จูเลียส ซีซาร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กาอิอุส ยูลิอุส ไกซาร์
The Tusculum portrait, a marble sculpture of Julius Caesar.
รูปแกะสลักทัสคูลัม น่าจะเป็นไปได้ว่าเป็นรูปปั้นของซีซาร์เพียงชิ้นเดียวที่ยังหลงเหลืออยู่ ซึ่งถูกสร้างขึ้นในช่วงชีวิตของเขา พิพิธภัณฑ์โบราณคดี, ตูริน, ประเทศอิตาลี
เกิด12 กรกฎาคม 100 ปีก่อน ค.ศ.[1]
โรม, อิตาเลีย, สาธารณรัฐโรมัน
เสียชีวิต15 มีนาคม 44 ปีก่อน ค.ศ. (อายุ 55 ปี)
โรม, อิตาเลีย
สาเหตุเสียชีวิตถูกลอบสังหาร (บาดแผลจากการถูกแทง)
สุสานวิหารซีซาร์, โรม
41°53′31″N 12°29′10″E / 41.891943°N 12.486246°E / 41.891943; 12.486246
ผลงานเด่น
สำนักงาน
คู่สมรส
คู่รักคลีโอพัตรา
บุตร
บุพการีกาอิอุส ยูลิอุส ไกซาร์ และ เอาเรลิอา
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
ปี81–45 ปีก่อน ค.ศ.
สงคราม
บำเหน็จมงกุฎพลเมือง

กาอิอุส ยูลิอุส ไกซาร์ (ละติน: Gaius Julius Caesar [ˈɡaːiʊs ˈjuːliʊs ˈkae̯sar]) หรือ จูเลียส ซีซาร์ (อังกฤษ: Julius Caesar; 12 กรกฎาคม 100 ปีก่อน ค.ศ. – 15 มีนาคม 44 ปีก่อน ค.ศ.) เป็นรัฐบุรุษ แม่ทัพ และผู้ประพันธ์ร้อยแก้วอันเลื่องชื่อชาวโรมัน เขามีบทบาทสำคัญในเหตุการณ์อันนำไปสู่การสิ้นสุดสาธารณรัฐโรมันและความเจริญของจักรวรรดิโรมัน ใน 60 ปีก่อน ค.ศ. ซีซาร์, กรัสซุส และปอมปีย์ ตั้งพันธมิตรทางการเมืองซึ่งจะครอบงำการเมืองโรมันไปอีกหลายปี ความพยายามของพวกเขาในการสั่งสมอำนาจผ่านยุทธวิธีประชานิยมถูกชนชั้นปกครองอนุรักษนิยมในวุฒิสภาโรมันคัดค้าน ซึ่งในบรรดานั้นมีกาโตผู้เยาว์ (Cato the Younger) ด้วยการสนับสนุนบ่อยครั้งของกิแกโร ชัยชนะของซีซาร์ในสงครามกอล ซึ่งสมบูรณ์ใน 51 ปีก่อน ค.ศ. ขยายดินแดนของโรมันไปถึงช่องแคบอังกฤษและแม่น้ำไรน์ ซีซาร์เป็นแม่ทัพโรมันคนแรกที่ข้ามทั้งสองเมื่อเขาสร้างสะพานข้ามแม่น้ำไรน์และบุกครองบริเตนครั้งแรก

ความสำเร็จเหล่านี้ทำให้เขามีอำนาจทางทหารซึ่งไม่มีผู้ใดเทียม และคุกคามฐานะของพอมพีย์ซึ่งเปลี่ยนไปเข้ากับวุฒิสภาหลังกรัสซุสเสียชีวิตใน 53 ปีก่อน ค.ศ. เมื่อสงครามกอลยุติ วุฒิสภาสั่งซีซาร์ให้ลงจากตำแหน่งบังคับบัญชาทหารของเขาและกลับกรุงโรม ซีซาร์ปฏิเสธคำสั่งนั้นและใน 49 ปีก่อน ค.ศ. ท้าทายโดยการข้ามแม่น้ำรุบิโกพร้อมด้วยทหารหนึ่งลีเจียน ทิ้งมณฑลของเขาและเข้าอิตาลีภายใต้อาวุธอย่างมิชอบด้วยกฎหมาย เกิดสงครามกลางเมืองตามมา และชัยชนะของซีซาร์ในสงครามทำให้เขามีฐานะอำนาจและอิทธิพลโดยไร้คู่แข่ง

