การโอบล้อม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผนภาพแสดงการโอบล้อมกองกำลังไอซิส ในยุทธการติกริตครั้งที่สอง (2558) ลูกศรสีน้ำเงินแสดงถึงการโจมตีของฝ่ายพันธมิตร ในขณะที่เส้นสีแดงคือเส้นโอบล้อมรอบ ณ วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2558
การโอบล้อมสตาลินกราด
การโอบล้อมระหว่างการบุกครองเกาหลีของญี่ปุ่น (พ.ศ. 2135–2141)

การโอบล้อม[1] (อังกฤษ: encirclement) คือคำศัพท์ทางทหารสำหรับสถานการณ์ที่กองกำลังหรือเป้าหมายถูกแยกจากกันและถูกโอบล้อมด้วยกองกำลังของศัตรู[2] สถานการณ์นี้อันตรายอย่างยิ่งสำหรับกองกำลังที่ถูกโอบล้อม ในระดับยุทธศาสตร์ คือการที่กองกำลังนั้นไม่สามารถรับการส่งกำลังบำรุงหรือการเสริมกำลังพลได้ ในระดับยุทธวิธี คือการที่หน่วยในกองกำลังอาจถูกโจมตีจากหลายทิศทางได้ สุดท้ายเมื่อกองกำลังนั้นไม่สามารถที่จะถอยได้แล้ว กองกำลังนั้นจะต้องต่อสู้จนตัวตายหรือยอมจำนน นอกจากจะถูกปลดปล่อยหรือตีหักวงล้อมได้

การโอบล้อมแบบพิเศษคือการล้อม (siege) ในกรณีนั้น กองกำลังที่โอบล้อมจะถูกป้องกันอยู่ในตำแหน่งที่มีป้อมสนามที่มีเสบียงที่ใช้ได้อย่างยาวนานและการป้องกันที่แข็งแกร่ง ทำให้กองกำลังเหล่านั้นสามารถต้านทานการโจมตีได้ การล้อมเกิดขึ้นในเกือบทุกยุคสมัยของการทำสงคราม

ประวัติ[แก้]

การโอบล้อมถูกนำมาใช้ตลอดหลายศตวรรษโดยผู้นำทางทหาร รวมไปถึงนายพลต่าง ๆ เช่น สปาร์ตากุส, อเล็กซานเดอร์มหาราช, จูเลียส ซีซาร์, เจงกิส ข่าน, คอลิด อิบน์ อัลวะลีด, แฮนนิบัล, ซุนวู, อี ซุน-ชิน, ชากาซูลู, ฟ็อน วาลเลนสไตน์, ชาห์นาเดอร์, จักรพรรดินโปเลียนที่ 1, ฟ็อน ม็อลท์เคอ, ไฮนทซ์ กูเดรีอัน, ฟ็อน รุนท์ชเต็ท, ฟ็อน มันชไตน์, เกออร์กี จูคอฟ, จอร์จ เอส. แพตตัน และกอเซม โซเลย์มอนี

ซุนวูและนักคิดทางการทหารอื่น ๆ แนะนำว่าไม่ควรโอบล้อมกองทัพอย่างสมบูรณ์ แต่ให้มีเหลือพื้นที่สำหรับการหลบหนีแทน มิฉะนั้นกำลังพลของกองทัพที่ "ถูกโอบล้อม" จะฟื้นขวัญกำลังใจขึ้นมาและต่อสู้จนตัวตาย ควรเปิดช่องทางความเป็นไปได้สำหรับการถอยร่นจะดีกว่า[3] เมื่อศัตรูล่าถอยก็ยังสามารถที่จะติดตามจับกุมหรือโจมตีทำลายแนวถอยได้โดยมีความเสี่ยงที่ต่ำกว่าการต่อสู้กับกองกำลังที่ยอมสู้จนตัวตาย

รูปแบบการโอบล้อม[แก้]

รูปแบบหลักของการโอบล้อมที่เรียกกันว่า "การโอบสองปีก" (double envelopment) เป็นการโจมตีทางปีกของการรบ (battle) ซึ่งใช้กองกำลังเคลื่อนที่ตามยุคสมัย เช่น ทหารราบเบา, ทหารม้า, รถถัง หรือรถลำเลียงพลหุ้มเกราะ ที่พยายามจะบุกทะลวงโดยใช้ความเร็วให้เป็นประโยชน์เพื่อเข้าปิดจากด้านหลังของกองกำลังศัตรูเพื่อสร้างการปิดล้อมแบบ "วงแหวน" ที่สมบูรณ์ในขณะที่กองกำลังหลักของศัตรูกำลังติดพันกับการถูกโจมตีแบบสุ่มเพื่อหาจุดอ่อน (probing attack) เช่น การโอบล้อมของกองทัพที่ 6 ของเยอรมันในยุทธการที่สตาลินกราดในปี พ.ศ. 2485 ระหว่างสงครามฤดูหนาว ฟินแลนด์ได้ใช้ "ยุทธวิธีหย่อม"[1] (pocket tactics) ในการต่อต้านสหภาพโซเวียต เรียกว่า โมตติ (motti) ในบริบทของสงคราม โมตติคือยุทธวิธีที่ชาวฟินแลนด์ใช้ในการตรึงกำลัง, แบ่งส่วน, ล้อมรอบ และทำลายกองทหารโซเวียตที่มีขนาดใหญ่กว่าพวกเขาหลายเท่า[4]

