ค่ายกลทหารศิลาแปดประตู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ค่ายกลทหารศิลาแปดประตู
อักษรจีนตัวเต็ม八陣圖
อักษรจีนตัวย่อ八阵图
ชื่อภาษาจีนอื่น ๆ
อักษรจีนตัวเต็ม石兵八陣
อักษรจีนตัวย่อ石兵八阵

ค่ายกลทหารศิลาแปดประตู (จีน: 八陣圖 หรือ 石兵八陣) เป็นกองหินที่จูกัดเหลียงให้ก่อขึ้นตามแนวคิดของปากั้ว ก่อขึ้นที่ตำบลริมฝั่งน้ำอิปักโป้ (魚腹浦 ยฺหวีฟูผู่) ริมฝั่งแม่น้ำแยงซี ใกล้กับไป๋ตี้เฉิง ในนครฉงชิ่ง ประเทศจีนในปัจจุบัน ซึ่งมีซากโบราณสถานที่คาดว่าจะเป็นค่ายกลทหารศิลา ในคติชนจีน เมื่อระดับน้ำในแม่น้ำแยงซีเพิ่มสูงขึ้นในฤดูร้อน กองหินจึงจมอยู่ใต้น้ำ แต่ในฤดูใบไม้ร่วง กองหินจะปรากฏขึ้นมาใหม่ โดยหินแต่ละก่อนจะยังคงอยู่ในสภาพเดิมไม่บุบสลายและอยู่ในตำแหน่งเดิม

ลกซุนเผชิญหน้ากับค่ายกล[แก้]

ค่ายกลทหารศิลาแปดประตูถูกกล่าวถึงในนิยายอิงประวัติศาสตร์ในศตวรรษที่ 14 เรื่องสามก๊กโดยล่อกวนตงในตอนที่ 84[a]

เล่าปี่จักรพรรดิแห่งจ๊กก๊กพ่ายแพ้ให้กับลกซุนขุนพลของง่อก๊กในยุทธการที่อิเหลง และหนีไปเป๊กเต้เสีย (白帝城 ไป๋ตี้เฉิง) ลกซุนยกทัพไล่ตาม เมื่อลกซุนมาถึงตำบลอิปักโป้ริมแม่น้ำแยงซีใกล้กับเป๊กเต้เสีย ก็รู้สึกว่ามีกองกำลังข้าศึกแข็งแกร่งในบริเวณใกล้เคียงจึงเตือนกองกำลังของตนให้ระวังการซุ่มโจมตี ลกซุนส่งคนไปสอดแนมข้างหน้าแล้วทราบความว่าบริเวณนั้นเป็นที่รกร้าง เว้นแต่มีกองหินกระจัดกระจาย ลกซุนสงสัยจึงให้หาตัวชาวบ้านในท้องถิ่นมาสอบถาม ชาวบ้านตอบว่าเริ่มมีไอประหลาดพวยพุ่งในพื้นที่หลังจากที่จูกัดเหลียงให้จัดกองหินขณะเข้าเสฉวนครั้งแรก

ลกซุนเข้าไปตรวจสอบพื้นที่ด้วยตนเองและเชื่อว่านี่เป็น "ค่ายกล" เป็นเพียงกลอุบายเล็กน้อย จึงนำทหารไม่กี่คนเข้าไปข้างใน ขณะที่กำลังจะออกไป ก็เกิดลมกระโชกแรงพัดมา พายุฝุ่นปกคลุมท้องฟ้าและกองหินดูคล้ายดาบ กลุ่มฝุ่นภูเขาปลิวว่อนในขณะที่คลื่นแม่น้ำส่งเสียงเหมือนกองหารเข้าโจมตี ลกซุนอุทานว่า "ข้าตกหลุมพรางของจูกัดเหลียงแล้ว!" และพยายามหนีออกจากค่ายกลแต่ไม่เป็นผล

