใช้ลักษณะของอิทธิพล ทิศทางของพระองค์จึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ แม้ว่าจะไม่มีการถ่ายโอนอำนาจเป็น "การปกครองโดยคนเดียว"[69] ในการรับมือกับพรรคการเมือง พระองค์"จำเป็นต้องรักษาชื่อเสียงเพื่อความเป็นธรรม การทำงานสอดคล้องกับอารมณ์ที่เป็นที่นิยม และหลีกเลี่ยงการเอาเปรียบที่เห็นได้ชัด ตามเจตนาของพระองค์ที่ปรากฏบนฉากทางการเมือง"[70]
การประสบความสำเร็จของจักรพรรดิในทางการเมืองส่วนใหญ่ได้ปรากฏอย่างโดดเด่นมากขึ้นเนื่องจากลักษณะของการไม่เผชิญหน้าและการมีมารยาทร่วมกัน ด้วยพระองค์ทรงเข้าถึงทั้งปัญหาและผู้นำของฝ่ายต่างๆซึ่งพระองค์ได้ทำการเจรจาต่อรอง พระองค์ทรงมีพระบุคลิกที่พระทัยกว้างอย่างน่าทึ่ง ไม่ค่อยทรงโจมตีหรือบาดหมางในคำวิพากษ์วิจารณ์, ฝ่ายค้าน หรือแม้กระทั่งคนไร้ความสามารถ[71] พระองค์ไม่ทรงมีอำนาจตามรัฐธรรมนูญที่จะบังคับให้ผู้คนยอมรับตามพระดำริของพระองค์โดยปราศจากการสนับสนุน และการสร้างความร่วมมือของพระองค์ต่อการปกครองประเทศยังคงมีความก้าวหน้าและเป็นการเปิดใช้ระบบการเมืองที่ทำงานอย่างประสบความสำเร็จ[72] จักรพรรดิทรงเคารพสิทธิของฝ่ายนิติบัญญัติแม้ว่าพวกเขาจะทำการต่อต้าน, กระทำการล่าช้า หรือทำการขัดขวางเป้าหมายและการแต่งตั้งของพระองค์[73] นักการเมืองส่วนใหญ่ชื่นชมและสนับสนุนบทบาทของพระองค์ หลายคนที่มีชีวิตอยู่ผ่านช่วงเวลาสมัยคณะผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน เป็นช่วงที่ขาดจักรพรรดิผู้ทรงสามารถยืนหยัดเหนือผลประโยชน์เล็กๆน้อยๆและพิเศษนำไปสู่ช่วงปีแห่งความขัดแย้งระหว่างกลุ่มการเมือง ประสบการณ์ของพวกเขาในชีวิตทางการเมืองได้เชื่อมั่นว่า จักรพรรดิเปดรูที่ 2 ทรงเป็นสิ่งที่"ขาดไม่ได้ในการสร้างความสงบและความเจริญรุ่งเรืองของบราซิลให้ดำเนินต่อไป"[74]
พระชนม์ชีพในราชวงศ์
[แก้]การอภิเษกสมรสของจักรพรรดิเปดรูที่ 2 และพระนางเทเรซา คริสตินา เริ่มต้นไม่ได้ด้วยดี แต่ด้วยการที่ทรงเจริญพระชันษา มีความอดทนอดกลั้นและการประสูติของบุตรพระองค์แรกคือ เจ้าชายอฟอนโซ ได้ทำให้ความสัมพันธ์ของทั้งสองพระองค์พัฒนาดีขึ้นมาก[61][75] หลังจากนั้นจักรพรรดินีเทเรซา คริสตินาได้มีพระประสูติกาลพระโอรสธิดาตามมาอีกได้แก่ เจ้าหญิงอิซาเบลในปีค.ศ. 1846 เจ้าหญิงลีโอโพลดินาในปีค.ศ. 1847 และสุดท้ายคือเจ้าชายเปดรูในปีค.