การให้เหตุผลโดยอาศัยเรื่องเล่า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การให้เหตุผลโดยอาศัยเรื่องเล่า (อังกฤษ: argument from anecdote) เป็นเหตุผลวิบัติอรูปนัยทางตรรกะ โดยใช้เรื่องเล่าเป็นเหตุผลหรือหลักฐานว่าสิ่งที่อ้างเป็นจริง และไม่ให้หลักฐานหรือเหตุผลอื่น ๆ การให้เหตุผลนี้ไม่น่าเชื่อถือเพราะเรื่องเล่าอาจกุขึ้นก็ได้ อาจเล่าผิด ๆ ก็ได้ หรืออาจเป็นค่าผิดปกติทางสถิติซึ่งไม่มีนัยสำคัญเมื่อพิจารณาหลักฐานอื่น เหตุผลวิบัตินี้มักพบร่วมกับการวางนัยทั่วไปเร็วเกินไป (hasty generalisation) คือวางนัยโดยใช้เรื่องเล่าที่ไม่ได้พิสูจน์ความเป็นจริง

ตัวอย่าง[แก้]

"ผมไม่มีทางยอมรับการให้เหตุผลโดยเรื่องเล่า (เช่น "ลูกพี่ลูกน้องของผมมีเพื่อนที่ไปหาคนทรง แล้วจึงได้คุยกับสามีที่เสียชีวิตไปแล้ว")

— ไอแซค อสิมอฟ, กล่าวคำนี้ในปี 1977 เมื่อกำลังสนทนาเรื่องชีวิตหลังความตาย[1]

"พระเป็นเจ้าได้มาเยี่ยมผมวันนี้ในความฝัน และสิ่งที่มาเยี่ยมผมก็จะต้องมี ดังนั้นพระเป็นเจ้าจึงมีจริง"

แม้การให้เหตุผลนี่จะมีรูปแบบที่ถูกต้องทางตรรกะ คือถ้าข้อตั้งเป็นจริง ข้อสรุปก็จะต้องเป็นจริงด้วย แต่ก็ยังอาจไม่สมเหตุสมผลทางตรรกะ ข้อตั้งซึ่งเป็นเรื่องเล่าล้วน ๆ อาจได้กุขึ้นเพื่อสนับสนุนการให้เหตุผลนี้ หรือว่าพระเป็นเจ้าที่เห็นในความฝันก็เป็นเพียงความฝัน ความสมเหตุสมผลของข้อตั้งไม่อาจนิรนัยได้เพราะเป็นเรื่องเล่า

"ฉันรู้จักคนที่ตายหลังจากได้สูบกัญชา ดังนั้น การสูบกัญชาจึงอันตรายมากและไม่ควรถูกกฎหมาย"

นี่เป็นตัวอย่างการวางนัยทั่วไปเร็วเกินไป บวกกับการให้เหตุผลโดยเรื่องเล่า การให้เหตุผลนี้ไม่ดีเพราะ

  1. การนิรนัยความเป็นจริงหรือความสมเหตุสมผลของข้อตัังทำได้ยาก
  2. ถ้าแม้มีคนตายหลังจากได้สูบกัญชา กรณีเดี่ยว ๆ ก็ไม่ได้หมายความว่ามันอันตรายเท่ากับที่กล่าว ถ้าไม่มีหลักฐานอื่น ๆ ก็จะเป็นการวางนัยทั่วไปเร็วเกินไป
  3. ข้ออ้างเป็นเหตุผลวิบัติแบบ post hoc ergo propter hoc คือแม้คนนั้นจะตายหลังจากได้สูบกัญชา ก็ไม่ได้หมายความว่ากัญชาเป็นเหตุให้ตาย

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

  1. Asimov, Isaac (February 1977). Ferman, Edward L. (บ.ก.). "SCIENCE: Asimov's Corollary". The Magazine of Fantasy & Science Fiction. Mercury Press. p. 105.