หากมีสิ่งกีดขวางตามธรรมชาติ เช่น มหาสมุทร หรือภูเขาที่ด้านหนึ่งของสนามรบ จะมีการใช้เพียงปีกเดียวเท่านั้น เนื่องจากการโอบในปีกที่สองถูกกีดขวางโดยสิ่งกีดขวางตามธรรมชาติ[5] เช่น การโจมตีของเยอรมันในที่ราบลุ่มของฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2483

การโอบล้อมแบบที่สามสามารถเกิดขึ้นได้จากการเจาะผ่านในพื้นที่แนวหน้าข้าศึก และใช้ประโยชน์จะการเจาะนั้นด้วยกองกำลังเคลื่อนที่เจาะเข้าไปแล้วแยกเป็นสองทิศทางหรือมากกว่านั้นที่หลังแนวข้าศึก ซึ่งหลังจากการเจาะผ่านแล้วมักจะไม่เกิดการล้อมแบบเต็มวงแหวน แต่จากการโจมตีดังกล่าวจะลดทางเลือกของแนวตั้งรับอย่างหนัก รูปแบบการโจมตีประเภทนี้ถือเป็นหัวใจสำคัญของการปฏิบัติการแบบสายฟ้าแลบ เนื่องจากความยากสูงสุดของการปฏิบัติการรูปแบบนี้ จึงไม่สามารถที่จะดำเนินได้บ่อย เว้นเสียจากกองกำลังฝ่ายรุกมีความเหนือกว่าในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะด้านเทคโนโลยี การจัดหน่วย หรือจำนวนกองกำลัง เช่น การทัพบาร์บาร็อสซาในปี พ.ศ. 2484

อันตรายต่อกองกำลังที่ถูกโอบล้อมก็คือการที่ตัวมันเองถูกตัดขาดจากฐานการส่งกำลังบำรุง หากกองกำลังที่โอบล้อมสามารถยืดหยัดได้อย่างมั่นคงหรือสามารถรักษาเส้นส่งกำลังบำรุง กองกำลังที่ถูกโอบล้อมอาจถูกดึงเข้าสู่ความสับสน (เช่น "แดสช์ทูเดอะไวเอออ์" ของรอมเมลในปี พ.ศ. 2484 และเดเมียนสค์พ็อกเกตในปี พ.ศ. 2485) หรือการถูกทำลายอย่างกว้างขวาง (เช่น ระหว่างการทัพพม่า พ.ศ. 2487)

ยุทธการโอบล้อมที่โดดเด่น[แก้]

ตัวอย่างบางส่วนของยุทธการโอบล้อมมีดังนี้

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 คู่มือศัพท์ และ คำย่อทางทหาร (PDF). มณฑลทหารบกที่ 16. 2547. pp. 3–66.[ลิงก์เสีย]
  2. "U.S. Army FM 3-90 Appendix D, Encirclement Operations". globalsecurity.org. สืบค้นเมื่อ 2012-01-23. Encirclement operations are operations where one force loses its freedom of maneuver because an opposing force is able to isolate it by controlling all ground lines of communication and reinforcement.
  3. Sun Tzu, The Art of War, Section VII: Maneuvering, line 36.
  4. How Finns used the 'motti' tactic to entrap Soviets in Winter War
  5. "U.S. Army FM 3-90 Appendix D-1 OFFENSIVE ENCIRCLEMENT OPERATIONS". globalsecurity.org. สืบค้นเมื่อ 2012-01-23. However, they can occur in situations where the attacking commander uses a major obstacle, such as a shoreline, as a second encircling force.
  6. 6.0 6.1 committee of former German officers (1952). Operations of Encircled Forces: German Experiences in Russia (Pamphlet 20-234). Historical Study. Washington, D.C.: U.S. Department of the Army. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-14. สืบค้นเมื่อ 2013-01-23. The German term for an encirclement is Kesselschlacht (cauldron battle).

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • The Great Kitilä Motti (ประวัติศาสตร์สงครามฤดูหนาวจากเว็บไซต์ภาพยนตร์สารคดีที่แสดงเรื่องราวมากมาย)