การลงคะแนนแบบเสียงเดียวโอนไม่ได้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การลงคะแนนแบบเสียงเดียวโอนไม่ได้ (อังกฤษ: single non-transferable vote; ย่อ SNTV) เป็นระบบการลงคะแนนที่ใช้ในเขตเลือกตั้งที่มีผู้แทนมากกว่าหนึ่งคน พรรคการเมืองสามารถส่งผู้สมัครมากกว่าหนึ่งคนเพื่อชิงที่นั่งทั้งหมดก็ได้ โดยใช้หลักการนับคะแนนคล้ายกับระบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุด เว้นแต่ผู้ลงคะแนนเสียงมีเพียงเสียงเดียว ซึ่งต่างจากการลงคะแนนแบบยกชุด (block vote) ที่ผู้ลงคะแนนสามารถเลือกผู้สมัครได้หลายคน (หลายเสียง) การลงคะแนนแบบเสียงเดียวโอนไม่ได้นี้ ทำให้ได้จำนวนผู้แทนที่เป็นสัดส่วนกับคะแนนของผู้สมัครในระดับเขตเลือกตั้ง หรือเรียกว่า "กึ่งสัดส่วน" (semi-proportional representation)

การลงคะแนน[แก้]

ในการเลือกตั้งแบบนี้ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนเสียงเพียงเสียงเดียวให้กับผู้สมัครในเขตเลือกตั้งที่มีหลายที่นั่ง โดยผู้สมัครที่มีคะแนนสูงสุดตามลำดับเท่ากับจำนวนที่นั่งในเขตจะเป็นผู้ชนะ เช่น ในเขตเลือกตั้งที่มีสามที่นั่ง จะมีผู้สมัครสามคนได้รับคะแนนเสียงสูงสุดนั้นชนะการเลือกตั้ง การลงคะแนนระบบนี้สามารถใช้ได้กับผู้สมัครอิสระที่ไม่สังกัดพรรคการเมืองใด[1]

ตัวอย่าง[แก้]

ในกรณีเขตเลือกตั้งที่มีสามที่นั่ง และมีผู้สมัครห้าคน จากสามพรรคการเมือง

คะแนน ผู้สมัคร พรรคการเมือง
819 X
1,804 Y
1,996 Z
1,999 Z
2,718 Y

ในกรณีนี้ผู้สมัคร ค (พรรค Z) ง (พรรค Z) และ จ (พรรค Y) เป็นผู้มีคะแนนสูงสุดสามลำดับ แต่เมื่อทำการนับคะแนนเสียงเป็นรายพรรคการเมืองจะได้ผลลัพธ์ดังนี้

พรรคการเมือง คะแนน % ที่นั่ง (รวม 3)
Y 4,522 48% 1
Z 3,995 43% 2
X 819 9% 0

จะเห็นได้ว่า พรรค Y มีคะแนนเสียงรวมมากกว่าพรรค Z แต่ได้ที่นั่งน้อยกว่าอันมีเหตุมาจากจำนวนคะแนนที่แบ่งกันในแต่ละผู้สมัคร หากพรรคการเมืองใดพยายามส่งผู้สมัครสามคนโดยหวังที่จะชนะทั้งสามที่นั่ง จะเป็นการทำให้คะแนนเสียงของผู้สนับสนุนพรรค Y และ Z นั้นแตกออกไปอีก (ภาวะเสียงแตก) ดังนั้นนาย ก จากพรรค X อาจจะชนะการเลือกตั้งแทนหนึ่งที่นั่งในขณะที่พรรค Y หรือ Z อาจจะมีที่นั่งน้อยลงหนึ่งที่นั่งแทนได้

อ้างอิง[แก้]

  1. Amy, D.J. Behind The Ballot Box: A Citizens Guide To Voting Systems. Praeger Publishers Westport, CT (2000) 128. Print