ศ. 1848[76] อย่างไรก็ตามพระโอรสทั้งสองพระองค์ก็ได้สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ซึ่งสร้างความโศกเศร้าแก่จักรพรรดิมาก[77] นอกจากที่ทรงทุกข์ทรมานในฐานะที่เป็นบิดา มุมมองของพระองค์ต่อจักรวรรดิได้เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง แม้ว่าพระองค์จะทรงรักพระราชธิดามากแต่ก็ไม่ทรงเชื่อว่าเจ้าหญิงอิซาเบลจะมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จเมื่อได้ครองราชบัลลังก์แม้ว่าเจ้าหญิงจะทรงเป็นรัชทายาทของพระองค์ก็ตาม พระองค์ทรงเห็นว่ารัชทายาทของพระองค์จำเป็นที่จะต้องเป็นบุรุษเท่านั้นที่จะสามารถขับเคลื่อนสถาบันพระมหากษัตริย์ต่อไปได้[78] พระองค์ได้ทำให้สถาบันจักรพรรดิผูกติดกับความสัมพันธ์ในตัวพระองค์เองมากขึ้นเรื่อยๆว่าจะไม่มีทางรอดหากไม่มีพระองค์[79] เจ้าหญิงอิซาเบลและพระขนิษฐาทรงได้รับการศึกษาที่โดดเด่นแม้ว่าจะไม่ทรงได้รับการเตรียมการปกครองประเทศเลย จักรพรรดิเปดรูที่ 2 ทรงตัดเจ้าหญิงอิซาเบลจากการมีส่วนร่วมในการดำเนินการทางธุรกิจและการตัดสินใจของรัฐบาล[80]
พระโอรสธิดา
[แก้]จักรพรรดิเปดรูที่ 2 แห่งบราซิลทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงเทเรซา คริสตินาแห่งทูซิชิลี มีพระโอรสธิดาร่วมกัน 4 พระองค์ ได้แก่
พระนาม | ประสูติ | สิ้นพระชนม์ | คู่สมรส และพระโอรส-ธิดา หมายเหตุ | |
เจ้าชายอาฟงซู พระราชกุมารแห่งบราซิล | ค.ศ. 1845 |
23 กุมภาพันธ์ค.ศ. 1847 |
11 มิถุนายนทรงดำรงพระอิสริยยศ พระราชกุมารแห่งบราซิลจนกระทั่งสิ้นพระชนม์ | |
เจ้าหญิงอิซาเบล พระราชกุมารีแห่งบราซิล | ค.ศ. 1846 |
29 กรกฎาคมค.ศ. 1921 |
14 พฤศจิกายนอภิเษกสมรส วันที่ 15 ตุลาคม ค.ศ. 1864 กับ เจ้าชายแกสตัน เคานท์แห่งอู มีพระโอรสธิดา 4 พระองค์ ได้แก่ เจ้าหญิงลุยซา วิตโตเรีย เจ้าชายเปดรู เดอ อัลคันทารา เจ้าชายแห่งกราว-ปารา เจ้าชายลูอิสแห่งออร์เลออง-บราแกนซา เจ้าชายอันโตนิโอ กัสเตาแห่งออร์เลออง-บราแกนซา ทรงเป็นทั้งพระราชกุมารีแห่งบราซิลและเคานท์เตสแห่งอูจากการอภิเษกสมรสกับเจ้าชายแกสตันแห่งออร์เลออง พระนางยังคงดำรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แห่งจักรวรรดิในขณะที่พระราชบิดาเสด็จเยือนต่างประเทศ | |
เจ้าหญิงลีโอโพลดินาแห่งบราซิล | ค.ศ. 1847 |
13 กรกฎาคมค.ศ. 1871 |
7 กุมภาพันธ์อภิเษกสมรส วันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ. 1864 กับ เจ้าชายลุดวิก ออกัสแห่งแซ็กซ์-โคบูร์ก-โคฮารี มีพระโอรส 4 พระองค์ ได้แก่ เจ้าชายปีเตอร์แห่งแซ็กซ์-โคบูร์ก-โคฮารี เจ้าชายออกัส ลีโอโปลด์แห่งแซ็กซ์-โคบูร์ก-โคฮารี เจ้าชายโจเซฟแห่งแซ็กซ์-โคบูร์ก-โคฮารี เจ้าชายลุดวิกแห่งแซ็กซ์-โคบูร์ก-โคฮารี | |
เจ้าชายเปดรู พระราชกุมารแห่งบราซิล | ค.ศ. 1848 |
19 กรกฎาคมค.ศ. 1850 |
9 มกราคมทรงดำรงพระอิสริยยศ พระราชกุมารแห่งบราซิลจนกระทั่งสิ้นพระชนม์ |
พระราชตระกูล
[แก้]
เชิงอรรถ
[แก้]- ↑ Barman 1999, p. 85.
- ↑ See:
- Besouchet 1993, p. 39,
- Carvalho 2007, pp. 11–12,
- Olivieri 1999, p. 5.