ทันใดนั้น ลกซุนก็เห็นชายชราคนหนึ่งซึ่งให้ความช่วยเหลือในการพาออกจากค่ายกล ลกซุนตามชายชราออกมาจากค่ายกลอย่างปลอดภัย ชายชราบอกว่าตนเองคืออุยสิง่าน (ฮองเสงหงัน) พ่อตาของจูกัดเหลียง และอธิบายกับลกซุนว่าค่ายกลถูกสร้างขึ้นตามแนวคิดของปากั้ว อุยสิง่านยังบอกลกซุนว่าจูกัดเหลียงทำนายว่าจะมีขุนพลง่อก๊กหลงเข้ามาในค่ายกลที่ตนสร้าง และขอกับอุยสิง่านไม่ให้ช่วยพาขุนพลคนนั้นออกไป ลกซุนลงจากหลังม้าและขอบคุณอุยสิง่าน เมื่อลกซุนกลับมาที่ค่ายก็กล่าวว่าตนมีสติปัญญาด้อยกว่าจูกัดเหลียง จากนั้นจึงตั้งใจจะกลับไปง่อก๊กเพราะเกรงว่าวุยก๊กที่เป็นรัฐอริอาจใช้ประโยชน์จากสถานการณ์เข้าโจมตีง่อก๊ก[2]

ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์[แก้]

ไม่มีบันทึกเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้ในจดหมายเหตุสามก๊ก ซึ่งเป็นบันทึกทางประวัติศาสตร์ที่เชื่อถือได้ของประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก มีการกล่าวถึงในชีวประวัติของลกซุน ว่าหลังจากที่เล่าปี่ล่าถอยไปยังเป๊กเต้เสีย ขุนพลง่อก๊กอันได้แก่ ชีเซ่ง พัวเจี้ยง ซงเขียม และคนอื่น ๆ เห็นว่าเล่าปี่อยู่ใกล้แค่เอื้อมและสามารถยกกำลังไปจับตัวได้ จึงร้องขอต่อซุนกวนให้พวกตนเข้าโจมตีเป๊กเต้เสีย ซุนกวนถามความคิดเห็นจากลกซุน ลกซุนพร้อมด้วยจูเหียนและเล่งทอง (駱統 ลั่ว ถง) จึงให้ความเห็นว่า "โจผีมีกำลังพลนับพัน แสร้งทำเป็นยินดีที่จะช่วยเราโจมตี (เล่า) ปี่ แต่แท้จริงมีเจตนาอื่น โปรดตัดสินใจกลับ (ไปยังง่อก๊ก) โดยเร็ว” ต่อมาไม่นานทัพของวุยก๊กก็เข้าโจมตีง่อก๊กสามทิศทางตามที่ลกซุนคาดการณ์ไว้ ซึ่งนำไปสู่ยุทธการหลายครั้งระหว่างวุยก๊กและง่อก๊ก ระหว่างปี ค.ศ. 222 ถึง ค.ศ. 225[3]

การอ้างอิงทางวัฒนธรรม[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "สามก๊ก ตอนที่ ๖๕". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ July 5, 2023.
  2. ("ฝ่ายลกซุนไล่ติดตามพระเจ้าเล่าปี่ไปใกล้ตำบลอิปักโป้ ดูไปเห็นข้างหน้าเปนรูปคนยืนสะพรั่งถืออาวุธอยู่มากมายนักก็คิดสงสัย จึงให้หยุดทัพอยู่ใช้ทหารไปสอดแนมดูว่าจะเปนประการใด...ครั้นถึงทัพแล้วก็สรรเสริญความคิดปัญญาขงเบ้งว่าดีนักไม่มีผู้ใดเสมอ แล้วสั่งทหารทั้งปวงให้กลับทัพไปเมืองกังตั๋ง") สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 65.
  3. (又備既住白帝,徐盛、潘璋、宋謙等各競表言備必可禽,乞復攻之。權以問遜,遜與朱然、駱統以為"曹丕大合士眾。外托助國討備,內實有奸心,謹決計輒還"。無幾,魏軍果出,三方受敵也。) ตันซิ่ว. จดหมายเหตุสามก๊ก, เล่มที่ 58, บทชีวประวัติลกซุน
  4. TEITO MONOGATARI vol. 1