หลังเข้าควบคุมรัฐบาล ซีซาร์เริ่มโครงการปฏิรูปสังคมและรัฐบาล รวมทั้งการสถาปนาปฏิทินจูเลียน เขารวมระบบข้าราชการประจำของสาธารณรัฐเข้าสู่ศูนย์กลางและสุดท้ายประกาศตนเป็น "ผู้เผด็จการตลอดชีพ" ทำให้เขายิ่งมีอำนาจมากขึ้นไปอีก แต่ความขัดแย้งทางการเมืองใต้น้ำยังไม่สงบ และในไอดส์มีนาคม (Ides of March) คือ 15 มีนาคม 44 ปีก่อน ค.ศ. ซีซาร์ถูกกลุ่มสมาชิกวุฒิสภากบฏลอบสังหาร นำโดยมาร์กุส ยูนิอุส บรูตุสผู้ลูก ผู้ซึ่งเป็นคนสนิทและเป็นเสมือนลูกศิษย์ โดยพูดเป็นประโยคสุดท้ายเป็นภาษาละตินว่า "Et tu Brute" (เจ้าด้วยหรือ บรูตุส)[2] สงครามกลางเมืองชุดใหม่อุบัติ และรัฐบาลสาธารณรัฐอันมีรัฐธรรมนูญไม่เคยถูกฟื้นฟูอย่างสมบูรณ์ อ็อกตาวิอุส ทายาทบุญธรรมของซีซาร์ ซึ่งภายหลังรู้จักกันในพระนาม จักรพรรดิเอากุสตุส เถลิงอำนาจแต่ผู้เดียวหลังพิชิตศัตรูในสงครามกลางเมืองนั้น อ็อกตาวิอุสรวบรวมอำนาจและเริ่มสมัยจักรวรรดิโรมัน

คนรู้จักชีวิตส่วนมากของซีซาร์จากบันทึกการทัพของเขาเองและจากแหล่งข้อมูลร่วมสมัยอื่น ส่วนใหญ่เป็นจดหมายและสุนทรพจน์ของกิแกโรและงานเขียนประวัติศาสตร์ของแซลลัสต์ (Sallust) เป็นหลัก ชีวประวัติซีซาร์ในภายหลังโดยซุเอโตนิอุสและพลูทาร์กก็เป็นแหล่งข้อมูลหลักเช่นกัน นักประวัติศาสตร์หลายคนถือซีซาร์เป็นผู้บัญชาการทหารที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์คนหนึ่ง

อ้างอิง[แก้]

  1. For 13 July being the wrong date, see Badian in Griffin (ed.) p.16
  2. Woolf Greg (2006), Et Tu Brute? – The Murder of Caesar and Political Assassination, 199 pages – ISBN 1-86197-741-7

ข้อมูล[แก้]

ข้อมูลปฐมภูมิ[แก้]

ผลงานตนเอง[แก้]

งานเขียนนักประวัติศาสตร์สมัยโบราณ[แก้]

ข้อมูลทุติยภูมิ[แก้]

  • Abbott, Frank Frost (1901). A History and Description of Roman Political Institutions. Elibron Classics. ISBN 978-0-543-92749-1.
  • Canfora, Luciano (2006). Julius Caesar: The People's Dictator. Edinburgh University Press. ISBN 978-0-7486-1936-8.
  • Freeman, Philip (2008). Julius Caesar. Simon and Schuster. ISBN 978-0-7432-8953-5.
  • Fuller, J. F. C. (1965). Julius Caesar: Man, Soldier, and Tyrant. New Brunswick, NJ: Rutgers University Press.
  • Goldsworthy, Adrian (2006). Caesar: Life of a Colossus. Yale University Press. ISBN 978-0-300-12048-6.
  • Grant, Michael (1969). Julius Caesar. New York: McGraw-Hill.
  • Grant, Michael (1979). The Twelve Caesars. New York: Penguin Books. ISBN 978-0-14-044072-0.
  • Griffin, Miriam, บ.ก. (2009). A Companion to Julius Caesar (ภาษาอังกฤษ). John Wiley & Sons. ISBN 9781444308457.
  • Holland, Tom (2003). Rubicon: The Last Years of the Roman Republic. Anchor Books. ISBN 978-1-4000-7897-4.
  • Jiménez, Ramon L. (2000). Caesar Against Rome: The Great Roman Civil War. Praeger. ISBN 978-0-275-96620-1.
  • Kleiner, Diana E. E. (2005). Cleopatra and Rome. Harvard University Press. ISBN 978-0-674-01905-8.
  • Meier, Christian (1996). Caesar: A Biography. Fontana Press. ISBN 978-0-00-686349-6.
  • Tucker, Spencer (2010). Battles That Changed History: An Encyclopedia of World Conflict. ABC-CLIO.
  • Thorne, James (2003). Julius Caesar: Conqueror and Dictator. The Rosen Publishing Group.
  • Ward, Allen M.; Heichelheim, Fritz M.; Yeo, Cedric A. (2016). History of the Roman People (ภาษาอังกฤษ). Routledge. ISBN 9781315511207.
  • Weinstock, Stefan (1971). Divus Julius. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-814287-4.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]