- ↑ Calmon 1975, p. 3.
- ↑ Schwarcz 1998, p. 45.
- ↑ See:
- Vainfas 2002, p. 198,
- Calmon 1975, p. 4,
- Schwarcz 1998, p. 45.
- ↑ Barman 1999, p. 424.
- ↑ Besouchet 1993, p. 40.
- ↑ Schwarcz 1998, p. 47.
- ↑ See:
- Schwarcz 1998, p. 47,
- Barman 1999, p. 1,
- Besouchet 1993, p. 41.
- ↑ 10.0 10.1 Vainfas 2002, p. 198.
- ↑ 11.0 11.1 Calmon 1975, p. 5.
- ↑ Calmon 1975, p. 15.
- ↑ Besouchet 1993, p. 41.
- ↑ See:
- Carvalho 2007, p. 16,
- Besouchet 1993, p. 46,
- Barman 1999, pp. 26–27.
- ↑ Carvalho 2007, p. 21.
- ↑ Lira 1977, Vol 1, p. 15.
- ↑ Olivieri 1999, p. 5.
- ↑ 18.0 18.1 Barman 1999, p. 29.
- ↑ Lira 1977, Vol 1, p. 17.
- ↑ Schwarcz 1998, p. 50.
- ↑ 21.0 21.1 Carvalho 2007, p. 31.
- ↑ Besouchet 1993, p. 39.
- ↑ 23.0 23.1 Calmon 1975, p. 57.
- ↑ See:
- Schwarcz 1998, p. 57,
- Carvalho 2007, p. 25,
- Lira 1977, Vol 1, p. 33.
- ↑ Carvalho 2007, p. 27.
- ↑ Olivieri 1999, p. 8.
- ↑ See:
- Olivieri 1999, p. 6,
- Besouchet 1993, p. 14,
- Lira 1977, Vol 1, pp. 46, 50.
- ↑ See:
- Vainfas 2002, pp. 198–199,
- Carvalho 2007, pp. 27, 30–31,
- Barman 1999, p. 33,
- Besouchet 1993, p. 50,
- Schwarcz 1998, p. 57.
- ↑ Carvalho 2007, pp. 29, 33.
- ↑ Barman 1999, p. 39.
- ↑ See:
- Carvalho 2007, p. 37,
- Schwarcz 1998, p. 67,
- Olivieri 1999, p. 11.
- ↑ See:
- Lira 1977, Vol 1, p. 21,
- Schwarcz 1998, p. 53,
- Carvalho 2007, p. 21.
- ↑ Barman 1999, p. 317.
- ↑ See:
- Calmon 1975, p. 136,
- Lira 1977, Vol 1, p. 70,
- Barman 1999, p. 72,
- Carvalho 2007, p. 39,
- Schwarcz 1998, p. 68.
- ↑ Carvalho 2007, p. 40.
- ↑ Schwarcz 1998, p. 73.
- ↑ Lira 1977, Vol 1, p. 72.
- ↑ Barman 1999, pp. 74–75.
- ↑ Barman 1999, p. 66.
- ↑ Barman 1999, p. 49.
- ↑ Barman 1999, p. 80.
- ↑ See:
- Carvalho 2007, p. 51,
- Lira 1977, Vol 1, p. 122,
- Olivieri 1999, p. 19.
- ↑ See:
- Barman 1999, p. 97,
- Lira 1977, Vol 1, p. 124,
- Calmon 1975, p. 239.
- ↑ See:
- Barman 1999, p. 97,
- Lira 1977, Vol 1, p. 124,
- Schwarcz 1998, p. 95.
- ↑ Barman 1999, p. 97.
- ↑ See:
- Barman 1999, p. 97,
- Calmon 1975, p. 239,
- Carvalho 2007, p. 52.
- ↑ See:
- Barman 1999, p. 97,
- Calmon 1975, p. 239,
- Carvalho 2007, p. 52.
- ↑ See:
- Lira 1977, Vol 1, pp. 125–126,
- Calmon 1975, p. 240,
- Barman 1999, p. 98.
- ↑ Barman 1999, p. 111.
- ↑ Carvalho 2007, p. 9.
- ↑ Barman 1999, p. 81.
- ↑ See:
- Schwarcz 1998, p. 68,
- Barman 1999, p. 97,
- Carvalho 2007, p. 9.
- ↑ See:
- Lira 1977, Vol 1, p. 50,
- Barman 1999, p. 97,
- Calmon 1975, p. 187.
- ↑ Barman 1999, pp. 109, 122.
- ↑ Barman 1999, pp. 109, 114.
- ↑ 56.0 56.1 Barman 1999, p. 122.
- ↑ Barman 1999, p. 123.
- ↑ Barman 1999, pp. 122–123.
- ↑ Barman 1999, p. 124.
- ↑ 60.0 60.1 60.2 Barman 1999, p. 125.
- ↑ 61.0 61.1 Barman 1999, p. 126.
- ↑ Carvalho 2007, pp. 102–103.
- ↑ Levine 1999, pp. 63–64.
- ↑ See:
- Skidmore 1999, p. 48,
- Bethell 1993, p. 76,
- Graham 1994, p. 71.
- ↑ 65.0 65.1 65.2 Barman 1999, p. 159.
- ↑ Schwarcz 1998, p. 100.
- ↑ Barman 1999, p. 162.
- ↑ Barman 1999, pp. 161–162.
- ↑ Barman 1999, p. 178.
- ↑ Barman 1999, p. 120.
- ↑ Barman 1999, p. 164.
- ↑ Barman 1999, p. 165.
- ↑ Barman 1999, pp. 178–179.
- ↑ Barman 1999, p. 170.
- ↑ Carvalho 2007, p. 73.
- ↑ See:
- Carvalho 2007, p. 52,
- Barman 1999, p. 127,
- Vainfas 2002, p. 98.
- ↑ See:
- Carvalho 2007, p. 52,
- Vainfas 2002, p. 200,
- Barman 1999, p. 129.
- ↑ Barman 1999, pp. 129–130.
- ↑ Barman 1999, p. 130.
- ↑ Barman 1999, pp. 151–152.
อ้างอิงและอ่านเพิ่ม
[แก้]- Barman, Roderick J. (1999). Citizen Emperor: Pedro II and the making of Brazil, 1825–1891. Stanford: Stanford University Press. ISBN 978-0-8047-3510-0.
- Barman, Roderick J. (2002). Princess Isabel of Brazil: gender and power in the nineteenth century. Rowman & Littlefield Publishers. ISBN 978-0842028462.
- Bethell, Leslie (1993). Brazil: Empire and Republic, 1822–1930. Cambridge, United Kingdom: Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-36293-1.
- Graham, Richard (1994). Patronage and Politics in Nineteenth-Century Brazil. Stanford: Stanford University Press. ISBN 978-0-8047-2336-7.
- Kurizky, Patricia Shu, et al. "The physician, the Emperor and the fibromyalgia: Charles-Édouard Brown-Séquard (1817–1894) and Dom Pedro II (1825–1891) of Brazil." Journal of medical biography 24.1 (2016): 45–50. online
- Levine, Robert M. (1999). The History of Brazil. Westport, Connecticut: Greenwood Press. ISBN 978-0-313-30390-6.
- Montgomery-Massingberd, Hugh, บ.ก. (1977). Burke's Royal Families of the World (1st ed.). London: Burke's Peerage. ISBN 0-85011-023-8.
- Munro, Dana Gardner (1942). The Latin American Republics: A History. New York: D. Appleton.
- Skidmore, Thomas E. (1999). Brazil: five centuries of change. New York: Oxford University Press. ISBN 978-0-19-505809-3.
- Topik, Steven C. (2000). Trade and Gunboats: The United States and Brazil in the Age of Empire. Stanford: Stanford University Press. ISBN 978-0-8047-4018-0.
- Williams, Mary Wilhelmine (1937). Dom Pedro, the Magnanimous, second Emperor of Brazil. Chapel Hill: U. of North Carolina Press.
ในภาษาโปรตุเกส
[แก้]- Benevides, José Marijeso de Alencar; Azevedo, Rubens de; Alcântara, José Denizard Macedo de (1979). D. Pedro II, patrono da astronomia brasileira (ภาษาโปรตุเกส). Fortaleza: Imprensa oficial do Ceará.
- Besouchet, Lídia (1993). Pedro II e o Século XIX (ภาษาโปรตุเกส) (2nd ed.). Rio de Janeiro: Nova Fronteira. ISBN 978-85-209-0494-7.
- Calmon, Pedro (1975). História de D. Pedro II (ภาษาโปรตุเกส). Vol. 1–5. Rio de Janeiro: José Olímpio.
- Carvalho, José Murilo de (2007). D. Pedro II: ser ou não ser (ภาษาโปรตุเกส). São Paulo: Companhia das Letras. ISBN 978-85-359-0969-2.
- Doratioto, Francisco (2002). Maldita Guerra: Nova história da Guerra do Paraguai (ภาษาโปรตุเกส). São Paulo: Companhia das Letras. ISBN 978-85-359-0224-2.
- Ermakoff, George (2006). Rio de Janeiro – 1840–1900 – Uma crônica fotográfica (ภาษาโปรตุเกส). Rio de Janeiro: G. Ermakoff Casa Editorial. ISBN 978-85-98815-05-3.
- Lira, Heitor (1977). História de Dom Pedro II (1825–1891): Ascenção (1825–1870) (ภาษาโปรตุเกส). Vol. 1. Belo Horizonte: Itatiaia.
- Lira, Heitor (1977). História de Dom Pedro II (1825–1891): Fastígio (1870–1880) (ภาษาโปรตุเกส). Vol. 2. Belo Horizonte: Itatiaia.
- Lira, Heitor (1977). História de Dom Pedro II (1825–1891): Declínio (1880–1891) (ภาษาโปรตุเกส). Vol. 3. Belo Horizonte: Itatiaia.
- Martins, Luís (2008). O patriarca e o bacharel (ภาษาโปรตุเกส) (2nd ed.). São Paulo: Alameda. ISBN 978-85-98325-68-2.
- Mônaco Janotti, Maria de Lourdes (1986). Os Subversivos da República (ภาษาโปรตุเกส). São Paulo: Brasiliense.
- Olivieri, Antonio Carlos (1999). Dom Pedro II, Imperador do Brasil (ภาษาโปรตุเกส). São Paulo: Callis. ISBN 978-85-86797-19-4.
- Rodrigues, José Carlos (1863). Constituição política do Império do Brasil (ภาษาโปรตุเกส). Rio de Janeiro: Typographia Universal de Laemmert.
- Salles, Ricardo (1996). Nostalgia Imperial (ภาษาโปรตุเกส). Rio de Janeiro: Topbooks. OCLC 36598004.
- Sauer, Arthur (1889). Almanak Administrativo, Mercantil e Industrial (ภาษาโปรตุเกส). Rio de Janeiro: Laemmert & C. OCLC 36598004.
- Schwarcz, Lilia Moritz (1998). As barbas do Imperador: D. Pedro II, um monarca nos trópicos (ภาษาโปรตุเกส) (2nd ed.). São Paulo: Companhia das Letras. ISBN 978-85-7164-837-1.
- Vainfas, Ronaldo (2002). Dicionário do Brasil Imperial (ภาษาโปรตุเกส). Rio de Janeiro: Objetiva. ISBN 978-85-7302-441-8.
- Vasquez, Pedro Karp (2003). O Brasil na fotografia oitocentista (ภาษาโปรตุเกส). São Paulo: Metalivros. ISBN 978-85-85371-49-4.
- Viana, Hélio (1994). História do Brasil: período colonial, monarquia e república (ภาษาโปรตุเกส) (15th ed.). São Paulo: Melhoramentos. ISBN 978-85-06-01999-3.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ จักรพรรดิเปดรูที่ 2 แห่งบราซิล
ก่อนหน้า | จักรพรรดิเปดรูที่ 2 แห่งบราซิล | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
จักรพรรดิเปดรูที่ 1 แห่งบราซิล | สมเด็จพระจักรพรรดิแห่งบราซิล (7 เมษายน ค.ศ. 1831 - 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1889) |
ระบอบกษัตริย์ถูกล้มล้าง สถาปนาสาธารณรัฐบราซิลครั้งที่หนึ่ง ภายใต้ประธานาธิบดีดีโอโดโร ดา ฟอนเซกา | ||
เจ้าหญิงมาเรีย ต่อมา สมเด็จพระราชินีนาถมาเรียที่ 2 แห่งโปรตุเกส |
เจ้าชายรัชทายาทแห่งบราซิล (2 ธันวาคม ค.ศ. 1825 - 7 เมษายน ค.ศ. 1831) |
สมเด็จพระราชินีนาถมาเรียที่ 2 แห่งโปรตุเกส | ||
สถาปนาสาธารณรัฐ | ผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์บราซิล (15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1889 - 5 ธันวาคม ค.ศ. 1891) |
เจ้าหญิงอิซาเบล |